เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ตัวรับแรงกล

ดัชนี ตัวรับแรงกล

ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง มีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule ในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง แม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย ซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ งานวิจัยเรื่องตัวรับแรงกลในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่นักวิชาการคู่หนึ่ง (Vallbo และ Johansson) วัดปฏิกิริยาของตัวรับแรงกลที่ผิวหนังกับอาสาสมัคร ตัวรับแรงกลที่ผิวหนังรวมทั้ง Pacinian corpuscle (ป้ายที่ตรงกลางล่าง) และ Meissner’s corpuscle (ป้ายที่บนขวา) ซึ่งช่วยให้รับรู้สัมผัสที่ผิวหนัง.

สารบัญ

  1. 99 ความสัมพันธ์: บรรยากาศของโลกช่องไอออนพอนส์พื้นที่กระสวยกระแสไฟฟ้ากลีบข้างกล้ามเนื้อกายวิภาคศาสตร์การบาดเจ็บจากแรงกดดันการกระตุ้นที่เหมาะสมการรับรู้อากัปกิริยาการถ่ายโอนความรู้สึกก้านสมองมัชฌิมเลขคณิตมิลลิเมตรมือรอยนูนหลังร่องกลางระบบการทรงตัวระบบการได้ยินระบบรับความรู้สึกระบบรับความรู้สึกทางกายระบบประสาทระบบประสาทกลางริมฝีปากรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลานรับสัญญาณศักยะงานศักย์ตัวรับความรู้สึกศีรษะสมองสมองน้อยสรีรวิทยาสัณฐานวิทยา (แก้ความกำกวม)สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดหลอดเลือดหลอดเลือดฝอยหูชั้นในหูชั้นในรูปหอยโข่งหนังแท้อันดับกบอิเล็กโทรดผิวหนังทาลามัสขนข้อต่อความถี่ความดันเลือด... ขยายดัชนี (49 มากกว่า) »

  2. การรับรู้
  3. ตัวรับความรู้สึก
  4. พฤติกรรมวิทยา
  5. ระบบรับความรู้สึก

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ดู ตัวรับแรงกลและบรรยากาศของโลก

ช่องไอออน

ไอออนแชนเนล (Ion channel) เป็นโปรตีนผิวเซลล์อย่างหนึ่งซึ่งประกอบตัวเป็นท่อที่สามารถนำสารผ่านเข้าออก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านและควบคุมการไหลเข้าออกเซลล์ของสารประจุความต่างศักย์บนผิวเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุ หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้า หมวดหมู่:ไอออนแชนเนล.

ดู ตัวรับแรงกลและช่องไอออน

พอนส์

อนส์และเมดัลลาออบลองกาตา พอนส์ (pons) เป็นโครงสร้างหนึ่งในก้านสมอง คำว่าพอนส์มาจากภาษาละติน แปลว่า สะพาน ตั้งชื่อโดยนักกายวิภาคศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวอิตาลี กอสตันโซ วาโรลิโอ (Costanzo Varolio) พอนส์อยู่เหนือเมดัลลา ออบลองกาตา อยู่ใต้สมองส่วนกลาง และอยู่ด้านหน้าซีรีเบลลัม ส่วนเนื้อขาวของพอนส์ประกอบด้วยลำเส้นใยประสาทที่นำสัญญาณจากซีรีบรัมลงมายังซีรีเบลลัมและเมดัลลา และมีลำเส้นใยประสาทรับสัญญาณความรู้สึกส่งขึ้นไปยังทาลามัสSaladin Kenneth S.

ดู ตัวรับแรงกลและพอนส์

พื้นที่

ื้นที่โดยรวมของรูปร่างทั้งสามรูปเท่ากับประมาณ 15.56 ตารางหน่วย พื้นที่ คือ ปริมาณของพื้นผิวหรือรูปร่างสองมิติ ที่แสดงถึงขอบเขตเนื้อที่ในแนวแผ่นระนาบ พื้นที่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นจำนวนวัสดุที่หนาขนาดหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่จะประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง หรือปริมาณสีทาเท่าที่จำเป็นที่จะทาผิวหน้าในครั้งเดียว พื้นที่เป็นมโนทัศน์ในสองมิติที่คล้ายคลึงกับความยาวของเส้นโค้งในหนึ่งมิติ หรือปริมาตรของทรงตันในสามมิติ พื้นที่ของรูปร่างสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดตายตัวขนาดหนึ่ง หน่วยมาตรฐานของพื้นที่ในหน่วยเอสไอคือ ตารางเมตร (m2) ซึ่งเป็นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวด้านละหนึ่งเมตร Bureau International des Poids et Mesures, retrieved 15 July 2012 รูปร่างที่มีพื้นที่เท่ากับสามตารางเมตร จะเหมือนกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเช่นนั้นสามรูป ในทางคณิตศาสตร์ หน่วยตารางหน่วยถูกนิยามขึ้นให้มีพื้นที่เท่ากับ "หนึ่ง" และพื้นที่ของรูปร่างหรือพื้นผิวอื่น ๆ ก็จะเป็นจำนวนจริงไร้มิติจำนวนหนึ่ง สูตรคำนวณหาพื้นที่ของรูปร่างพื้นฐานหลายสูตรเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปวงกลม เป็นต้น จากการใช้สูตรเหล่านี้ พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ สามารถหาได้จากการแบ่งรูปหลายเหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปร่างที่มีขอบเขตเป็นเส้นโค้งมักจะคำนวณพื้นที่ได้ด้วยแคลคูลัส (calculus) สำหรับรูปร่างทรงตันอย่างเช่นทรงกลม ทรงกรวย หรือทรงกระบอก พื้นที่บนผิวรอบนอกของรูปทรงเหล่านี้เรียกว่า พื้นที่ผิว สูตรคำนวณพื้นที่ผิวของรูปทรงพื้นฐานต่าง ๆ สามารถหาได้ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่การหาพื้นที่ผิวของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต้องใช้แคลคูลัสหลายตัวแปร (multivariable calculus).

ดู ตัวรับแรงกลและพื้นที่

กระสวย

250px กระสวย เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งใช้ในการทอผ้า ทำด้วยไม้ ปลายสองด้านมน ตรงกลางกลวง สำหรับบรรจุหลอดด้ายพุ่ง หรือด้ายพุ่งพิเศษ มีน้ำหนักและขนาดเหมาะมือ ใช้พุ่งไปมาระหว่างการยกเส้นด้ายยืนขึ้นลง ในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบกระสวยสองแบบ คือ แบบดั้งเดิม มีลักษณะเรียว ยาว ปลายงอน คล้ายเรือ นิยมใช้กับการทอผ้าขิดผ้ายก ที่ไม่ต้อวการความรวดเร็ว กับแบบใหม่ มีลักษณะป้อม ปลายมนคล้ายดินสองทั้งสองด้าน มักพบในการทอด้วยกี่กระตุก เพราะสามารถสอดไว้ในช่องใส่กระสวย เพื่อให้ชักกระสวยไปมาได้สะดวกในระหว่างเหยียบกี่เพื่อยกด้ายยืน ในการทอผ้าพื้นที่ไม่ต้องการลวดลายมาก อาจมีกระสวยใช้เพียงหนึ่งหรือสองอัน แต่การทอผ้าที่ต้องการสีสันและลวดลายแปลกๆ จะต้องมีกระสวยจำนวนมาก พอกับจำนวนด้ายและสีที่ใช้ ส่วนการทอด้วยกี่เอวนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้กระสวยเป็นพิเศษแต่อย่างใด หมวดหมู่:การทอผ้า.

ดู ตัวรับแรงกลและกระสวย

กระแสไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยที่กระแสถูกแสดงด้วยอักษร ''i'' ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V), ตัวต้านทาน (R), และกระแส (I) คือ V.

ดู ตัวรับแรงกลและกระแสไฟฟ้า

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D.

ดู ตัวรับแรงกลและกลีบข้าง

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ดู ตัวรับแรงกลและกล้ามเนื้อ

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ดู ตัวรับแรงกลและกายวิภาคศาสตร์

การบาดเจ็บจากแรงกดดัน

การบาดเจ็บจากแรงกดดัน (Barotrauma) เป็นการบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดกับเนื้อเยื่อ ที่มีสาเหตมาจากความแตกต่างระหว่างแรงกดดันของโพรงอากาศภายในหรือข้างๆร่างกายกับน้ำหรือของเหลวรอบร่างก.

ดู ตัวรับแรงกลและการบาดเจ็บจากแรงกดดัน

การกระตุ้นที่เหมาะสม

การกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่กำหนดประเภทแห่งพลังงานซึ่งตัวรับความรู้สึกเริ่มการตอบสนองด้วยการถ่ายโอนตัวกระตุ้น (transductionการถ่ายโอน ในสรีรวิทยา (Transduction (Physiology)) คือการเปลี่ยนตัวกระตุ้นแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทมักจะหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่นๆ ถูกเปลี่ยนเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผล) การกระตุ้นที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับกลไกของการถ่ายโอนตัวกระตุ้นของเซลล์ และกับประตูไอออน (ion channel) ที่เป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ตัวรับความรู้สึก ตัวอย่างเช่น แสง เป็นการกระตุ้นที่เหมาะสมสำหรับเซลล์รับแสงในเรติน.

ดู ตัวรับแรงกลและการกระตุ้นที่เหมาะสม

การรับรู้อากัปกิริยา

ซีรีบรัมเป็นส่วนในสมองที่มีหน้าที่ประสานงานเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยา การรับรู้อากัปกิริยา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ proprioception ว่า "การรับรู้อากัปกิริยา" และของ proprioceptor ว่า "ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา" หรือการรู้ตำแหน่งข้อและการเคลื่อนไหว (proprioception มาจากคำว่า "proprius" ซึ่งแปลว่า "ของตน" หรือ "แต่ละบุคคล" และคำว่า "perception" ซึ่งแปลว่า "การรับรู้") เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่ง (limb position sense) และเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย (kinesthesia หรือ motion sense) ที่ไม่สืบเนื่องกับการมองเห็นให้สังเกตให้ดีว่า คำว่า "proprioception" นั้น เป็นคำที่ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน ได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่ปี..

ดู ตัวรับแรงกลและการรับรู้อากัปกิริยา

การถ่ายโอนความรู้สึก

ในสรีรวิทยา การถ่ายโอนความรู้สึก (sensory transduction) เป็นการแปลงตัวกระตุ้นความรู้สึกจากรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทโดยปกติหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่นๆ แปลงไปเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผล เซลล์รับความรู้สึก (receptor cell) เปลี่ยนพลังงานของตัวกระตุ้นไปเป็นความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในภายนอกของเซลล์ ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งนำไปสู่การลดขั้ว (depolarization) ของเยื่อหุ้มเซลล์ และนำไปสู่การสร้างศักยะงานประสาทที่ส่งไปยังสมองเพื่อประมวลผล.

ดู ตัวรับแรงกลและการถ่ายโอนความรู้สึก

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ดู ตัวรับแรงกลและก้านสมอง

มัชฌิมเลขคณิต

ในทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ มัชฌิมเลขคณิต (อาจเรียกเพียง มัชฌิม หรือ ค่าเฉลี่ย) ของรายการของจำนวน คือผลบวกของสมาชิกทุกจำนวน หารด้วยจำนวนสมาชิกในรายการนั้น ถ้ารายการของจำนวนเกี่ยวข้องกับประชากรทางสถิติจะเรียกว่า ค่าเฉลี่ยประชากร และถ้าเกี่ยวข้องกับตัวอย่างทางสถิติจะเรียกว่า ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง และเมื่อมัชฌิมเลขคณิตมีค่าประมาณไม่เท่ากับมัธยฐาน ดังนั้นรายการของจำนวน หรือการแจกแจงความถี่ จะเรียกว่ามีความเบ้ (skewness) ของข้อมูล.

ดู ตัวรับแรงกลและมัชฌิมเลขคณิต

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ดู ตัวรับแรงกลและมิลลิเมตร

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ดู ตัวรับแรงกลและมือ

รอยนูนหลังร่องกลาง

หวของรอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus, gyrus postcentralis) ด้านข้างของสมอง เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นในสมองกลีบข้างของมนุษย์ และเป็นจุดสังเกตที่สำคัญ เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เป็นเขตรับสัญญาณความรู้สึกหลักของระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) และเหมือนกับเขตรับความรู้สึกอื่น ๆ เขตนี้มีแผนที่ปริภูมิของความรู้สึกซึ่งเรียกว่า "cortical homunculus"Cortical homunculus เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายในคอร์เทกซ์สั่งการหลักและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ คือส่วนในสมองของมนุษย์ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบสั่งการและระบบรับรู้ความรู้สึก คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิในยุคต้น ๆ มีขอบเขตที่กำหนดโดยงานวิจัยกระตุ้นผิวสมองของไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ และงานวิจัยศักย์ผิวสมองของบาร์ด วูลซีย์ กับมาร์แชลล์ ที่เป็นไปในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่าในเบื้องต้นจะกำหนดอย่างคร่าว ๆ ว่าเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 งานวิจัยในภายหลังของจอน คาสส์ เสนอว่า เพื่อความเหมือนกันกับเขตรับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ ควรที่จะกล่าวเขตบร็อดแมนน์ 3 ว่าเป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เนื่องจากว่าเขตนั้นได้รับสัญญาณมากที่สุดจาก thalamocortical radiations (วิถีประสาททาลามัส-คอร์เทกซ์) ซึ่งมาจากลานสัญญาณที่รับรู้การสัมผั.

ดู ตัวรับแรงกลและรอยนูนหลังร่องกลาง

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ดู ตัวรับแรงกลและระบบการทรงตัว

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ดู ตัวรับแรงกลและระบบการได้ยิน

ระบบรับความรู้สึก

ระบบรับความรู้สึก (sensory system, organa sensuum) เป็นส่วนประกอบของระบบประสาทมีหน้าที่ประมวลข้อมูลความรู้สึก โดยหลัก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) วิถีประสาท (neural pathway) และส่วนอื่น ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึก ระบบรับความรู้สึกที่รู้จักกันดีประกอบด้วยระบบการเห็น ระบบการได้ยิน ระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) ระบบการลิ้มรส ระบบการได้กลิ่น และระบบการทรงตัว (vestibular system) โดยหน้าที่ ระบบรับความรู้สึก.

ดู ตัวรับแรงกลและระบบรับความรู้สึก

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ดู ตัวรับแรงกลและระบบรับความรู้สึกทางกาย

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ดู ตัวรับแรงกลและระบบประสาท

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ดู ตัวรับแรงกลและระบบประสาทกลาง

ริมฝีปาก

ริมฝีปาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด ริมฝีปากจะนุ่ม เคลื่อนไหวได้ และทำหน้าที่เปิดออกเพื่อรับอาหารและใช้เปล่งเสียงและคำพูด ริมฝีปากมนุษย์เป็นอวัยวะที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัส และทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้เมื่อใช้จูบและในความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่าง ๆ หมวดหมู่:ริมฝีปาก หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร.

ดู ตัวรับแรงกลและริมฝีปาก

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ดู ตัวรับแรงกลและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

ลานรับสัญญาณ

ลานรับสัญญาณ (receptive field) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (ตัวรับความรู้สึก) ก็คือ เขตในปริภูมิที่ถ้ามีตัวกระตุ้น จะสามารถเปลี่ยนการยิงสัญญาณของเซลล์ ปริภูมิที่กล่าวถึงอ.

ดู ตัวรับแรงกลและลานรับสัญญาณ

ศักยะงาน

การเกิดกระแสประสาท ในวิชาสรีรวิทยา ศักยะงาน (action potential) เป็นเหตุการณ์ที่กินเวลาสั้น ๆ ซึ่งศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) ไฟฟ้าของเซลล์เพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยแนววิถีต่อเนื่อง ศักยะงานเกิดขึ้นในเซลล์สัตว์หลายชนิด เรียกว่า เซลล์ที่เร้าได้ (excitable cell) ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไร้ท่อ (endocrine cell) เช่นเดียวกับเซลล์พืชบางเซลล์ ในเซลล์ประสาท ศักยะงานมีบทบาทศูนย์กลางในการสื่อสารเซลล์ต่อเซลล์ ส่วนในเซลล์ประเภทอื่น หน้าที่หลักของศักยะงาน คือ กระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น ในเซลล์กล้ามเนื้อ ศักยะงานเป็นขั้นแรกในชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การหดตัว ในเซลล์บีตาของตับอ่อน ศักยะงานทำให้เกิดการหลั่งอินซูลิน ศักยะงานในเซลล์ประสาทยังรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "กระแสประสาท" หรือ "พลังประสาท" (nerve impulse) หรือ spike ศักยะงานสร้างโดยช่องไอออนที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated ion channel) ชนิดพิเศษที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ช่องเหล่านี้ถูกปิดเมื่อศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ใกล้กับศักยะพัก (resting potential) แต่จะเริ่มเปิดอย่างรวดเร็วหากศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้นถึงค่าระดับกั้น (threshold) ที่นิยามไว้อย่างแม่นยำ เมื่อช่องเปิด จะทำให้ไอออนโซเดียมไหลเข้ามาในเซลล์ประสาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า (electrochemical gradient) การเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งเพิ่มศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปอีก ทำให้ช่องเปิดมากขึ้น และเกิดกระแสไฟฟ้าแรงขึ้นตามลำดับ กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปกระทั่งช่องไอออนที่มีอยู่เปิดออกทั้งหมด ทำให้ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์แกว่งขึ้นอย่างมาก การไหล่เข้าอย่างรวดเร็วของไอออนโซเดียมทำให้สภาพขั้วของเยื่อหุ้มเซลล์กลายเป็นตรงข้าม และช่องไอออนจะหยุดทำงาน (inactivate) อย่างรวดเร็ว เมื่อช่องโซเดียมปิด ไอออนโซเดียมจะไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ประสาทได้อีกต่อไป และจะถูกลำเลียงแบบใช้พลังงานออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้น ช่องโปแทสเซียมจะทำงาน และมีกระแสไหลออกของไอออนโปแทสเซียม ซึ่งคืนประจุไฟฟ้ากลับสู่สถานะพัก หลังเกิดศักยะงานแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ระยะดื้อ (refractory period) เนื่องจากกระแสโปแทสเซียมเพิ่มเติม กลไกนี้ป้องกันมิให้ศักยะงานเดินทางย้อนกลับ ในเซลล์สัตว์ มีศักยะงานอยู่สองประเภทหลัก ประเภทหนึ่งสร้างโดย ช่องโซเดียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า อีกประเภทหนึ่งโดยช่องแคลเซียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า ศักยะงานที่เกิดจากโซเดียมมักคงอยู่น้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที ขณะที่ศักยะงานที่เกิดจากแคลเซียมอาจอยู่ได้นานถึง 100 มิลลิวินาทีหรือกว่านั้น.

ดู ตัวรับแรงกลและศักยะงาน

ศักย์ตัวรับความรู้สึก

ักย์ตัวรับความรู้สึก หรือ ศักย์เซลล์รับความรู้สึก (receptor potential) เป็นศักย์หลายค่า (graded potentialศักย์หลายค่า (graded potential) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะสภาวะความซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนไปเพราะมีการเชื่อมต่อกับหน่วยรับความรู้สึก โดยทั่วๆไปเป็นเหตุการณ์ที่ลดระดับศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเกิดจากไอออนบวกที่ไหลเข้ามาภายในเซลล์ การที่เรียกว่า ศักย์หลายค่า เป็นเพราะว่า ระดับความเปลี่ยนแปลงของศักย์นั้นขึ้นอยู่กับระดับการไหลเข้าของไอออนบวก และช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงก็ขึ้นอยู่กับเวลาที่มีการไหลเข้าของไอออนบวก ความที่ค่าของศักย์และช่วงเวลาที่ศักย์เปลี่ยนไปโดยมีค่าต่างๆ กัน คือไม่แน่นอน ต่างจากศักยะงาน ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนแปลงของศักย์ที่แน่นอนในช่วงเวลาที่แน่นอน) ประเภทหนึ่ง เป็นความต่างศักย์ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ (transmembrane potential difference) ของเซลล์รับความรู้สึก ศักย์เซลล์รับความรู้สึกมักจะเกิดขึ้นโดยการถ่ายโอนความรู้สึก (sensory transduction) เป็นปรากฏการณ์การลดขั้ว (depolarization) ที่เกิดจากการไหลเข้าของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมักจะลดระดับศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) จนถึงขีดเปลี่ยนที่เริ่มการยิงศักยะงาน (action potential) ตัวอย่างของศักย์เซลล์รับความรู้สึกพบได้ที่ปุ่มรส (taste bud) ของลิ้น เป็นที่ที่รสชาติแปลงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งไปที่สมอง เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยรสชาติ ปุ่มรสก็จะก่อให้เกิดการปล่อยสารสื่อประสาทผ่านกระบวนการ exocytosis ใน ถุงไซแนปส์ (synaptic vesicle) ของเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) สารสื่อประสาทก็จะแพร่กระจายข้ามช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ไปยังเยื่อหุ้มเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic).

ดู ตัวรับแรงกลและศักย์ตัวรับความรู้สึก

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ดู ตัวรับแรงกลและศีรษะ

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ดู ตัวรับแรงกลและสมอง

สมองน้อย

ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย (Cerebellum) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ (spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา รอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัมไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่ซีรีเบลลัมจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ (motor coordination) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของซีรีเบลลัมในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดซีรีเบลลัมในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าซีรีเบลลัมมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด (ประชาน; cognition), เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่น.

ดู ตัวรับแรงกลและสมองน้อย

สรีรวิทยา

"เดอะ วิทรูเวียน แมน" (The Vitruvian Man) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ประมาณปี 1487 เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความรู้ด้านสรีรวิทยา สรีรวิทยา (physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี สรีรวิทยาแบ่งออกเป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่สรีรวิทยาทุกสาขามีหลักการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใด เช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเซลล์ของมนุษย์ได้ สาขาสรีรวิทยาของสัตว์นั้นหมายรวมถึงเครื่องมือและวิธีการศึกษาสรีรวิทยาของมนุษย์ซึ่งนำมาใช้ศึกษาในสัตว์ด้วย สาขาสรีรวิทยาของพืชก็สามารถใช้วิธีการศึกษาเช่นเดียวกับสัตว์และมนุษย์ด้วยเช่นกัน สาขาวิชาอื่นๆที่ถือกำเนิดจากการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีวกลศาสตร์ และเภสัชวิท.

ดู ตัวรับแรงกลและสรีรวิทยา

สัณฐานวิทยา (แก้ความกำกวม)

ัณฐานวิทยา (Morphology) อาจหมายถึง.

ดู ตัวรับแรงกลและสัณฐานวิทยา (แก้ความกำกวม)

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ดู ตัวรับแรงกลและสัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ดู ตัวรับแรงกลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (pulmonary embolism, PE) คือภาวะซึ่งมีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงหลักของปอด หรือหลอดเลือดย่อยที่แตกออกมา โดยสารซึ่งหลุดมาจากตำแหน่งอื่นของร่างกายผ่านทางหลอดเลือด (สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ลิ่มเลือดนี้หลุดออกมาและลอยมายังปอด เรียกว่าลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) ส่วนน้อยอาจเกิดจากการมีอากาศ ไขมัน ผงแป้ง (ในผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) หรือน้ำคร่ำ หลุดมาอุดหลอดเลือดปอด การที่เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังปอดหรือบางส่วนของปอดได้ ร่วมกับการมีความดันในหัวใจห้องล่างขวาสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของ PE คนบางคนมีความเสี่ยงของการเกิด PE สูงกว่าคนทั่วไป เช่น เป็นมะเร็ง หรือนอนติดเตียงนานๆ เป็นต้น หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคหัวใจเกี่ยวเนื่องกับปอดและโรคการไหลเวียนโลหิตของปอด.

ดู ตัวรับแรงกลและสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ดู ตัวรับแรงกลและหลอดเลือด

หลอดเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอย (capillary) คือ หลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากแตกแขนงจากหลอดเลือดใหญ่ไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มีผนังบาง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่าง ๆ ระหว่างเซลล์กับเลือ.

ดู ตัวรับแรงกลและหลอดเลือดฝอย

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ดู ตัวรับแรงกลและหูชั้นใน

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ดู ตัวรับแรงกลและหูชั้นในรูปหอยโข่ง

หนังแท้

หนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นของผิวหนังที่อยู่ใต้หนังกำพร้า (epidermis) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ลดการกระแทกจากแรงดึงต่างๆ หนังแท้ยึดติดกับหนังกำพร้าอย่างแน่นหนาโดยเยื่อฐาน (basement membrane) และมีปลายประสาทมากมายซึ่งรับความรู้สึกเช่นสัมผัสหรือความร้อน ในหนังแท้ยังมีรากขน (hair follicle), ต่อมเหงื่อ (sweat gland), ต่อมไขมัน (sebaceous gland), ต่อมเหงื่อแบบอะโพครายน์ (apocrine sweat glands), และหลอดเลือด (blood vessel) หลอดเลือดในชั้นหนังแท้มีประโยชน์ในการให้อาหารมาเลี้ยงและขับของเสีย เช่นเดียวกับสตราตัม เบซาเลของหนังกำพร้.

ดู ตัวรับแรงกลและหนังแท้

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ดู ตัวรับแรงกลและอันดับกบ

อิเล็กโทรด

อิเล็กโทรด/ลวดเชื่อมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์ค อิเล็กโทรด หรือ ขั้วเชื่อม หรือ ลวดเชื่อม หรือ ขั้วไฟฟ้า (Electrode) เป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อใช้แนบกับส่วนที่ไม่ใช่โลหะของวงจรไฟฟ้า (เช่น สารกึ่งตัวนำ อิเล็กโทรไลต์ สุญญากาศ หรืออากาศ) อิเล็กโทรดเป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ วิลเลียม ฮิวเอ็ลล์ ตามคำของไมเคิล ฟาราเดย์ ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า elektron ซึ่งจริง ๆ แปลว่า อำพัน แต่นำมาอนุพัทธ์ใช้หมายถึงไฟฟ้า บวกกับคำว่า hodos ซึ่งแปลว่าทาง.

ดู ตัวรับแรงกลและอิเล็กโทรด

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ดู ตัวรับแรงกลและผิวหนัง

ทาลามัส

ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และแสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle) มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้.

ดู ตัวรับแรงกลและทาลามัส

ขน

ขน ขน หมายถึง เส้นขนที่มีความจำกัด ไม่เจริญเติบโต แตกต่างจากเส้นผม ขึ้นแทรกตามรูขุมขนทั่วบริเวณของร่างกาย ในบริเวณที่ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ เรียกว่า ขน เส้นขนที่มีความจำกัดความยาว เช่นเดียวกับขน เช่นคิ้ว หรือขนที่บริเวณรูทวารก็เช่นกัน ซึ่งเป็นขนที่ไม่มีชื่อเรียกอย่างทั่วไป ขนที่มีชื่อเรียกเฉพาะเป็นส่วนเส้นขนที่เรียกชื่อตามอวัยวะเช่น ขนจมูก ขนรักแร้ ขนตา และขนที่อวัยวะเพศ เช่น ขนเพชร ก็เป็นขนชนิดหนึ่ง ขนนับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่สะท้อนถึงกระบวนคิดและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ โดยมากเข้าใจว่า ขนเป็นส่วนประกอบของอวัยวะที่บ่งบอกเพศ ว่า เป็นบุรุษ หรือสตรี และปรากฏชัดเจนว่า ชาวเอเชียตะวันออกและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขนตามเรือนร่างน้อยกว่า ผู้คนชาวทวีปอื่นซึ่งมีขนทั่วบริเวณเรือนร่างมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ในภาษาอังกฤษไม่เรียกแยกระหว่าง "ผม" กับ "ขน" หมวดหมู่:รูปลักษณ์ของมนุษย์.

ดู ตัวรับแรงกลและขน

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ดู ตัวรับแรงกลและข้อต่อ

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ดู ตัวรับแรงกลและความถี่

ความดันเลือด

วามดันเลือด (blood pressure, ย่อ: BP) หรือเรียก ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ.

ดู ตัวรับแรงกลและความดันเลือด

ความเร็ว

วกเตอร์ความเร็วขณะหนึ่ง v ของวัตถุที่มีตำแหน่ง x (t) ณ เวลา t และตำแหน่ง x (t + ∆t) ณ เวลา t + ∆t สามารถคำนวณได้จากอนุพันธ์ของตำแหน่ง สมการของความเร็วของวัตถุยังสามารถหาได้จากปริพันธ์ของสมการของความเร่ง ที่วัตถุเคลื่อนที่ตั้งแต่เวลา t0 ไปยังเวลา tn วัตถุที่มีความเร็วเริ่มต้นเป็น u มีความเร็วสุดท้ายเป็น v และมีความเร่งคงตัว a ในช่วงเวลาหนึ่ง ∆t ความเร็วสุดท้ายหาได้จาก ความเร็วเฉลี่ยอันเกิดจากความความเร่งคงตัวจึงเป็น \tfrac ตำแหน่ง x ที่เปลี่ยนไปของวัตถุดังกล่าวในช่วงเวลานั้นหาได้จาก กรณีที่ทราบเพียงความเร็วเริ่มต้นของวัตถุเพียงอย่างเดียว คำนวณได้ดังนี้ และเมื่อต้องการหาตำแหน่ง ณ เวลา t ใด ๆ ก็สามารถขยายนิพจน์ได้ดังนี้ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์ หมวดหมู่:การเคลื่อนที.

ดู ตัวรับแรงกลและความเร็ว

คอลลาเจน

อลลาเจนเกลียวสาม คอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลายชนิดในสัตว์ คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ฉะนั้นจึงเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย โดยคิดเป็น 25% ถึง 35% ของปริมาณโปรตีนทั้งร่างกาย ส่วนใหญ่พบคอลลาเจนในรูปเส้นใยฝอยยืดในเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) เช่น เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เอ็น (ligament) และผิวหนัง ทั้งพบมากในกระจกตา กระดูกอ่อน กระดูก หลอดเลือด ทางเดินอาหารและหมอนกระดูกสันหลัง เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เป็นเซลล์ที่สร้างคอลลาเจนมากที่สุด ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มใยกล้ามเนื้อ (endomysium) คอลลาเจนประกอบเป็น 1% ถึง 2% ของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเป็น 6% ของน้ำหนักกล้ามเนื้อมีเอ็นที่แข็งแรง เจลาติน ซึ่งใช้ในอาหารและอุตสาหกรรม เป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนการสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) แบบย้อนกลับไม่ได้.

ดู ตัวรับแรงกลและคอลลาเจน

ค้อน

้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานเช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวดด้วยความเร่งมาก แรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้ว.

ดู ตัวรับแรงกลและค้อน

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ดู ตัวรับแรงกลและตัวกระตุ้น

ตัวรับความรู้สึก

ในระบบรับความรู้สึก (sensory system) ตัวรับความรู้สึก หรือ รีเซ็ปเตอร์รับความรู้สึก หรือ ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) เป็นส่วนปลายของเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกของสิ่งมีชีวิต และเมื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ตัวรับความรู้สึกก็จะทำการถ่ายโอนความรู้สึกที่รับรู้ โดยการสร้าง graded potential หรือศักยะงาน (action potential) ในเซลล์เดียวกันหรือเซลล์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน '''โครงสร้างของระบบรับความรู้สึกในมนุษย์''' (ส่วนบนแสดงตัวรับความรู้สึกประเภทต่างๆ, ส่วนกลางแสดงปมประสาทเกี่ยวข้องกับระบบรับความรู้สึกที่สื่อสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง, และส่วนล่างแสดงระบบประสาทกลาง).

ดู ตัวรับแรงกลและตัวรับความรู้สึก

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ดู ตัวรับแรงกลและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

ต่อมเหงื่อ

ต่อมเหงื่อ (sweat gland) เป็นต่อมมีท่อซึ่งพบได้ตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทำหน้าที่หลั่งเหงื่อ (sweat) ทำงานภายใต้ระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งจะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะซิติลโคลีน (Acetylcholene) ออกมาควบคุม.

ดู ตัวรับแรงกลและต่อมเหงื่อ

ปมประสาทรากหลัง

ในกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาศาสตร์ ปมประสาทรากหลัง หรือ ปมประสาทไขสันหลัง (dorsal root ganglion หรือ spinal ganglion, ganglion sensorium nervi spinalis, ตัวย่อ DRG) เป็นปุ่มเล็กๆ บนรากหลัง (dorsal root) ของไขสันหลัง ที่มีเซลล์ประสาทซึ่งส่งสัญญาณจากอวัยวะรับความรู้สึก ไปยังศูนย์รวบรวมสัญญาณที่เหมาะสมในระบบประสาทกลาง ใยประสาทที่นำสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber).

ดู ตัวรับแรงกลและปมประสาทรากหลัง

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ดู ตัวรับแรงกลและประสาทสมอง

ปลอกไมอีลิน

ตำแหน่งที่อยู่ของเยื่อไมอีลิน ไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นเยื่อหุ้มแอกซอน (Axon) ของเซลล์ประสาท เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ถูกสร้างจากเซลล์เกลีย และชวานน์เซลล์ในระบบประสาทรอบนอก (PNS) ได้รับการค้นพบโดยรูดอล์ฟ เวอร์โชฟ เมื่อเยื่อไมอีลินมีการชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทเกิดการติดขัดได้.

ดู ตัวรับแรงกลและปลอกไมอีลิน

ปลายรัฟฟินี

ปลายรัฟฟินี หรือ เม็ดรัฟฟินี หรือ เม็ดกระเปาะ (Bulbous corpuscle, Ruffini ending, Ruffini corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลแบนที่หุ้มด้วยแคปซูลรูปกระสวย โดยแคปซูลเป็นเนื้อเยื่อยึดต่อ (connective tissue) ประกอบด้วยใยคอลลาเจนที่เกี่ยวพันกับใยประสาท และเชื่อมกับใยประสาทแบบ slowly adapting type 2 (SA2) ซึ่งมีปลอกไมอีลินหนา ปรับตัวอย่างช้า ๆ (slowly adapting) และตรวจจับแรงตึง/การขยาย/การเหยียด ซึ่งช่วยให้รู้รูปร่างของวัสดุที่อยู่ในมือและรูปร่างของมือในบรรดาตัวรับแรงกลที่หุ้มปลายพิเศษ 4 อย่างที่ผิวหนัง อนึ่ง นอกจากที่ผิวหนัง ยังมีอยู่ในเอ็นยึดข้อต่อ ปลอกหุ้มข้อต่อ และเอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ด้วย โครงสร้างนี้มีชื่อตามนายแพทย์ชาวอิตาลีผู้ค้นพบ คือ แอนเจโล รัฟฟินี.

ดู ตัวรับแรงกลและปลายรัฟฟินี

ปลายประสาทรับร้อน

ปลายประสาทรับร้อน หรือ ตัวรับอุณหภูมิ (thermoreceptor) เป็นปลายประสาทของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในผิวหนังและในเยื่อเมือกบางชนิด ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุด คือ ตัวรับอุณหภูมิ ไม่ว่าจะรับเย็นหรืออุ่น จะตอบสนองต่ออุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ หรือต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยเป็นฟังก์ชันของการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวหนังกับวัตถุที่สัมผัส และโดยหลักในพิสัยที่ไม่มีอันตราย เพราะโนซิเซ็ปเตอร์รับอุณหภูมิจะเป็นตัวส่งข้อมูลในพิสัยที่อาจเป็นอันตราย ในช่วงอุณหภูมิ 31-36°C (32-34°C) ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังเปลี่ยนอย่างช้า ๆ เราจะไม่รู้สึกอะไร ถ้าต่ำกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกเย็นไปจนถึงหนาวและเริ่ิมที่ 10-15°C จะรู้สึกหนาวเหน็บ (เจ็บ) และถ้าสูงกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกอุ่นไปจนถึงร้อนและเริ่มที่ 45°C จะรู้สึกร้อนลวก (เจ็บ) อ้างอิง.

ดู ตัวรับแรงกลและปลายประสาทรับร้อน

ปลายประสาทอิสระ

ปลายประสาทอิสระ (free nerve ending, naked nerve ending, terminatio neuralis, ตัวย่อ FNE) เป็นปลายของประสาทนำเข้า (afferent nerve) เป็นส่วนที่ส่งข้อมูลจากอวัยวะต่าง ๆ ไปยังสมอง เป็นปลายประสาทที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนัง (cutaneous receptors) ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัส อุณหภูมิ และความรู้สึกเจ็บปว.

ดู ตัวรับแรงกลและปลายประสาทอิสระ

ปลายประสาทเมอร์เกิล

ปลายประสาทเมอร์เกิล ปลายประสาทเมอร์เกิล เป็นปลายประสาทรับแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำชนิดหนึ่งที่พบใต้หนังกำพร้าและที่ปุ่มรากผม (hair follicle).

ดู ตัวรับแรงกลและปลายประสาทเมอร์เกิล

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ดู ตัวรับแรงกลและปอดบวม

ปอดบวมน้ำ

ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) เป็นภาวะซึ่งมีการคั่งของสารน้ำในถุงลมของเนื้อปอด ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ เกิดเป็นภาวะการหายใจล้มเหลว สาเหตุอาจมาจากหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว ทำให้ไม่สามารถบีบไล่เลือดออกจากระบบไหลเวียนในปอดได้ทัน (ปอดบวมน้ำเหตุหัวใจ, cardiogenic pulmonary edema) หรือเกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อปอดหรือระบบหลอดเลือดของปอด (ปอดบวมน้ำเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่หัวใจ, noncardiogenic pulmonary edema) แม้สาเหตุจะมีหลายอย่างแต่วิธีรักษานั้นมีอยู่ไม่กี่วิธี และวิธีที่ได้ผลดีส่วนใหญ่ก็เป็นที่ใช้กันแพร่หลายไม่ว่าสาเหตุของการเกิดปอดบวมน้ำในผู้ป่วยรายนั้น ๆ จะเป็นอะไร การรักษาทั่วไปเน้น 3 ด้าน ได้แก่ แก้ไขภาวะหายใจล้มเหลว รักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหตุ และป้องกันไม่ให้ปอดเสียหายมากขึ้น ภาวะปอดบวมน้ำนี้โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นขึ้นเฉียบพลันอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลว ออกซิเจนในเลือดต่ำ จนหัวใจหยุด และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:Respiratory diseases principally affecting the interstitium หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ดู ตัวรับแรงกลและปอดบวมน้ำ

นิ้ว

นิ้ว (อังกฤษ:finger) อาจหมายถึง ส่วนที่ยื้นออกมาจากมือ มีข้อต่อ ที่ปลายมีเล็.

ดู ตัวรับแรงกลและนิ้ว

นิ้วมือ

นิ้วมือ เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เอ็น และผิวหนังห่อหุ้ม มีตำแหน่งอยู่ตรงปลายสุดของแขนถัดจากมือ ซึ่งสามรถเคลื่อนไหวได้โดยการสั่งการของสมองและระบบประสาท.

ดู ตัวรับแรงกลและนิ้วมือ

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ดู ตัวรับแรงกลและแกนประสาทนำออก

แรง

ในทางฟิสิกส์ แรง คือ อันตรกิริยาใด ๆ เมื่อไม่มีการขัดขวางแล้วจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุไป แรงที่สามารถทำให้วัตถุซึ่งมีมวลเปลี่ยนแปลงความเร็ว (ซึ่งรวมทั้งการเคลื่อนที่จากภาวะหยุดนิ่ง) กล่าวคือ ความเร่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงาน แรงยังอาจหมายถึงการผลักหรือการดึง แรงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดหรือทิศทาง วัดได้ในหน่วยของนิวตัน โดยใช้สัญลักษณ์ทั่วไปเป็น F ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน กล่าวว่าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับอัตราของโมเมนตัมที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ถ้ามวลของวัตถุเป็นค่าคงตัว จากกฎข้อนี้จึงอนุมานได้ว่าความเร่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุในทิศทางของแรงลัพธ์และเป็นสัดส่วนผกผันกับมวลของวัตถุ แนวคิดเกี่ยวกับแรง ได้แก่ แรงขับซึ่งเพิ่มความเร็วของวัตถุให้มากขึ้น แรงฉุดซึ่งลดความเร็วของวัตถุ และทอร์กซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการหมุนของวัตถุ ในวัตถุที่มีส่วนขยาย แรงที่ทำกระทำคือแรงที่กระทำต่อส่วนของวัตถุที่อยู่ติดกัน การกระจายตัวของแรงดังกล่าวเป็นความเครียดเชิงกล ซึ่งไม่ทำให้เกิดความเร่งของวัตถุมื่อแรงสมดุลกัน แรงที่กระจายตัวกระทำบนส่วนเล็ก ๆ ของวัตถุอาจเรียกได้ว่าเป็นความดัน ซึ่งเป็นความเคลียดอย่างหนึ่งและถ้าไม่สมดุลอาจทำให้วัตถุมีความเร่งได้ ความเครียดมักจะทำให้วัตถุเกิดการเสียรูปของวัตถุที่เป็นของแข็งหรือการไหลของของไหล.

ดู ตัวรับแรงกลและแรง

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ดู ตัวรับแรงกลและแคลเซียม

ใบหน้า

ใบหน้า เป็นส่วนสำคัญของศีรษะในสัตว์ ในกรณีใบหน้ามนุษย์ ประกอบด้วย ผม หน้าผาก คิ้ว ขนตา จมูก หู แก้ม ปาก ริมฝีปาก ร่องริมฝีปาก ขมับ ฟัน ผิวหนัง และคาง.

ดู ตัวรับแรงกลและใบหน้า

ใยประสาทนำเข้า

เซลล์ประสาท เดนไดรต์ (Dendrite) เป็นแขนงประสาทประเภทหนึ่งของเซลล์ประสาท (neuron) ซึ่งยื่นออกมาจากส่วนที่เป็นตัวเซลล์ (soma) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์ประสาท ซึ่งกระแสประสาทดังกล่าวเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเคมีที่เกิดจากการกระตุ้นจากเซลล์ประสาทอื่นๆ (ทั้งนี้อาจเกิดจากสัญญาณจากรีเซปเตอร์ การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้าโดยมนุษย์ ฯลฯ) ซึ่งช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทตรงบริเวณที่มีการถ่ายทอดกระแสประสาทไปสู่กันได้นั้น เรียกว่าไซแนปส์ (synapse) และเมื่อเดนไดรต์รับสัญญาณประสาทมาแล้ว ก็จะมีการส่งต่อไปยังเซลล์อื่นๆต่อไปโดยผ่านไปทางปลายแอกซอน ทั้งนี้แขนงของเดนดริติกเซลล์ (dendritic cells) ในระบบภูมิคุ้มกันก็เรียกว่าเดนไดรต์ แต่ไม่มีความสามารถในการนำกระแสประสาท หรือกระแสไฟฟ้าเคมีใดๆ หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:เซลล์ประสาท หมวดหมู่:ระบบประสาท หมวดหมู่:ประสาทวิทยาศาสตร์.

ดู ตัวรับแรงกลและใยประสาทนำเข้า

ใยเชื่อมปลาย

รูป G ถึง N แสดงใยเชื่อมปลาย stereocilia ของเซลล์ขน ใยเชื่อมปลาย (Tip link) เป็นใย (filament) ที่เชื่อมปลายขนของเซลล์ขนในหูชั้นในที่เรียกว่า stereocilia หรือ kinocilium เข้าด้วยกัน การถ่ายโอนแรงกลเป็นไฟฟ้า (mechanotransduction) เชื่อว่าเกิดใกล้ ๆ กับใยเชื่อมปลายที่ยึดกับช่องไอออนเปิดปิดโดยสปริง (spring-gated ion channel) ซึ่งเป็นช่องที่เปิดต่อแคตไอออนโดยเฉพาะ คือ ไอออนโพแทสเซียมและแคลเซียม ให้เข้ามาในเซลล์ขนจาก endolymph ซึ่งเป็นน้ำนอกเซลล์ที่อาบส่วนยอด (apical) ของเซลล์ทั้งหมด เมื่อขนงอไปทาง kinocilium การลดขั้ว (depolarization) ก็จะเกิดขึ้น เมื่องอไปทางตรงข้าม การเพิ่มขั้ว (hyperpolarization) ก็จะเกิดขึ้น ใยเชื่อมปลายทำมาจากโมเลกุลของโปรตีน cadherin 2 อย่าง คือ protocadherin 15 และ cadherin 23 (CDH23) แต่ก็พบว่า ใยค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงเชื่อว่า มีอะไรอย่างอื่นในเซลล์ขนที่ยืดหยุ่นได้และทำให้ stereocilia เคลื่อนไปมาได้Corey, D.

ดู ตัวรับแรงกลและใยเชื่อมปลาย

โพรแคริโอต

รงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึงนิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otesCampbell, N.

ดู ตัวรับแรงกลและโพรแคริโอต

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ดู ตัวรับแรงกลและโซเดียม

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ดู ตัวรับแรงกลและโปรตีน

ไมโครเมตร

้นใยคาร์บอนขนาด 6 ไมโครเมตรเมื่อเทียบกับเว่นผมมนุษย์ขนาด 50 ไมโครเมตร ไมโครเมตร (micrometer) หรือ ไมครอน (micron) ใช้สัญลักษณ์ µm เป็นหน่วยวัดความยาวมีค่าเท่ากับ 1 ใน 1,000,000 เมตร โดยสามารถเขียนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ได้ว่า 1 ม.

ดู ตัวรับแรงกลและไมโครเมตร

ไอออน

แผนภาพประจุอิเล็กตรอนของไนเตรตไอออน ไอออน คือ อะตอม หรือกลุ่มอะตอม ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นไอออนที่มีประจุลบ gaaจะมีอิเล็กตรอนในชั้นอิเล็กตรอน (electron shell) มากกว่าที่มันมีโปรตอนในนิวเคลียส เราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า แอนไอออน (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแอโนด (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า แคทไอออน (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแคโทด (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไอออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไอออน เรียกว่า การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion) ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น H+, SO32- กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้แต่ก๊าซ ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของสสาร เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจากของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ.

ดู ตัวรับแรงกลและไอออน

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ดู ตัวรับแรงกลและไขสันหลัง

เมตรต่อวินาที

มตรต่อวินาที (meter per second หรือย่อว่า m/s) เป็นหน่วยเอสไอ ของทั้งความเร็วและอัตราเร็วที่เป็นสเกลาร์ และเวกเตอร์ เป็นค่าของระยะทางวัดเป็นเมตรเทียบกับเวลาเป็นวินาที สัญลักษณ์นิยมเขียนในรูปภาษาอังกฤษว่า m/s หรือ m s-1.

ดู ตัวรับแรงกลและเมตรต่อวินาที

เม็ดพาชีเนียน

ม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขน เป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม.

ดู ตัวรับแรงกลและเม็ดพาชีเนียน

เม็ดรู้สัมผัส

ม็ดรู้สัมผัส หรือ เม็ดไวสัมผัส (Meissner's corpuscle, Tactile corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลชนิดหนึ่งที่ผิวหนังซึ่งไวสัมผัสแบบเบา ๆ โดยเฉพาะก็คือ ไวสูงสุดเมื่อรับรู้แรงสั่นระหว่าง 2-50 เฮิรตซ์ เป็นตัวรับความรู้สึกที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยหนาแน่นมากสุดที่ปลายนิ้วมือ (เป็นใยประสาทที่มีมากที่สุดในมือมนุษย์ คือ 40%).

ดู ตัวรับแรงกลและเม็ดรู้สัมผัส

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ดู ตัวรับแรงกลและเยื่อหุ้มเซลล์

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ดู ตัวรับแรงกลและเสียง

เส้นผม

ตัดขวางของเส้นผม ผม หรือ เส้นผม คือเซลล์ที่ตายแล้ว โดยปกติแล้วผมยาวประมาณเดือนละ 1 ซม.

ดู ตัวรับแรงกลและเส้นผม

เส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลาง (อังกฤษ: diameter) คือเส้นตรงซึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปบรรจบกับเส้นรอบวงทั้งสองข้าง ซึ่งรูปวงกลมนั้นอาจมาจากหน้าตัดของทรงกระบอก ทรงกรวย หรือทรงกลมก็ได้ เส้นผ่านศูนย์กลางมีความยาวเป็นสองเท่าของเส้นรัศมี เป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม และแบ่งรูปวงกลมออกเป็นรูปครึ่งวงกลมสองส่วนเท่าๆ กัน และสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกทิศทางไม่กำหนด เส้นผ่านศูนย์กลางจะสร้างมารถคำนวณได้โดยหาค่ารัศมีแล้วคูณสอง เพราะว่าความยาวของรัศมีหนึ่งเส้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ⌀ (ยูนิโคด: U+8960) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ขีดทับด้วยเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย มีประโยชน์ในการบ่งบอกขนาดของรูปวงกลม หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:ความยาว.

ดู ตัวรับแรงกลและเส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ดู ตัวรับแรงกลและเส้นประสาท

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ดู ตัวรับแรงกลและเอ็น

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

ดู ตัวรับแรงกลและเฮิรตซ์

เท้า

ท้า เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์หลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขา ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail).

ดู ตัวรับแรงกลและเท้า

เซลล์ขน

ซลล์ขน (Hair cell) เป็นเซลล์รับความรู้สึก (sensory receptor) ของทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นในของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจจับการเคลื่อนไหวของน้ำในระบบผ่านกระบวนการถ่ายโอนแรงกล (mechanotransduction) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ขนรับเสียงอยู่ในอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ในอวัยวะรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ชื่อของเซลล์มาจากมัดขนที่เรียกว่า stereocilia ที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน (apical) เข้าไปในน้ำของท่อคอเคลีย (cochlear duct) เซลล์ขนในคอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแบ่งโดยกายวิภาคและหน้าที่เป็นสองอย่าง คือ เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell, OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ความเสียหายต่อเซลล์ขนทำให้ได้ยินน้อยลง และเพราะว่า เซลล์ขนไม่สามารถเกิดใหม่ ดังนั้น ความเสียหายก็จะคงยืน แต่ว่า ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ปลาม้าลายและสัตว์ปีกที่เซลล์ขนสามารถเกิดใหม่ได้ คอเคลียของมนุษย์มี IHC ประมาณ 3,500 ตัว และ OHC 12,000 ตัว OHC มีหน้าที่ขยายเสียงเบา ๆ ที่เข้ามาในคอเคลีย (แต่ไม่ขยายเสียงที่ดังถึงระดับหนึ่งแล้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของมัดขน หรือว่า จากการเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองที่ได้พลังงานจากไฟฟ้า ส่วน IHC จะเปลี่ยนแรงสั่นของเสียงในน้ำไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังก้านสมอง และต่อไปยังคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) เพื่อแปลและประมวลผลต่อ ๆ ไป.

ดู ตัวรับแรงกลและเซลล์ขน

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ดู ตัวรับแรงกลและเซลล์ประสาท

เซลล์ประสาทรับความรู้สึก

ซลล์ประสาทรับความรู้สึก หรือ นิวรอนรับความรู้สึก (sensory neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เปลี่ยนตัวกระตุ้นภายนอกต่าง ๆ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ให้เป็นตัวกระตุ้นภายใน นิวรอนรับความรู้สึกเริ่มทำงานเมื่อเกิดสัญญาณความรู้สึก แล้วส่งข้อมูลความรู้สึกต่อไปในส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะไปถึงสมองหรือไขสันหลัง โดยที่ไม่เหมือนเซลล์ประสาทของระบบประสาทกลาง ที่มีสัญญาณเข้ามาจากเซลล์ประสาทอื่น ๆ นิวรอนรับความรู้สึกเริ่มทำงานเพราะรับการกระตุ้นด้วยคุณลักษณะทางกายภาพอย่างหนึ่งของตัวกระตุ้น เป็นต้นว่าแสงที่มองเห็นได้ เสียง ความร้อน และการกระทบทางกาย หรือด้วยคุณลักษณะทางเคมี เช่นในกรณีของกลิ่นและรส ในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน ระบบประสาทกลางเป็นจุดหมายปลายทางที่นิวรอนรับความรู้สึกส่งข้อมูลไปหา ส่วนในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนน้อยกว่า เช่น ตัวไฮดรา นิวรอนรับความรู้สึกส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons) หรือปมประสาทสั่งการ ในระดับโมเลกุล หน่วยรับความรู้สึกที่อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก มีหน้าที่แปลงข้อมูลตัวกระตุ้นให้เป็นพลังประสาทไฟฟ้า ประเภทของหน่วยรับความรู้สึกเป็นตัวตัดสินว่าเซลล์จะมีความไวต่อตัวกระตุ้นแบบไหน ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทที่มีหน่วยรับความรู้สึกเชิงกล อาจจะมีความไวต่อตัวกระตุ้นสัมผัส ในขณะที่หน่วยรับกลิ่นก็จะยังเซลล์ให้ไวต่อกลิ่น.

ดู ตัวรับแรงกลและเซลล์ประสาทรับความรู้สึก

เนื้อขาว

นื้อขาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (White matter, substantia alba) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสองส่วนของระบบประสาทกลางในสมอง โดยมากประกอบด้วยเซลล์เกลียและแอกซอนหุ้มด้วยปลอกไมอิลิน ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเขตหนึ่งในซีรีบรัมไปยังอีกเขตหนึ่ง และส่งสัญญาณระหว่างซีรีบรัมและศูนย์สมองอื่น ๆ ในระดับที่ต่ำกว่า เนื้อขาวของสมองที่ผ่าออกใหม่ ๆ ปรากฏเป็นสีชมพูอมขาวดังที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็เพราะว่าปลอกไมอิลินโดยมากทำด้วยลิพิด (ไขมัน) มีหลอดเลือดฝอยวิ่งผ่าน และที่มีสีขาวก็เพราะดองไว้ในฟอร์มาลดีไฮด์ องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของสมองก็คือเนื้อเทา (ซึ่งปรากฏเป็นสีชมพูอมน้ำตาลก็เพราะหลอดเลือดฝอย) ซึ่งประกอบด้วยนิวรอน ส่วนที่สามในสมองที่ปรากฏเป็นสีที่ดูเข้มกว่า ก็เพราะมีระดับเม็ดสี melanin ที่สูงกว่าเขตรอบข้าง เป็นส่วนของ substantia nigra ที่มีนิวรอนประเภทที่ใช้โดพามีนเป็นสารสื่อประสาท ให้สังเกตว่าเนื้อขาวบางครั้งปรากฏเป็นสีเข้มกว่าเนื้อเทาเมื่อดูในสไลด์ใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ก็เพราะเหตุสีที่ย้อม ถึงแม้ว่าเนื้อขาวจะได้รับการพิจารณามานานว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้ทำอะไร แต่จริง ๆ ก็ทำหน้าที่มีผลสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานของสมอง ในขณะที่เนื้อเทาทำหน้าที่เกี่ยวกับการแปลผลและประชาน (คือการรับรู้) เนื้อขาวก็ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดศักยะงาน ที่ประสานการสื่อสารระหว่างเขตต่าง ๆ ของสมอง.

ดู ตัวรับแรงกลและเนื้อขาว

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ดู ตัวรับแรงกลและเนื้อเยื่อ

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ดู ตัวรับแรงกลและเนื้อเยื่อบุผิว

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ดู ตัวรับแรงกลและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

Two-point discrimination

Two-point discrimination คือ การแยกแยะเมื่อถูกกระตุ้นบนผิวหนังด้วยสองจุดพร้อมๆกัน โดยเรียกการทดสอบความสามารถในการแยกแยะว่ามีการกระตุ้นสองตำแหน่งพร้อมๆกันว่า Two-point discrimination test หมวดหมู่:สรีรวิทยา.

ดู ตัวรับแรงกลและTwo-point discrimination

ดูเพิ่มเติม

การรับรู้

ตัวรับความรู้สึก

พฤติกรรมวิทยา

ระบบรับความรู้สึก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Cutaneous mechanoreceptorIntermediate adapting cutaneous mechanoreceptorsMechanoreceptorMechanoreceptorsRapidly adapting cutaneous mechanoreceptorsSlowly adapting cutaneous mechanoreceptorsตัวรับแรงกลที่หนังนิวรอนรับแรงกลเซลล์ประสาทรับแรงกล

ความเร็วคอลลาเจนค้อนตัวกระตุ้นตัวรับความรู้สึกตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดต่อมเหงื่อปมประสาทรากหลังประสาทสมองปลอกไมอีลินปลายรัฟฟินีปลายประสาทรับร้อนปลายประสาทอิสระปลายประสาทเมอร์เกิลปอดบวมปอดบวมน้ำนิ้วนิ้วมือแกนประสาทนำออกแรงแคลเซียมใบหน้าใยประสาทนำเข้าใยเชื่อมปลายโพรแคริโอตโซเดียมโปรตีนไมโครเมตรไอออนไขสันหลังเมตรต่อวินาทีเม็ดพาชีเนียนเม็ดรู้สัมผัสเยื่อหุ้มเซลล์เสียงเส้นผมเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นประสาทเอ็นเฮิรตซ์เท้าเซลล์ขนเซลล์ประสาทเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเนื้อขาวเนื้อเยื่อเนื้อเยื่อบุผิวเนื้อเยื่อเกี่ยวพันTwo-point discrimination