โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์กินเนื้อ

ดัชนี สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

38 ความสัมพันธ์: ชะมดชะมดแปลงพันธุศาสตร์กายวิภาคศาสตร์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มาร์เทินยูเธอเรียวอลรัสวุลเวอรีนวงศ์ชะมดและอีเห็นวงศ์พังพอนวงศ์ครึ่งหมาวงศ์แพนด้าแดงวงศ์แมวน้ำวงศ์แร็กคูนวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบวงศ์เพียงพอนวงศ์เสือและแมวสกังก์สมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิงโตทะเลหมาหมาหริ่งหมาป่าหมีหมีขาวนากแพนด้าแดงแมวน้ำมีหูแร็กคูนไฟลัมไฮยีน่าเพียงพอนเนื้อสัตว์

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลง

มดแปลง (Asiatic linsang) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Prionodon (/ไพร-โอ-โน-ดอน/) ในวงศ์ย่อย Prionodontinae (หรือแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก คือ Prionodontidae) ชะมดแปลง เป็นชะมดจำพวกหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับชะมดส่วนใหญ่ทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียว มีหางยาว ความยาวลำตัวไม่เกิน 30 เซนติเมตร อาศัยและหากินส่วนใหญ่บนต้นไม้ ด้วยรูปร่างที่เพรียวยาวจึงทำให้ดูเผิน ๆ เหมือนงูไต่ตามต้นไม้มากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อุ้งตีนมีซองเก็บเล็บได้เหมือนสัตว์ตระกูลแมว มีสีขนตามลำตัวเป็นจุดหรือลายแถบคดเคี้ยวแตกต่างไปตามชนิด ส่วนหางเป็นปล้อง ๆ ไม่มีขนแผงคอหรือขนที่สันหลัง และมีลักษณะเด่นเฉพาะ คือ ไม่มีต่อมผลิตกลิ่น เหมือนชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า ชะมดแปลงหน้า 82-84, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและชะมดแปลง · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เทิน

มาร์เทิน หรือ หมาไม้ (marten) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) อันเป็นวงศ์เดียวกับนาก, เพียงพอน, หมาหริ่ง และวุลเวอรีน ใช้ชื่อสกุลว่า Martes มาร์เทิน มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาว ส่วนใบหน้าคลายกับสุนัข ใบหูมีขนาดกลมเล็ก หางยาวเป็นพวง มีอุ้งเท้าที่หนาและมีกรงเล็บที่แหลมคม ขนหนานุ่มมีสีขนที่หลากหลาย ตั้งแต่สีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ แตกต่างไปกันตามชนิดและแต่ละภูมิภาคที่อาศัย มีขนาดลำตัวและน้ำหนักพอ ๆ กับแมว ปกติเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยเพียงลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ มาร์เทิน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียว ส่วนมากมักหากินในเวลากลางคืน สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, เอเชียเหนือ, ไซบีเรีย, เอเชียตะวันออก, ตอนใต้ของอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศที่หลากหลายได้ทั้งป่าดิบ, ป่าละเมาะ จนถึงชุมชนของมนุษย์ใกล้กับชายป.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและมาร์เทิน · ดูเพิ่มเติม »

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและยูเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

วอลรัส

วอลรัส (walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในวงศ์ Odobenidae และสกุล Odobenus อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่ตัวใหญ่กว่ามากและมีเขี้ยวยาว วอลรัสเพศผู้โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม และมีอายุยืนถึง 20-30 ปี วอลรัสมีความสำคัญต่อชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตอาร์กติก การล่าวอลรัสในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ส่งผลให้จำนวนวอลรัสลดลง.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวอลรัส · ดูเพิ่มเติม »

วุลเวอรีน

ำหรับตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ดูที่ วูล์ฟเวอรีน (ตัวละคร) วุลเวอรีน (wolverine)Wozencraft, W. C. (16 November 2005).

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวุลเวอรีน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์ชะมดและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พังพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์เพียงพอน วงศ์พังพอน (mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์พังพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ครึ่งหมา

วงศ์ครึ่งหมา (Hemicyonidae) หรือ วงศ์สัตว์ครึ่งหมา เป็นวงศ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ถิ่นอาศัยเก่าคือยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา และ เอเชีย ยุคออลิโกซีนจนกระทั่งยุคไมโอซีน เคยมีชีวิตเป็นเวลา 33.9–5.3 ล้านปี นักวิชาการบางคนจัดวงศ์ครึ่งหมาเป็นวงศ์แยก หรือบางคนจัดเป็นวงศ์ย่อยของหมี.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์ครึ่งหมา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แพนด้าแดง

วงศ์แพนด้าแดง เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuridae (/ไอ-เลอ-ริ-ดี/) ซึ่งมีเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ คือ แพนด้าแดง ที่พบกระจายพันธุ์ในป่าตามแนวเทือกเขาหิมาลัยของเอเชียตะวันออกจนถึงเอเชียใต้ เดิมทีนักวิทยาศาสตร์ คือ จอร์จส์ คูเวียร์ ได้จัดให้แพนด้าแดงอยู่ในวงศ์เดียวกันกับแรคคูน คือ Procyonidae ในปี..

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์แพนด้าแดง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แมวน้ำ

วงศ์แมวน้ำแท้ (อังกฤษ: true seal, earless seal) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ วงศ์ Phocidae (ไม่มีใบหู) และวงศ์ Otariidae (มีใบหู) และ Odobenidae (วอลรัส).

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์แมวน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แร็กคูน

วงศ์แร็กคูน (Procyonid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyonidae (/โพร-ไซ-โอ-นิ-เด/) ลักษณะโดยร่วมของสัตว์ในวงศ์นี้คือ มีลำตัวสั้น มีหางยาว มีลวดลายตามลำตัวหรือใบหน้าหรือไม่มีในบางชนิด หากินได้ทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ มักออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่กินพืชหรือละอองเกสรดอกไม้หรือน้ำผึ้งเป็นอาหารหลัก มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่พบได้ในโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ แร็กคูน, คิงคาจู, โคอาที, โอลิงโก เป็นต้น เดิมสัตว์ในวงศ์นี้เคยครอบคลุมถึงแพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงที่พบในทวีปเอเชียด้วย ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันและมีพฤติกรรมการหากินใกล้เคียงกัน แต่ทว่าเมื่อมีการศึกษาลงไปถึงระดับโมเลกุลของสารพันธุกรรม ได้แก่ การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ และการทดสอบเปรียบเทียบตำแหน่งของเบสในสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกเป็นสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าแพนด้าแดงมีสารพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากแร็กคูน และมีสายวิวัฒนาการแยกออกมาจากสายวิวัฒนาการของแร็กคูนมาเป็นเวลานานกว่า 30-40 ล้านปีแล้ว จึงได้จำแนกแพนด้าแดงออกมาจากวงศ์ Procyonidae และจัดอยู่ในวงศ์เฉพาะของตนเองคือ วงศ์ Ailuridae และในส่วนของแพนด้ายักษ์ก็ถือว่าก้ำกึ่งอยู่ระหว่างแร็กคูน, หมี และแพนด้าแดง แต่เมื่อศึกษาถึงคาริโอไทป์พบว่าแพนด้ายักษ์มีลักษณะคล้ายคลึงกับหมีมากกว่า จึงจัดให้แพนด้านั้นเป็นหมี หรืออยู่ในวงศ์ต่างหาก คือ Ailuropodidae.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์แร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ

ัตว์ตีนครีบ (Pinnipedia) หรือ วงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ เป็นวงศ์ใหญ่ที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลที่มีเท้าครีบ วงศ์ใหญ่มีวงศ์อื่น ๆ รองลงมาได้แก่ วงศ์วอลรัส วงศ์แมวน้ำมีหู และ วงศ์แมวน้ำ วงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบมี 33 สปีชีส์ และมีมากกว่า 50 สปีชีส์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยมีการค้นพบจากหลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ สัตว์ตีนครีบจัดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ และสัตว์ในวงศ์อื่นที่มีเชื้อสายใกล้เคียงมากที่สุดคือสัตว์ในวงศ์หมีและวงศ์เพียงพอน (เพียงพอน แรคคูน และ สกังก์).

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์พังพอน วงศ์เพียงพอน หรือ วงศ์วีเซล (weasel family, mustelid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelidae (มาจากภาษาละตินคำว่า Mustela หมายถึง "เพียงพอน") ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีหัวกลม ใบหูสั้นกลม ขาสั้นเตี้ย ลำตัวเพรียวยาว หางยาว มีขนที่อ่อนนุ่มและหนาทั้งตัวและหาง อุ้งเล็บตีนแหลมคม ในปากมีฟันที่แหลมคม มีฟันตัดเหมาะสมสำหรับการกินเนื้อ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และกินอาหารได้หลากหลายไม่เลือกทั้งพืชและสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพียงพอน จะล่ากระต่ายกินเป็นอาหาร ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทำการล่าเป็นฝูงและมุดเข้าไปลากดึงเอาถึงในโพรงจากลำตัวที่เพรียวยาว ลักษณะเด่นคือประการ คือ ส่วนมากยกเว้นนากทะเล จะมีต่อมกลิ่นใกล้กับรูทวาร ซึ่งผลิตสารเคมีที่เป็นของเหลวเหมือนน้ำมันสีเหลือง มีกลิ่นฉุนสำหรับใช้ประกาศอาณาเขตและใช้เป็นการประกาศทางเพศ และเมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะยังไม่ฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเป็นตัวอ่อนและพัฒนาต่อมาจนกระทั่งคลอดออกมาในฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิอากาศพอเหมาะแก่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นมา ซึ่งตัวแม่จะออกลูกและเลี้ยงดูลูกไว้ในโพรงดินหรือโพรงไม้ ลูกอ่อนจะยังไม่ลืมตา และมีขนบาง ๆ ปกคลุมตัวเท่านั้น จนกระทั่งอายุได้ราว 2-3 เดือน จึงจะเริ่มหย่านม และออกมาใช้ชีวิตเองตามลำพังเมื่ออายุได้ราว 1 ปี พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้งในป่าทึบ, ที่ราบสูง, พื้นที่ชุ่มน้ำ, ชายฝั่งทะเล ตลอดจนชุมชนเมืองของมนุษย์ จนกระทั่งหลายชนิดเป็นสัตว์รังควานสร้างความเสียหายให้แก่มนุษ.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์เพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและวงศ์เสือและแมว · ดูเพิ่มเติม »

สกังก์

กังก์ (Skunk) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อ ที่อยู่ในวงศ์ Mephitidae สกังก์ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น วีเซล, มาร์เทิน, หมาหริ่ง, หมูหริ่ง, แบดเจอร์ ซึ่งสกังก์เคยถูกเป็นวงศ์ย่อยใช้ชื่อว่า Mephitinae แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าสกังก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงศ์เพียงพอน จึงแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสกังก์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยง

ัตว์เลี้ยง (สุนัข) ในภาพจิตรกรรม ''A Highland Breakfast'' โดย Edwin Landseer สัตว์เลี้ยง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อนหรือเพื่อคุ้มครองบุคคลเป็นหลัก ต่งจากสัตว์ใช้งาน สัตว์กีฬา ปศุสัตว์และสัตว์ทดลอง เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อการแสดง ใช้ในเกษตรกรรมหรือการวิจัยเป็นหลัก.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตทะเล

งโตทะเล หรือ หมีทะเล (Sea lions, Sea bears) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ในอันดับ Pinnipedia หรือแมวน้ำ จัดเป็นแมวน้ำมีหูจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ตั้งแต่ทะเลเขตหนาวแถบขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติก และเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นในทวีปแอฟริกาหรืออเมริกาใต้ หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น เกาะกาลาปากอส สิงโตทะเล มีลักษณะแตกต่างจากแมวน้ำ คือ มีใบหูขนาดเล็กที่ข้างหัวทั้งสองข้าง สามารถใช้ครีบทั้งสี่ข้างนั้นคืบคลานไปมาบนบกได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิน ต่างจากแมวน้ำที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่ออยู่บนบกครีบของแมวน้ำใช้ได้เพียงแค่คืบคลานหรือกระเถิบตัวเพื่อให้เคลื่อนที่เท่านั้น สิงโตทะเลโดยทั่วไปมีอายุโดยเฉลี่ย 20–30 ปี อาหารหลัก คือ ปลาและปลาหมึก มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดในแต่ละภูมิภาค โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ สิงโตทะเลสเตลลาร์ (Eumetopias jubatus) ที่ตัวผู้อาจยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม สิงโตทะเลชนิดที่พบได้บ่อย คือ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (Zalophus californianus) ตัวผู้มีความยาว 2.41 เมตร เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนัก 300 กิโลกรัม.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและสิงโตทะเล · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมาหริ่ง

ระวังสับสนกับ: หมูหริ่ง หมาหริ่ง หรือ หมาหรึ่ง (badger, ferret-badger; 鼬獾屬) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในสกุล Melogale ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก จัดเป็นแบดเจอร์สกุลหนึ่ง มีลำตัวยาวประมาณ 33-39 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 15-21 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม มีช่วงขาที่สั้น เล็บนิ้วกางแยกออกจากกันและมีกรงเล็บที่แหลมคม สีขนเป็นสีน้ำตาลแกมเทาจนถึงสีดำ ส่วนหัวมีสีเข้มกว่าลำตัว มีลายแถบสีขาวระหว่างตาแถบหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดเจน และมีแถบสีขาวข้างแก้มและเหนือตาจากผ่านตามแนวสันคอจรดถึงหัวไหล่ เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวรุนแรง เนื่องจากมีต่อมผลิตกลิ่นอยู่ที่อยู่ที่บริเวณใกล้ก้น ซึ่งจะผลิตกลิ่นเหม็นออกจากเมื่อถูกคุกคามหรือตกใจ จัดเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่ป่าดิบ, ทุ่งหญ้า, นาข้าว จนถึงพื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินหรือโพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งกินได้ทั้งพืชและสัตว์ต่าง ๆ อาทิ ผลไม้, ลูกไม้, สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก, แมลง, หนู, หอยทาก เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจปีนต้นไม้ขึ้นไปหากินได้ ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยจะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ตั้งท้องนานประมาณ 3 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว ในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งในบางครั้งอาจพบอยู่ด้วยกันในโพรงเดียวประมาณ 4-5 ตัว พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและหมาหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่า

หมาป่า หรือ หมาป่าสีแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพัน.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมี

หมี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและหมี · ดูเพิ่มเติม »

หมีขาว

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (polar bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและหมีขาว · ดูเพิ่มเติม »

นาก

นาก (ไทยถิ่นเหนือ: บ้วน) เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ใหญ่ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับวีเซลหรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) เป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้างแบน หูมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้ขน นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายน้ำร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับปลาและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบางชนิดอาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น บึง, ทะเลสาบ, ลำธาร, ป่าชายเลน แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ท้องร่องในสวนผลไม้, นาข้าว หรือนากุ้ง เป็นต้น พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ บางชนิดพบในทะเล คือ นากทะเล (Enhydra lutris) ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย นากมีความสำคัญต่อมนุษย์ คือ ในอดีตมีการล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปมีการล่าอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ ซึ่งเสื้อขนสัตว์ 1 ตัว ต้องใช้ขนของนากมากถึง 40 ตัว จนทำให้ใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งในปี ค.ศ. 1975 ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้นากได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการลักลอบกันอยู.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและนาก · ดูเพิ่มเติม »

แพนด้าแดง

แพนด้าแดง (Red panda, Shining cat; 小熊貓; พินอิน: Xiǎo xióngmāo) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดสายพันธุ์อยู่ จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ailurus มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความยาวของลำตัวและหัว 51-64 เซนติเมตร หางยาว 50-63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3-4.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ทิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500-4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1-9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0-1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1-3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90-145 วัน และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก และมีสีที่ใบหน้าซีดจางกว่า ซึ่งเป็นชนิดย่อยที่แยกออกไป สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ ปัจจุบันมีแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต และสวนสัตว์เปิดเขาเขียวเท่านั้น.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและแพนด้าแดง · ดูเพิ่มเติม »

แมวน้ำมีหู

แมวน้ำมีหู (Eared seals) เป็นวงศ์ที่จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ มี 15 สปีชีส์ ใน 7 สกุล (อีกสปีชีส์หนึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงปี ค.ศ. 1947) วงศ์แมวน้ำมีหูมีสองวงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อยสิงโตทะเล กับ วงศ์ย่อยแมวน้ำขน (fur seals) วงศ์แมวน้ำมีหูเป็นวงศ์ที่แตกต่างจากวงศ์แมวน้ำแท้ (true seals) และ วงศ์วอลรัส แมวน้ำมีหูเป็นสัตว์กึ่งบกกึ่งน้ำ โดยออกหากินและเดินทางในน้ำ แต่ผสมพันธุ์และพักผ่อนบนแผ่นดินหรือน้ำแข็ง อาศัยอยู่ในอากาศที่ค่อนข้างหนาว อยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ มหาสมุทรอินเดียตอนใต้และมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ จะไม่ค่อยอาศัยในมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและแมวน้ำมีหู · ดูเพิ่มเติม »

แร็กคูน

แร็กคูน (raccoon, common raccoon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyon lotor อยู่ในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) มีความยาวลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวงมีแถบสีดำคาดเป็นปล้อง ๆ ยาวราว 10 นิ้ว ขนตามลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดจากตาไปเป็นแถบตลอดแก้ม แลดูคล้ายเหมือนโจรสวมหน้ากาก เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลางในหลายพื้นที่ ทั้งในป่า หรือแม้แต่ชุมชนของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเนื้อสัตว์และพืช อีกทั้งยังชอบที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการจับสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร เช่น กบ, ปลา, กุ้ง และปู หรือเต่าขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งนกหรือแมลงปีกแข็งขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ จะใช้วิธีการจับในน้ำตื้น ๆ ที่ขาหยั่งถึงแทน ในช่วงฤดูแล้งที่อาหารขนาดแคลนก็จะกินลูกไม้, ผลไม้ และดอกข้าวโพด เป็นอาหาร หรืออาจจะบุกเข้าไปในบ้านเรือนของมนุษย์ ขุดคุ้ยหาขยะหรือเศษอาหาร หรือแม้กระทั่งเปิดตู้เย็นหากิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนมือสำหรับหยิบจับอาหาร ซึ่งสามารถกระทำได้ถึงขนาดคลายปมเชือก และยังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมพิเศษ คือ ก่อนจะกินอาหาร มักจะนำไปล้างน้ำเสียก่อน จนมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์รักสะอาด แต่ความจริงแล้ว เป็นพฤติกรรมที่จะนวดอาหารให้นิ่มซะก่อน ก่อนที่จะกิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้เก่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ในเวลากลางวันจะนอนขดอยู่ตามพงไม้ หรือซอกหิน หรือนอนผึ่งแดดอยู่ในรัง ในตอนกลางคืนจะออกหากิน โดยใช้เส้นทางเดิม และมักจะใช้เส้นทางที่เป็นพื้นแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดรอยเท้า ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล แร็กคูน เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก จึงมีผู้นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง อีกทั้งขนและหนังมีความหนานุ่มและสีสวย จึงมีการล่าเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ด้วย ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยแร็กคูนถูกนำเข้าไปในเยอรมนีครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและแร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไฮยีน่า

ีนา (hyena; มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า ὕαινα ออกเสียงว่า /ฮือไอนา/ หรือ /ฮือแอนา/) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Hyaenidae ไฮยีนา มีลักษณะและรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสุนัขหรือหมาป่า ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์ Canidae แต่ไฮยีนาก็ไม่ใช่สุนัข หากแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของตนเองต่างหาก โดยอยู่ในอันดับย่อย Feliformia ซึ่งใกล้เคียงกับแมวและเสือ (Felidae) มากกว.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและไฮยีน่า · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M. sibirica), เพียงพอนเหลือง (M. nudipes) และเพียงพอนเส้นหลังขาว (M. strigidorsa).

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อสัตว์

นื้อสัตว์ต่าง ๆ เนื้อสัตว์ เป็นเนื้อของสัตว์ที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหาร มนุษย์เป็นสัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ ล่าและฆ่าสัตว์เอาเนื้อมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของอารยธรรมทำให้มนุษย์นำสัตว์มาเลี้ยง เช่น ไก่ แกะ หมูและปศุสัตว์ และนำมาใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ในระดับอุตสาหกรรมในที่สุด เนื้อสัตว์ประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ และโดยปกติกินร่วมกับอาหารอย่างอื่น เนื้อสัตว์นั้นกินดิบ ๆ ได้ แต่ปกติจะกินสุกและสามารถปรุงรสได้หลายวิธี หากไม่ผ่านการแปรรูป เนื้อสัตว์จะเน่าในเวลาไม่กี่วัน การเน่าเสียของเนื้อสัตว์นั้นเกิดจากการติดเชื้ออันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจากการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและฟังไจ ซึ่งอาจจะมาจากตัวเนื้อสัตว์เอง มาจากมนุษย์จัดการกับเนื้อสัตว์ และจากกระบวนการปรุงอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์นั้นมีหลากหลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม หรือศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้กินมังสวิรัติเลือกไม่กินเนื้อ ด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ศาสนาหรือสุขภาพ ซึ่งสัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์ โดยส่วนใหญ่ เนื้อสัตว์หมายถึงกล้ามเนื้อโครงร่างและไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่อาจหมายถึงเนื้อเยื่อที่กินได้ เช่น เครื่องในสัตว์ ในทางกลับกัน เนื้อสัตว์ บางครั้งใช้เรียกอย่างจำกัด คือหมายถึงเพียงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หมู, ปศุสัตว์, แกะ, ฯลฯ) ที่ถูกเลี้ยงดูและเตรียมไว้ให้มนุษย์บริโภค แต่ไม่รวมถึงปลา สัตว์ทะเลต่าง ๆ สัตว์ปีก หรือสัตว์ชนิดอื่น.

ใหม่!!: สัตว์กินเนื้อและเนื้อสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CarnivoraCarnivoreCarnivoresOrder Carnivoraกินเนื้ออันดับสัตว์กินเนื้อคาร์นิวอราคาร์นิวอร์รา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »