โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตวิทยาเกสทัลท์

ดัชนี จิตวิทยาเกสทัลท์

ตวิทยาเกสตัลต์ (gestalt psychology หรือ gestaltism, Gestalt – แก่นหรือรูปทรงแห่งรูปแบบสมบูรณ์ของสิ่ง ๆ หนึ่ง") เป็นทฤษฎีจิตใจและสมองของสำนักจิตวิทยาเชิงทดลองกรุงเบอร์ลิน หลักการเชิงปฏิบัติการของจิตวิทยาเกสตัลต์ คือ สมองเป็นแบบองค์รวม ขนานและเป็นเชิงอุปมาน (analog) โดยมีแนวโน้มจัดระเบียบตนเอง หลักการนี้มีว่า ตามนุษย์มองวัตถุทั้งหมดก่อนค่อยรับรู้ส่วนย่อย เป็นการแนะนัยว่า องค์รวมนั้นโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนประกอบย่อย จิตวิทยาเกสตัลต์พยายามทำความเข้าใจกฎของความสามารถของมนุษย์ที่จะได้รับและธำรงความรับรู้ที่มั่นคงในโลกอันวุ่นวายนี้ นักจิตวิทยาเกสตัลต์กำหนดว่า การรับรู้เป็นผลของอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างสิ่งเร้าทั้งหลาย นัดจิตวิทยาเกสตัลต์มุ่งทำความเข้าใจการจัดระเบียบกระบวนการคิด ขณะที่นักพฤติกรรมนิยมทำความเข้าใจองค์ประกอบของกระบวนการคิด (Carlson and Heth, 2010) ปรากฏการณ์เกสตัลต์เป็นขีดความสามารถสร้างแบบของสัมผัสมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจดจำรูปทรงและแบบทั้งหมดด้วยตา แทนที่จะเป็นเพียงเส้นตรงและเส้นโค้งหลายเส้นรวมกัน ในวิชาจิตวิทยา จิตวิทยาเกสตัลต์มักค้านต่อโครงสร้างนิยม วลี "ทั้งหมดโดดเด่นกว่าผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is greater than the sum of the parts) มักใช้เมื่ออธิบายทฤษฎีเกสตัลต์ แม้จะเป็นการแปลผิดจากวลีดั้งเดิมของคูร์ท คอฟฟ์คา ที่ว่า "ทั้งหมดเป็นคนละอย่างกับผลรวมของส่วนย่อย" (The whole is other than the sum of the parts) ทฤษฎีเกสตัลต์พิจารณาการแยกส่วนจากสถานการณ์รวมมาเป็นสิ่งที่เป็นจริง.

1 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมนิยม

พฤติกรรมนิยม

ติกรรมนิยม (behaviorism/behaviourism) เป็นแนวทางสู่จิตวิทยาซึ่งรวมปรัชญา วิธีวิทยาและทฤษฎีบางส่วน กำเนิดขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นปฏิกิริยาต่อจิตวิทยา "มโนนิยม" ซึ่งมักลำบากในการพยากรณ์ที่สามารถทดสอบได้โดยใช้วิธีทดลองอย่างเคร่งครัด หลักพื้นฐานของพฤติกรรมนิยมดังที่แสดงในงานเขียนของจอห์น บี. วัตสัน, บี. เอฟ. สกินเนอร์ และอื่น ๆ คือ จิตวิทยาควรเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลและสัตว์ที่สังเกตได้ มิใช่เหตุการณ์สังเกตไม่ได้ที่เกิดในจิต สำนักคิดพฤติกรรมนิยมถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวสามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้โดยไม่ต้องอาศัยทั้งเหตุการณ์จิตวิทยาภายในหรือการตีความสมมุติฐาน เช่น ความคิดความเชื่อ นับแต่จิตวิทยายุคต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำนักคิดพฤติกรรมนิยมมีลักษณะควบร่วมกับขบวนการจิตวิเคราะห์และเกสตัลท์ในจิตวิทยาจนคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ยังต่างจากปรัชญาจิตของนักจิตวิทยาเกสตัลท์ในทางสำคัญ อิทธิพลหลักของสำนักคิดนี้คือ อีวาน ปัฟลอฟซึ่งสำรวจการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning) แม้เขาไม่ได้เห็นด้วยกับพฤติกรรมนิยมหรือนักพฤติกรรมนิยม เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดก์, จอห์น บี.

ใหม่!!: จิตวิทยาเกสทัลท์และพฤติกรรมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GestaltGestalt psychologyGestaltismจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์จิตวิทยาเกสชทอลต์จิตวิทยาเกสชตอลต์จิตวิทยาเกสทอลต์จิตวิทยาเกสตอลต์จิตวิทยาเกสตัลต์เกสชทอลต์เกสชตอลต์เกสทอลต์เกสตอลต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »