โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับกบ

ดัชนี อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

65 ความสัมพันธ์: ฟันพ.ศ. 2363พ.ศ. 2552พืชพืชน้ำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานกบทูดกบนาการร่วมเพศการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การขอฝนการตั้งชื่อทวินามการปฏิสนธิมิลลิเมตรมนุษย์ยุคจูแรสซิกยีนลิสแซมฟิเบียลูกอ๊อดวัฒนธรรมวงศ์กบมีหางวงศ์กบลูกศรพิษวงศ์กบนาวงศ์กบเล็บวงศ์อึ่งกรายวงศ์อึ่งอ่างวงศ์คางคกวงศ์คางคกหมอตำแยวงศ์ปาดโลกเก่าสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์เลี้ยงสุริยุปราคาสีทองสปีชีส์อึ่งปากขวดอุทัยเทวีอนุกรมวิธานจันทรุปราคาจ้วงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ความเชื่อคางคกคางคกโพรงเม็กซิกันซากดึกดำบรรพ์...ประเทศไทยปลาปี่เซียะนิทานน้ำแผนที่โมเลกุลไม้ต้นไทยรัฐไทยสยามไดโนเสาร์เอ็มบริโอเอเอสทีวีผู้จัดการเขตร้อนPaedophryne amauensis ขยายดัชนี (15 มากกว่า) »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: อันดับกบและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2363

ทธศักราช 2363 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อันดับกบและพ.ศ. 2363 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: อันดับกบและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: อันดับกบและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชน้ำ

ัวทั่วไป ใบอยู่ผิวน้ำ ดอกอยู่เหนือน้ำ พืชน้ำ หรือ พรรณไม้น้ำ (aquatic plant, aquatic weed, water plant) เป็นพืชที่อาศัยหรือเจริญเติบโตในน้ำ หรือมีช่วงหนึ่งที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำ อาจอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือมีบางส่วนขึ้นสู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่ตามผิวน้ำ เจริญเติบโตบริเวณที่มีน้ำตามแนวชายฝั่ง พืชที่เจริญเติบโตในที่มีน้ำขัง พื้นที่ชื้นแฉะ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม โดยสามารถแยกเป็นสี่ประเภทหลัก พืชใต้น้ำ (submerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตใต้น้ำทั้งหมด หรือหมายถึงพืชที่ทั้งราก ลำต้น ใบ อยู่ใต้น้ำทั้งหมด ทั้งนี้รากอาจยึดกับพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ โครงสร้างลำต้นและใบจะมีช่องว่างมากสำหรับใช้เป็นที่สะสมก๊าซ และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ส่วนใบมักจะกรอบและบาง ไม่มีปากใบและคิวติน พืชจำพวกนี้พบมากในกลุ่มสาหร่ายต่าง ๆ พืชโผล่เหนือน้ำ (emerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตในน้ำเพียงบางส่วน เช่น รากและลำต้น ส่วนรากอาจยึดพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ มีใบหรือดอกโผล่พ้นน้ำหรืออาจอยู่ที่ผิวน้ำ บางชนิดอาจมีทั้งใบใต้น้ำและใบเหนือน้ำในลำต้นเดียวกัน ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงกว่าพืชใต้น้ำมีคิวตินมีปากใบและคิวติน พบมากในพืชกลุ่มบัวต่าง ๆ ผักตับเต่า แว่นแก้ว สาหร่ายญี่ปุ่น พืชลอยน้ำ (floating plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้โดยลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ รากจะอยู่ใต้น้ำ ส่วนของลำต้น ใบ และดอก อยู่เหนือน้ำหรือผิวน้ำ สามารถลอยไปมาได้ หากพืชเหล่านี้อยู่บริเวณน้ำตื้นรากของพืชชนิดนี้อาจยึดอยู่กับพื้นดินใต้น้ำได้ พืชจำพวกนี้ได้แก่ ผักตบไทย ผักตบชวา จอกหูหนู กระจับ ผำ ผักบุ้ง พืชชายน้ำ (merginal plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตบริเวณริมน้ำหรือริมตลิ่ง ทั้งบริเวณหนองน้ำ ริมคลอง บริเวณที่มีน้ำขัง โดยรากจะฝังในดิน ส่วนลำต้น ใบ และดอก จะอยู่เหนือน้ำ.

ใหม่!!: อันดับกบและพืชน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ใหม่!!: อันดับกบและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

กบทูด

กบทูด หรือ กบภูเขา หรือ เขียดแลว (Kuhl's creek frog, Giant asian river frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnonectes blythii) เป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในที่พบได้ในประเทศไทย ความยาวจากปลายปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง อยู่ตามลำห้วยป่าดิบเฉพาะแห่ง โดยพบภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย เช่นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา, อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในกัมพูชา, ลาว และเวียดนาม มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุดสีดำ น้ำตาลเข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอนกลางคืน ชอบสภาพอากาศค่อนข้างเย็น เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า บริเวณเหล่านี้ล้วนมีสภาพชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้ตายได้ ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ฤดูผสมพันธุ์ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่ตัวเองขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร กบทูด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ปัจจุบัน กบทูดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งในประเทศไทย อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยทางกรมประมง เช่น สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้วในขณะนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและกบทูด · ดูเพิ่มเติม »

กบนา

กบนา (Chinese edible frog, East Asian bullfrog, Taiwanese frog; 田雞, 虎皮蛙) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae) ลักษณะผิวด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 200–400 กรัม กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูมเคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่มเมื่อคลำดูมีลักษณะ สากมือ ตุ่มที่ด้านข้างลำตัวแสดงถึงความพร้อมของตัวเมีย กบนาตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 150– 50 กรัม เมื่อโตเต็มที่และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมองเห็นถุงเสียง เป็นรอยย่นสีดำที่ใต้คาง ถุงเสียงเกิดจากการที่กบนาตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ในช่วงนี้ลำตัวจะมีสีเหลือง นิ้วเท้าด้านหน้าจะมีตุ่มที่ขยายใหญ่ขึ้น มองเห็นได้ชัดเจน ตุ่มนี้มีประโยชน์ในการใช้เกาะตัวเมียและตุ่มนี้จะหายไปในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ที่ระหว่างเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกันยายน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 1,500–3,000 ฟอง ต่อครั้ง ระยะการฟักไข่กลายเป็นลูกอ๊อดใช้เวลา 24–36 ชั่วโมง ลูกอ๊อดพัฒนาไปเป็นลูกกบใช้เวลา 28–45 วัน โดยลูกอ๊อดมีลำตัวสีเขียว พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น นาข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเป็นกบชนิดที่นิยมบริโภคกันเป็นอาหารมาอย่างช้านาน มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในตัวที่มีผิวสีเผือกขาวหรือสีทองอาจเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้.

ใหม่!!: อันดับกบและกบนา · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: อันดับกบและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก.

ใหม่!!: อันดับกบและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับกบและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การขอฝน

การขอฝน เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม ที่อยู่ในหลายชนชาติ และหลายวัฒนธรรม เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือต้องการน้ำในการทำการเกษตร888 ในรัสเซีย หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองดอร์ปาท ให้ผู้ชายสามคนปีนขึ้นต้นเฟอร์ คนหนึ่งถือค้อนเคาะถังเล็ก ๆ ทำเป็นเสียงฟ้าร้อง คนที่สองถือดุ้นฟืนติดไฟสองดุ้น เคาะให้กระทบกัน ไฟจะแตกกระจาย คล้ายฟ้าแลบ คนที่สามถือที่ใส่น้ำ ขึ้นไปโปรยไปมารอบต้นไม้ คล้ายกับว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว ที่ตำบลฮิตาคิ ในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนจะพากันไปขอน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลราอิชิน เอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่กลับหมู่บ้าน จะหยุดพักไม่ได้ เชื่อกันว่าหยุดที่ใดฝนจะตกที่นั่น บางแห่งจะตั้งขบวนไปขอไฟจากพระในวัดบนภูเขา สวดอ้อนวอนแล้ว เอาไฟไปโบกตามทุ่งนา เชื่อว่าจะทำให้ฝนจะตกเหมือนกัน และที่หมู่บ้านริมทะเลสาบรอบภูเขาฟูจี นับถือทะเลสาบว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เอาของสกปรกไปทิ้ง แต่เมื่อต้องการฝนตก จะเอาเอากระดูกวัวกระดูกควายโยนลงทะเลสาบ เชื่อกันว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธ บันดาลฝนให้ตก ที่หมู่บ้านนิโนเฮ ถือขวดเหล้าสาเกไปถวายพระที่ศาลเจ้าโกเงน บนภูเขาโอริซูเน เมื่อพระดื่มเหล้าสาเกแล้ว ก็จะช่วยกันจับพระไปผลักตกบ่อน้ำ เมื่อเห็นพระตะเกียกตะกายขึ้น ก็จะช่วยกันผลักให้ตกลงไปอีก เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าไม่อยากเห็นพระทรมาน จึงจะรีบบันดาลให้ฝนตก.

ใหม่!!: อันดับกบและการขอฝน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อันดับกบและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: อันดับกบและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: อันดับกบและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: อันดับกบและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: อันดับกบและยีน · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ลูกอ๊อด

ลักษณะโดยทั่วไปของลูกอ๊อด และลักษณะของปาก ลูกอ๊อดของกบในวงศ์ Bufonidae ลูกอ๊อด (Tadpole, Pollywog, Porwigle) หรือ ลูกฮวก หรือ อีฮวก ในภาษาอีสานหรือภาษาเหนือ เป็นชื่อเรียกของตัวอ่อนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) เมื่อโตเต็มวัย ลูกอ๊อดจะมีรูปร่างเช่นเดียวกบปกติทั่วไป แต่กระนั้นก็ยังมีกบบางชนิดที่ไม่มีช่วงวัยลูกอ๊อด ลูกอ๊อด มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลา มีหาง ไม่มีขา หายใจด้วยเหงือก ส่วนหัวมีขนาดโตมาก ซึ่งลูกอ๊อดของกบแต่ละวงศ์ก็มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป โดยแบ่งตามโครงสร้างของปาก, โครงสร้างของห้องเหงือก, และจำนวนและตำแหน่งของช่องเปิดเหงือกที่เป็นทางผ่านออกของน้ำซึ่ง สามารถจำแนกเป็น 4 แบบได้ คือ 1.

ใหม่!!: อันดับกบและลูกอ๊อด · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: อันดับกบและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบมีหาง

กบมีหาง (Tailed frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascaphidae กบในวงศ์นี้ มีลักษณะสำคัญคือ ตัวผู้มีอวัยวะถ่ายอสุจิรูปร่างคล้ายหาง อยู่ทางด้านท้ายของห้องทวารร่วม อวัยวะส่วนนี้ได้รับการค้ำจุนด้วยแท่งกระดูกอ่อนที่เจริญมาจากกระดูกเชิงกราน ภายในมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ขณะที่ตัวผู้กอดรัดตัวเมียจะงอหางไปข้างหน้าและสอดเข้าไปในช่องทวารร่วมของตัวเมียเพื่อถ่ายอสุจิ การงอหางเกิดจากการหดตัวของอสุจิ นอกจากนี้แล้วยังมีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบจำนวน 9 ปล้อง ซึ่งนับว่ามีมากกว่ากบวงศ์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีกระดูกอิพิพิวบิสอยู่ด้านหน้ากระดูกพิวบิส ลูกอ๊อดมีช่องปากมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ในแนวตรงกลางลำตัว จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า กบในวงศ์นี้เป็นบรรพบุรุษของกบวงศ์อื่น ๆ ทั้งหมด มีขนาดลำตัวขนาดเล็กประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลาในลำธารที่มีกระแสน้ำแรงและเย็นจัด ตัวผู้ไม่มีแผ่นเยื่อแก้วหูและไม่ส่งเสียงร้องแต่ใช้ตารับภาพเพื่อเสาะหาตัวเมีย การผสมพันธุ์เกิดขึ้นในน้ำโดยตัวผู้กอดรัดตัวเมียในบริเวณเอว กบตัวเมียจะเก็บอสุจิไว้ในท่อนำไข่นาน 9 เดือน ต่อจากนั้นจึงวางไข่จำนวน 40-80 ฟองติดไว้ในก้อนหินใต้ลำธาร ไข่มีขนาดใหญ่และเอ็มบริโอเจริญอยู่ภายในไข่เป็นระยะเวลานาน ลูกอ๊อดมีอวัยวะใช้ยึดเกาะก้อนหินเจริญขึ้นมาบริเวณปาก และลดรูปครีบหางซึ่งปรับตัวเพื่ออาศัยในลำธารกระแสน้ำไหลแรง และลูกอ๊อดใช้ระยะเวลานานถึง 2-3 ปี จึงเจริญเป็นตัวเต็มวัย กบในวงศ์กบมีหางนี้ มีเพียงสกุลเดียว คือ Ascaphus มีเพียง 2 ชนิด แพร่กระจายพันทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งลำธารที่น้ำใสและเย็นจัดบนภูเขาที่มีความสูงกว่า 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบมีหาง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบลูกศรพิษ

กบลูกศรพิษ (Poison dart frogs, Dart-poison frogs, Poison frogs, Poison arrow frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobatidae.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบลูกศรพิษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบนา

วงศ์กบนา หรือ วงศ์กบแท้ (True frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ranidae (/รา-นิ-ดี/) กบในวงศ์นี้มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายมีส่วนปลายนิ้วเรียวยาวหรือเป็นรูปตัว T ลูกอ๊อดมีช่องจะงอยปากและมีฟัน ช่องเปิดของเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างของด้านซ้ายลำตัว มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ กบโกไลแอท (Conraua goliath) ที่พบในทวีปแอฟริกาที่มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิด บางสกุลมีลำตัวอ้วนป้อมและอาศัยอยู่ในโพรงดิน บางชนิดอาศัยอยู่ในลำธารที่กระแสน้ำไหลแรงและว่ายน้ำได้ดีมาก ก็มีด้วยกันหลายชนิด ในหลายสกุล.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบนา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบเล็บ

วงศ์กบเล็บ หรือ วงศ์กบไม่มีลิ้น (Clawed frog, Tongueless frog, Aquatic frog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Papidae (/ปา-ปิ-ดี/) มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วไม่มีลิ้น กระดูกสันหลังปล้องที่ 2-4 ของตัวเต็มวัยมีกระดูกซี่โครงและเชื่อมรวมกัน บางสกุลและบางชนิดไม่มีฟันที่กระดูกพรีแมคซิลลาและที่กระดูกแมคซิลลา มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 6-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัลหรือแบบอย่างดัดแปรของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีช่องปากยาวและแคบ ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันบริเวณปาก ช่องเปิดห้องเหงือกมี 2 ช่องอยู่ทางด้านข้างของลำตัว กินอาหารด้วยการกรองเข้าปาก มีความยาวลำตัวประมาณ 4-17 เซนติเมตร มีลำตัวแบนราบมาก และมีขายื่นไปทางด้านข้างลำตัว อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำได้หลากหลายประเภท รวมทั้งแหล่งน้ำขังชั่วคราวบนท้องถนน เนื่องจากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เส้นข้างลำตัวจึงเจริญ ยกเว้นบางสกุลที่ไม่มี ขาหลังใหญ่และมีแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนใหญ่มาก ขาหน้ามีนิ้วตีนยาวแต่ไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว ยกเว้นบางสกุลเท่านั้นที่มี นิ้วตีนมีเล็บยาว แบ่งออกได้เป็น 5 สกุล 32 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ บางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ขณะที่ในบางสกุลนิยมใช้เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาการเจริญ, ชีววิทยาโมเลกุล, ชีววิทยาประสาท, พันธุกรรมศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบเล็บ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อึ่งกราย

วงศ์อึ่งกราย (Asian toads) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Megophryidae มีลักษณะเด่น คืิอ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ผิวหนังลำตัวมีต่อมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วหลายชนิดของทั้งตัวผู้และตัวเมียยังมีกลุ่มของต่อมบริเวณขาหนีบและซอกขาหน้า มีขนาดตัวตั้งแต่ 2-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่บนพื้นล่างของป่าหรือบริเวณใกล้ลำห้วยหรือลำธาร ส่วนใหญ่มีสีลำตัวกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม วางไข่ในแหล่งน้ำ โดยขณะผสมพันธุ์ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งเอว ลูกอ๊อดมีรูปร่างและโครงสร้างของปากแตกต่างกัน บางสกุลมีปากเป็นรูปกรวยและไม่มีจะงอยปาก รวมทั้งไม่มีตุ่มฟัน อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง แต่ขณะที่บางสกุลมีคุณสมบัติแตกต่างจากเหล่านี้สิ้นเชิง และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยว เป็นต้น แพร่กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะทวีปเอเชีย เช่น จีน, ปากีสถาน, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะฟิลิปปิน และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบประมาณ 25 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์อึ่งกราย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อึ่งอ่าง

อึ่งอ่าง หรือ อึ่ง เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylidae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ ตัวเต็มวัยจะมีสันพาดตามขวางที่เพดานปาก 2-3 สัน และส่วนต้นของท่อลมยืดยาวขึ้นมาที่พื้นล่างของอุ้งปาก มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบมี 8 ปล้อง แต่ในบางชนิดจะมี 7 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัลเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส ลูกอ๊อดส่วนใหญ่มีช่องปากเล็กและซับซ้อน ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันในปาก ช่องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านท้ายตัวและในแนวกลางลำตัว กินอาหารแบบกรองกิน แต่ในบางชนิดจะมีฟันและมีจะงอยปาก มีขนาดลำตัวแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 1 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร อาศัยทั้งอยู่บนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ ลำตัวมีรูปร่างแตกต่างไปกันหลากหลายตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ชนิดที่อาศัยบนต้นไม้จะมีส่วนปลายของนิ้วขยายออกเป็นตุ่ม ชนิดที่อาศัยอยู่ในโพรงดินจะมีลำตัวแบนราบและหัวกลมหลิม เป็นต้น มีรูปแบบการผสมพันธุ์ที่หลากหลาย ในบางชนิดมีการอาศัยแบบเกื้อกูลกันกับแมงมุมด้วย โดยอาศัยในโพรงเดียวกัน.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์อึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์คางคก

วงศ์คางคก (Toads, True toads; อีสาน: คันคาก) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae (/บู-โฟ-นิ-ดี/) ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด เช่น จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansonia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์คางคก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์คางคกหมอตำแย

วงศ์คางคกหมอตำแย หรือ วงศ์กบทาสี (accessdate, Midwife toads) เป็นวงศ์ของกบขนาดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Alytidae กบในวงศ์นี้มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนตัวและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้วสองชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีโครงสร้างปากแบบมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ในแนวตรงกลางระหว่างของลำตัว ส่วนใหญ่เป็นกบที่อาศัยเฉพาะถิ่นในยุโรป แต่ก็มีบางส่วนที่พบได้ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา และสูญพันธุ์ไปแล้วที่อิสราเอล เดิมกบในวงศ์นี้ ได้เคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ที่ใช้ชื่อว่า Discoglossidae แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการตั้งมาก่อน จึงใช้ชื่อนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์คางคกหมอตำแย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปาดโลกเก่า

วงศ์ปาดโลกเก่าEmerson, S.B., Travis, J., & Koehl, M.A.R. (1990).

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์ปาดโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: อันดับกบและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยง

ัตว์เลี้ยง (สุนัข) ในภาพจิตรกรรม ''A Highland Breakfast'' โดย Edwin Landseer สัตว์เลี้ยง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อนหรือเพื่อคุ้มครองบุคคลเป็นหลัก ต่งจากสัตว์ใช้งาน สัตว์กีฬา ปศุสัตว์และสัตว์ทดลอง เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อการแสดง ใช้ในเกษตรกรรมหรือการวิจัยเป็นหลัก.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา

ริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2542 สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ..

ใหม่!!: อันดับกบและสุริยุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง

สีทอง เป็นสีเหลืองแกมส้ม และเป็นสีของทองคำในธรรมชาติ ทอง.

ใหม่!!: อันดับกบและสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อันดับกบและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งปากขวด

อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเพ้า (Truncate-snouted burrowing frog, Balloon frog) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกอึ่งอ่าง จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Glyphoglossus มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอ่างชนิดอื่น ๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ และมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน อึ่งปากขวดพบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน และจะผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ หากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง อึ่งปากขวดไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่ในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะถูกจับมาบริโภค โดยเฉพาะอย่างมากในช่วงฤดูฝนที่จะสร้างรายได้แก่ผู้ที่จับมาได้วันละหลายหมื่นบาท (แต่มักจะเรียกปนกันว่า "อึ่งอ่าง" หรืออึ่งยาง ซึ่งเป็นอึ่งคนละชนิด) กอรปกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันกรมประมงได้สนับสนุนให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐก.

ใหม่!!: อันดับกบและอึ่งปากขวด · ดูเพิ่มเติม »

อุทัยเทวี

rอุทัยเทวี เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ทางอีสานเรียกว่า นางพญาขี้คันคาก อุทัยเทวีเป็นนิทานพื้นบ้านเคยทำมาเป็นภาพยนตร์ 1 ครั้งโดยดาราฟิล์ม และละครโทรทัศน์มาแล้ว 5 ครั้ง ออกอากาศทางช่อง 7 3 ครั้ง ไบรต์ทีวี 1 ครั้ง และล่าสุด ได้นำมาผลิตในรูปแบบแฟนตาซีโดย เพ็ญพุธในนามจันทร์25 ออกอากาศทางช่อง 3 เร็วๆนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและอุทัยเทวี · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: อันดับกบและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา

ันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557 จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; lunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node) จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ.

ใหม่!!: อันดับกบและจันทรุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

จ้วง

้วง หรือ ปู้จ้วง (จ้วง: Bouчcueŋь/Bouxcuengh) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการจีนใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัยราชวงศ์ซ้อง คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ตัวอักษรจีน ที่แปลว่า ปะทะ สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง เปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง พ.ศ. 2508 จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮).

ใหม่!!: อันดับกบและจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อันดับกบและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: อันดับกบและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: อันดับกบและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

คางคก

accessdate.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคก · ดูเพิ่มเติม »

คางคกโพรงเม็กซิกัน

งคกโพรงเม็กซิกัน (Mexican burrowing toad, Burrowing toad) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinophrynus และวงศ์ Rhinophrynidae มีลำตัวกลมและแบนราบ ส่วนหัวหลิมและมีแผ่นหนังที่ปลายของส่วนหัว ตามีขนาดเล็ก ไม่มีแผ่นเยื่อแก้วหู สามารถอ้าปากเพื่อให้ส่วนปลายของลิ้นพลิกกลับและยืดออกมาได้อย่างสะดวกมาก สำหรับกินมดหรือปลวกเป็นอาหาร มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัลเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัล ไม่มีกระดูกหน้าอก กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะตัวและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีช่องปากยาวและแคบ ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันบริเวณปาก ช่องเปิดห้องเหงือกมี 2 ช่องอยู่ทางด้านข้างของลำตัว กินอาหารด้วยการกรองเข้าปาก มีความยาวประมาณ 7.5-8.5 เซนติเมตร อาศัยโดยการขุดโพรงอยู่ในดิน โดยกินแมลงและแมงที่อยู่บนดินเป็นอาหาร ผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำขังชั่วคราว โดยจะเป็นการผสมพันธุ์แบบหมู่เป็นกลุ่มก้อนจำนวนมาก โดยตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียขณะลอยตัวอยู่ในน้ำและกอดรัดตัวเมียบริเวณเอว ตัวเมียวางไข่เป็นจำนวนหลายพันฟอง ไข่ไม่ลอยเป็นแพที่ผิวน้ำแต่จะจมลงก้นบ่อ ลูกอ๊อดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 5-หลายร้อยตัว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ใต้สุดของรัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกา จนถึงคอสตาริก.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกโพรงเม็กซิกัน · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: อันดับกบและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อันดับกบและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: อันดับกบและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปี่เซียะ

ปี่เซียะ ปี่เซียะ (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผีซิว (สำเนียงกลาง) หรือ เผยเหย้า (สำเนียงกวางตุ้ง) (Pixiu, Pi Yao; 貔貅; พินอิน: pí xiū) เป็นสัตว์ประหลาดตามความเชื่อของจีนมาแต่โบราณ เชื่อว่า ปี่เซียะ มีรูปร่างและเขาคล้ายกวาง แต่มีหน้า, หัว, ขาคล้ายสิงโต, มีปีกคล้ายนก, หลังคล้ายปลา และมีส่วนหางคล้ายแมวปนไปด้วยท้องและบางส่วนของหัวคล้ายมังกร เป็นสัตว์สี่ขา และเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ช่วยป้องกันและปัดเป่าภยันตรายและภูตผีปีศาจ สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ได้ เชื่อว่าถูกแบ่งเป็นตัวผู้ชื่อ ปี่ (貔) และ ตัวเมียชื่อ เซียะ (貅) นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น เทียนลู่ (天祿) หรือ เทียนลก (樂祿) ตามแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งความหมายของชื่อเหล่านี้ แปลได้ว่า กวางสวรรค์ หรือ ขจัดปัดเป่า เชื่อกันว่า ปี่เซียะ เป็นลูกตัวที่ 9 ของมังกร เป็นสัตว์ที่กินเก่งและไม่มีรูทวาร จึงไม่มีการขับถ่าย ในปลายยุคราชวงศ์โจว ตรงกับยุคชุนชิว มีการนำปี่เซียะมาใช้เป็นสัญลักษณ์โดยประดับเป็นรูปบนธงสำหรับการออกรบ โดยรวมในอดีตสันนิษฐานว่า ปีเซียะให้ความหมายในทางความกล้าหาญ การปกป้องคุ้มภัย และการต่อสู้เพื่อจะให้ได้มาซึ่งชัยชนะ นอกจากนี้แล้ว ปี่เซียะยังเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์และคุ้มครองทรัพย์สมบัติอีกด้วย อันเนื่องจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีการขับถ่าย จึงมีการปั้นเป็นรูปปั้นเฝ้าหน้าท้องพระโรง ภายในพระราชวัง เช่น ฮ่องเต้ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและประเทศจีน ปัจจุบัน มีการบูชาปี่เซียะ โดยมักทำเป็นรูปเคารพของสัตว์ที่มีลักษณะดังกล่าวในลักษณะหมอบ และมักทำเป็นคู่กัน โดยจะตั้งวางให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ยด้วย อีกทั้งยังเป็นที่บูชาของนักพนัน ผู้ที่นิยมเสี่ยงโชคในลักษณะวัตถุมงคล จากการที่เป็นสัตว์ที่กินอย่างเดียวไม่มีถ่าย จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บทรัพย์ ซึ่งกาสิโนบางแห่งในประเทศจีน, มาเก๊า และฮ่องกง จะมีรูปปั้นปี่เซียะนี้อยู่ด้านหน้าด้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและปี่เซียะ · ดูเพิ่มเติม »

นิทาน

นิทาน (นิทาน, Fable) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย ๒ ความหมาย คือ.

ใหม่!!: อันดับกบและนิทาน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: อันดับกบและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: อันดับกบและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ใหม่!!: อันดับกบและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

ไทยรัฐ

ทยรัฐ (Thai Rath) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย นำเสนอข่าวทั่วไป ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดยกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท.

ใหม่!!: อันดับกบและไทยรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: อันดับกบและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: อันดับกบและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: อันดับกบและเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อันดับกบและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: อันดับกบและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

Paedophryne amauensis

Paedophryne amauensis เป็นอึ่ง (สัตว์กลุ่มกบ) ขนาดเล็ก พบในป่าของปาปัวนิวกินี ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่เดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: อันดับกบและPaedophryne amauensis · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anuraกบ🐸

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »