โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซัมเมอร์เซต

ดัชนี ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

23 ความสัมพันธ์: บริสตอลชาวแซกซันพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชกลอสเตอร์เชอร์ภาษาอังกฤษยุคหินใหม่วิลต์เชอร์สหราชอาณาจักรสงครามกลางเมืองอังกฤษอาสนวิหารเว็ลส์จักรวรรดิโรมันประเทศอังกฤษปากน้ำแม่น้ำเซเวิร์นไซเดอร์เกษตรกรรมเมืองเทศมณฑลเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานครเทศมณฑลของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเดวอนเซาท์เวสต์อิงแลนด์

บริสตอล

ริสตอล เป็นเมืองที่อยู่ในทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ โดยมีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 433,100 คนกับประชากรในแถบชานเมืองอยู่ 1,070,000 คน เป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในอันดับ 6 ของอังกฤษและอันดับ 8 ของสหราชอาณาจักร โดยเมืองบริสตอลเป็นหนึ่งในเมืองหลักของอังกฤษตะวันตกเฉียงใต้ ใน ค.ศ. 1155 เมืองบริสตอลได้รับพระบรมราชานุญาต และใน ค.ศ. 1373 ได้สถานะเป็นเทศมณฑล ชื่อของเมืองบริสตอลเป็นภาษาอังกฤษเก่า หมายถึง ที่ซึ่งมีตะพาน เมืองนี้เคยเป็นเมืองท่ามากว่า 800 ปีแต่ตอนนี้เรือมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อก่อนจึงย้ายเมืองท่าไปที่เมืองแอวันมอทแทน บริสตอล ในอดีตเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าทาส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมืองนี้ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง แต่ปัจจุปันได้มีโรงงานมากมายมาตั้งอยู่ที่เมืองนี้ และเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงคองคอร์ดก็ได้สร้างที่เมืองนี้.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและบริสตอล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินใหม่

หมู่บ้านในสมัยยุคหินใหม่ ในสกอตแลนด์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปยุโรป ยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10200-4500/2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม พืชเพาะปลูกที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แพะ แกะ และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน และดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ยุคหลังจากยุคหินใหม่คือ ยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคสำริด (Bronze Age).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและยุคหินใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเว็ลส์

อาสนวิหารเว็ลส์ โครงค้ำรูปกรรไกรที่มีชื่อเสียงของอาสนวิหาร อาสนวิหารเว็ลส์ (Wells Cathedral) มีชื่อทางการว่าอาสนวิหารเซนต์แอนดรูว์ เป็นอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเว็ลส์ในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตในสหราชอาณาจักร เป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งบิชอปแห่งบาธและเว็ลส์ เมืองเว็ลส์ที่เป็นนครอาสนวิหาร (Cathedral city) ที่มีขนาดเล็กเป็นที่สองของอังกฤษรองจากเมืองอาสนวิหารลอนดอน (City of London) ที่อยู่ภายในใจกลางกรุงลอนดอน ชื่อเมืองเวลล์ส มาจากคำว่า “wells” ที่แปลว่าน้ำพุธรรมชาติ บ่อน้ำพุนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโรมันและปัจจุบันก็ยังไหลอยู่ น้ำที่ไหลมาจากบ่อใช้ในการรดน้ำในสวนของบาทหลวงและเติมคูวังของบิชอป ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกแต่ฐานเดิมของโบสถ์สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 โบสถ์แรกที่สร้างที่จุดนี้สร้างโดยพระเจ้าไอเนแห่งเวสเซ็กซ์ (Ine of Wessex) เมื่อปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและอาสนวิหารเว็ลส์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปากน้ำ

ปากน้ำ หมายถึง ปากแม่น้ำ หรือบริเวณที่แม่น้ำบรรจบกับทะเลหรือบรรจบกับแม่น้ำสายใหญ่กว.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและปากน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเซเวิร์น

แม่น้ำเซเวิร์น (River Severn; Afon Hafren; Sabrina) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ยาว 354 ที่สูงที่สุดที่แม่น้ำไหลสูง 610 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่พลินลิมอน (Plynlimon) ใกล้เพาวิส (Powys) ในเทือกเขาคัมเบรียในเวลส์ และไหลผ่านมณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ โดยผ่านเมืองชรูสบรี, วูสเตอร์และกลอสเตอร์ แม่น้ำเซเวิร์นถือว่าเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญสิบสายของสหราชอาณาจักร เซเวิร์นกลายเป็นปากน้ำระหว่างทางใต้ของมณฑลกลอสเตอร์เชอร์และมอนมอนมอธเชอร์ จากนั้นก็ไหลลงสู่ช่องแคบบริสตอล ไปยังทะเลเคลติก และในที่สุดมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณไหลผ่านของแม่น้ำเซเวิร์นครอบคลุมบริเวณ 11,420 ตารางกิโลเมตรที่ไม่รวมแม่น้ำวาย (River Wye) และแม่น้ำเอวอน สาขาสำคัญของแม่น้ำเซเวิร์นรวมทั้งแม่น้ำเวอร์นุย (River Vyrnwy), แม่น้ำทีม (River Teme), แม่น้ำอัปเพอร์เอวอน (Upper Avon) และแม่น้ำสเตาเวอร์ (River Stour).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและแม่น้ำเซเวิร์น · ดูเพิ่มเติม »

ไซเดอร์

ซเดอร์หนึ่งแก้ว ไซเดอร์ (cider) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หมักทำจากน้ำแอปเปิลไม่กรอง ปริมาณแอลกอฮอล์ในไซเดอร์แปรผันตั้งแต่ 1.2% แอลกอฮอล์โดยปริมาตรถึง 8.5% หรือกว่านั้นในไซเดอร์อังกฤษ และ 3.5% ถึง 12% ในไซเดอร์ภาคพื้นทวีป ตามกฎหมายสหราชอาณาจักร ไซเดอร์ต้องมีน้ำแอปเปิล (สดหรือจากเข้มข้น) อย่างน้อย 35% แม้กลุ่มรณรงค์เพื่อเอลจริง (Campaign for Real Ale, CAMRA) ระบุว่า "ไซเดร์จริง" ต้องมีน้ำแอปเปิลสดอย่างน้อย 90% ในสหรัฐอเมริกา มีขั้นต่ำ 50% ในประเทศฝรั่งเศส ไซเดอร์ต้องทำจากแอปเปิลอย่างเดียว ในปี 2557 การศึกษาโดย เดอะเดลีเทเลกราฟ พบว่า ไซเดอร์ตลาดหนึ่งไพนต์ (บัลเมอส์) มีน้ำตาลห้าช้อนชา (20.5 ก.) เกือบเท่าการแนะนำปริมาณบริโภคน้ำตาลเติม (added sugar) ต่อวันของผู้ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก และเป็น 5–10 ของปริมาณน้ำตาลในลาเกอร์หรือเอล ในสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของแคนาดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งอภิปรายในบทความนี้โดยทั่วไปเรียก "ไซเดอร์แรง" (hard cider) ส่วน "ไซเดอร์" โดยทั่วไปหมายถึง น้ำแอปเปิลไม่กรองไม่มีแอลกอฮอล์ซึ่งมีรสหวาน ๆ เปรี้ยว ๆ ต่างออกไป การเติมน้ำตาลหรือผลไม้เพิ่มก่อนการหมักครั้งที่สองเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มผลลัพธ์ เครื่องดื่มแอปเปิลซึ่งมีแอลกอฮอล์โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า (>10%) คือ "ไวน์แอปเปิล" สามารถน้ำแอปเปิลหลายชนิดทำไซเดอร์ แต่พันธุ์ปลูกเฉพาะที่ปลูกเพื่อทำไซเดอร์เรียก แอปเปิลไซเดอร์ ไซเดอร์ได้รับความนิยมในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวสต์มิดแลนส์ เซาท์เวสต์อิงแลนด์และอีสต์แองเกลีย และมีอยู่ในมุมของประเทศ สหราชอาณาจักรมีการบริโภคต่อหัวสูงสุด และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทผู้ผลิตไซเดอร์ใหญ่ ๆ ของโลก ซึ่งรวมเอ.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและไซเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เมืองเทศมณฑล

วัดเซนต์แมรีในเมืองวอริคเมืองหลวงของมณฑลวอริคเชอร์ เมืองเทศมณฑล หรือ เมืองหลวงของเทศมณฑล (county town) คือ “เมืองหลวง” ของ มณฑลในสหราชอาณาจักรหรือในสาธารณรัฐไอร์แลน.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเมืองเทศมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร

มณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ หรือ มณฑลไชร์ (Non-metropolitan county หรือ Shire county) เป็นหนึ่งในระดับการปกครองมณฑลของอังกฤษที่ไม่ใช่อังกฤษมณฑลเมโทรโพลิตัน มณฑลเหล่านี้มักจะมีประชากรราว 300,000 ถึง 1.4 ล้านคน บางครั้ง “มณฑลนอกเมโทรโพลิตัน” ก็เรียกว่า “มณฑลไชร์” (Shire county) แต่เป็นการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ มณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่เป็นมณฑลเดิมในประวัติศาสตร์มักจะมีสร้อยต่อท้ายด้วย “-เชอร์” (shire) เช่นวิลท์เชอร์ หรือแลงคาสเชอร์ และบางมณฑลก็เคยมีสร้อยแต่มาหายไปภายหลังเช่นเดวอน อันที่จริงแล้ว “มณฑลไชร์” หรือ “ไชร์เคานตี้” เป็นประพจน์ซ้ำความ (Tautology) ซึ่งหมายความว่าทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันแต่มักจะใช้ด้วยกัน: คำว่า “เคานตี้” (มณฑล) มาจากภาษาฝรั่งเศสและ “ไชร์” มาจากภาษาภาษาอังกฤษเก่า ทั้งสองคำหมายถึงเขตการปกครองระดับหนึ่ง.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดวอน

วอน (ภาษาอังกฤษ: Devon) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร เดวอนบางครั้งก็เรียกว่า “เดวอนเชอร์” แต่เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ เดวอนมีเขตแดนติดกับมณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวันตกและมณฑลดอร์เซ็ทกับมณฑลซอมเมอร์เซ็ททางตะวันออก ชายฝั่งทะเลด้านใต้เป็น ช่องแคบอังกฤษทางด้านเหนือเป็นช่องแคบบริสตอลซึ่งทำให้เป็นมณฑลเดียวในอังกฤษที่มีชายฝั่งทะเลสองด้านที่แยกกัน เดวอนมีหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวสองหน่วย: เมืองท่าพลิมัธและทอร์เบย์ที่เป็นกลุ่มบริเวณที่ท่องเที่ยวชายทะเลนอกไปจากเทศบาลการปกครองของมณฑลเดวอนเอง พลิมัธเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นชนบทรวมทั้งบริเวณอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีประชากรมากเป็นลำดับสามของบรรดามณฑลต่างๆ โดยมีประชากรทั้งหมด 1,109,900 คน โดยมีประชากรถัวเฉลี่ย 365 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชาชนเบาบางเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในบริเวณอื่น เดวอนแบ่งการปกครองเป็นสิบแขวง: เอ็กซิเตอร์, อีสต์เดวอน, มิดเดวอน, นอร์ธเดวอน, ทอร์ริดจ์, เวสต์เดวอน, เซาท์แธมส, เทนบริดจ์, พลิมัธ และทอร์เบย์ โดยมีเมืองมณฑลอยู่ที่ เอ็กซิเตอร์ เดวอนเป็นที่ตั้งของชายฝั่งทะเลมรดกโลกที่เป็นที่เรียกว่าฝั่งทะลเจอราสิค (Jurassic Coast) ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ เดวอนและคอร์วอลล์เป็นที่รู้จักันในชื่อ “Cornubian massif” ซึ่งเป็นลักษณะธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ของดาร์ทมัวร์ และเอ็กซมัวร์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลและมีเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง และมีอากาศที่ไม่รุนแรงซึ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของมณฑล.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเดวอน · ดูเพิ่มเติม »

เซาท์เวสต์อิงแลนด์

ตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: South West England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษและโดยเนื้อที่แล้วเป็นบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเก้าบริเวณที่มีบริเวณตั้งแต่กลอสเตอร์เชอร์และวิลท์เชอร์ไปจนถึงคอร์นวอลล์และไอล์สออฟซิลลิย์ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุมบริเวณที่เรียกว่าเวสต์คันทรี (West Country) และเวสเซ็กซ์ ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีเนื้อที่ 23,829 ตารางกิโลเมตร โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 4,928,458 คนและมีความหนาแน่นของประชากรเป็นจำนวน 207 ต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บริเวณนี้มีชื่อเสียงในการผลิตเนยแข็งชนิดที่เรียกกันว่าเช็ดดาร์ (Cheddar cheese) ที่เริ่มทำกันที่หมู่บ้านเช็ดดาร์, เดวอนมีชื่อเสียงในเรื่อง “Cream tea” ซึ่งเป็นการดื่มชานมกับการกิน “สโคน” (คล้ายมัฟฟินแต่ไม่หวาน) กับครีมข้น (clotted cream) และแยมผลไม้ และในเรื่องไซเดอร์ (Cider) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากหมักน้ำแอ็ปเปิล (ต่างจากไซเดอร์บางชนิดในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีแอลกอฮอล์) นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่ตั้งของโครงการหมู่อาคารสำหรับพฤกษชาติอีเด็น, อาร์ดแมนแอนิเมชันส (Aardman Animations), งานเทศกาลกลาสตันบรี, และงานแสดงบอลลูนนานาชาติประจำปีที่บริสตอล และสถานที่ท่องเที่ยวและชายหาดในคอร์วอลล์ อุทยานแห่งชาติสองแห่งและมรดกโลกสี่แห่งก็ตั้งอยู่ในภาคนี้.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเซาท์เวสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Somersetมลฑลซอมเมอร์เซ็ทมณฑลซอมเมอร์เซ็ทมณฑลซัมเมอร์เซ็ทซอมเมอร์เซ็ทซัมเมอร์เซ็ท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »