โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทศมณฑลของอังกฤษ

ดัชนี เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

28 ความสัมพันธ์: ชาวแซกซันพ.ศ. 2384กลอสเตอร์เชอร์ยอร์กเชอร์รัฐสภาสหราชอาณาจักรราชอาณาจักรเวสเซกซ์ลิงคอล์นเชอร์วุร์สเตอร์เชอร์อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ซัฟฟอล์กซัสเซกซ์ประเทศเวลส์นอร์แทมป์ตันเชอร์นครลอนดอนแฮมป์เชอร์ไชร์เกรเทอร์ลอนดอนเอิร์ลเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษเทศมณฑลของสหราชอาณาจักรเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเขตการปกครองของประเทศอังกฤษเคมบริดจ์เชอร์เคานต์เคนต์เซอร์รีย์

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2384

ทธศักราช 2384 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและพ.ศ. 2384 · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์กเชอร์

อร์กเชอร์ (Yorkshire) เป็นเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษที่ตั้งอยู่ทางเหนือของอังกฤษและเป็นเทศมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ เพราะความที่มีขนาดใหญ่ยอร์กเชอร์ก็ต้องผ่านการปฏิรูปหลายครั้ง แต่โดยทั่วไปแล้วก็เป็นอาณาบริเวณที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและยอร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหราชอาณาจักร

รัฐสภาสหราชอาณาจักร หรือ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Parliament of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland หรือ Parliament of the United Kingdom) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษเป็นระบบสองสภา (Bicameralism) ซึ่งประกอบไปด้วย “สภาสูง” หรือ สภาขุนนาง (House of Lords) และ “สภาล่าง” หรือ สภาสามัญชน (House of Commons) พระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบที่สามของรัฐสภา สภาทั้งสองสภาประชุมแยกกันในห้องประชุมรัฐสภาภายในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ตึกรัฐสภา” ที่นครเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน ตามปกติแล้วรัฐมนตรีของรัฐบาลทั้งหมดรวมทั้งนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาสามัญชน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่เป็นสมาชิกของสภาขุนนาง ที่ประชุมรัฐสภา ณ พระราชวังเวสมินเตอร์ รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและรัฐสภาสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์นเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ลิงคอล์นเชอร์ หรือ ลิงคอล์นเชียร์ (Lincolnshire, or,; ย่อ Lincs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษโดยมีลิงคอล์นเป็นเมืองหลวง ลิงคอล์นเชอร์มีเขตแดนติดกับนอร์โฟล์ค, เคมบริดจ์เชอร์, รัทแลนด์, เลสเตอร์เชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, and the อีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ และมีเขตแดนติดกับนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ราว 19 เมตรซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างมณฑลที่สั้นที่สุดในอังกฤษ.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วุร์สเตอร์เชอร์

วุร์สเตอร์เชอร์ (Worcestershire เขียนย่อ Worcs) เป็นเทศมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ ระหว่าง..

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและวุร์สเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (History of Anglo-Saxon England) (ค.ศ. 410 - ค.ศ. 1066) อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันเป็นประวัติศาตร์ของต้นยุคกลางของอังกฤษkjhccgkoohhhhggjgfที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยโรมันบริเตนจนมาถีงการก่อตั้งราชอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นสมัยที่รู้จักกันทางโบราณคดีว่าบริเตนสมัยหลังโรมัน (Sub-Roman Britain) หรือที่รู้จักกันตามความนิยมว่า "ยุคมืด" (Dark Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกกันรวม ๆ กันว่า "เจ็ดอาณาจักร" ในช่วงนี้อังกฤษแบ่งเขตการปกครองระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซันและบริเตน การรุกรานของไวกิงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายประการในบริเตน ผู้รุกรานชาวเดนมาร์กโจมตีที่ตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ ไปทั่วบริเตน แต่การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนมาร์กต่อมาจำกัดอยู่แต่เพียงในบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ ขณะที่ผู้รุกรานจากนอร์เวย์ที่เข้ามาทางไอร์แลนด์โจมตีทางฝั่งตะวันตกของทั้งอังกฤษและเวลส์ แต่ในที่สุดแองโกล-แซกซันก็มีอำนาจในการปกครองไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษสลับกับเดนมาร์กในบางช่วงในบางครั้ง ทางด้านความสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็ความสำคัญมาจนกระทั่งปลายสมัยแองโกล-แซกซัน.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์

ปราสาทฮาร์ตฟอร์ดในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ หรือ ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษโดยมีฮาร์ตฟอร์ดเป็นเมืองหลวง ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์เป็นหนึ่งในมณฑลรอบนครลอนดอนที่มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, บัคคิงแฮมเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์ และ เอสเซ็กซ์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัฟฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลซัฟฟอล์ก ซัฟฟอล์ก หรือ ซัฟเฟิก (Suffolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในบริเวณอีสต์แองเกลียของอังกฤษ โดยมีอิปสวิชเป็นเมืองหลวง ซัฟฟอล์กมีเขตแดนติดกับนอร์ฟอล์กทางตอนเหนือ, เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตก และเอสเซ็กซ์ทางตอนใต้ ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและซัฟฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์แทมป์ตันเชอร์

ตึกเทศบาลเมืองนอร์ทแธมป์ตัน นอร์ทแธมป์ตันเชอร์ หรือ นอร์ทแธมป์ตันเชียร์ (Northamptonshire;; ย่อ Northants. หรือ N/hants) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรในภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษโดยมีนอร์ทแธมป์ตันเป็นเมืองหลวง และมีพรมแดนติดกับวอริคเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, รัทแลนด์, เคมบริดจ์เชอร์ (รวมทั้งนครปีเตอร์บะระห์), เบดฟอร์ดเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์ (รวมทั้งมิลตันคีนส์), อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ ลิงคอล์นเชอร์ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์มีประชากร 629,676 คน (สถิติ ค.ศ. 2001).

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและนอร์แทมป์ตันเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครลอนดอน

นาคารกลางอังกฤษ, ธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร นครลอนดอน (City of London) ในทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ตอนกลางของลอนดอน ประเทศอังกฤษ นครแห่งนี้ในอดีตเป็นหัวใจสำคัญของลอนดอน เขตแดนของตัวเมืองแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคกลาง และดังนั้นมันจึงเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเกรเทอร์ลอนดอนซึ่งใหญ่กว่ามาก ในภาษาอังกฤษ นครลอนดอนถูกเรียกย่อ ๆ ว่า พระนคร (The City - เดอะ ซิตี้) หรือ Square Mile (สแควร์ไมล์) เนื่องจากพื้นที่ในนครแทบจะเท่ากับหนึ่งตารางไมล์ (สแควร์ไมล์ แปลว่า ตารางไมล์ ประมาณ 2.6 กม.²) นครลอนดอนไม่ใช่หนึ่งใน 32 ลอนดอนบุรี มีฐานะเป็นมณฑลในประเทศอังกฤษ เทียบเท่ากับเกรเทอร์ลอนดอน เพียงแค่อยู่ในขอบเขตของเกรเทอร์ลอนดอนเท่านั้น จึงไม่ได้หมายความว่ามณฑลแห่งนี้จะเป็นหนึ่งในลอนดอนบุรี ในยุคกลาง นครเต็มเป็นขอบเขตการขยายอย่างเต็มที่ของลอนดอน หลังจากนั้น ได้มีการแยกเขตเวสต์มินสเตอร์ออกมา ซึ่งต่อมากลายเป็นนครเวสต์มินสเตอร์ ขณะนี้คำว่า ลอนดอน ส่วนใหญ่หมายถึงบริเวณตัวเมืองที่ขยายออกแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของลอนดอน ซึ่งรวม 'นคร' ทั้งสองเอาไว้ด้วย นครหลวงลอนดอนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางเมืองลอนดอน ทุกวันนี้ นครลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย การลงทุน และธุรกิจ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับนิวยอร์กซิตีในฐานะศูนย์กลางผู้นำของการลงทุนทั่วโลก นครถูกปกครองโดยบรรษัทนครลอนดอน ที่มีความรับผิดชอบแปลก ๆ บางอย่างสำหรับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เช่น เป็นหน่วยงานตำรวจสำหรับนครหลวง นอกจากนี้มันยังมีความรับผิดชอบและการเป็นเจ้าของที่วางอยู่บนขอบเขตนครหลวง คำขวัญภาษาละตินของนครลอนดอน คือ "Domine dirige nos" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "พระเจ้าทรงนำทางพวกเรา".

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและนครลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

แฮมป์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมป์เชอร์ หรือ แฮมป์เชียร์ (Hampshire,; ย่อ Hants) หรือ “มณฑลเซาท์แธมพ์ตัน” บางครั้งก็เคยเรียกว่า “เซาท์แธมป์ตันเชอร์” หรือ “แฮมป์ตันเชอร์” แฮมป์เชอร์เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษโดยมีวินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวง แฮมป์เชอร์มีเขตแดนติดกับดอร์เซ็ท, วิลท์เชอร์, บาร์คเชอร์, เซอร์รีย์ และ เวสต์ซัสเซ็กซ.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและแฮมป์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์

ร์ (ภาษาอังกฤษ: Shire) เป็นเขตบริหารการปกครองโบราณของบริเตนใหญ่และออสเตรเลีย คำว่า “ไชร์” กับ “เคาน์ตี้” ใช้แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ในภาษาอังกฤษใหม่คำว่า “ไชร์” มักจะไม่ใช้แทนที่คำว่า “เคาน์ตี้” นอกจากนั้นคำว่า “ไชร์” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายชื่อมลฑลหลายมลฑลในอังกฤษ เช่น มลฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หรือ มลฑลเลสเตอร์เชอร์ แต่จะออกเสียง “เชอร์” เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมลฑล ในออสเตรเลีย “ไชร์” ยังคงใช้เป็นเขตบริหารการปกครองในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและไชร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกรเทอร์ลอนดอน

ริเวณที่ตั้งของเกรเทอร์ลอนดอน ศาลาเทศบาลประจำเกรเทอร์ลอนดอน เกรเทอร์ลอนดอน (Greater London) เป็นเทศมณฑลพิธีและภาคการปกครองหนึ่งของประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเกรเทอร์ลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์ล

อิร์ล (Earl) เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางในทวีปยุโรป เป็นภาษาแองโกล-ซัคเซินที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า ยาร์ล (Jarl) ในภาษานอร์สโบราณที่แปลว่า "หัวหน้าเผ่า" ซึ่งคอยประจำดินแดนต่างๆเพื่อปกครองแทนกษัตริย์ ตำแหน่งเอิร์ลกินเมืองนี้เริ่มล้าสมัยในยุคกลางและถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งดยุก ตำแหน่งเอิร์ลของอังกฤษยุคกลางมีฐานะเทียบเท่ากับเคานต์ในยุโรปแผ่นดินใหญ่ ซึ่งตำแหน่ง "เอิร์ล/เคานต์" นี้ปรากฏอยู่ในระบบฐานันดรของประเทศอื่นด้วยเช่นกัน เช่นในระบบคะโซะกุของญี่ปุ่นเรียกว่า ฮะกุชะกุ ปัจจุบัน บรรดาศักดิ์นี้หลงเหลืออยู่เฉพาะในหมู่เกาะอังกฤษเท่านั้น โดยถือว่าเป็นตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่ามาร์ควิส แต่อยู่สูงกว่าไวเคานต์ เอิร์ลที่เป็นสตรีหรือภริยาของเอิร์ลจะถูกเรียกว่า เคาน์เตส (Countess).

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเอิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ

มณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ เป็นระดับการปกครองหนึ่งของสี่ระดับของระดับการปกครองของอังกฤษที่ใช้สำหรับรัฐบาลระดับท้องถิ่นนอกนครลอนดอนและปริมณฑล ตามความหมายเดิมมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันแต่ละมณฑลประกอบด้วยกลุ่มอำเภอ (District), เมืองมณฑล และเป็นมณฑลผู้แทนพระองค์ (Ceremonial counties of England) แต่ต่อมาคำจำกัดความนี้ก็เปลี่ยนไปโดยกฎหมายระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่อนุญาตให้รวมมณฑลที่ไม่มีเทศบาลมณฑลและ “รัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว” ของตำบลเดียว มณฑลผู้แทนพระองค์ในปัจจุบันได้รับความหมายใหม่โดยพระราชบัญญัติมณฑลผู้แทนพระองค์ ค.ศ. 1997 (Lieutenancies Act 1997) ที่จำลองมาจากมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน และคาดกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองระดับท้องถิ่นอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของสหราชอาณาจักร

ทศมณฑลของสหราชอาณาจักร (counties of the United Kingdom) เป็นระดับการปกครองรองจากการปกครองระดับชาติของสหราชอาณาจักรที่มีรากฐานมาจากระบบการปกครองที่ใช้ต่อเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ ในยุคกลางมณฑลเหล่านี้ก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลท้องถิ่นระดับหนึ่ง ในปัจจุบันมณฑลโบราณในบางท้องที่ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเมืองสำหรับการบริหารรัฐบาลท้องถิ่นสมัยใหม่ แต่มณฑลในบางท้องที่ก็มาแทนที่ด้วยรัฐบาลท้องถิ่นในรูปอื่นที่มีอำนาจเทียบเท่าระดับมณฑล Jones, B. et al, Politics UK, (2004).

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเทศมณฑลของสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ

รงสร้างระดับการปกครองของอังกฤษ เขตการปกครองของประเทศอังกฤษ มีสี่ระดับและแต่ละในระดับก็ยังแบ่งย่อยเป็นลักษณะต่าง ๆ จุดประสงค์ของการแบ่งระดับก็เพื่อใช้ในการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นในอังกฤษ หน่วยการปกครองบางหน่วยก็รวมการปกครองสองระดับเข้าด้วยกันเช่นเขตเกรเทอร์ลอนดอนที่เป็นทั้งการปกครองระดับภาคและระดับเทศมณฑล.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเขตการปกครองของประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์เชอร์

มบริดจ์เชอร์ (Cambridgeshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษที่มีเขตแดนติดกับมณฑลลิงคอล์นเชอร์ทางตอนเหนือ, มณฑลนอร์โฟล์คทางตะวันออกเฉียงเหนือ, มณฑลซัฟโฟล์คทางตะวันออก, มณฑลเอสเซ็กซ์และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ทางตอนใต้ และ มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์และมณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ปัจจุบันเกิดจากอดีตมณฑลเคมบริดจ์เชอร์เดิม และมณฑลฮันทิงดันเชอร์และไอล์ออฟอีลี (Isle of Ely) และโซคออฟปีเตอร์บะระห์ (Soke of Peterborough) เมืองหลวงของมณฑลคือเคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร์มีเนื้อที่ 3,389 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 760,700 คน ถัวเฉลี่ย 224 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเคมบริดจ์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์

นต์ (Count) หรือ กราฟ (Graf) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ภริยาของเคานต์เรียกว่า เคาน์เตส (Countess) เคานต์ปกครองดินแดนที่มีศักดิ์เป็นเคาน์ตี อำนาจในทางปกครองของเคานต์จะเรียกว่า "countship" ชื่อตำแหน่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "comte" ที่มาจากภาษาลาติน "comes" ที่แปลว่าเพื่อน (companion) และต่อมาหมายถึง "สหายของจักรพรรดิ หรือผู้แทนของจักรพรรดิ" ในอังกฤษไม่ใช้ตำแหน่งเคานต์ แต่ใช้ตำแหน่งที่เท่าเทียมกันที่เรียกว่า "เอิร์ล" แต่ภริยาของเอิร์ลก็ยังคงเรียกว่าเคาน์เตส ตำแหน่งที่เท่ากับเคานต์ในประเทศอื่น เช่น กราฟ (Graf) ในเยอรมัน, ฮะกุชะกุ (伯爵)ในญี่ปุ่น พระราชวงศ์ยุโรปมักจะใช้ตำแหน่ง "เคานต์" เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์เพื่อพระราชทานแก่สมาชิกในพระราชวงศ์โดยเฉพาะ ตำแหน่งกิตติมศักดิ์นี้จะไม่มีอำนาจในทางปกครอง ในสหราชอาณาจักร "เอิร์ล" มักจะเป็นบรรดาศักดิ์ที่ได้แก่บุตรชายคนแรกของดยุก.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเคานต์ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: เทศมณฑลของอังกฤษและเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Counties of Englandมลฑลการปกครองของอังกฤษมณฑลการปกครองของอังกฤษมณฑลในอังกฤษเคาน์ตีของอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »