โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิลต์เชอร์

ดัชนี วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

16 ความสัมพันธ์: บาร์กเชอร์กลอสเตอร์เชอร์ภาษาอังกฤษสวินดันสหราชอาณาจักรสโตนเฮนจ์อาสนวิหารซอลส์บรีอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ดอร์เซตซอลส์บรีซัมเมอร์เซตประเทศอังกฤษเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานครเทศมณฑลของอังกฤษเซาท์เวสต์อิงแลนด์

บาร์กเชอร์

ร์กเชอร์ (Berkshire) บางทีก็เรียกว่า “ราชมณฑลบาร์กเชอร์” เพราะเป็นที่ตั้งของ พระราชวังวินด์เซอร์ การเรียกนี้ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ยอมรับโดยสมเด็จพระราชินีในปี..

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และบาร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สวินดัน

วินดัน (Swindon) เป็นเมืองในวิลต์เชียร์เคาน์ตี สหราชอาณาจักร ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ อยู่ห่างจากกรุงลอนดอน 130 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก จากการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และสวินดัน · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สโตนเฮนจ์

ตนเฮนจ์: โปรดสังเกตเมื่อเทียบกับคนที่ยืนอยู่ด้านมุมล่างขวาของภาพ สโตนเฮนจ์ เป็นอนุสรณ์สถาน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลางทุ่งราบกว้างใหญ่บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในบริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ตัวอนุสรณ์สถานประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันวางนอนลง และบางอันก็ถูกวางซ้อนอยู่ข้น นักโบราณคดีเชื่อว่ากลุ่มกองหินนี้ถูกสร้างขึ้นจากที่ไหนสักแห่งเมื่อประมาณ 3000–2000 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวคือ การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีเมื่อ..

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และสโตนเฮนจ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารซอลส์บรี

อาสนวิหารซอลส์บรี (Salisbury Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อาสนวิหารเซนต์แมรี (Cathedral of Saint Mary) เป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองซอลส์บรี มณฑลวิลท์เชอร์ในสหราชอาณาจักร เริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และอาสนวิหารซอลส์บรี · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Oxfordshire) หรือมีชื่อย่อว่า “Oxon” ที่มาจากภาษาละติน “Oxonia” เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 635,600 คน มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลต่างได้แก่ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, บาร์คเชอร์, วิลท์เชอร์, กลอสเตอร์เชอร์ และวอริคเชอร์ มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: อ๊อกซฟอร์ด, เชอร์เวลล์, เวลแห่งไวท์ฮอร์ส, เซาท์อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ เวสต์อ๊อกซฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ซอลส์บรี

ซอลส์บรี (Salisbury) หรือ ซอวส์บรี เป็นนครที่ตั้งอยู่ในมณฑลวิลท์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซอลส์บรีเป็นเมืองที่มีเนื้อที่มากที่สุดในดิสตริคท์ซอลส์บรี ในสมัยโบราณเมืองนี้บางครั้งก็เป็นที่รู้จักกันว่า “นิวเซรัม” (New Sarum) เพื่อให้แตกต่างจากที่ตั้งเดิมของเมืองซอลส์บรีที่ “โอลด์เซรัม” (Old Sarum) แต่ชื่อนี้ไม่ค่อยเป็นที่ใช้กันเท่าใดนัก ซอลส์บรีเป็นจุดที่แม่น้ำห้าสายเล็ก ๆ มาบรรจบกัน ได้แก่ แม่น้ำแนดเดอร์ แม่น้ำเอบเบิล แม่น้าไวลี แม่น้ำบอร์น และแม่น้ำเอวอนของแฮมเชอร.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และซอลส์บรี · ดูเพิ่มเติม »

ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร

มณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ หรือ มณฑลไชร์ (Non-metropolitan county หรือ Shire county) เป็นหนึ่งในระดับการปกครองมณฑลของอังกฤษที่ไม่ใช่อังกฤษมณฑลเมโทรโพลิตัน มณฑลเหล่านี้มักจะมีประชากรราว 300,000 ถึง 1.4 ล้านคน บางครั้ง “มณฑลนอกเมโทรโพลิตัน” ก็เรียกว่า “มณฑลไชร์” (Shire county) แต่เป็นการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ มณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่เป็นมณฑลเดิมในประวัติศาสตร์มักจะมีสร้อยต่อท้ายด้วย “-เชอร์” (shire) เช่นวิลท์เชอร์ หรือแลงคาสเชอร์ และบางมณฑลก็เคยมีสร้อยแต่มาหายไปภายหลังเช่นเดวอน อันที่จริงแล้ว “มณฑลไชร์” หรือ “ไชร์เคานตี้” เป็นประพจน์ซ้ำความ (Tautology) ซึ่งหมายความว่าทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันแต่มักจะใช้ด้วยกัน: คำว่า “เคานตี้” (มณฑล) มาจากภาษาฝรั่งเศสและ “ไชร์” มาจากภาษาภาษาอังกฤษเก่า ทั้งสองคำหมายถึงเขตการปกครองระดับหนึ่ง.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เซาท์เวสต์อิงแลนด์

ตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: South West England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษและโดยเนื้อที่แล้วเป็นบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเก้าบริเวณที่มีบริเวณตั้งแต่กลอสเตอร์เชอร์และวิลท์เชอร์ไปจนถึงคอร์นวอลล์และไอล์สออฟซิลลิย์ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุมบริเวณที่เรียกว่าเวสต์คันทรี (West Country) และเวสเซ็กซ์ ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีเนื้อที่ 23,829 ตารางกิโลเมตร โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 4,928,458 คนและมีความหนาแน่นของประชากรเป็นจำนวน 207 ต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บริเวณนี้มีชื่อเสียงในการผลิตเนยแข็งชนิดที่เรียกกันว่าเช็ดดาร์ (Cheddar cheese) ที่เริ่มทำกันที่หมู่บ้านเช็ดดาร์, เดวอนมีชื่อเสียงในเรื่อง “Cream tea” ซึ่งเป็นการดื่มชานมกับการกิน “สโคน” (คล้ายมัฟฟินแต่ไม่หวาน) กับครีมข้น (clotted cream) และแยมผลไม้ และในเรื่องไซเดอร์ (Cider) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากหมักน้ำแอ็ปเปิล (ต่างจากไซเดอร์บางชนิดในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีแอลกอฮอล์) นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่ตั้งของโครงการหมู่อาคารสำหรับพฤกษชาติอีเด็น, อาร์ดแมนแอนิเมชันส (Aardman Animations), งานเทศกาลกลาสตันบรี, และงานแสดงบอลลูนนานาชาติประจำปีที่บริสตอล และสถานที่ท่องเที่ยวและชายหาดในคอร์วอลล์ อุทยานแห่งชาติสองแห่งและมรดกโลกสี่แห่งก็ตั้งอยู่ในภาคนี้.

ใหม่!!: วิลต์เชอร์และเซาท์เวสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Wiltshireมณฑลวิลท์เชอร์วิลท์เชอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »