โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซัมเมอร์เซต

ดัชนี ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

35 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1บาธฟิลลิดา ลอยด์พระนางเอลฟรีดาพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์กลอสเตอร์เชอร์มหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ยุทธการที่แลงพอร์ตยุทธการที่แลนส์ดาวน์รายชื่อสวนสัตว์รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรวิลต์เชอร์สวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558สถาปัตยกรรมนอร์มันสโมสรฟุตบอลโยวิลทาวน์ออสบอร์น เรย์โนลส์อาร์เธอร์ ซี. คลาร์กอาสนวิหารเว็ลส์จอห์น แอดัมส์จอห์น โซนธนูยาวอังกฤษดอร์เซตคฤหาสน์ชนบทคฤหาสน์มอนทาคิวต์แจ็คผู้สยบยักษ์โรส เลสลีโรเบิร์ต คารร์ เอิร์ลที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซตโอลด์อิงลิชชีปด็อกเมืองซ่อนบาปเทวสถานโรมันเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเดวอน

ชาลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1

ลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1 (’’Charles Trevelyan, 1st Baronet’’; 2 เมษายน ค.ศ. 1807 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1886) ชาลส์ เทรเวเลียนข้าราชการชาวอังกฤษและข้าหลวงแห่งมัทราส เทรเวเลียนผู้ที่ถือกำเนิดที่ทอนทันในมณฑลซัมเมอร์เซ็ทเป็นบุตรของจอร์จ เทรเวเลียนอาร์คดีคอนแห่งทอนทัน และ ภรรยาแฮร์เรียต ในคริสต์ทศวรรษ 1830 เทรเวเลียนทำงานที่โกลกาตาในบริติชราชและมีบทบาทในด้านการศึกษา ระหว่างปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและชาลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

บาธ

(ภาษาอังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซอมเมอร์เซ็ทในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและบาธ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลลิดา ลอยด์

ฟิลลิดา ลอยด์, CBE (Phyllida Lloyd; เกิด 17 มิถุนายน 1957) เป็นผู้กำกับละครเธียเตอร์และภาพยนตร์ชาวอังกฤษ รู้จักกันดีในงานการละครเวที และในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ Mamma Mia! (2008) และ The Iron Lady (2011).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและฟิลลิดา ลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเอลฟรีดา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและพระนางเอลฟรีดา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์

อเธลบาลด์ กษัตริย์ของชาวเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สองจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่เป็นลูกสาวของข้าราชบริพารคนหนึ่งของพระองค์และตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ เอเธลวูล์ฟ เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่โรมในปี..855 เอเธลบาล์ดวางแผนกับบิชอปแห่งเชอร์บอร์นและผู้นำท้องถิ่นของซัมเมอร์เซ็ตต่อต้านพระองค์ รายละเอียดของแผนการไม่เป็นที่รู้ แต่เมื่อกลับมาจากโรม เอเธลวูล์ฟพบว่าพระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดเหลือแค่กษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ขณะที่เอเธลบาลด์ควบคุมเวสเซ็กซ์ เอเธลวูล์ฟสวรรคตในปี..858 และอำนาจควบคุมเต็มรูปแบบถูกส่งต่อให้เอเธลบาลด์ที่อภิเษกสมรสกับพระมเหสีของพระราชบิดา จูดิธ ทว่าภายใต้แรงกดดันจากศาสนจักรการอภิเษกสมรสถูกประกาศเป็นโมฆะในปีต่อมา พระองค์สวรรคตในปี..860 ส่งต่อบัลลังก์ให้พระอนุชา เอเธลเบิร์ท.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและพระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์

มหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ หรือ มหาวิทยาลัยอังกฤษภาคตะวันตก (University of the West of England, ชื่อย่อ: UWE Bristol หรือ UWE) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ต้องปฏิบัติและการจัดการ วิทยาเขตหลักตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองบริสตอล ใกล้กับทางหลวงพิเศษหมายเลข M32 และมีวิทยาเขตรองในเขตเมืองบริสตอล และจังหวัดกลอสเตอร์เชอร์ มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ที่สุดในเมือง โดยมีจำนวนนักศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยบริสตอลที่อยู่ใกล้เคียง แต่มิได้ติดอันดับ 800 มหาวิทยาลัยที่ทำการจัดโดย QS เหมือนกับมหาวิทยาลัยบริสตอล มหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ยกฐานะจากวิทยาลัยเทคนิคบริสตอลเมื่อ..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและมหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แลงพอร์ต

ทธการที่แลงพอร์ต (Battle of Langport) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1645 ที่เมืองแลงพอร์ต ใกล้เมืองโยวิลในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตของอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยจอร์จ กอริง ลอร์ดกอริง กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ความเสียหายของการเสียชีวิตและบาดเจ็บของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่ทร.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและยุทธการที่แลงพอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แลนส์ดาวน์

ทธการที่แลนส์ดาวน์ (Battle of Lansdowne) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ที่เนินแลนส์ดาวน์ ไม่ไกลจากเมืองบาธในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเซอร์แรล์ฟ ฮอปตัน บารอนฮอปตันที่ 1 และฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยเซอร์วิลเลียม วอลเลอร์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะ ฝ่ายนิยมกษัตริย์มีผู้เสียชีวิต 200-300 คนและบาดเจ็บ 600-700 คน ส่วนฝ่ายรัฐสภามีผู้เสียชีวิต 20 คนและบาดเจ็บ 60 คน แม้ว่าฝ่ายนิยมกษัตริย์จะได้รับชัยชนะแต่ก็เสียผู้คนไปเป็นจำนวนมากและทิ้งให้กองทัพอยู่ในสภาพที่ระส่ำระสายและตัวเซอร์ฮอพตันเองก็ได้รับบาดเจ็บจนตาบอดอยู่ชั่วระยะหนึ่งเมื่อรถขนอาวุธระเบิดขึ้น.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและยุทธการที่แลนส์ดาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสวนสัตว์

;.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและรายชื่อสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

สโตนเฮนจ์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกสโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 31 แห่ง โดยอยู่ในอังกฤษ 17 แห่ง, สกอตแลนด์ 5 แห่ง, อังกฤษและสกอตแลนด์ 1 แห่ง, เวลส์ 3 แห่ง, ไอร์แลนด์เหนือ 1 แห่ง และในดินแดนโพ้นทะเลเบอร์มิวดา หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา และยิบรอลตาร์ที่ละ 1 แห่ง แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์

วนที่ปราสาทซิสซิงเฮิสต์ ในหมู่บ้านซิสซิงเฮิสต์ พื้นที่วีลด์ เขตเทศมณฑลเคนต์ ประเทศอังกฤษ อยู่ในความดูแลขององค์การอนุรักษ์สถานที่เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือความสวยงามแห่งชาติ เป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากในอังกฤษ.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและสวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

กิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 สุริยุปราคาเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร มีโชติมาตร (magnitude) 1.045 ช่วงเวลาคราสเต็มดวงนานที่สุด คือ 2 นาที 47 วินาที นอกหมู่เกาะแฟโร เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงสุดท้ายที่เห็นได้ในทวีปยุโรปจนอุปราคา 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและสุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและสถาปัตยกรรมนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สโมสรฟุตบอลโยวิลทาวน์

มสรฟุตบอลโยวิลทาวน์ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ตั้งอยู่ที่เมืองโยวิล เทศมณฑลซัมเมอร์เซต ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันลงเล่นในลีกทู ซึ่งเป็นลีกระดับที่สี่ของอังกฤษ พวกเขาชนะเลิศลีกทูในฤดูกาล 2004–05 และเคยเลื่อนชั้นสู่แชมเปียนชิปด้วยการเพลย์ออฟในลีกวัน ปี 2013 สโมสรก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและสโมสรฟุตบอลโยวิลทาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

ออสบอร์น เรย์โนลส์

ออสบอร์น เรย์โนลส์ (Osborne Reynolds; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1842 – 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912) เป็นนักฟิสิกส์ชาวบริติช เกิดที่เมืองเบลฟาสต์ เป็นบุตรของออสบอร์น เรย์โนลส์ ผู้พ่อกับเจน ไบรเออร์ (นามสกุลเดิม ฮิกแมน) ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองแดดัมในมณฑลเอสเซกซ์ เรย์โนลส์สนใจด้านกลศาสตร์ตั้งแต่เด็กเนื่องจากบิดาเป็นครูใหญ่และนักบวช รวมถึงเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้สนใจในวิชากลศาสตร์ เมื่อเป็นวัยรุ่น เรย์โนลส์ทำงานที่โรงผลิตเรือของเอ็ดเวิร์ด เฮย์ส ทำให้เขามีความรู้ด้านพลศาสตร์ของไหล ต่อมาเรย์โนลส์เข้าเรียนด้านคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัยควีนส์ในเคมบริดจ์ หลังเรียนจบเขาทำงานเป็นวิศวกรโยธา ก่อนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิกตอเรียแมนเชสเตอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์) ในปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและออสบอร์น เรย์โนลส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

ซอร์ อาร์เธอร์ ชาลส์ คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 - 19 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่นิยายชุด จอมจักรวาล (Space Odyssey) และชุด ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous with Rama) ผลงานเขียนนวนิยายของคลาร์ก มีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์จำนวนมากได้แรงบันดาลใจจากนิยายของคลาร์ก เช่น ดาวเทียม การสำรวจอวกาศ ลิฟต์อวกาศ คลาร์ก อาศัยอยู่ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 และพักอาศัยอยู่อย่างถาวรจนได้รับสัญชาติศรีลังกา ชาวศรีลังกาถือว่าเขาเป็น "ความภูมิใจของลังกา" มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ให้เป็นเกียรติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและอาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเว็ลส์

อาสนวิหารเว็ลส์ โครงค้ำรูปกรรไกรที่มีชื่อเสียงของอาสนวิหาร อาสนวิหารเว็ลส์ (Wells Cathedral) มีชื่อทางการว่าอาสนวิหารเซนต์แอนดรูว์ เป็นอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเว็ลส์ในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตในสหราชอาณาจักร เป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งบิชอปแห่งบาธและเว็ลส์ เมืองเว็ลส์ที่เป็นนครอาสนวิหาร (Cathedral city) ที่มีขนาดเล็กเป็นที่สองของอังกฤษรองจากเมืองอาสนวิหารลอนดอน (City of London) ที่อยู่ภายในใจกลางกรุงลอนดอน ชื่อเมืองเวลล์ส มาจากคำว่า “wells” ที่แปลว่าน้ำพุธรรมชาติ บ่อน้ำพุนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโรมันและปัจจุบันก็ยังไหลอยู่ น้ำที่ไหลมาจากบ่อใช้ในการรดน้ำในสวนของบาทหลวงและเติมคูวังของบิชอป ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกแต่ฐานเดิมของโบสถ์สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 โบสถ์แรกที่สร้างที่จุดนี้สร้างโดยพระเจ้าไอเนแห่งเวสเซ็กซ์ (Ine of Wessex) เมื่อปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและอาสนวิหารเว็ลส์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แอดัมส์

อห์น แอดัมส์ (John Adams) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นบิดาของประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐอเมริกา จอห์น ควินซี แอดัมส์ จอห์นเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและจอห์น แอดัมส์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น โซน

นาคารแห่งอังกฤษที่ออกแบบโดยจอห์น โซน จอห์น โซน, RA (John Soane) (10 กันยายน ค.ศ. 1753 - 20 มกราคม ค.ศ. 1837) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ลักษณะงานสถาปัตยกรรมของโซนเป็นการใช้เส้นที่สะอาด รูปทรงที่ใหญ่แต่ง่าย รายละเอียดที่เด่นชัด มีความสมส่วน และ ดีเด่นในเรื่องการใช้แหล่งแสง อิทธิพลของงานมาจากปลายสมัยจอร์เจียนที่มาประดังกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่อิทธิพลของงานของจอห์น โซนจึงได้เป็นที่รู้สึกกันอย่างกว้างขวาง งานชิ้นที่เด่นที่สุดคือธนาคารแห่งอังกฤษที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสิ่งก่อสร้างทางการค้.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและจอห์น โซน · ดูเพิ่มเติม »

ธนูยาวอังกฤษ

นูยาวอังกฤษ ยาว 2 เมตร แรงต้าน (draw force) 470 นิวตัน ธนูยาวอังกฤษ หรือเรียก ธนูยาวเวลส์ เป็นธนูยาวสมัยกลางประเภททรงพลัง ยาวประมาณ 1.83 เมตร ซึ่งชาวอังกฤษและชาวเวลส์ใช้ในการล่าสัตว์และเป็นอาวุธในสงครามสมัยกลาง การใช้ธนูยาวของอังกฤษมีประสิทธิภาพต่อฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นของสงคราม ในยุทธการเครซี (ค.ศ. 1346) และปัวตีเย (ค.ศ. 1356) และที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ยุทธการอาแฌงคูร์ต (ค.ศ. 1415) แต่เริ่มประสบความสำเร็จน้อยลงหลังจากนั้น พลธนูยาวได้รับความสูญเสียที่ยุทธการแวร์เนย (ค.ศ. 1424) และถูกตีแตกพ่ายที่ยุทธการพาเทย์ (ค.ศ. 1429) เมื่อถูกเข้าตีก่อนที่พวกเขาจะจัดตั้งตำแหน่งตั้งรับ คำว่า ธนูยาว "อังกฤษ" หรือ "เวลส์" เป็นคำสร้างใหม่เพื่อแยกแยะธนูเหล่านี้จากธนูยาวอื่น แม้ธนูยาวแบบเดียวกันนี้จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก แต่ที่จริงแล้ว ก้านธนูยิวส่วนมากถูกนำเข้าจากสเปนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ธนูยาวที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักมาจากอังกฤษ ซึ่งถูกพบที่แอสคอทท์ฮีท (Ashcott Heath) มณฑลซอมเมอร์เซ็ท ซึ่งมีอายุถึง 2665 ปีก่อนคริสตกาล แต่ไม่มีธนูยาวเหลือรอดในช่วงที่ธนูยาวใช้กันอย่างแพร่หลาย (ระหว่าง ค.ศ. 1250-1450) ซึ่งอาจเป็นเพราะ เป็นธรรมชาติของธนูที่จะอ่อนแอลง หัก และถูกเปลี่ยน มากกว่าที่จะส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตาม มีธนูยาวมากกว่า 130 คันเหลือรอดจากยุคเรเนซ็องส์ มีลูกศรกว่า 3,500 ดอก และธนูยาวทั้งคัน 137 คัน ถูกกู้ขึ้นจากเรือแมรีโรส เรือของกองทัพเรือในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ซึ่งจมในพอร์ตสมัธ ใน..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและธนูยาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและคฤหาสน์ชนบท · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์มอนทาคิวต์

หาสน์มอนทาคิวต์ (Montacute House) เป็นคฤหาสน์ชนบทที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมอนทาคิวต์ในซัมเมอร์เซต สหราชอาณาจักร คฤหาสน์มอนทาคิวต์ก่อสร้างราวปี ค.ศ. 1598 ด้วยหินแฮมให้แก่เซอร์เอดเวิร์ด เฟลิปส์ข้าราชสำนักในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ โดยสันนิษฐานกันว่าวิลเลียม อาร์โนลด์เป็นสถาปนิก "คฤหาสน์มอนทาคิวต์" เป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในรายชื่อสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ เกรด 1 ปัจจุบันคฤหาสน์มีองค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นผู้บริหาร องค์การพิทักษ์สิ่งก่อสร้างบรรยายว่าคฤหาสน์มอนทาคิวต์เป็น "สถาปัตยกรรมอันงดงามชิ้นหนึ่งของปลายสมัยเอลิซาเบท" ในปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและคฤหาสน์มอนทาคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

แจ็คผู้สยบยักษ์

แจ็คผู้สยบยักษ์ (Jack the Giant Slayer) เป็นภาพยนตร์ผจญภัย/แฟนตาซีที่เตรียมจัดฉาย ซึ่งอิงจากเทพนิยายเรื่อง "แจ็คผู้ฆ่ายักษ์" และ "แจ็คกับต้นถั่ว" กำกับภาพยนตร์โดยไบรอัน ซิงเกอร์ และนำแสดงโดยนิโคลัส ฮอลท์, เอลินอร์ ทอมลินสัน, สแตนลีย์ ทุชชี, เอียน แม็คเชน, บิล ไนอี และอีวาน แมคเกรเกอร์ เขียนบทภาพยนตร์โดยดาร์เรน เลมเก, คริสโตเฟอร์ แม็คควอร์รี และแดน สตัดนีย์ ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของแจ็ค ซึ่งเป็นคนรับจ้างทำไร่นาที่ต้องช่วยเจ้าหญิงให้รอดพ้นจากเหล่ายักษ์ หลังจากที่ได้ก้าวไปสู่โลกของพวกมันอย่างไม่ได้ตั้งใจ การพัฒนาภาพยนตร์ แจ็คผู้สยบยักษ์ เริ่มขึ้นในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและแจ็คผู้สยบยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรส เลสลี

รส เอเลนอร์ อาร์บัธนอท-เลสสี (อังกฤษ: Rose Eleanor Arbuthnot-Leslie ; เกิด 9 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1987),  หรือรู้จักกันในชื่อ โรส เลสลี เป็นนักแสดงชาวสก็อต ได้รับรางวัล BAFTA ในสก๊อตแลนด์ สาขาการแสดงยอดเยี่ยม จากบทบาทของเธอใน New Town แล้วเธอก็โด่งดังในบทบาทของ Gwen Dawson ในซีรีส์ประวัติศาสตร์ Downton Abbey ของ ITV และบทของ Ygritte (อีกริต) ในซีรีส์แฟนตาซี Game of Thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ของ HBO  ปัจจุบันเธอแสดงบทของ Maia Rindell ในซีรีส์แนวกฎหมายและการเมือง The Good Fight.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและโรส เลสลี · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต คารร์ เอิร์ลที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซต

รเบิร์ต คารร์ เอิร์ลแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Robert Carr, 1st Earl of Somerset) (ราว ค.ศ. 1587 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1645) โรเบิร์ต คารร์เป็นขุนนางและนักการเมืองสกอตแลนด์คนโปรดของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและโรเบิร์ต คารร์ เอิร์ลที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

โอลด์อิงลิชชีปด็อก

อลด์อิงลิชชีปด็อก โอลด์อิงลิชชีปด็อก (Old English Sheepdog) สุนัขพันธุ์ใหญ่หางยาวสีเทาและลำตัวมีขนสีขาวเป็นพันธุ์ใหญ่ของสุนัขที่พัฒนามาในประเทศอังกฤษ สุนัขพันธุ์นี้มีขนยาวมาก ปกคลุมทั้งใบหน้าและดวงตา ชื่อเล่นของมันคือบอบเทล์ ซึ่งเรียกมาจากการตัดหางสุนัขแบบหางเรือที่นิยมกันแต่ก่อน พันธุ์นี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัขที่ใช้ในโฆษณาสีทาบ้านของดูลักซ์ ทำให้เป็นที่รู้จักกันมากในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์นี้มีขนปุกปุย หนา ยาวเหมือนเสื้อโค๊ทเป็นเอกลักษณ์ สมัยก่อนที่นิยมแต่งหางสุนัขพันธุ์นี้ให้กลมแล้ว ยิ่งทำให้มันเหมือนหมีแพนด้ามาก แต่ในบางสายพันธุ์ก็ถูกพัฒนาให้มีหางที่เป็นบ๊อบธรรมชาติ โดยไม่ต้องตกแต่ง ท่าทางของโอลด์อิงลิชชีพด็อกจะยืนตัวตกลง ตอนมันยืน หางก็จะตกต่ำลงกว่าสะโพก ทำให้บางครั้งขนที่ยาวมากส่วนหางจะตกลงด้วย ขนาดตัวของสุนัขพันธุ์นี้จะสูงประมาณ 61 เซนติเมตร หรือประมาญ 2 ฟุต โดยที่ตัวเมียจะตัวเล็กกว่าตัวผู้ น้ำหนักโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 46 กิโลกรัมสำหรับตัวผู้โตเต็มวัย สีขนของโอลด์อิงลิชชีปด็อกจะเป็นสองสีปนกันระหว่างสีขาวกับสีเทา บางครั้งก็จะมีสีเทาออกฟ้าแซมอยู่เล็กน้อย แต่จะเป็นขาวส่วนใหญ่ ขนชั้นในจะทำหน้าที่กันความชื้น โดยลูกสุนัขเกิดใหม่จะมีสีดำและขาว แล้วจากนั้นสีก็จะเป็นจางลงเมื่อโตขึ้น เรื่องหางของเจ้าโอลด์อิงลิชชีปด็อก ได้เป็นที่ถกเถียงมากในประเทศต่างๆ ว่าควรจะตัดหรือไม่ โดยบางประเทศที่เก่าแก่ ได้มีการคัดค้านเรื่องการตัดหางสุนัข หรือบางประเทศเช่นอเมริกา มีการตั้งมาตรฐานว่าควรจะตัดหางสันัขห่างจากตัวมากเท่าใด เมื่อสุนัขพันธุ์นี้ไม่ได้เกิดมามีหางสั้นแต่กำเนิด โดยเชื่อว่าประเพณีการตัดหางนี้มีมาแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากกฎหมายกำหนดลักษณะของสัตว์ที่นำมาใช้แรงงาน เพื่อให้มีลักษณะคล่องตัวกับการทำงานมากที่สุด สุนัขพันธุ์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศใด แต่ได้รับการพัฒนาขึ้นทางฝั่งตะวันตกของประเทศอังกฤษบริเวณเดวอน, ซัมเมอร์เซ็ท และ ดัชชี เป็นต้น ปรากฏให้เห็นในครั้งแรกจากภาพวาดตั้งแต่สมัย ค.ศ. 1771 และสมัย ค.ศ. 1800 ทางฝั่งเมื่อตะวันตกเก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ปรากฏในรูปของสุนัขพันธุ์แบร์เดดคอลลี ซึ่งเชื่อว่า ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์กับรัสเซียนโอฟท์ชาร์คา เพื่อให้ได้ขนแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกันสุนัขพันธุ์นี้ในเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ แต่เรียกกันในนามชาเพิร์ดสด็อก ค.ศ. 1873 แต่ในตอนนั้นสายพัน์ยังไม่เป็นที่ยอมรับนัก เนื่องจากคุณภาพของสุนัขยังไม่ดีพอ หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาขนต่อโดยคงขนาดตัวไว้ จนเป็นที่รู้จักกว้างขวางในค.ศ. 1907 ก็ได้มีการส่งออกสายพันธุ์ไปยังสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลของสัตวแพทย์ แสดงให้เห็นว่าอายุของโอลด์อิงลิชชีปด็อก จะอยุ่ที่ประมาน 6.9 ปี แต่ในบางประเทศก็สามารถบันทึกได้ถึง 11.19 ปี ในอเมริกามีองกรที่ทำหน้าที่รักษามาตรฐานสายพันธุ์ชื่อ The Old English Sheepdog Club of America sponsors มีการสนันสนุนการขยายพันธุ์และส่งเสริมการซื้อขายสุนัขพันธุ์นี้อีกด้วย โรคประจำของสายพันธุ์นี้ที่สำคัณสุดคือ มะเร็ง และโรคอื่นๆได้แก่ ไทรอยด์ โรคผิวหนังอักเสบ โรคพยาธิในตับ HD, PRA โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง รวมถึงโรคทั่วใบของสุนัขขนหนา เมื่อซื้อขายลูกสุนัขก็ควรตรวจสอบโรคที่มีมาแต่กำเนิดให้ละเอียด ส่วนสำหรับสุนัขชรา ขนยาวที่ปรกตาก็เป็นอันตรายจ่อการมองเห็นของสุนัขเช่นกัน ต้องหมั่นรักษาความสะอาดของขนสุนัขเพื่อหลีกเลี่ยงโรคผิวหนัง และหมั่นทำความสะอาดบริเวณตาอยู่เสมอ หมวดหมู่:พันธุ์สุนัข.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและโอลด์อิงลิชชีปด็อก · ดูเพิ่มเติม »

เมืองซ่อนบาป

250px เมืองซ่อนบาป (Broadchurch) เป็นภาพยนตร์ชุดสืบเนื่องแนวชีวิตและสืบสวนซึ่งออกอากาศครั้งแรกทางเครือข่ายไอทีวีในสหราชอาณาจักร ได้รับการสร้างและเขียนบทโดยคริส ชิบนัลล์ และผลิตโดยคิวดอสฟิล์มแอนด์เทลิวิชัน, ไชน์อเมริกา และอิแมจินารีเฟรนส์ ภาพยนตร์ชุดที่ 1 (ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556) มีเนื้อเรื่องเน้นไปที่การเสียชีวิตของเด็กชายวัย 11 ปีคนหนึ่ง และผลกระทบจากความโศกเศร้า ความระแวงสงสัยต่อกัน และความสนใจของสื่อมวลชน ภาพยนตร์ชุดที่ 2 เริ่มถ่ายทำในปลายเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเมืองซ่อนบาป · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานโรมัน

รงละครมาร์เชลโลในกรุงโรม (เทวสถานโรมันแบบกรีก) เทวสถานโรมัน (Roman temple หรือ Fanum) ในความเชื่อเดิมในเรื่องที่เกี่ยวกับลัทธิเพกันโรมันผู้ถือปฏิบัติมักจะทำการสักการะที่เทวสถาน การสังเวยมักจะทำกันบนแท่นบูชาภายนอกเทวสถานที่ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถรับผู้เข้าร่วมพิธีได้มากกว่า เทวสถานโรมันจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่ตั้งของรูปสลักของเทพประจำลัทธินิยมในห้องหลักที่เรียกว่า “cella” (เซลลา) เซลลาเองก็อาจจะมีแท่นบูชาขนาดเล็กสำหรับจุดธูป หลังเซลลาก็จะเป็นห้องเดียวหรือหลายห้องที่ใช้โดยผู้เข้าร่วมพิธีสำหรับเก็บเครื่องไม้เครื่องมือหรือสิ่งที่จะถวายเท.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทวสถานโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ

มณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ เป็นระดับการปกครองหนึ่งของสี่ระดับของระดับการปกครองของอังกฤษที่ใช้สำหรับรัฐบาลระดับท้องถิ่นนอกนครลอนดอนและปริมณฑล ตามความหมายเดิมมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันแต่ละมณฑลประกอบด้วยกลุ่มอำเภอ (District), เมืองมณฑล และเป็นมณฑลผู้แทนพระองค์ (Ceremonial counties of England) แต่ต่อมาคำจำกัดความนี้ก็เปลี่ยนไปโดยกฎหมายระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่อนุญาตให้รวมมณฑลที่ไม่มีเทศบาลมณฑลและ “รัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว” ของตำบลเดียว มณฑลผู้แทนพระองค์ในปัจจุบันได้รับความหมายใหม่โดยพระราชบัญญัติมณฑลผู้แทนพระองค์ ค.ศ. 1997 (Lieutenancies Act 1997) ที่จำลองมาจากมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน และคาดกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองระดับท้องถิ่นอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดวอน

วอน (ภาษาอังกฤษ: Devon) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร เดวอนบางครั้งก็เรียกว่า “เดวอนเชอร์” แต่เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ เดวอนมีเขตแดนติดกับมณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวันตกและมณฑลดอร์เซ็ทกับมณฑลซอมเมอร์เซ็ททางตะวันออก ชายฝั่งทะเลด้านใต้เป็น ช่องแคบอังกฤษทางด้านเหนือเป็นช่องแคบบริสตอลซึ่งทำให้เป็นมณฑลเดียวในอังกฤษที่มีชายฝั่งทะเลสองด้านที่แยกกัน เดวอนมีหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวสองหน่วย: เมืองท่าพลิมัธและทอร์เบย์ที่เป็นกลุ่มบริเวณที่ท่องเที่ยวชายทะเลนอกไปจากเทศบาลการปกครองของมณฑลเดวอนเอง พลิมัธเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นชนบทรวมทั้งบริเวณอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีประชากรมากเป็นลำดับสามของบรรดามณฑลต่างๆ โดยมีประชากรทั้งหมด 1,109,900 คน โดยมีประชากรถัวเฉลี่ย 365 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชาชนเบาบางเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในบริเวณอื่น เดวอนแบ่งการปกครองเป็นสิบแขวง: เอ็กซิเตอร์, อีสต์เดวอน, มิดเดวอน, นอร์ธเดวอน, ทอร์ริดจ์, เวสต์เดวอน, เซาท์แธมส, เทนบริดจ์, พลิมัธ และทอร์เบย์ โดยมีเมืองมณฑลอยู่ที่ เอ็กซิเตอร์ เดวอนเป็นที่ตั้งของชายฝั่งทะเลมรดกโลกที่เป็นที่เรียกว่าฝั่งทะลเจอราสิค (Jurassic Coast) ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ เดวอนและคอร์วอลล์เป็นที่รู้จักันในชื่อ “Cornubian massif” ซึ่งเป็นลักษณะธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ของดาร์ทมัวร์ และเอ็กซมัวร์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลและมีเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง และมีอากาศที่ไม่รุนแรงซึ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของมณฑล.

ใหม่!!: ซัมเมอร์เซตและเดวอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Somersetมลฑลซอมเมอร์เซ็ทมณฑลซอมเมอร์เซ็ทมณฑลซัมเมอร์เซ็ทซอมเมอร์เซ็ทซัมเมอร์เซ็ท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »