โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินีเทเม

ดัชนี จักรพรรดินีเทเม

ักรพรรดินีเทเม (25 มิถุนายน พ.ศ. 2427 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) พระนามเดิม ซะดะโกะ คุโจ เป็นจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิไทโช และเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิโชวะ โดยจักรพรรดินีเทเมเป็นจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นองค์สุดท้ายที่มาจากตระกูลฟุจิวะระ (สายตระกูลคุโจ).

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2443พ.ศ. 2455พ.ศ. 2469ราชวงศ์ญี่ปุ่นรายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่นสภากาชาดไทยสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงสงครามโลกครั้งที่สองจักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวงจักรพรรดินีโคจุงจักรพรรดิโชวะจักรพรรดิไทโชจักรวรรดิญี่ปุ่นคุโจ มิชิตะกะคุโจ ฮิซะตะดะตระกูลฟูจิวาระตระกูลคุโจประเทศญี่ปุ่นนิโจ มุเนะโมะโตะนิโจ ฮะรุตะกะโตเกียวเจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะเจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึเจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะเจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะเจ้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ25 พฤษภาคม25 ธันวาคม30 กรกฎาคม

พ.ศ. 2443

ทธศักราช 2443 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1900 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและพ.ศ. 2443 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ญี่ปุ่น

ราชวงศ์ญี่ปุ่น (Imperial House of Japan.) บ้างเรียก ราชวงศ์ยะมะโตะ หรือ ราชวงศ์เบญจมาศ เป็นหนึ่งในราชวงศ์มีการสืบทอดสันตติวงศ์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิจินมุ (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1203 ตามตำนาน) โดยเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศนานที่สุดในโลกถึง 1,348 ปี และเป็นราชวงศ์ที่มีการสืบสันติวงศ์มากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบันรวมได้ถึง 125 รัชกาลแล้ว แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนมากอ้างว่าจักรพรรดิ 14 พระองค์แรกเป็นจักรพรรดิในตำนาน อนึ่งเนื่องจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้นเริ่มทีหลังจากการมีจักรพรรดิ 14 พระองค์แรก จึงเป็นเรื่องถกเถียงกันว่า หากยังไม่ได้มีการรวมชาติใด ๆ จะมีจักรพรรดิได้เช่นไร สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์คือ คิกุ (เรียกเต็มว่า คิกกะมนโช แปลว่า ลัญจกรดอกเบญจมาศ ราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นราชวงศ์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ่ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้าง แม้สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะจะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเรียก "จักรพรรดิ" ว่า เท็นโน หมายถึง เทพเจ้าที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของ "กษัตริย์ญี่ปุ่น" ราชวงศ์ญี่ปุ่นเคยได้รับการเคารพในฐานะอวตารเทพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมีพระโองการว่า ทรงเป็นคนธรรมดา และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและราชวงศ์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น

ักรพรรดินีญี่ปุ่น คือพระอิสริยยศของอิสตรีผู้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น และอาจหมายถึงจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยจักรพรรดินีอัครมเหสีในรัชกาลปัจจุบันคือจักรพรรดินีมิชิโกะในจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและรายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สภากาชาดไทย

กาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและสภากาชาดไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother สำหรับพระราชินี และ empress mother สำหรับพระจักรพรรดินี) คือ พระมเหสีม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน คำนี้เกิดขึ้นในภาษาอังกฤษเมื่อราว..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง

ักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2392 — 19 เมษายน พ.ศ. 2457) พระนามเดิม มะซะโกะ อิชิโจ และฮะรุโกะ อิชิโจ ตามลำดับ เป็นพระจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิเม.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและจักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีโคจุง

ักรพรรดินีโคจุง (6 มีนาคม พ.ศ. 2446 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543) พระนามเดิม เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ เป็นพระจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระราชมารดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ถือเป็นจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นDowner, Lesely.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและจักรพรรดินีโคจุง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโชวะ

มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี) ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติฝ่ายอักษะ และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและจักรพรรดิโชวะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไทโช

มเด็จพระจักรพรรดิโยะชิฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัยคือ จักรพรรดิไทโช (31 สิงหาคม พ.ศ. 2422 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 123 ทรงปกครองจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น และพระประมุขแห่งเกาหลี เป็นเวลา 14 ปี.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและจักรพรรดิไทโช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

คุโจ มิชิตะกะ

้าชายคุโจ มิชิตะกะ (九条 道孝, Kujō Michitaka? 1839-1906), บุตรชายของนิโจ ฮิสะทาดะ และเป็นบุตรบุญธรรมของ นิโจ ยูกิโนะริ เป็นขุนนางของญี่ปุ่นในปลายสมัยเอโดะ และตอนต้นสมัยเมจิ ในเวลาต่อมา พระธิดาของพระองค์ได้สมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม ซึ่งหลังจากนั้นก็คือเป็นสมเด็จพระอัยยิกาของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน ดังนั้นเจ้าชายคุโจ มิชิตะกะผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเมจึงทรงเป็นพระเปตามหัยกาของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ปัจจุบันด้วย ต่อมาในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและคุโจ มิชิตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

คุโจ ฮิซะตะดะ

ทาดะ คุโจว ฮิสะทาดะ (ญี่ปุ่น:九条 尚忠, Kujō Hisatada? พ.ศ. 2341- พ.ศ. 2414) บุตรชายของนิโจ ฮารุทากะ เป็นสมาชิกของตระกูลฟุจิวะระ และ ตระกูลคุโจว เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นคัมปะกุในช่วงปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและคุโจ ฮิซะตะดะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ ฟูจิวาระ เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและตระกูลฟูจิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลคุโจ

ตระกูลคุโจ เป็นตระกูลสาขาของตระกูลฟุจิวะระ โดยได้แยกออกมาจาก ฟุจิวะระ โนะ ทาดะมิชิ ตระกูลคุโจวมีอำนาจเช่นเดียวกับตระกูลฟุจิวาระ ในด้านราชสำนักมีบุตรสาวของตระกูลนี้มากมายแต่งงานกับจักรพรรดิ หนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม ในฐานะตระกูลขุนนาง ตระกูลคุโจได้แบ่งตำแหน่งเซ็สโซและคัมปะกุ และตำแหน่งต่างๆ กับ ตระกูลโคโนอิ, ตระกูลทาคาสุซากะ, ตระกูลนิโจ และตระกูลอิจิโจ ซึ่งเป็นเครือญาติเดียวกันจากศตวรรษที่ 12 จนถึงปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและตระกูลคุโจ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นิโจ มุเนะโมะโตะ

นิโจ มุเนะโมโตะ (พ.ศ. 2270-2297) บุตรชายของคุโจ ยุกิโนะริ และบุตรบุญธรรมของ นิโจ มุเนะฮิระ เป็นขุนนางของญี่ปุ่นในสมัยเอโดะ เป็นสมาชิกของตระกูลฟุจิวะระและตระกูลนิโจ เขามีบุตรคนคือ นิโจ ชิเงะโยะริ ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์ และมีบุตรบุญธรรมชื่อ นิโจ ฮะรุตะกะ หมวดหมู่:บุคคลในยุคเอะโดะ หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและนิโจ มุเนะโมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

นิโจ ฮะรุตะกะ

นิโจ ฮารุทากะ (ญี่ปุ่น: 二条 治孝, Nijō Harutaka? พ.ศ. 2297- พ.ศ. 2369 72 ปี), บุตรชายของ นิโจ โมนะโมโตะ เป็นสมาชิกของ ตระกูลฟุจิวะระ เขามีบุตรมากมายกับบุตรสาวของ โทกุงะวะ มุเนะโมโตะ ไดเมียวแห่งมิโต.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและนิโจ ฮะรุตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุ

้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุ (秩父宮 雍仁, Chichibu no miya Yasuhito Shinnō?, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2444 - 4 มกราคม พ.ศ. 2496) หรือ เจ้าชายยะสุฮิโตะ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมป์ ด้านกีฬา, การแพทย์ โดยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงสามารถตรัสภาษาอังกฤษได้ จึงได้ทรงดูแลความสัมพันธ์ระหว่าง พระราชวงศ์อังกฤษ และพระราชวงศ์ญี่ปุ่น พระองค์ได้ทรงเข้าประจำการในกองทัพญี่ปุ่น พระองค์นั้นก็เหมือนกับเจ้าชายพระองค์อื่นๆในราชวงศ์ที่ญี่ปุ่นที่ได้รับการอภัยโทษไม่ต้องเป็นอาชญากรสงคราม หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและเจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ

้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2458 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงคิกุโกะแห่งทะกะมะสึ เจ้ามิกะซะถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่พระชนมายุยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ

้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ (3 มกราคม ค.ศ. 1905 - 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระองค์ทรงเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง ทะคะมัตสึ โนะ มิยะ (เดิมเรียกว่า "อะริสึงะวะ โนะ มิยะ") 1 ใน 4 พระอิสริยยศของสมาชิกพระราชวงศ์ที่มีสิทธิในราชบัลลังก์โดยตรง ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1920 พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการอยู่ในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นตราบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดำรงพระยศสูดสุดในระดับนายนาวาเอก หลังสิ้นสงคราม พระองค์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์หรือผู้อุปถัมภ์ขององค์กรหลายแห่ง ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ศิลปะ การกีฬา และการแพท.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและเจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ

้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2466) พระนามเดิม ยูริโกะ ทากางิ เป็นพระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้าชายมิกาซะ พระราชโอรสพระองค์เล็กในจักรพรรดิไทโช กับจักรพรรดินีเทเม พระองค์เป็นพระปิตุลานีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและเป็นพระกุลเชษฐ์แห่งราชวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในรัชกาลจักรพรรดิไทโชที่ยังทรงพระชนม.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและเจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะ

้าหญิงคิกุโกะ พระชายาในเจ้าชายโนะบุฮิโตะ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2547) มีพระนามเดิมว่า คิกุโกะ โทะกุงะวะ เป็นพระชายาในเจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าชายทะกะมะสึ เป็นพระสุณิสาในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเป็นพระปิตุลานีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและเจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ

้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ (9 กันยายน พ.ศ. 2452 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2538) พระนามเดิม เซะสึโกะ มะสึไดระ เป็นพระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชายชิชิบุ พระราชโอรสในจักรพรรดิไทโชและจักรพรรดินีเทเม ทั้งนี้พระองค์เป็นพระประยูรญาติของเจ้านายหลายพระองค์ อาทิ เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ (ต่อมาคือจักรพรรดินีโคจุง) และเจ้าหญิงมะซะโกะแห่งนะชิโมะโตะ (ต่อมาคือเจ้าหญิงพังจา พระชายาในมกุฎราชกุมารอึยมิน) และยังเป็นหนึ่งในพระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่นที่พระราชวงศ์อังกฤษโปรดปราน โดยเฉพาะเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ออกพระโอษฐ์อยู่เสมอว่าเจ้าหญิงเซะสึโกะเป็น "พระอัยยิกาชาวญี่ปุ่น".

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและเจ้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

25 พฤษภาคม

วันที่ 25 พฤษภาคม เป็นวันที่ 145 ของปี (วันที่ 146 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 220 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและ25 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 ธันวาคม

วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่ 359 ของปี (วันที่ 360 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 6 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและ25 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 กรกฎาคม

วันที่ 31 กรกฎาคม เป็นวันที่ 211 ของปี (วันที่ 212 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 154 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเทเมและ30 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเมสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม พระพันปีหลวงเจ้าหญิงซะดะโกะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »