โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ญี่ปุ่น

ดัชนี ราชวงศ์ญี่ปุ่น

ราชวงศ์ญี่ปุ่น (Imperial House of Japan.) บ้างเรียก ราชวงศ์ยะมะโตะ หรือ ราชวงศ์เบญจมาศ เป็นหนึ่งในราชวงศ์มีการสืบทอดสันตติวงศ์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิจินมุ (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1203 ตามตำนาน) โดยเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศนานที่สุดในโลกถึง 1,348 ปี และเป็นราชวงศ์ที่มีการสืบสันติวงศ์มากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบันรวมได้ถึง 125 รัชกาลแล้ว แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนมากอ้างว่าจักรพรรดิ 14 พระองค์แรกเป็นจักรพรรดิในตำนาน อนึ่งเนื่องจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้นเริ่มทีหลังจากการมีจักรพรรดิ 14 พระองค์แรก จึงเป็นเรื่องถกเถียงกันว่า หากยังไม่ได้มีการรวมชาติใด ๆ จะมีจักรพรรดิได้เช่นไร สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์คือ คิกุ (เรียกเต็มว่า คิกกะมนโช แปลว่า ลัญจกรดอกเบญจมาศ ราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นราชวงศ์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ่ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้าง แม้สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะจะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเรียก "จักรพรรดิ" ว่า เท็นโน หมายถึง เทพเจ้าที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของ "กษัตริย์ญี่ปุ่น" ราชวงศ์ญี่ปุ่นเคยได้รับการเคารพในฐานะอวตารเทพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมีพระโองการว่า ทรงเป็นคนธรรมดา และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น.

56 ความสัมพันธ์: ชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิพ.ศ. 1203พ.ศ. 2490มาซาโกะ เซ็งยาซูโกะ โคโนเอะรายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่นสภาขุนนางญี่ปุ่นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะอะสึโกะ อิเกะดะอ๋องจักรพรรดิญี่ปุ่นจักรพรรดิจิมมุจักรพรรดินีโคจุงจักรพรรดินีเทเมจักรพรรดิโชวะจักรพรรดิไทโชทากาโกะ ชิมาซุคะโซะกุคาซูโกะ ทากาสึกาซะตระกูลฟูจิวาระตราแผ่นดินของญี่ปุ่นซายาโกะ คุโรดะประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นโยะชิกิ คุโระดะโนริโกะ เซ็งเงะเบญจมาศเจ้าชายฟูมิฮิโตะ เจ้าอากิชิโนะเจ้าชายมาซาฮิโตะ เจ้าฮิตาชิเจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุเจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นเจ้าชายโยะชิฮิโตะ เจ้าคะสึระเจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะเจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึเจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าทะกะมะโดะเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นเจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะเจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะเจ้าหญิงสึกูโกะแห่งทากามาโดะเจ้าหญิงอากิโกะแห่งมิกาซะเจ้าหญิงอายาโกะแห่งทากามาโดะเจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะเจ้าหญิงฮิซาโกะ พระชายาในเจ้าชายโนริฮิโตะเจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะเจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ...เจ้าหญิงซาชิโกะ เจ้าหญิงฮิซะเจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะเจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาในเจ้าชายโทโมฮิโตะเจ้าหญิงไอโกะ เจ้าหญิงโทชิเจ้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ11 กุมภาพันธ์ ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

ชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ

งะโกะ ฮิงะชิกุนิ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) มีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงชิเงะโกะ เจ้าเทะรุ และภายหลังเสกสมรสกับ เจ้าชายโมะริฮิโระแห่งฮิงะชิกุนิ ทรงพระนามว่า เจ้าหญิงชิเงะโกะ พระชายาโมะริฮิโระแห่งฮิงะชิกุนิ พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตใน สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง อีกทั้งยังเป็นพระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1203

ทธศักราช 1203 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและพ.ศ. 1203 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

มาซาโกะ เซ็ง

มะซะโกะ เซ็ง หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงมะซะโกะแห่งมิกะซะ เป็นอดีตสมาชิกของราชวงศ์ญี่ปุ่น มะซะโกะเป็นพระธิดาในเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ กับ เจ้าหญิงยุริโกะ พระวรชายามิกะซะ มะซะโกะ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ ทะซะยุกิ เซ็ง มีบุตรชาย 2 คนและธิดา 1 คนคือ อะกิฟุมิ เซ็ง ทะกะฟุมิ เซ็ง และมะกิโกะ เซ็ง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและมาซาโกะ เซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยาซูโกะ โคโนเอะ

ซุโกะ โคะโนะเอะ (ประสูติ: 26 เมษายน พ.ศ. 2487) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงยะซุโกะแห่งมิกะซะ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้าชายมิกะซะ กับเจ้าหญิงยุริโกะ พระชายาฯ ภายหลังได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อเสกสมรสกับทะดะเตะรุ โคะโนะเอ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและยาซูโกะ โคโนเอะ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น

ักรพรรดินีญี่ปุ่น คือพระอิสริยยศของอิสตรีผู้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น และอาจหมายถึงจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยจักรพรรดินีอัครมเหสีในรัชกาลปัจจุบันคือจักรพรรดินีมิชิโกะในจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและรายพระนามจักรพรรดินีญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สภาขุนนางญี่ปุ่น

นนาง เป็นสภาสูงของ สภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ หรือรัฐสภาของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยอิโต ฮิโระบุมิ และผู้นำในสมัยเมจิคนอื่นๆ ได้นำรูปแบบของสภาขุนนางของอังกฤษมาใช้ จึงเกิดเป็นสภาขุนนางขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคเมจิ ในปี 1869 รัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ สมาชิกสภาขุนนางได้ประกอบไปด้วย อดีตขุนนางในราชสำนัก, ขุนนางตระกูลฟุจิวะระ รวมไปถึงอดีตไดเมียว ได้เข้าสู่ระบบศักดินาใหม่ที่เรียกว่า คะโซะกุ ซึ่งระบบศักดินานี้แบ่งเป็น 5 ชั้นเหมือนบรรดาศักดิ์ยุโรป ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาควบคุมญี่ปุ่น และกำหนดให้มีสภาสูงที่มาจาการเลือกตั้งแทนสภาขุนนาง ที่เรียกว่า ราชมนตรี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและสภาขุนนางญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother สำหรับพระราชินี และ empress mother สำหรับพระจักรพรรดินี) คือ พระมเหสีม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน คำนี้เกิดขึ้นในภาษาอังกฤษเมื่อราว..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ

มเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล ในปัจจุบันนี้พระองค์เป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นจักรพรรดิ ในญี่ปุ่น การเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เท็นโน เฮกะ หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ และรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะเรียกว่า ยุคเฮเซ หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว อาจมีการขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ

มเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ (20 ตุลาคม พ.ศ. 2477) มีพระนามเดิมว่า มิชิโกะ โชดะ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีอัครมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ เข้าสู่พระราชวงศ์จากการเสกสมรสกับเจ้าชายอะกิฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น มิชิโกะจึงดำรงพระอิสริยยศเป็น มกุฎราชกุมารี ครั้นสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคต มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะจึงสืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิ และมกุฎราชกุมารีมิชิโกะจึงดำรงพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดินี ตามลำดั.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ · ดูเพิ่มเติม »

อะสึโกะ อิเกะดะ

อะสึโกะ อิเกะดะ (ประสูติ 7 มีนาคม พ.ศ. 2474) หรือ อดีตเจ้าหญิงโยริ เป็นภริยาของทะกมะซะ อิเกะดะ และเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สี่ในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง ทั้งยังเป็นหนึ่งในพระภคินีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะที่ยังมีพระชนม์ชี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและอะสึโกะ อิเกะดะ · ดูเพิ่มเติม »

อ๋อง

อ๋อง (หวัง หรือ หวาง) แปลเป็นภาษาไทยคือกษัตริย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอ๋องอยู่เพียง 5 พระองค์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องเป็น ปาอ๋อง หรือ ปาจู๋ (霸, Bà) แปลได้ว่า "อ๋องผู้ยิ่งใหญ่" ได้แก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิญี่ปุ่น

ักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน" ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจิมมุ

นหลวงของจักรพรรดิจิมมุ จักรพรรดิจิมมุ พระนาม คะมุยะมะโตะ อิวะเระบิโกะ ปฐมจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นสำนักพระราชวังญี่ปุ่น (Kunaichō): จักรพรรดิในตำนานของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในพระนามอื่นๆ อีก อาทิ คะมุยะมะโตะ อิวะเระบิโกะ โนะ มิโกะโตะ (神日本磐余彦尊) หรือ วะกะมิเกะนุ โนะ มิโกะโตะ (若御毛沼命) หรือ ซะโนะ โนะ มิโกะโตะ (狹野尊) ตามตำนาน โคะจิกิ ได้กล่าวไว้ว่า จักรพรรดิจิมมุพระราชสมภพเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 711ปีก่อน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและจักรพรรดิจิมมุ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีโคจุง

ักรพรรดินีโคจุง (6 มีนาคม พ.ศ. 2446 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543) พระนามเดิม เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ เป็นพระจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระราชมารดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ถือเป็นจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นDowner, Lesely.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและจักรพรรดินีโคจุง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเทเม

ักรพรรดินีเทเม (25 มิถุนายน พ.ศ. 2427 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) พระนามเดิม ซะดะโกะ คุโจ เป็นจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิไทโช และเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิโชวะ โดยจักรพรรดินีเทเมเป็นจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นองค์สุดท้ายที่มาจากตระกูลฟุจิวะระ (สายตระกูลคุโจ).

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและจักรพรรดินีเทเม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโชวะ

มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี) ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติฝ่ายอักษะ และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและจักรพรรดิโชวะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไทโช

มเด็จพระจักรพรรดิโยะชิฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัยคือ จักรพรรดิไทโช (31 สิงหาคม พ.ศ. 2422 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 123 ทรงปกครองจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น และพระประมุขแห่งเกาหลี เป็นเวลา 14 ปี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและจักรพรรดิไทโช · ดูเพิ่มเติม »

ทากาโกะ ชิมาซุ

ทะกะโกะ ชิมะซุ (ประสูติ: 2 มีนาคม พ.ศ. 2482) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงทะกะโกะ เจ้าซุงะ เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง และเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ พระองค์ได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับฮิซะนะงะ ชิมะซ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและทากาโกะ ชิมาซุ · ดูเพิ่มเติม »

คะโซะกุ

มสรขุนนาง กรุงโตเกียว ค.ศ. 1912 คะโซะกุ เป็นชนชั้นขุนนางของจักรวรรดิญี่ปุ่น ปรากฏอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและคะโซะกุ · ดูเพิ่มเติม »

คาซูโกะ ทากาสึกาซะ

ซุโกะ ทะกะสึกะซะ (30 กันยายน พ.ศ. 2472 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2532) เป็นภริยาของโทะชิมิชิ ทะคะสึคะซะ และเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สามในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน โดยคาซุโกะถือเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและคาซูโกะ ทากาสึกาซะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ ฟูจิวาระ เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและตระกูลฟูจิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของญี่ปุ่น

ตราแผ่นดินญี่ปุ่น มีชื่อเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า คิกกะมนโช แปลว่า เบญจมาศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์พระราชวงศ์ญี่ปุ่น ในรัฐธรรมนูญรัชสมัยเมจิได้กำหนดไว้ว่า ไม่มีพระราชวงศ์พระองค์ใดสามารถใช้พระราชลัญจกรนี้ได้นอกจากสมเด็จพระจักรพรรดิเท่านั้น ดังนั้น พระราชวงศ์ญี่ปุ่นจึงต้องใช้ตราประจำพระองค์ที่ดัดแปลงจากพระราชลัญจกรองค์นี้ไปบ้างแทน ส่วนศาลเจ้าชินโตที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์จะใช้ตราดังกล่าวนี้เป็นตราประจำศาลเจ้าด้วยเช่นกัน หากศาลเจ้าชินโตใดไม่ได้มีความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราก่อน จึงจะนำตราดอกเบญจมาศนี้ประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตราศาลเจ้าได้ ลักษณะของพระราชลัญจกรนี้เป็นรูปดอกเบญจมาศสีเหลืองหรือสีแสดอยู่บนพื้นหลังสีแดงหรือสีดำ หากเป็นตราที่มีลายเส้นในภาพจะใช้สีแดงหรือสีดำตัดเส้นแทนเช่นกัน พระราชลัญจกรนี้หากดอกเบญจมาศมี 14 กลีบ เป็นตราใช้สำหรับพระราชวงศ์ญี่ปุ่น ส่วนพระราชลัญจกรแบบ 16 กลีบนั้นจะใช้สำหรับเข็มเครื่องหมายสมาชิกรัฐสภา ตราหัวกระดาษหนังสือราชการ ตราบนปกหนังสือเดินทาง และอื่นๆ อนึ่ง ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีกฎหมายระบุลักษณะตราแผ่นดิน พระราชลัญจกรดอกเบญจมาศนี้จึงใช้เป็นตราประจำประเทศโดยธรรมเนียมปฏิบัติ เหมือนกับบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่มีการกำหนดตราประจำประเทศอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและตราแผ่นดินของญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ซายาโกะ คุโรดะ

ซะยะโกะ คุโระดะ (18 เมษายน พ.ศ. 2512) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงซะยะโกะ เจ้าหญิงโนะริ เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ภายหลังได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับโยะชิกิ คุโระดะ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและซายาโกะ คุโรดะ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ประตูซุซะกุ ประตูเมืองหลวงเฮโจวเกียว สมัยนะระ (บูรณะขึ้นมาใหม่) คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ วาดเมื่อปี พ.ศ. 2369 โดยคะสึชิกะ โฮะกุไซ ประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本の歴史; นิฮงโนะเระกิชิ).

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โยะชิกิ คุโระดะ

โยะชิกิ คุโระดะ เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2508 สามัญชนชาวญี่ปุ่นที่เสกสมรสกับอดีตเจ้าหญิงซายาโกะ เจ้าหญิงโนะริแห่งญี่ปุ่น พระธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ทำให้พระองค์ต้องสละยศเจ้าหญิง และหลุดพ้นความเป็นราชวงศ์ไป ปัจจุบันเจ้าหญิงทรงใช้พระนามว่า ซะยะโกะ คุโรดะ ตามสวามี คุโรดะ โยชิกิในวันเสกสมรส หมวดหมู่:บุคคลจากโตเกียว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและโยะชิกิ คุโระดะ · ดูเพิ่มเติม »

โนริโกะ เซ็งเงะ

นะริโกะ เซ็งเงะ (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) พระนามเดิม เจ้าหญิงโนะริโกะแห่งทะกะมะโดะ พระธิดาพระองค์กลางในเจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าชายทะกะมะโดะ และเจ้าหญิงฮิซะโกะ พระชายาฯ ภายหลังได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อเสกสมรสกับคุนิมะโระ เซ็งเง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและโนริโกะ เซ็งเงะ · ดูเพิ่มเติม »

เบญจมาศ

ญจมาศ หรือ (Chrysanthemum) เป็นไม้ตัดดอกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ (2537) เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ดอกเบญจมาศมีอยู่หลายสายพันธุ์ ชนิดเลื่องชื่อคือ เบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum Linn. ในวงศ์ Compositae) กับเบญจมาศหนู (Chrysanthemum morifolium Ramat. ในวงศ์เดียวกัน) ซึ่งเรียกรวมกันว่า "ดอกเก๊กฮวย" (júhuā) นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเบญจมาศ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายฟูมิฮิโตะ เจ้าอากิชิโนะ

้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าอะกิชิโนะ (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ กับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ และเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 ในการสืบราชสันติวงศ์ญี่ปุ่น (Kunaicho): หลังการเสกสมรสเมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายฟูมิฮิโตะ เจ้าอากิชิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายมาซาฮิโตะ เจ้าฮิตาชิ

้าชายมะซะฮิโตะ เจ้าฮิตะชิ (ประสูติ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478) หรืออดีต เจ้าโยะชิ เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ญี่ปุ่น และเป็นพระอนุชาใน สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เจ้าชายฮิทาชิ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน เจ้าชายฮิทาชิเป็นทายาทในราชบัลลังก์อันดับที่ 4 และทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องการกุศลและการค้นพบสาเหตุโรคมะเร็ง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายมาซาฮิโตะ เจ้าฮิตาชิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุ

้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุ (秩父宮 雍仁, Chichibu no miya Yasuhito Shinnō?, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2444 - 4 มกราคม พ.ศ. 2496) หรือ เจ้าชายยะสุฮิโตะ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมป์ ด้านกีฬา, การแพทย์ โดยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงสามารถตรัสภาษาอังกฤษได้ จึงได้ทรงดูแลความสัมพันธ์ระหว่าง พระราชวงศ์อังกฤษ และพระราชวงศ์ญี่ปุ่น พระองค์ได้ทรงเข้าประจำการในกองทัพญี่ปุ่น พระองค์นั้นก็เหมือนกับเจ้าชายพระองค์อื่นๆในราชวงศ์ที่ญี่ปุ่นที่ได้รับการอภัยโทษไม่ต้องเป็นอาชญากรสงคราม หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชิชิบุ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ

้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ (ประสูติ 6 กันยายน พ.ศ. 2549) พระบุตรองค์ที่สามและพระโอรสพระองค์แรกในเจ้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าชายอากิชิโนะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ ทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่สามในการสืบราชบัลลังก์ญี่ปุ่น โดยพระองค์ถือว่าเป็นพระราชนัดดาชายเพียงพระองค์เดียวใน สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ

้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2458 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และ สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงคิกุโกะแห่งทะกะมะสึ เจ้ามิกะซะถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่พระชนมายุยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น

้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร หรืออดีต เจ้าฮิโระ ประสูติ ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกะคุชูอิน และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในเรื่องของประวัติศาสตร์และดนตรี และยังโปรดปรานการสีวิโอลาอีกด้วย พระองค์ทรงอภิเษกกับมะซะโกะ โอะวะดะ ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสาขาเศรษฐศาสตร์ และทางด้านการทูตที่กระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโยะชิฮิโตะ เจ้าคะสึระ

้าชายโยะชิฮิโตะ เจ้าคะสึระ (ประสูติ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557) เป็นสมาชิกในพระราชวงศ์แห่งญี่ปุ่น พระองค์เป็นโอรสองค์ที่สองในเจ้ามิกะซะกับเจ้าหญิงพระวรชายามิกะซะ พระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายโยะชิฮิโตะ เจ้าคะสึระ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ

ป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของราชวงศ์ญี่ปุ่น พระองค์เป็นพระโอรสของเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้าชายมิกะซะกับเจ้าหญิงยุริโกะ เจ้าหญิงมิกะซะ เจ้าชายโทะโมะฮิโตะ ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโทะโมะฮิโตะแห่งมิกะซะ มีพระโอรส-พระธิดา 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงอะกิโกะแห่งมิกะซะและเจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกะซะ พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เนื่องด้วยโรคมะเร็ง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ

้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ (3 มกราคม ค.ศ. 1905 - 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม และเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระองค์ทรงเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง ทะคะมัตสึ โนะ มิยะ (เดิมเรียกว่า "อะริสึงะวะ โนะ มิยะ") 1 ใน 4 พระอิสริยยศของสมาชิกพระราชวงศ์ที่มีสิทธิในราชบัลลังก์โดยตรง ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1920 พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการอยู่ในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นตราบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดำรงพระยศสูดสุดในระดับนายนาวาเอก หลังสิ้นสงคราม พระองค์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์หรือผู้อุปถัมภ์ขององค์กรหลายแห่ง ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ศิลปะ การกีฬา และการแพท.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าทะกะมะโดะ

้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าทะกะมะโดะ (29 ธันวาคม พ.ศ. 2497 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ญี่ปุ่น และเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามใน เจ้าชายทาคาฮิโตะ มิกะซะ เจ้าหญิงยูริโกะ มิกะซะ โดยขณะมีพระชนม์ชีพทรงอยู่ในลำดับที่ 7 ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าทะกะมะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น

้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น (ประสูติ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506) พระชายาในเจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ โดยสมาชิกราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่นหลังจากการอภิเษกสมร.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ

้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2534) เป็นพระธิดาพระองค์โตในเจ้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าชายอากิชิโนะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ กับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ปัจจุบันทรงงานเป็นนักวิจัยในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยโตเกียว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ

้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2466) พระนามเดิม ยูริโกะ ทากางิ เป็นพระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้าชายมิกาซะ พระราชโอรสพระองค์เล็กในจักรพรรดิไทโช กับจักรพรรดินีเทเม พระองค์เป็นพระปิตุลานีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและเป็นพระกุลเชษฐ์แห่งราชวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในรัชกาลจักรพรรดิไทโชที่ยังทรงพระชนม.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงสึกูโกะแห่งทากามาโดะ

้าหญิงสึงุโกะแห่งทะกะมะโดะ (8 มีนาคม พ.ศ. 2529) เป็นพระธิดาในเจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าชายทะกะมะโดะกับเจ้าหญิงฮิซะโกะ พระชายาฯ เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงสึกูโกะแห่งทากามาโดะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอากิโกะแห่งมิกาซะ

้าหญิงอะกิโกะแห่งมิกะซะ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2524) เป็นพระธิดาในเจ้าชายโทะโมะฮิโตะแห่งมิกะซะ กับเจ้าหญิงโนะบุโกะ พระชายาฯ เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงอากิโกะแห่งมิกาซะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอายาโกะแห่งทากามาโดะ

้าหญิงอะยะโกะแห่งทะกะมะโดะ (15 กันยายน พ.ศ. 2533) เป็นพระธิดาในเจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าชายทะกะมะโดะกับเจ้าหญิงฮิซะโกะ พระชายาฯ เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงอายาโกะแห่งทากามาโดะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะ

้าหญิงฮานาโกะ พระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) พระนามเดิม ฮานาโกะ สึงารุ เป็นพระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะ เจ้าชายฮิตาจิ พระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงฮิซาโกะ พระชายาในเจ้าชายโนริฮิโตะ

้าหญิงฮิซะโกะ พระชายาในเจ้าชายโนะริฮิโตะ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) หรือพระนามเดิม ฮิซะโกะ ทตโตะริ เป็นพระชายาในเจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าชายทะกะมะโดะ และเป็นพระสุณิสาในเจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้าชายมิกะซ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงฮิซาโกะ พระชายาในเจ้าชายโนริฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ

้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ (29 ธันวาคม พ.ศ. 2537) เป็นพระธิดาในเจ้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าชายอากิชิโนะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะ

้าหญิงคิกุโกะ พระชายาในเจ้าชายโนะบุฮิโตะ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2547) มีพระนามเดิมว่า คิกุโกะ โทะกุงะวะ เป็นพระชายาในเจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าชายทะกะมะสึ เป็นพระสุณิสาในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเป็นพระปิตุลานีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ

้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟุมิฮิโตะ (11 กันยายน พ.ศ. 2509) พระนามเดิม คิโกะ คะวะชิมะ เป็นพระชายาในเจ้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าชายอะกิชิโนะ และเป็นพระสุณิสาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงซาชิโกะ เจ้าหญิงฮิซะ

้าหญิงซะชิโกะ เจ้าหญิงฮิซะ (10 กันยายน พ.ศ. 2470 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2471) เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิโชวะ กับจักรพรรดินีโคจุง และเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงซาชิโกะ เจ้าหญิงฮิซะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะ

้าหญิงโยโกะแห่งมิกะซะ (25 ตุลาคม พ.ศ. 2526) เป็นพระธิดาในเจ้าชายโทะโมะฮิโตะแห่งมิกะซะ กับเจ้าหญิงโนะบุโกะ พระชายาฯ เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาในเจ้าชายโทโมฮิโตะ

้าหญิงโนะบุโกะ พระชายาในเจ้าชายโทะโมะฮิโตะ มีพระนามเดิมว่า โนะบุโกะ อะโซ เป็นพระชายาหม้ายของเจ้าชายโทะโมะฮิโตะแห่งมิกะซะ เป็นหลานสาวของชิเงะรุ โยะชิดะและเป็นน้องสาวของทะโร อะโซอดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาในเจ้าชายโทโมฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงไอโกะ เจ้าหญิงโทชิ

้าหญิงไอโกะ เจ้าหญิงโทะชิ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2544) เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในเจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น กับเจ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ กับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงไอโกะ เจ้าหญิงโทชิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ

้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ (9 กันยายน พ.ศ. 2452 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2538) พระนามเดิม เซะสึโกะ มะสึไดระ เป็นพระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ เจ้าชายชิชิบุ พระราชโอรสในจักรพรรดิไทโชและจักรพรรดินีเทเม ทั้งนี้พระองค์เป็นพระประยูรญาติของเจ้านายหลายพระองค์ อาทิ เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ (ต่อมาคือจักรพรรดินีโคจุง) และเจ้าหญิงมะซะโกะแห่งนะชิโมะโตะ (ต่อมาคือเจ้าหญิงพังจา พระชายาในมกุฎราชกุมารอึยมิน) และยังเป็นหนึ่งในพระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่นที่พระราชวงศ์อังกฤษโปรดปราน โดยเฉพาะเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ออกพระโอษฐ์อยู่เสมอว่าเจ้าหญิงเซะสึโกะเป็น "พระอัยยิกาชาวญี่ปุ่น".

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและเจ้าหญิงเซะสึโกะ พระชายาในเจ้าชายยะซุฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

11 กุมภาพันธ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 42 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 323 วันในปีนั้น (324 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ราชวงศ์ญี่ปุ่นและ11 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chrysanthemum ThroneImperial House of Japanมิชิโยะ ฟุจิวะระราชวงศ์โคชิสึราชสำนักญี่ปุ่นริวซุเกะ ฟุจิวะระวัง เสี่ยว หลวงชินโนฟุจิวะระ มิชิโยะฟุจิวะระ ริวซุเกะฟุจิวะระ โนะ มาสะฮิโตะฟุจิวะระ โนะ ริวซากิฟุจิวะระ โนะ ริวซุเกะฟุจิวะระ โนะ คุมิโกะฟุจิวะระ โนะ ไทอิจิฟุจิวะระ ไทอิจิฟุจิวาระ โนะ ริวซากิฟุจิวาระ โนะ ไทอิจิพระราชวงศ์ญี่ปุ่นคุณผู้ชาย ฟุจิวาระ โนะ ไทอิจิคุโจ มิชิโยะคุโจ ริวซุเกะคุโจ คุมิโกะคุโจ ไทอิจิคุโจว มาสะฮิโตะคุโจว มิชิโยะคุโจว ริวซุเกะคุโจว คุมิโกะคุโจว ไทอิจิโคชิสึไทอิจิ ฟุจิวะระไนชินโนเจ้าหญิงคุมิโกะ โคโนเอะเจ้าหญิงโคโนอิ คุมิโกะเจ้าหญิงโคโนเอะ คุมิโกะเจ้าชายมาสะฮิโตะ คุโจเจ้าชายคุโจ มาสะฮิโตะเจ้าชายคุโจว มาสะฮิโตะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »