โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คาสต์ในจีนตอนใต้

ดัชนี คาสต์ในจีนตอนใต้

ต์ในจีนตอนใต้ หมายถึงแหล่งมรดกโลกที่มีภูมิประเทศแบบคาสต์ ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองฉือหลิน ในมณฑลยูนนาน เมืองลี่โป ในมลฑลกุ้ยโจว และเมืองอู่หลง นครฉงชิ่ง ประเทศจีน ภูมิประเทศแบบคาสต์ หมายถึง พื้นที่หินปูนที่น้ำฝนน้ำท่า ชะละลายหินออกไป มากจนเป็นตะปุ่มตะป่ำ เต็มไปด้วยหลุมบ่อ ถ้ำ และทางน้ำใต้ดินที่น้ำละลายเอาเนื้อหินปูนแทรกซึมหายลงไป.

8 ความสัมพันธ์: มรดกโลกมณฑลกุ้ยโจวมณฑลยูนนานหินปูนคาสต์ฉงชิ่งประเทศนิวซีแลนด์ไครสต์เชิร์ช

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

คาสต์

ต์ คาสต์ (Karst) เป็นลักษณะของหินปูนที่ถูกน้ำ ละลายหินออกไปจนเหลือหินเป็นลักษณะตะปุ่มตะป่ำ เต็มไปด้วยหลุมบ่อ,ถ้ำและทางน้ำใต้ดินที่ละลายเอาเนื้อหินปูนแทรกซึมหายลงไป พื้นที่แบบนี้มักเป็นที่แห้งแล้งและมีธารน้ำที่น้ำไหลลงที่ต่ำในหน้าฝน แต่ตอนปลายธารน้ำมุดดินหายไปหมด คำนี้แต่เดิมใช้แก้ที่ราบสูงคาสต์อันเป็นที่ราบสูงหินปูนชายฝั่งทะเลเอเดรียติก ในเขตประเทศยูโกสลาเวียในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีลักษณะของคาสต์คล้ายกันนี้แต่มีบริเวณที่เล็กกว่าอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดพังงา, อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ปรากฏเป็นหย่อมๆ ทางตะวันตกของ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และคาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉงชิ่ง

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ. 2548) 31,442,300 คน ความหนาแน่น 379/ก.ม.² จีดีพี (2005) (310) พันล้านหยวน รวมต่อประชากร 8,540 พันล้านหยวน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และฉงชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไครสต์เชิร์ช

center ไครสต์เชิร์ช เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นชุมชนเมืองที่เป็นที่นิยมเป็นอันดับ 3 ของนิวซีแลนด์ ไครสต์เชิร์ชเป็นหนึ่งในสามเมืองที่อยู่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ ทางเหนือฝั่งน่านน้ำเพนนินซูล่า ตั้งแต่ปี 2006 บริเวณเขตนี้อยู่ใต้เขตการปกครองของเมืองไครสต์เชิร์ช จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมืองไครสต์เชิร์ช ณ วันที่ 5 มีนาคม ปี 2013 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 341,469 คน ชื่อเมืองไครสต์เชิร์ช ถูกตั้งขึ้นโดยสมาคมแคนเทอเบอรี่ (ตั้งอยู่บริเวณรอบเมืองแคนเทอเบอรี่) ชื่อเมืองนี้เป็นที่ยอมรับจากการประชุมสมาคมครั้งแรกในวันที่ 27 มีนาคม 1848 โดยการแนะนำจาก นายจอห์น โรเบิร์ต ก๊อตเร่ ผู้ที่เคยเข้าโบสถ์คริสต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ช่วงแรกนักเขียนบางท่าน เรียกเมืองนี้ว่า เมืองโบสต์คริสต์(Christ Church) แต่หลังจากมีการประชุมกรรมการสมาคมได้กำหนดให้เมืองนี้ ชื่อว่า เมืองไครสต์เชิร์ช(Christchurch) และเมืองไครสต์เชิร์ชได้ตั้งเป็นเมืองโดยมีพระราชกำหนด กำหนดตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 1856 อย่างเป็นทางการซึ่งถือว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในนิวซีแลนด์ แม่น้ำที่ไหลผ่านใจกลางเมือง(แหล่งน้ำขนาดใหญ่จากสวนสาธารณะในเมือง) ชื่อว่า เอวอน ตั้งชื่อตามพี่น้องคณบดีผู้บุกเบิกเพื่อระลึกถึงสก็อตติส เอวอน ผู้ที่ทำให้เกิดทางน้ำไหลผ่านภูเขาแอร์ไชร์ใกล้กับฟาร์มของบรรพบุรุษของเขา และทางน้ำไหลผ่านสู่เครส์(The Clyde แม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของสก็อตแลนด์) ชื่อ เมารี สำหรับเมืองไครสต์เชิร์ช คือ โอเท๊าทาหิ - Ōtautahi ("สถานที่ของเท๊าทาหิ - Tautahi") จุดกำเนิดของชื่อสถานที่นี้มาจากแม่น้ำเอวอน ใกล้ถนนคิลมอลล์ และ สถานีดับเพลิงไครสต์เชิร์ช สถานที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ Ngāi Tahu หัวหน้า Te Potiki Tautahi เจ้าของบ้านท่าน้ำเลฝวี่(Port Levy) ฝั่งน้ำเพนซิลซูล่า โอเท๊าทาหิ - Ōtautahi เป็นชื่อที่นำมาใช้ในปี 1930 ก่อนที่ Ngāi Tahu จะเรียกดินแดนไครสต์เชิร์สว่า คารายเทียน่า (Karaitiana) คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษของชาวคริสเตียน ชื่อย่อของเมืองที่ชาวนิวซีแลนด์มักเรียก คือ เชิร์ช (Chch) สำหรับสัญลักษณ์ทางภาษาของนิวซีแลนด์* ชื่อเมืองจะแสดงสัญลักษณ์มือ เป็นรูปตัวซี (C) สองครั้ง โดยการแสดงสัญลักษณ์ครั้งที่สองนับจากทางขวาของตัวแรก และในขณะเดียวกัน ก็สื่อสารด้วยการขยับปากว่า "ไครสต์เชิร์ช" *สัญลักษณ์ทางภาษาของนิวซีแลนด์ (New Zealand Sign Language หรือ NZSL) คือ ภาษาหลักที่ใช้ในสังคมคนพิการทางหู ของประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: คาสต์ในจีนตอนใต้และไครสต์เชิร์ช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คาร์สต์ในตอนใต้ของจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »