โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มณฑลกุ้ยโจว

ดัชนี มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

21 ความสัมพันธ์: ชาวฮั่นพ.ศ. 2547พ.ศ. 2548กุ้ยหยางมณฑลยูนนานมณฑลหูหนานมณฑลเสฉวนม้งรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากรอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มฮั่นผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นตารางกิโลเมตรต้งปู้อีเหรินหมินปี้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง2

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ยหยาง

ทิวทัศน์เมืองกุ้ยหยาง กุ้ยหยาง (จีนตัวย่อ: 贵阳, จีนตัวเต็ม: 貴陽) คือเมืองหลวงของมณฑลกุ้ยโจว อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ซึ่งจัดเป็นเมืองตากอากาศเมืองหนึ่ง มีเอกลักษณ์ คำขวัญว่า "กุ้ยหยางหลากหลายสีสัน มนต์เสน่ห์แห่งกุ้ยหยาง เมืองแห่งป่าไม้ และเมืองตากอากาศ".

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและกุ้ยหยาง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลหูหนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ม้ง

ม้ง หรือ เมียว (Miao; 苗; พินอิน: Miáo) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเขาภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ไทย เวียดนาม ลาว และสหรัฐอเมริกา โดยชุมชนชาวม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับในประเทศไทยคำว่า "แม้ว" เป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพในการเรียกกลุ่มคนม้ง ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ชาวม้งในลาวได้ต่อสู้ขบวนการปะเทดลาว ชาวม้งหลายคนอพยพมาประเทศไทย และ ชาติตะวันตก.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและม้ง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร

แผนที่มณฑลของจีนเรียงตามจำนวนประชากร ประชากรประเทศจีนปี 2004.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่

มณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดเนื้อที่ หมวดหมู่: มณฑลของประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

แผนที่แสดงความหนาแน่นแต่ละพื้นที่ของจีน นี่คือ รายชื่อมณฑลของจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่น

ั่น ในภาษาจีนอาจหมายถึง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ต้ง

ต้ง เป็นกลุ่มชนซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว ทางตอนใต้ของมณฑลหูหนาน และทางตะวันออกของเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วงของประเทศจีน พวกเขาเรียกพวกตนเองว่า ก๊ำ หรือ อ้ายก๊ำ หรือ ปู้ก๊ำ ซึ่งก็คือ ผู้คำ พวกเขาเชื่อว่าพวกตนเองสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่านก ชาวปู้ก๊ำ หรือ อ้ายก๊ำ มีจำนวนประชากร 2,960,293 คน พวกเขาใช้ภาษาต้งซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได (จ้วง-ต้ง) และส่วนมากจะใช้อักษรจีนในการเขียน ต่อมาใน ค.ศ. 1958 ก็มีการใช้อักษรละติน แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและต้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปู้อี

ชาวปู้อี เรียกตัวเองว่า ปู้ใหญ่ ปู้จ่อง และปู้หม่าน มีถิ่นที่อยู่ที่มณฑลเจียงซู รวมจ้วงเหนือแถบเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว และตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ที่มักเรียกตนเองว่าปู้อี ไม่เรียกตนเองว่าจ้วง มีประชากรราว 2,049,203 คน มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายจ้วง พูดภาษาไทและภาษาจีน นับถือลัทธิดั้งเดิม และบางส่วนก็หันไปนับถือคริสต์ศาสนา หมวดหมู่:ชาวไท หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเวียดนาม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและปู้อี · ดูเพิ่มเติม »

เหรินหมินปี้

หรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币; จีนตัวเต็ม: 人民幣; พินอิน: rénmínbì; ตามตัวอักษรหมายถึง "เงินตราของประชาชน") เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 1 หยวน ภาพด้านหน้าของธนบัตรใบละ 5 เจียว.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเหรินหมินปี้ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

2

2 (สอง) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 1 (หนึ่ง) และอยู่ก่อนหน้า 3 (สาม).

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและ2 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GuizhouKweichowกุ้ยโจว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »