โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไครสต์เชิร์ช

ดัชนี ไครสต์เชิร์ช

center ไครสต์เชิร์ช เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นชุมชนเมืองที่เป็นที่นิยมเป็นอันดับ 3 ของนิวซีแลนด์ ไครสต์เชิร์ชเป็นหนึ่งในสามเมืองที่อยู่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ ทางเหนือฝั่งน่านน้ำเพนนินซูล่า ตั้งแต่ปี 2006 บริเวณเขตนี้อยู่ใต้เขตการปกครองของเมืองไครสต์เชิร์ช จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมืองไครสต์เชิร์ช ณ วันที่ 5 มีนาคม ปี 2013 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 341,469 คน ชื่อเมืองไครสต์เชิร์ช ถูกตั้งขึ้นโดยสมาคมแคนเทอเบอรี่ (ตั้งอยู่บริเวณรอบเมืองแคนเทอเบอรี่) ชื่อเมืองนี้เป็นที่ยอมรับจากการประชุมสมาคมครั้งแรกในวันที่ 27 มีนาคม 1848 โดยการแนะนำจาก นายจอห์น โรเบิร์ต ก๊อตเร่ ผู้ที่เคยเข้าโบสถ์คริสต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ช่วงแรกนักเขียนบางท่าน เรียกเมืองนี้ว่า เมืองโบสต์คริสต์(Christ Church) แต่หลังจากมีการประชุมกรรมการสมาคมได้กำหนดให้เมืองนี้ ชื่อว่า เมืองไครสต์เชิร์ช(Christchurch) และเมืองไครสต์เชิร์ชได้ตั้งเป็นเมืองโดยมีพระราชกำหนด กำหนดตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 1856 อย่างเป็นทางการซึ่งถือว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในนิวซีแลนด์ แม่น้ำที่ไหลผ่านใจกลางเมือง(แหล่งน้ำขนาดใหญ่จากสวนสาธารณะในเมือง) ชื่อว่า เอวอน ตั้งชื่อตามพี่น้องคณบดีผู้บุกเบิกเพื่อระลึกถึงสก็อตติส เอวอน ผู้ที่ทำให้เกิดทางน้ำไหลผ่านภูเขาแอร์ไชร์ใกล้กับฟาร์มของบรรพบุรุษของเขา และทางน้ำไหลผ่านสู่เครส์(The Clyde แม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของสก็อตแลนด์) ชื่อ เมารี สำหรับเมืองไครสต์เชิร์ช คือ โอเท๊าทาหิ - Ōtautahi ("สถานที่ของเท๊าทาหิ - Tautahi") จุดกำเนิดของชื่อสถานที่นี้มาจากแม่น้ำเอวอน ใกล้ถนนคิลมอลล์ และ สถานีดับเพลิงไครสต์เชิร์ช สถานที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ Ngāi Tahu หัวหน้า Te Potiki Tautahi เจ้าของบ้านท่าน้ำเลฝวี่(Port Levy) ฝั่งน้ำเพนซิลซูล่า โอเท๊าทาหิ - Ōtautahi เป็นชื่อที่นำมาใช้ในปี 1930 ก่อนที่ Ngāi Tahu จะเรียกดินแดนไครสต์เชิร์สว่า คารายเทียน่า (Karaitiana) คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษของชาวคริสเตียน ชื่อย่อของเมืองที่ชาวนิวซีแลนด์มักเรียก คือ เชิร์ช (Chch) สำหรับสัญลักษณ์ทางภาษาของนิวซีแลนด์* ชื่อเมืองจะแสดงสัญลักษณ์มือ เป็นรูปตัวซี (C) สองครั้ง โดยการแสดงสัญลักษณ์ครั้งที่สองนับจากทางขวาของตัวแรก และในขณะเดียวกัน ก็สื่อสารด้วยการขยับปากว่า "ไครสต์เชิร์ช" *สัญลักษณ์ทางภาษาของนิวซีแลนด์ (New Zealand Sign Language หรือ NZSL) คือ ภาษาหลักที่ใช้ในสังคมคนพิการทางหู ของประเทศนิวซีแลน.

59 ความสัมพันธ์: ชั้นหินอุ้มน้ำชาวมาวรีฟีนิกซ์ (รัฐแอริโซนา)การผังเมืองกาสิโนมาตราขนาดโมเมนต์มาตราเมร์กัลลียานพาหนะไฮบริดยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุปรักบี้รักบี้ยูเนียนรัฐวอชิงตันลอสแอนเจลิสลู่และลานวันแอนแซกสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกหมู่เกาะคุกหลานโจวหิมะออกแลนด์ออร์แกนออร์เคสตราอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีอาโกรุญญาอินเวอร์คาร์กิลล์อู่ฮั่นองค์การอนามัยโลกอ๊อกซฟอร์ดทรายเดือดท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ชดรัมแอนด์เบสดอร์เซตดะนีดินดั๊บสเตปดิอะเมซิ่งเรซคริกเกตคริสตจักรแห่งอังกฤษคุระชิกิซิดนีย์ซีแอตเทิลประเทศโมร็อกโกปรากฏการณ์เกาะความร้อนนกโมอานครนิวยอร์กแองกลิคันแผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554แผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช มิถุนายน พ.ศ. 2554โตเกียวโซลไฟ...เกมเกาะใต้เมืองพี่น้องและเมืองแฝดเม็กซิโกซิตีเรดฮอตชิลีเพปเปอส์เวลลิงตันเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดเอซี/ดีซีเฮฟวีเมทัล ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

ชั้นหินอุ้มน้ำ

ั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและชั้นหินอุ้มน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวมาวรี

มาวรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและชาวมาวรี · ดูเพิ่มเติม »

ฟีนิกซ์ (รัฐแอริโซนา)

ฟีนิกซ์ (Phoenix) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของรัฐแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา มันยังเป็นเมืองเอกของรัฐแอริโซนาและเป็นเมืองเอกของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ในแง่ของประชากร มันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ และอยู่ในเขตเวลาภูเขา นอกจากนี้มันบังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสองรองลงมาจากลอสแอนเจลิส ในบริเวณภาคตะวันตกของสหรัฐฯ มันเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หุ้น เทคโนโลยี และ การคมนาคม ของรัฐแอริโซนา เมืองถูกรู้จักกันในชื่อเล่นว่า หุบเขาแห่งพระอาทิตย์/เดอะ วัลเลย์ (Valley of the Sun/The Valley) เพราะว่าเมืองฟีนิกซ์ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาทุก ๆ ด้าน ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ถูกเรียกว่า ชาวฟีนิเชียน (Phoenicians).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและฟีนิกซ์ (รัฐแอริโซนา) · ดูเพิ่มเติม »

การผังเมือง

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง (Urban planning) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาต.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและการผังเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กาสิโน

ลาสเวกัส เมืองที่มีชื่อเสียงในด้านกาสิโน ตู้สล็อตภายในกาสิโนแห่งหนึ่งในลาสเวกัส กาสิโน (casino) เป็นสถานบันเทิงที่มีกิจกรรมการพนันเป็นกิจกรรมหลัก โดยปกติแล้วกาสิโนมักจะสร้างร่วมกับโรงแรม, ร้านอาหาร, แหล่งชอปปิง หรือบางครั้งกาสิโนจะสร้างอยู่บนเรือนำเที่ยว ปัจจุบันมีกาสิโนมากกว่า 4,750 แห่งทั่วโลก คำว่า casino มาจากภาษาอิตาลี อ่านว่า "กาซีโน" แปลว่าบ้านพักหลังเล็กใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ (casa.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและกาสิโน · ดูเพิ่มเติม »

มาตราขนาดโมเมนต์

มาตราขนาดโมเมนต์ (moment magnitude scale; MMS, Mw) เป็นหน่วยที่นักวิทยาแผ่นดินไหวใช้เพื่อวัดขนาดของแผ่นดินไหวในแง่ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา แมกนิจูดนั้นขึ้นอยู่กับโมเมนต์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งเท่ากับความคงรูปของโลกคูณกับค่าเฉลี่ยของการเลื่อนบนรอยแยกและขนาดของพื้นที่ที่เลื่อน มาตราดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อใช้แทนมาตราริกเตอร์ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แม้ว่าสูตรในการคำนวณจะต่างกัน แต่มาตราใหม่นี้ยังคงให้ค่าแมกนิจูดที่ใกล้เคียงตามที่จำกัดความไว้โดยมาตราริกเตอร์เดิม มาตราโมเมนต์แมกนิจูดนี้ใช้เพื่อประเมินแมกนิจูดสำหรับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สมัยใหม่ทั้งหมดโดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและมาตราขนาดโมเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตราเมร์กัลลี

มาตราเมร์กัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินไหว คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์กัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮร์รี โอ.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและมาตราเมร์กัลลี · ดูเพิ่มเติม »

ยานพาหนะไฮบริด

ยานพาหนะไฮบริด (hybrid vehicle) คือยานพาหนะที่มีระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบการออกตัว การทำงานของไฮบริด เริ่มจากการออกตัวขณะจอด และการเร่งความเร็วขณะความเร็วต่ำ มอเตอร์ไฟฟ้าจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ เพื่อช่วยให้ออกตัวได้รวดเร็ว และเร่งขณะความเร็วต่ำได้ตามที่ต้องการ การขับขี่ทั่วไป เครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เชื้อเพลิงให้คุ้มค่าที่สุด แต่เมื่อเร่งความเร็วแบบกะทันหัน มอเตอร์ไฟฟ้าจะดึงพลังงานเพิ่มจากแบตเตอรี่มาเสริมกำลัง ช่วยให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงสุดและสามารถเร่งความเร็วได้ตามความต้องการ การเบรก และการลดความเร็ว เมื่อผู้ขับขี่แตะเบรก มอเตอร์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดพลังงาน (ไดนาโม) และแปลงพลังงานจลน์ที่เกิดจากการเบรกเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อชาร์จไฟฟ้ากลับเข้าไปในแบตเตอรี่ การจอดอยู่กับที่ เมื่อรถจอดอยู่กับที่ เครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อลดการใช้น้ำมัน และการปล่อยควันพิษ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานกับรอบเดินเบาขณะจอด ทั้งนี้ระบบการทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างกันออกไปตามการออกแบบของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะออกแบบให้ต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละชนิด เช่น เครื่องยนต์ขนาดเล็กจะใช้มอเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อ ช่วยเครื่องยนต์ในขณะออกตัวกะทันหัน ไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำมันในเครื่องยนต์จนเกินไป หมวดหมู่:เครื่องยนต์ หมวดหมู่:ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า หมวดหมู่:ยานพาหนะ.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและยานพาหนะไฮบริด · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป

ูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป (Universal Music Group) หรือ ยูเอ็มจี (UMG) เป็นกลุ่มธุรกิจและกลุ่มค่ายเพลงที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมการบันทึกเสียง เป็นหนึ่งในสามค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า บิ๊กทรี (Big three) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1934 ในนาม เดคคา เรคคอร์ดส ก่อนจะขยับขยายกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น เอ็มซีเอมิวสิกเอนเตอร์เทนเมนท์ และเป็น ยูนิเวอร์ซัลมิวสิค ในที่สุด ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุปปัจจุบัน เป็นบริษัทในเครือ Vivendi ของประเทศฝรั่งเศส มีส่วนแบ่งทางการตลาด 25.5% และมีค่ายดนตรีสำคัญๆ ในสังกัดอย่าง อินเตอร์สโคป, โมทาวน์ และไอส์แลนด์เดฟแจม เป็นต้น หมวดหมู่:ค่ายเพลงอเมริกัน หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2477.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป · ดูเพิ่มเติม »

รักบี้

กรัม การรุมกันในกีฬารักบี้ รักบี้ฟุตบอล (Rugby Football) หรือเรียกย่อกันว่า รักบี้ เป็นกีฬาชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นจากโรงเรียนรักบี้ (Rugby School) ในเมืองรักบี้ ในเขตวอร์วิกเชียร์ ประเทศอังกฤษ เริ่มต้นจาก ในปี..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและรักบี้ · ดูเพิ่มเติม »

รักบี้ยูเนียน

รักบี้ยูเนียน (rugby union) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รักบี้ (rugby) เป็นกีฬาประเภททีมที่ต้องปะทะกัน เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น 15 คน ซึ่งกีฬานี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและรักบี้ยูเนียน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวอชิงตัน

รัฐวอชิงตัน (Washington) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในวอชิงตันมีธุรกิจชั้นนำของโลกหลายบริษัทได้แก่ โบอิง (ปัจจุบันย้ายไปที่ รัฐอิลลินอยส์) ไมโครซอฟท์ แอมะซอน.คอม นินเทนโดอเมริกา และเศรษฐกิจอื่นได้แก่ การท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การทำเหมืองแร่ ป่าไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ ถึงแม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐฯ อยู่ทางตะวันออกของประเทศ และไม่ได้อยู่ในรัฐวอชิงตัน ในภาพยนตร์เรื่อง Sleepless in seattle ก็สร้างในเมือง ซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและรัฐวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิส

ลอสแอนเจลิส (Los Angeles) หรือที่รู้จักในชื่อ แอลเอ (L.A.) เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง ทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการบันเทิง ลอสแอนเจลิสตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเริ่มตั้งเป็นเมืองเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ในขณะที่มีประชากร 1,610 คน ในปี พ.ศ. 2543 ตามสำมะโนประชากรลอสแอนเจลิส มีประชากรประมาณ 4 ล้านคนในเขตตัวเมือง และเขตรอบนอกประมาณ 17.5 ล้านคน ลอสแอนเจลิสได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการปะปนของวัฒนธรรมมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เนื่องจากการอพยพของคนหลายเชื่อชาติโดยเฉพาะชาวเอเชีย และอเมริกาใต้ เนื่องจากลักษณะของอากาศที่อบอุ่นสบาย และลักษณะการเป็นอยู่ต่างๆ ชื่อเมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles) มาจากคำว่า โลสอังเคเลส (Los Ángeles) ในภาษาสเปน หมายถึง ทูตสวรรค์หลายองค์ เป็นรูปพหูพจน์ของคำว่า el ángel ซึ่งเป็นเพศชาย ชื่อเมืองจึงมีความหมายว่า "เมืองแห่งทูตสวรรค์" ลอสแอนเจลิสได้เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นที่ตั้งของฮอลลีวูด และปลายทางของถนนสายประวัติศาสตร์ ทางหลวงสหรัฐหมายเลข 66 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย (USC) ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในเมือง ได้แก่ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส คลิปเปอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส สปาร์ค (บาสเกตบอลหญิง) ลอสแอนเจลิส ดอดจ์เจอร์ส (เบสบอล) ลอสแอนเจลิส คิงส์ (ฮอกกี้น้ำแข็ง) ลอสแอนเจลิส กาแลกซี (ฟุตบอล) ซี.ดี. ชีวาส ยูเอสเอ (ฟุตบอล) นอกจากนี้ในเมืองลอสแอนเจลิส ได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) และ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ในอดีตมีทีมอเมริกันฟุตบอลในชื่อ "ลอสแอนเจลิส เรดเดอร์ส" ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายไปไปประจำเมืองโอคแลนด์ และเปลี่ยนชื่อเป็นโอคแลนด์ เรดเดอรส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและลอสแอนเจลิส · ดูเพิ่มเติม »

ลู่และลาน

ลู่และลาน (track and field) เป็นกีฬาซึ่งประกอบด้วยการแข่งขันกรีฑา ซึ่งอาศัยกิจกรรมการวิ่ง การกระโดดและการขว้าง ชื่อของกีฬามาจากสถานที่จัดการแข่งขัน โดยเป็นสนามกีฬาที่มีลู่วิ่งรูปไข่รอบพื้นที่ซึ่งปกคลุมด้วยหญ้า รายการขว้างและกระโดดมักจัดขึ้นในพื้นที่ปิดตรงกลาง การแข่งขันลู่และลานหลักจัดขึ้นที่กีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก สหพันธ์กรีฑานานาชาติเป็นองค์กรดูแลกีฬาลู่และลานระหว่างประเทศ หมวดหมู่:กรีฑา nah:Tonacayohuapahualiztli.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและลู่และลาน · ดูเพิ่มเติม »

วันแอนแซก

วันแอนแซก (Anzac Day) เป็นวันที่ระลึกประจำชาติในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งระลึกถึงชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ทุกคนที่รับใช้และเสียชีวิตในทุกสงคราม ความขัดแย้งและปฏิบัติการรักษาสันติภาพ" อย่างกว้าง ๆ เดิมกำหนดวันที่ 25 เมษายนของทุกปีเป็นเกียรติแก่สมาชิกกองทัพน้อยออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Australian and New Zealand Army Corps; ANZAC) ซึ่งรบที่กัลลิโพลีในจักรวรรดิออตโตมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมวดหมู่:วันหยุดราชการในประเทศออสเตรเลีย หมวดหมู่:วันหยุดราชการในประเทศนิวซีแลนด์.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและวันแอนแซก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคุก

หมู่เกาะคุก เป็นเขตปกครองตนเองของนิวซีแลนด์ ประกอบไปด้วยเกาะเล็ก ๆ 15 เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตาราง กิโลเมตร รายได้สำคัญของหมู่เกาะคุกมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการส่งผลไม้ขายออกนอกประเทศอีกด้วย หมวดหมู่:ประเทศนิวซีแลนด์ หมวดหมู่:ประเทศในเขตโอเชียเนีย หมวดหมู่:ประเทศที่เป็นเกาะ หมวดหมู่:ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2508 หมวดหมู่:พอลินีเซีย.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและหมู่เกาะคุก · ดูเพิ่มเติม »

หลานโจว

มืองหลานโจว แม่น้ำสีเหลืองเห็นจากสวนสาธารณะของสถูปสีขาว หลานโจว (จีนตัวย่อ: 兰州, จีนตัวเต็ม: 蘭州) คือ เมืองหลวงของมณฑลกานซู.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและหลานโจว · ดูเพิ่มเติม »

หิมะ

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ออกแลนด์

ออกแลนด์, ประเทศนิวซีแลนด์ ออกแลนด์ (Auckland) ในภาษาเมารีออกแลนด์มีชื่อว่า Tamaki-Makau-Rau แปลว่า หญิงสาวที่มีผู้มาขอความรักถึง 100 คน เป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ มีประชากรประมาณ 1,413,700 คน คิดเป็นร้อยละ 31 ของประเท.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและออกแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและออร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เคสตรา

วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและออร์เคสตรา · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาโกรุญญา

มืองอาโกรุญญามองจากประภาคารเฮอร์คิวลีส อาโกรุญญา (A Coruña), ลาโกรุญญา (La Coruña) หรือ โครันนา (Corunna) เป็นเมืองที่สำคัญที่สุดของแคว้นปกครองตนเองกาลิเซียทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน เมืองนี้ยังเป็นเมืองหลักของจังหวัดอาโกรุญญาอีกด้วย ปัจจุบันชื่อทางการของเมืองนี้ใช้รูปสะกดในภาษากาลิเซียเพียงรูปเดียวคือ "อาโกรุญญา" แต่ "ลาโกรุญญา" ซึ่งเป็นรูปสะกดในภาษาสเปนยังคงใช้กันแพร่หลาย อาโกรุญญาเป็นเมืองท่าที่พลุกพล่านบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและเป็นจุดขนส่งสินค้าเกษตรกรรมจากภูมิภาครอบ ๆ แม้ว่าอุตสาหกรรมหนักส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นฐานของการต่อเรือและโลหการในเมืองเฟร์รอลซึ่งเป็นเมืองข้างเคียง แต่ในเมืองอาโกรุญญาเองก็มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่หนึ่งแห่ง ประภาคารเฮอร์คิวลีส ชาวโรมันมาถึงบริเวณเมืองนี้ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ผู้อาศัยในนิคมนี้ได้สร้างตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ไว้ และในไม่ช้าเมืองนี้ก็มีความสำคัญขึ้นในการค้าทะเล และในปีที่ 62 ก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์ได้มาที่เมืองนี้ (ขณะนั้นมีชื่อว่า บรีกันติอุม - Brigantium) เพื่อหาลู่ทางการค้าโลหะ และได้สถาปนาการค้ากับดินแดนที่ในปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และโปรตุเกส อาโกรุญญายังเป็นที่ตั้งของประภาคารเฮอร์คิวลีส (Tower of Hercules) ซึ่งเป็นประภาคารที่เปิดทำการต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 1,900 ปี ในช่วงยุคกลาง เมืองนี้เป็นท่าเรือสำคัญแห่งหนึ่งและเป็นศูนย์กลางการผลิตสิ่งทอ ในปี ค.ศ. 1598 เมืองนี้ถูกกองทัพอังกฤษที่นำโดยฟรานซิส เดรก (Francis Drake) เข้ายึดครองในช่วงสงครามอังกฤษ-สเปน (Anglo-Spanish War) และยังเป็นสนามรบในช่วงสงครามคาบสมุทร (Peninsular War) ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1809 และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางของพวกต่อต้านระบบกษัตร.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและอาโกรุญญา · ดูเพิ่มเติม »

อินเวอร์คาร์กิลล์

อินเวอร์คาร์กิลล์ (Invercargill; มาวรี:Waihōpai) เป็นเมืองใต้สุดและตะวันตกสุดของประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นหนึ่งในเมืองที่อยู่ใต้ที่สุดของโลก เมืองมีประชากรราว 53,000 คน (ค.ศ. 2011) หมวดหมู่:เมืองในประเทศนิวซีแลนด์ หมวดหมู่:เกาะใต้.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและอินเวอร์คาร์กิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อู่ฮั่น

ทิวทัศน์เมืองอู่ฮั่น อู่ฮั่น เป็นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑล มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม. (ในเมือง 1,954 ตร.กม.) ประชากร 8,100,000 (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและอู่ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ด

มืองอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนราว 151,000 คน แม่น้ำเชอร์เวลล์และแม่น้ำเทมส์บรรจบกันทางใต้ของตัวเมือง บริเวณที่เป็นระยะทางราว 10 กิโลเมตรในบริเวณตัวเมืองอ๊อกซฟอร์ดริมฝั่งแม่น้ำเทมส์รู้จักกันว่า “เดอะไอซิส” (The Isis).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ทรายเดือด

หตุการณ์ทรายเดือดที่นิวซีแลนด์ ระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหว 6.3 Mw ในปี 2554 ทรายเดือด หรือ แผ่นดินเหลว (liquefaction) กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่ดินมีสภาพคล้ายกับของเหลว เนื่องจากสูญเสียกำลัง และความแข็งแรงในด้านความเค้น โดยปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหว ในด้านกลศาสตร์ของดิน คำว่า "liquefied" ได้ถูกใช้ครั้งแรกโดย เฮเซิน อ้างอิงถึงเหตุการณ์เขื่อนถล่มในปี พ.ศ. 2461 ที่รัฐแคลิฟอร์เนี.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและทรายเดือด · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ช

ท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ช (Christchurch International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักที่ให้บริการในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 12 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี..1953.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ช · ดูเพิ่มเติม »

ดรัมแอนด์เบส

รัมแอนด์เบส (มักย่อว่า d&b, DnB, dnb, d'n'b, drum n bass, drum & bass) เป็นแนวเพลงแดนซ์ประเภทหนึ่ง ที่รู้จักกันว่าจังเกิล ที่เกิดขึ้นในต้นทศวรรษ 1990 มีลักษณะจังหวะเบรกบีตที่รวดเร็ว (ความเร็วอยู่ระหว่าง 160–180 bpm) กับไลน์เบสย่อยที่หนักหน่วง ดรัมแอนด์เบสแตกย่อยมาจากยูเคเรฟ ในช่วงต้น ๆ ยุค 90 และต้นช่วงต้น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงสไตล์ สิ่งประกอบหลายๆ อย่าง จากแนวดนตรีหลากหลายแนว.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและดรัมแอนด์เบส · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ดะนีดิน

ตัวเมืองดะนีดิน ดะนีดิน (Dunedin) (มาวรี: Ōtepoti) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ และเมืองหลักในภาคโอทาโก (Otago Region) ยังถือว่าเป็นหนึ่งในสี่เมืองหลักของประเทศนิวซีแลนด์ในด้านประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม และเหตุผลทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและดะนีดิน · ดูเพิ่มเติม »

ดั๊บสเตป

ั๊บสเตป (Dubstep) เป็นดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต้นกำเนิดในลอนดอน ช่วงต้นยุค 2000 ในช่วงที่ดนตรียูเคการาจกำลังเฟื่องฟู ดั๊บสเตปมีอารมณ์ที่มืดมน จังหวะอันบางตา และการเน้นเสียงเบส ดั๊บสเตปเริ่มแพร่กระจายในเมืองเล็ก ๆ ในอังกฤษในช่วงปี 2005 ถึงต้นปี 2006 ดั๊บสเตปเป็นที่รู้จักกว้างขวางหลังจากที่ดีเจ แมรี แอนน์ ฮ็อบส์ แห่งสถานีวิทยุ บีบีซีเรดิโอวัน สนับสนุนแนวเพลงนี้ โดยใช้ชื่อช่วงว่า "Dubstep Warz" ในเดือนมกราคม 2006.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและดั๊บสเตป · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ

ลโก้รายการที่ใช้ในฉบับอเมริกา สำหรับโลโก้ในฉบับอื่น ๆ จะถูกดัดแปลงจากโลโก้นี้ ดิ อะเมซิ่ง เรซ (The Amazing Race หรือในบางครั้งรู้จักกันในตัวย่อ TAR มีชื่อภาษาไทยตามที่ออกอากาศทางช่องเอเอกซ์เอ็นในประเทศไทยว่า คนแกร่งแข่งอึด) เป็นเรียลลิตี้โชว์ ทางโทรทัศน์ ที่สมาชิกในทีม ทีมละสองคน ที่รู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันกับทีมอื่นโดยการเดินทางรอบโลก โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องพยายามเข้าเป็นทีมแรกที่จุดหยุดพักในแต่ละเลกให้ได้ เพื่อเป็นผู้ชนะในเลกนั้น ๆ และหลีกเลี่ยงการมาถึงเป็นทีมสุดท้าย ที่อาจจะทำให้ทีมถูกคัดออกจากการแข่งขัน หรืออาจทำให้ทีมประสบอุปสรรคตามมาในเลกต่อไป ผู้เข้าแข่งขันจะเดินทางระหว่างประเทศหลายประเทศ ด้วยวิธีการเดินทางที่แตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องบิน แท็กซี่ รถเช่า รถไฟ รถประจำทาง และเรือ คำสั่งในแต่ละช่วงของเลกจะสั่งให้ทีมไปยังจุดหมายต่อไป หรือทำงาน ไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือสองคนก็ตาม ซึ่งงานที่ทีมทำนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับมารยาท หรือวัฒนธรรม ท้องถิ่นในประเทศที่พวกเขาไปเยือน โดยแต่ละทีมจะทะยอยถูกคัดออก จนกระทั่งเหลืออยู่ 3 ทีมสุดท้าย ณ จุดนั้น ทีมที่มาถึงเป็นทีมแรกในเลกสุดท้ายจะได้รับเงินรางวัลก้อนใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีมูลค่า 1 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา สร้างโดย อลิส ดอร์แกนเลอร์ และ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ และได้ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 มีพิธีกรชื่อดังระดับรางวัลเอ็มมี ชาวนิวซีแลนด์ ฟิล คีโอแกน เป็นพิธีกรของรายการตั้งแต่ซีซั่นแรก และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ระดับ ฮอลลีวูด เจอร์รี บรัคไฮเมอร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างหลักของรายการ นอกจากนี้รายการนี้ยังมีการซื้อลิขสิทธิ์ ไปสร้างในหลาย ๆ ประเทศ โดยยังคงรูปแบบหลัก ๆ ของรายการอยู่ ส่วนเนื้อหาในบทความนี้จะใช้เกณฑ์และเนื้อหาของฉบับอเมริกาเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและดิอะเมซิ่งเรซ · ดูเพิ่มเติม »

คริกเกต

การเล่นคริกเกตในสนาม คริกเก็ต (cricket) เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง มีคนเล่นทีมละ 11 คน ทีม ก จัดให้คนหนึ่งเป็นผู้ขว้างลูก เรียกว่า bowler ทำการขว้างลูกไปยังไม้ที่ตั้งไว้บนสนามสามอัน เรียกว่า wickets ซึ่งทีม ข จัดคนมารักษา คนที่รักษา wickets เรียกว่า batsman และไม้ที่ถือตีลูกเรียกว่า bat ถ้าตีถูกลูกก็วิ่งวนไปเพื่อเอาแต้ม เรียกว่า runs จนกว่าพวกของทีม ก ที่อยู่ในสนาม คือ fielders จะนำลูกกลับมาได้ คริกเกตมีการเล่นมากกว่าใน 100 ประเทศ ซึ่งนิยมเล่นในออสเตรเลีย บังคลาเทศ อังกฤษ และอินเดี.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและคริกเกต · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและคริสตจักรแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คุระชิกิ

ระชิกิ เป็นเมืองในจังหวัดโอะกะยะมะ ประเทศญี่ปุ่น บนชายฝั่งแม่น้ำทะกะฮะชิและทะเลเซะโตะ มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 354.71 ตารางกิโลเมตร ในปี 2010 มีจำนวนประชากร 473,392 คน.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและคุระชิกิ · ดูเพิ่มเติม »

ซิดนีย์

ซิดนีย์ เป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย มีประชากรมากว่า 4 ล้านคนและเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์ ตั้งขึ้นเมืองปี..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและซิดนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีแอตเทิล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและซีแอตเทิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโมร็อกโก

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและประเทศโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน

ตเกียว, กรณีปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง อุณหภูมิปกติของโตเกียวที่สูงกว่าบริเวณใกล้เคียง. ปรากฏการณ์เกาะความร้อน หรือ เกาะความร้อนเมือง (urban heat island: UHI) คือปรากฏการณ์ที่พื้นที่ในมหานครมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณโดยรอบอย่างมีนัย ความแตกต่างของอุณหภูมิที่สูงกว่าดังกล่าวจะชัดเจนในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน ในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อนและเมื่อไม่มีลมหรือมีลมพัดอ่อน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเกาะความร้อนเมืองคือการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินที่เกิดจากการพัฒนาเมืองซึ่งใช้วัสดุที่ทำให้เกิดการสะสมกันของความร้อนประกอบกับความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานตามอาคารสถานที่ต่างๆ เมื่อศูนย์กลางประชากรของเมืองเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงผิวพื้นแผ่นดินก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเพิ่มอุณหภูมิทั่วไปโดยเฉลี่ย ผลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองทำให้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในบริเวณใต้ลมที่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปประมาณ 60 กิโลเมตรเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่เหนือลม.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและปรากฏการณ์เกาะความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นกโมอา

นกโมอา (moa) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์ Dinornithidae เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธ์ไปหมดแล้ว มีความเกี่ยวข้องกับนกอีมูจากออสเตรเลีย ในช่วงศตวรรษที่ 1800 ถึงต้นศตวรรษที่ 1900 มีหลายสายพันธุ์ของนกโมอาอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สรุปอย่างเป็นทางการได้ว่ามีอยู่ประมาณ 10 หรือ 12 ชนิด จากการศึกษาดีเอ็นเอ ของนกโมอา ได้มีการค้นพบว่านกโมอาตัวเมียกับตัวผู้มีความแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางขนาดลำตัวรึขนาดของกระดูก ตัวเมียมีขนาดที่ใหญ่กว่าและสูงกว่าตัวผู้อยู่ประมาณร้อยละ 150 และมีน้ำหนักกว่าร้อย 280 เหตุผลนี้ทำให้ตอนแรกมีการเข้าใจผิดคิดว่าโครงกระดูกที่ถูกค้นพบนี้เป็นของนก 2 ชนิด โครงกระดูกที่ถูกค้นพบได้ถูกนำมาประกอบกันแล้วจัดแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและนกโมอา · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช กุมภาพัน..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและแผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช มิถุนายน..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและแผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช มิถุนายน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและโซล · ดูเพิ่มเติม »

ไฟ

ฟ ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อยSchmidt-Rohr, K. (2015).

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เกม

การเล่นชักเย่อ เกมไพ่ เป็นเกมอีกประเภทหนึ่งที่นิยมเล่นทั่วโลก เกม เป็นลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น และในบางครั้งอาจใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้ เกมประกอบด้วยเป้าหมาย กฎเกณฑ์ การแข่งขันและปฏิสัมพันธ์ เกมมักจะเป็นการแข่งขันทางจิตใจหรือด้านร่างกาย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดพัฒนาการของทักษะ ใช้เป็นรูปแบบของการออกกำลังกาย หรือการศึกษา บทบาทสมมุติและจิตศาสตร์ เป็นต้น เกมเป็นกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน Royal Game of Ur, Senet และ Mancala เป็นเกมที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยสามารถย้อนไปได้ถึง 2,600 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเกม · ดูเพิ่มเติม »

เกาะใต้

กาะใต้ หรือ เซาท์ไอแลนด์ (South Island) เป็นเกาะในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งใน 2 เกาะใหญ่ของประเทศ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในประเทศ แบ่งกับเกาะเหนือโดยช่องแคบคุก มีพื้นที่ 151,215 ตร.กม.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเกาะใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา เมืองพี่น้อง (Sister cities) และเมืองแฝด (Twin cities) เป็นคำที่ใช้เรียกเมืองที่การเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน (ส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่อยู่กันคนละประเทศ) โดยมีความร่วมมือกันระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ และสนับสนุนความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ถ่ายทอดซึ่งกันและกัน นำสิ่งดีๆที่อีกฝ่ายหนึ่งมี มาพัฒนาต่อยอดเมืองของตนเอง หรือในบางครั้ง เมืองพี่เมืองน้อง มักจะถูกตีความไปตามลักษณะเมืองที่มีความคล้ายคลึงกัน ทางด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองที่คล้ายคลึงกัน เราก็เรียกว่าเมืองพี่เมืองน้องได้ อย่างเช่น เมืองปายกับวังเวียง ที่มีบรรยากาศของเมืองพักกลางทางท่ามกลางขุนเขา ลำน้ำ และสายหมอกเหมือนกัน หรืออย่าง จังหวัดยโสธรกับเมืองโยชิดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการเรียกว่าเป็นเมืองคู่แฝด เพราะมีประเพณีการเล่นบั้งไฟคล้ายคลึงกัน ในเมืองไทยมีหลายจังหวัดที่มีการเจริญความสัมพันธ์อันดีเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆทั่วโลก หรือเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันเองภายในประเทศ อย่างกรุงเทพมหานคร ที่สถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกรุงเทพมหานคร.กับจังหวัดแพร่ ภายหลังจากที่ กรุงเทพฯได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดแพร่ในการอนุญาตให้พลีต้นสักทองจำนวน 6 ต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ที่อำเภอเด่นชัย มาทำเป็นเสาชิงช้าต้นใหม่ หรือการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีกับเมือง Courtenay ประเทศแคนาดา ความเป็นเมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเพชรบุรี กับข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่ เมืองน้องระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับเมืองพารามัตตา ประเทศออสเตรเลีย เหล่าล้วนเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและประชากรทั้งสองประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเมืองพี่น้องและเมืองแฝด · ดูเพิ่มเติม »

เม็กซิโกซิตี

ตราประจำกรุงเม็กซิโกซิตีตั้งแต่ ค.ศ. 1523 เม็กซิโกซิตี (Mexico City) หรือ ซิวดัดเดเมคีโก (Ciudad de México) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ในหุบเขาเม็กซิโกบริเวณกึ่งกลางประเทศ เม็กซิโกซิตีมีพื้นที่ประมาณ 1,499 ตารางกิโลเมตร หรือถ้ารวมบริเวณมหานครด้วยจะมีพื้นที่รวมประมาณ 4,979 ตารางกิโลเมตร ประชากรในเม็กซิโกซิตี (ปี 2548) มี 8,605,239 คน ถ้ารวมเขตมหานครทั้งหมดมีประชากร 17,844,829 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเม็กซิโกซิตี · ดูเพิ่มเติม »

เรดฮอตชิลีเพปเปอส์

รดฮอตชิลีเพปเปอส์ (Red Hot Chili Peppers) เป็นวงร็อกอเมริกัน ก่อตั้งวงในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 1983 สมาชิกในวงประกอบด้วย นักร้อง แอนโทนี คีดิส, มือกีตาร์ จอห์น ฟรัสซิแอนเต, มือเบส ไมเคิล "ฟลี" บัลซารี และมือกลอง แชด สมิธ แนวเพลงของวงมีความหลากหลาย ที่เกิดจากการรวมของเพลงร็อกดั้งเดิมและฟังก์ เข้ากับองค์ประกอบของ เฮฟวีเมทัล, พังก์ร็อก และ ไซเคเดลิกร็อก นอกจากทั้งแอนโทนี คีดิสและฟลี สมาชิกดั้งเดิมประกอบด้วยมือกีตาร์ ฮิลเลล สโลวัก และมือกลอง แจ็ก ไอออนส์ ซึ่งสโลวักเสียชีวิตจากการเสพเฮโรอีนเกินขนาดในปี 1988 และเป็นผลให้ไอออนส์ลาออกจากวงKiedis, Sloman, 2004.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเรดฮอตชิลีเพปเปอส์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลลิงตัน

มืองและท่าเรือเวลลิงตันมองจากภูเขาวิคตอเรีย เวลลิงตัน (Wellington) เป็นเมืองหลวงของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "เวลลิงตัน เมืองแห่งสายลม" เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีสายลมพัดผ่านมากที่สุดของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ปลายสุดของเกาะเหนือ ระหว่างช่องแคบคุกกับ Rimutaka Range ชื่อของเมืองหลวงแห่งนี้มาจากชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแด่ อาร์เธอร์ เวลเลสลีย์ (Arthur Wellesley) มีประชากรทั้งสิ้น 430,000 คน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากโอ๊คแลนด์ เวลลิงตันเป็นที่ตั้งของรัฐสภา สถานทูต และกงสุลต่างๆ เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมและความมีชีวิตชีวา ในเมืองจะเต็มไปด้วยร้านอาหารรสเลิศ ร้านกาแฟ และกิจกรรมยามค่ำคืน นอกจากการเป็นเมืองหลวงแล้ว เวลลิงตันยังมีความสำคัญ คือเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่ใช้สัญจรผ่านไปสู่เกาะใต้ ตามแนวเขาลาดชันชายฝั่ง จะเห็นสิ่งปลูกสร้างไม้สไตล์วิคตอเรียขึ้นอยู่เป็นทิวแถว อุณหภูมิอบอุ่นกำลังดีระหว่าง 9-13 องศาเซลเซียสในหน้าหนาว ส่วนหน้าร้อนประมาณ 17-22 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเวลลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด

ออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด บารอนรัทเทอร์ฟอร์ดแห่งเนลสันที่ 1 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford, 30 สิงหาคม พ.ศ. 2414 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2480) หรือในชื่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ลอร์ด รัทเทอร์ฟอร์ด ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดา" แห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ เขาเป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีการโคจรของอะตอม ชื่อของเขาได้นำไปใช้เป็นชื่อธาตุที่ 104 คือ รัทเทอร์ฟอร์เดียม.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เอซี/ดีซี

อซี/ดีซี (AC/DC) เป็นวงร็อกออสเตรเลีย ก่อตั้งวงในซิดนีย์ ในปี 1973 โดยพี่น้องมัลคอล์มและแอนกัส ยัง ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปจะจำแนกวงนี้ว่าเป็นแนวฮาร์ดร็อกและถือว่าเป็นผู้บุกเบิกดนตรีเฮฟวีเมทัล แต่พวกเขาก็มักจะจำแนกแนวเพลงพวกเขาว่าเป็น "ร็อกแอนด์โรล" เอซี/ดีซี เผชิญกับการเปลี่ยนสมาชิกในวงหลายหน ก่อนที่จะออกอัลบั้มชุดแรก High Voltage ในปี 1975 สมาชิกของวงเริ่มคงตัวเมื่อมือเบส มาร์ก อีแวนส์มาแทนที่ คลิฟ วิลเลียมส์ ในปี 1977 ต่อมาในปี 1979 วงได้บันทึกเสียงอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในชื่อชุด Highway to Hell นักร้องนำและผู้ร่วมเขียนเพลง บอน สก็อต เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเอซี/ดีซี · ดูเพิ่มเติม »

เฮฟวีเมทัล

ฟวีเมทัล หรือบางครั้งเรียกย่อว่า เมทัล เป็นแนวเพลงร็อกประเภทหนึ่งที่พัฒนาในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 และต้นทศวรรษที่ 70 ด้วยรากฐานของดนตรี บลูส์-ร็อก ฮาร์ดร็อก และ ไซเคเดลิกร็อก โดยมีหลายวงได้พัฒนาเฮฟวีเมทัล ให้มีความหนา, หนัก, ดนตรีที่เน้นกีตาร์และกลอง และลักษณะเฉพาะตัวที่มีการโซโล่กีตาร์ที่รวดเร็ว เพลงแนวเฮฟวีเมทัลได้รับความนิยมจากแฟนทั่วโลก ที่แฟนเหล่านั้นจะเรียกตัวเองว่า เมทัลเฮดส์ หรือ เฮดแบงเกอร์ และถึงแม้ว่าวงเมทัลในช่วงต้น ๆ อย่าง เล็ด เซ็พเพลิน, แบล็ค แซบบาธ และ ดีพ เพอร์เพิล จะได้รับความสนใจจากกลุ่มคนฟังหลัก แต่ก็มีบ้างที่พวกเขาจะถูกด่าทอ.

ใหม่!!: ไครสต์เชิร์ชและเฮฟวีเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Christchurchไครต์เชิร์ช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »