โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ม่อจื๊อ

ดัชนี ม่อจื๊อ

ม่อจื๊อ (พ.ศ. 74-พ.ศ. 153) เป็นนักปรัชญาชาวจีน นับได้ว่าเป็นคู่แข่งผู้หนึ่งของขงจื๊อ หลักคำสอนของม่อจื๊ออยู่ในหนังสือที่มีชื่อเดียวกับชื่อของเขา คือ ม่อจื๊อ ประกอบด้วยข้อเขียน 53 บท เป็นทั้งข้อเขียนของเขาเองและที่สานุศิษย์ช่วยกันเรียบเรียงต่อเติม และมามีอิทธิพลเหนือชาวจีนหลังจากที่เขาตายไปแล้วประมาณ 500 ปี ม่อจื๊อ มีชื่อจริงว่า มั่ว ตี๋ (墨翟) สถานที่เกิดไม่แน่นอน บ้างก็ว่ามาจากแคว้นสุ้ง (ปัจจุบันอยูระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลซานตง) บ้างก็ว่ามาจากแคว้นเดียวกับขงจื๊อ คือมาจากแคว้นหลู่ แนวความคิดของม่อจื๊อเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อแนวความคิดของขงจื๊ออย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าความต้องการที่เหมือนกันคือ เพื่อปรับปรุงให้สังคมดีขึ้น แต่ม่อจื๊อไม่นิยมวิธีการของขงจื๊อ โดยโจมตีว่า "เป็นวิธีการที่ไม่ได้ผลและเสียเวลา" ม่อจื๊อเน้นถึง ประโยชน์และความใช้ได้ของขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าจะต้องยึดถือตามขงจื๊อทั้งหมด เชื่อในความเป็นไปของโลกหน้า สนับสนุนให้มนุษย์มีความรักซึ่งกันและกัน เขาเชื่อว่าความรักโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ชนชั้น หรือความยากดีมีจน ประณามการทำสงคราม ความแตกต่างระหว่างแนวความคิดของขงจื๊อกับม่อจื๊อนี้ ทำให้ขงจื๊อได้รับขนานนามว่า "เป็นนักประมวลขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีมาใช้" แต่ม่อจื๊อเป็น "นักวิจารณ์ นักติชม" นอกจากนี้ม่อจื๊อยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำความรู้ทางด้านตรรกวิทยาเข้ามาใช้ในจีนเป็นคนแรก เกี่ยวกับตำแหน่งผู้ปกครองม่อจื๊อมีความเห็นว่า "ผู้ปกครองควรได้ตำแหน่งเพราะความดีและความสามารถส่วนตัวมากกว่าได้มาโดยการสืบตำแหน่ง ถ้าผู้ปกครองไม่มีความสามารถก็ควรจะยกตำแหน่งนี้ให้ที่ปรึกษาจะดีกว่า".

8 ความสัมพันธ์: ชาวจีนพ.ศ. 153พ.ศ. 74มณฑลชานตงมณฑลเหอหนานวรรณะขงจื๊อตรรกศาสตร์

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ม่อจื๊อและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 153

ทธศักราช 153 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 391.

ใหม่!!: ม่อจื๊อและพ.ศ. 153 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 74

ทธศักราช 74 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: ม่อจื๊อและพ.ศ. 74 · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ใหม่!!: ม่อจื๊อและมณฑลชานตง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ใหม่!!: ม่อจื๊อและมณฑลเหอหนาน · ดูเพิ่มเติม »

วรรณะ

วรรณะ ตามรากศัพท์ (วรฺณ वर्ण; วณฺณ) แปลว่าสี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ห้าสี.

ใหม่!!: ม่อจื๊อและวรรณะ · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: ม่อจื๊อและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: ม่อจื๊อและตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ม่อจื่อโมจื๊อโม่จื๊อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »