โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ

ดัชนี กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ (Günther von Kluge) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คลูเกอได้ถือคำสั่งแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออกและได้รับเหรียญอัศวินกางเขนเหล็กใบโอ๊กและดาบ แม้ว่าคลูเกอไม่ได้มีส่วนรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคม เขาได้ฆ่าตัวตายด้วยการกินยาพิษไซยาไนด์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1944 หลังจากถูกเรียกให้กลับไปยังกรุงเบอร์ลินสำหรับการประชุมกับฮิตเลอร์ในผลพวงการรัฐประหารที่ล้มเหลว จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล ได้ทำหน้าที่ต่อจาก.

20 ความสัมพันธ์: พอซนานการบุกครองโปแลนด์กางเขนเหล็กกางเขนอัศวินยุทธการที่ฝรั่งเศสยุทธการที่แวร์เดิงราชอาณาจักรปรัสเซียวัลเทอร์ โมเดิลสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจอมพลจักรวรรดิเยอรมันปฏิบัติการบาร์บารอสซานาซีเยอรมนีแม็สแอนสท์ บุช (จอมพล)แผนลับ 20 กรกฎาคมแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)เฟดอร์ ฟอน บอคเวร์มัคท์

พอซนาน

อซนาน (Poznań; Posnania; Posen; פוזנא or פּױזן Poyzn) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บน 2 ฝั่งของแม่น้ำวาร์ตา ตั้งอยู่ทางตะวันตก-ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ มีประชากร 556,022 คน ในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและพอซนาน · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน

กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน (Ritterkreuz des Eisernen Kreuzes) หรือเรียกอีกอย่างว่า กางเขนอัศวิน (Ritterkreuz) เป็นบำเหน็จความชอบขั้นสูงสุดในกองกำลังทหารและกึ่งทหารของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการมอบบำเหน็จนี้อย่างแพร่หลายด้วยสารพัดเหตุผล เช่น การนำทัพที่ยอดเยี่ยมของผู้บัญชาการ หรือความกล้าหาญในสมรภูมิของนายทหารระดับล่าง บำเหน็จนี้จะถูกมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ในสามเหล่าทัพของเวร์มัคท์ (''เฮร์'', ครีกซมารีเนอ และลุฟท์วัฟเฟอ) ตลอดจนสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส, กองแรงงานไรช์ และโฟล์คสชทูร์ม บำเหน็จนี้ถูกมอบไปมากกว่า 7,000 สำรับตลอดช่วงสงคราม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สถาปนาบำเหน็จนี้ขึ้นเมื่อ 1 กันยายน..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและกางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แวร์เดิง

ทธการที่แวร์เดิง สู้รบกันตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ถึง 18 ธันวาคม 1916 เป็นยุทธการที่มีขนาดใหญ่และยืดเยื้อที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งบนแนวรบด้านตะวันตกระหว่างกองทัพเยอรมันและฝรั่งเศส ยุทธการเกิดขึ้นบนเขาทางเหนือของแวร์เดิง-ซูร์-เมิซในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส กองทัพที่ 5 ของเยอรมันโจมตีการป้องกันของ Région Fortifiée de Verdun (RFV) และกองทัพที่ 2 ของฝรั่งเศสบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ ฝ่ายเยอรมันได้รับบันดาลใจจากประสบการณ์แห่งยุทธการที่ช็องปาญครั้งที่สองเมื่อปีก่อน วางแผนยึดที่สูงเมิซอย่างรวดเร็ว ทำให้มีที่ตั้งป้องกันที่ยอดเยี่ยมซึ่งจะยังให้พวกเขาระดมยิงปืนใหญ่ใส่แวร์เดิงโดยการยิงปืนใหญ่แบบสังเกตได้ ฝ่ายเยอรมันหวังว่าฝรั่งเศสจะทุ่มกำลังสำรองยุทธศาสตร์เพื่อยึดตำแหน่งดังกล่าวคืนและประสบความสูญเสียมหาศาลในการยุทธ์แห่งการบั่นทอนกำลัง เนื่องจากเยอรมันจะมีข้อได้เปรียบทางยุทธวิธี ลมฟ้าอากาศที่เลวทำให้เยอรมนีเลื่อนการเริ่มเข้าตีเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ แต่เยอรมันประสบความสำเร็จในขั้นต้น โดยยึดค่ายดูโอมง (Fort Douaumont) ได้ภายในสามวันแรกของการบุก จากนั้นการรุกของเยอรมนีช้าลงแม้ฝรั่งเศสเสียรี้พลไปมากมาย เมื่อถึงวันที่ 6 มีนาคม ทหารฝรั่งเศส 20 1/2 กองพลอยู่ใน RFV และมีการก่อสร้างการตั้งรับทางลึกอย่างกว้างขวาง เปแตงสั่งว่าห้ามถอย (On ne passe pas) และให้ตีโต้ตอบ แม้ว่าทหารราบฝรั่งเศสจะเปิดโล่งต่อการยิงจากปืนใหญ่เยอรมัน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปืนใหญ่ฝรั่งเศศบนฝั่งตะวันตกเริ่มการระดมยิงอย่างต่อเนื่องใส่ที่ตั้งของเยอรมันบนฝั่งตะวันออก ทำให้ทหารราบเยอรมันเสียชีวิตไปเป็นอันมาก ในเดือนมีนาคม การรุกของเยอรมันขยายไปยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เพื่อให้ได้สังเกตพื้นที่ซึ่งปืนใหญ่ฝรั่งเศสยิงข้ามแม่น้ำใส่ที่สูงเมิซ ฝ่ายเยอรมันสามารถรุกได้ทีแรก แต่กำลังหนุนฝรั่งเศสจำกัดการเข้าตีโดยไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ต้นเดือนพฤษภาคม ฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนยุทธวิธีและทำการโจมตีท้องถิ่นและตีโต้ตอบ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสมีโอกาสโจมตีต่อค่ายดูโอมง ค่ายบางส่วนถูกยึดจนการตีโต้ตอบของเยอรมันยึดค่ายคืนและจับเชลยศึกได้เป็นจำนวนมาก ฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนยุทธวิธีอีกครั้ง โดยสลับการเข้าตีบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมิซและในเดือนมิถุนายนยึดค่ายโว (Fort Vaux) ได้ ฝ่ายเยอรมันบุกต่อเลยโวมุ่งสู่วัตถุประสงค์ภูมิศาสตร์สุดท้ายของแผนเดิม คือ ที่เฟลอรี-เดอว็อง-ดูโอมง (Fleury-devant-Douaumont) และค่ายโซวีย์ (Fort Souville) ฝ่ายเยอรมันขับการยื่นเด่นเข้าสู่การป้องกันของฝรั่งเศส ยึดเฟลอรีและเข้าใกล้ระยะ 4 กิโลเมตรจากป้อมแวร์เดิง ในเดือนกรกฎาคม 1916 การบุกของเยอรมันลดลงเหลือการจัดส่งกำลังหนุนปืนใหญ่และทหารราบแก่แนวรบซอมและระหว่างปฏอบะติการท้องถิ่น หมู่บ้านเฟลอรีเปลี่ยนมือ 16 ครั้งตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายนถึง 17 สิงหาคม ความพยายามยึดค่ายโซวีย์ในต้นเดือนกรกฎาคมถูกปืนใหญ่และการยิงอาวุธเบาไล่กลับไป เพื่อจัดส่งกำลังหนุนแก่แนวรบซอม การบุกของเยอรมันยิ่งลดลงอีกและมีความพยายามตบตาฝรั่งเศสให้คาดหมายการโจมตีเพิ่มอีกเพื่อให้กำลังหนุนของฝรั่งเศสอยู่ห่างจากซอม ในเดือนสิงหาคมและธันวาคม การตีโต้ตอบของฝรั่งเศสยึดแผ่นดินที่เสียไปบนฝั่งตะวันออกคืนได้มากและยึดค่ายดูโอมงและโวได้ ยุทธการที่แวร์เดิงกินเวลา 303 วันและเป็นยุทธการที่ยืดเยื้อที่สุดและมียอดผู้เสียชีวิตสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การประเมินในปี 2000 พบว่ามีกำลังพลสูญเสียรวม 714,231 นาย เป็นฝรั่งเศส 377,231 นายและเยอรมัน 337,000 นาย เฉลี่ย 70,000 นายต่อเดือน การประเมินล่ากว่าเพิ่มจำนวนกำลังพลสูญเสียเป็น 976,000 นายระหว่างยุทธการ และมีกำลังพลสูญเสีย 1,250,000 นายที่แวร์เดิงระหว่างสงคราม.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและยุทธการที่แวร์เดิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ โมเดิล

อ็อทโท โมริทซ์ วัลเทอร์ โมเดิล (Otto Moritz Walter Model; 24 มกราคม 1891 – 21 เมษายน 1945) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงในการรบป้องกันในช่วงครึ่งหลังของสงคราม ส่วนใหญ่ในแนวรบตะวันออกแต่อยู่ในด้านตะตะวันตก เขาได้ถูกเรียกว่า ผู้บัญชาการยุทธวิธีป้องกันที่ดีที่สุดของจักรวรรด์ไรซ์ที่สาม ในช่วงปลายสงคราม โมเดิลได้ล้มเหลวในป้องกันการบุกเข้าสู่เยอรมนีของกองทัพสัมพันธมิตรในด้านตะวันตกและกองทัพของเขาถูกล้อมอย่างสิ้นเชิงในรูร์ เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับนำตัวไปพิจารณาคดีในข้อหาอาชญากรสงครามเมื่อ 21 เมษายน..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและวัลเทอร์ โมเดิล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จอมพล

อมพล (Field Marshal) เป็นยศทหาร ซึ่งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยศสูงสุดในกองทัพบกที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกใช้ จอมพลเป็นยศที่สูงกว่าพลเอก.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและจอมพล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แม็ส

แม็ส (Metz) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรน เมืองหลักของจังหวัดโมแซลในประเทศฝรั่งเศส เมืองแม็สตั้งอยู่ทางตรงที่แม่น้ำโมแซลมาบรรจบกับแม่น้ำแซย์ และเป็นนครหลวงโบราณของอาณาจักรออสเตรเซียของราชวงศ์กาโรแล็งเชียง โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมเป็นโบราณสถานซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเมืองย้อนไปกว่า 3000 ปี รวมไปถึงศิลปกรรมในยุคที่ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเยอรมนีช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งปรากฏชัดบริเวณย่านจักรวรรดิ (Le quartier impérial) แม้ว่าในประวัติศาสตร์น็องซีจะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดยุคแห่งลอแรน แต่แม็สได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของแคว้นลอแรนที่ตั้งขึ้นใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะความที่เคยเป็นเมืองหลวงของโลทาริงเกี.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

แอนสท์ บุช (จอมพล)

แอนสท์ แบร์นฮาร์ด วิลเฮล์ม บุช (Ernst Bernhard Wilhelm Busch; 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1885 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1945) เป็นจอมพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้เป็นผู้บัญชาการในกองทัพที่ 16 และต่อมาอยู่ในกองทัพกลุ่มกลาง.เขาได้รับเหรียญกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและแอนสท์ บุช (จอมพล) · ดูเพิ่มเติม »

แผนลับ 20 กรกฎาคม

แผนลับ 20 กรกฎาคม (20 July plot) เป็นความพยายามลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอร์แห่งไรช์ที่สาม ภายในกองบัญชาการสนาม "รังหมาป่า" ใกล้เมืองรัสเทนบูร์ก แคว้นปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและแผนลับ 20 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

เฟดอร์ ฟอน บอค

ฟดอร์ ฟอน บอค (Fedor von Bock) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาบัญชาการกองทัพบกกลุ่มเหนือระหว่างการบุกครองโปแลนด์ในปี 1939 และบัญชาการกองทัพบกกลุ่มบีในยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี 1940 และต่อมาได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางในการโจมตีสหภาพโซเวียตในปี 1941 และได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มใต้ในปี 1942 ซึ่งเป็นตำแหน่งบัญชาการครั้งสุดท้าย บอคเกิดในเมืองคืชตริง (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ในครอบครัวทหารชาวปรัสเซีย บิดาเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ส่วนมารดาเป็นน้องสาวของเอริช ฟอน ฟัลเคินไฮย์ (Erich von Falkenhayn) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บอคเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการทหารในกรุงเบอร์ลิน และต่อมาได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความที่เกิดในครอบครัวทหารทำให้เขามีค่านิยมทหารมากกว่าคนอื่น ในสงครามครั้งนั้นเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นทหารที่องอาจถึงขนาดพร้อมตายเพื่อปิตุภูมิจนได้รับสมญาว่า พระเพลิงแห่งคืชตริง และได้รับเหรียญปัวร์เลอแมริทของจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1935 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แต่งตั้งบอคให้เป็นแม่ทัพใหญ่กองทัพบกกลุ่มที่สาม และเป็นหนึ่งในนายพลที่ไม่ถูกโยกย้ายเมื่อครั้งฮิตเลอร์ปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่เพื่อสั่งสมแสนยานุภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ บอคเป็นพวกนิยมระบอบกษัตริย์และมักจะไปเยี่ยมเยือนวังของอดีตไกเซอร์เสมอ บอคบัญชาการการบุกเวียนนาในปี 1938 และเมื่อเยอรมันผนวกออสเตรียแล้ว บอคก็บัญชาการการรุกรานเชโกสโลวาเกีย ฮิตเลอร์ไม่ค่อยชอบนิสัยการพูดจาตรงไปตรงมาขวานผ่าซากของบอค สิ่งที่ฮิตเลอร์ชอบในตัวบอคอย่างเดียวคือเขาเป็นผู้บัญชาการมือฉกาจที่ประสบความสำเร็จในการรบBattle of Russia, Battlefield: Battles that Won the Second World War—Series 2.

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและเฟดอร์ ฟอน บอค · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กึนเธอร์ ฟอน คลูเกอกึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอกุนเธอร์ ฟอน คลูเกอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »