เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ vs. สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ (Günther von Kluge) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คลูเกอได้ถือคำสั่งแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออกและได้รับเหรียญอัศวินกางเขนเหล็กใบโอ๊กและดาบ แม้ว่าคลูเกอไม่ได้มีส่วนรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคม เขาได้ฆ่าตัวตายด้วยการกินยาพิษไซยาไนด์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1944 หลังจากถูกเรียกให้กลับไปยังกรุงเบอร์ลินสำหรับการประชุมกับฮิตเลอร์ในผลพวงการรัฐประหารที่ล้มเหลว จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล ได้ทำหน้าที่ต่อจาก. งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุทธการที่แวร์เดิงสงครามโลกครั้งที่สองจักรวรรดิเยอรมัน

ยุทธการที่แวร์เดิง

ทธการที่แวร์เดิง สู้รบกันตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ถึง 18 ธันวาคม 1916 เป็นยุทธการที่มีขนาดใหญ่และยืดเยื้อที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งบนแนวรบด้านตะวันตกระหว่างกองทัพเยอรมันและฝรั่งเศส ยุทธการเกิดขึ้นบนเขาทางเหนือของแวร์เดิง-ซูร์-เมิซในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส กองทัพที่ 5 ของเยอรมันโจมตีการป้องกันของ Région Fortifiée de Verdun (RFV) และกองทัพที่ 2 ของฝรั่งเศสบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ ฝ่ายเยอรมันได้รับบันดาลใจจากประสบการณ์แห่งยุทธการที่ช็องปาญครั้งที่สองเมื่อปีก่อน วางแผนยึดที่สูงเมิซอย่างรวดเร็ว ทำให้มีที่ตั้งป้องกันที่ยอดเยี่ยมซึ่งจะยังให้พวกเขาระดมยิงปืนใหญ่ใส่แวร์เดิงโดยการยิงปืนใหญ่แบบสังเกตได้ ฝ่ายเยอรมันหวังว่าฝรั่งเศสจะทุ่มกำลังสำรองยุทธศาสตร์เพื่อยึดตำแหน่งดังกล่าวคืนและประสบความสูญเสียมหาศาลในการยุทธ์แห่งการบั่นทอนกำลัง เนื่องจากเยอรมันจะมีข้อได้เปรียบทางยุทธวิธี ลมฟ้าอากาศที่เลวทำให้เยอรมนีเลื่อนการเริ่มเข้าตีเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ แต่เยอรมันประสบความสำเร็จในขั้นต้น โดยยึดค่ายดูโอมง (Fort Douaumont) ได้ภายในสามวันแรกของการบุก จากนั้นการรุกของเยอรมนีช้าลงแม้ฝรั่งเศสเสียรี้พลไปมากมาย เมื่อถึงวันที่ 6 มีนาคม ทหารฝรั่งเศส 20 1/2 กองพลอยู่ใน RFV และมีการก่อสร้างการตั้งรับทางลึกอย่างกว้างขวาง เปแตงสั่งว่าห้ามถอย (On ne passe pas) และให้ตีโต้ตอบ แม้ว่าทหารราบฝรั่งเศสจะเปิดโล่งต่อการยิงจากปืนใหญ่เยอรมัน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปืนใหญ่ฝรั่งเศศบนฝั่งตะวันตกเริ่มการระดมยิงอย่างต่อเนื่องใส่ที่ตั้งของเยอรมันบนฝั่งตะวันออก ทำให้ทหารราบเยอรมันเสียชีวิตไปเป็นอันมาก ในเดือนมีนาคม การรุกของเยอรมันขยายไปยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เพื่อให้ได้สังเกตพื้นที่ซึ่งปืนใหญ่ฝรั่งเศสยิงข้ามแม่น้ำใส่ที่สูงเมิซ ฝ่ายเยอรมันสามารถรุกได้ทีแรก แต่กำลังหนุนฝรั่งเศสจำกัดการเข้าตีโดยไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ต้นเดือนพฤษภาคม ฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนยุทธวิธีและทำการโจมตีท้องถิ่นและตีโต้ตอบ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสมีโอกาสโจมตีต่อค่ายดูโอมง ค่ายบางส่วนถูกยึดจนการตีโต้ตอบของเยอรมันยึดค่ายคืนและจับเชลยศึกได้เป็นจำนวนมาก ฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนยุทธวิธีอีกครั้ง โดยสลับการเข้าตีบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมิซและในเดือนมิถุนายนยึดค่ายโว (Fort Vaux) ได้ ฝ่ายเยอรมันบุกต่อเลยโวมุ่งสู่วัตถุประสงค์ภูมิศาสตร์สุดท้ายของแผนเดิม คือ ที่เฟลอรี-เดอว็อง-ดูโอมง (Fleury-devant-Douaumont) และค่ายโซวีย์ (Fort Souville) ฝ่ายเยอรมันขับการยื่นเด่นเข้าสู่การป้องกันของฝรั่งเศส ยึดเฟลอรีและเข้าใกล้ระยะ 4 กิโลเมตรจากป้อมแวร์เดิง ในเดือนกรกฎาคม 1916 การบุกของเยอรมันลดลงเหลือการจัดส่งกำลังหนุนปืนใหญ่และทหารราบแก่แนวรบซอมและระหว่างปฏอบะติการท้องถิ่น หมู่บ้านเฟลอรีเปลี่ยนมือ 16 ครั้งตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายนถึง 17 สิงหาคม ความพยายามยึดค่ายโซวีย์ในต้นเดือนกรกฎาคมถูกปืนใหญ่และการยิงอาวุธเบาไล่กลับไป เพื่อจัดส่งกำลังหนุนแก่แนวรบซอม การบุกของเยอรมันยิ่งลดลงอีกและมีความพยายามตบตาฝรั่งเศสให้คาดหมายการโจมตีเพิ่มอีกเพื่อให้กำลังหนุนของฝรั่งเศสอยู่ห่างจากซอม ในเดือนสิงหาคมและธันวาคม การตีโต้ตอบของฝรั่งเศสยึดแผ่นดินที่เสียไปบนฝั่งตะวันออกคืนได้มากและยึดค่ายดูโอมงและโวได้ ยุทธการที่แวร์เดิงกินเวลา 303 วันและเป็นยุทธการที่ยืดเยื้อที่สุดและมียอดผู้เสียชีวิตสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การประเมินในปี 2000 พบว่ามีกำลังพลสูญเสียรวม 714,231 นาย เป็นฝรั่งเศส 377,231 นายและเยอรมัน 337,000 นาย เฉลี่ย 70,000 นายต่อเดือน การประเมินล่ากว่าเพิ่มจำนวนกำลังพลสูญเสียเป็น 976,000 นายระหว่างยุทธการ และมีกำลังพลสูญเสีย 1,250,000 นายที่แวร์เดิงระหว่างสงคราม.

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและยุทธการที่แวร์เดิง · ยุทธการที่แวร์เดิงและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและจักรวรรดิเยอรมัน · จักรวรรดิเยอรมันและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มี 160 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 1.67% = 3 / (20 + 160)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: