โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดลองของมิลแกรม

ดัชนี การทดลองของมิลแกรม

ผู้ทดลอง (E) สั่งผู้สอน (T) อันเป็นผู้รับการทดลองของการทดลองนี้ ให้ผู้สอนเชื่อว่าตนปล่อยช็อกไฟฟ้าเจ็บแก่ผู้เรียน (L) ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นนักแสดงและเพื่อนร่วมงานของผู้ทดลอง ผู้รับการทดลองเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิดแต่ละครั้ง ผู้เรียนได้รับช็อกไฟฟ้าจริง แม้อันที่จริงไม่มีการลงโทษนั้น เพื่อนร่วมงานซึ่งถูกแยกจากผู้รับการทดลองติดตั้งเครื่องบันทึกเทปซึ่งต่อกับแหล่งกำเนิดช็อกไฟฟ้า ซึ่งเล่นเสียงที่บันทึกล่วงหน้าสำหรับแต่ละระดับช็อก การทดลองของมิลแกรมว่าด้วยการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ เป็นชุดของการทดลองจิตวิทยาสังคมซึ่งศาสตราจารย์ สแตนลีย์ มิลแกรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล เป็นผู้จัดทำ การทดลองดังกล่าววัดความสมัครใจของผู้เข้าร่วมการศึกษาซึ่งเป็นชายต่างอาชีพต่างระดับการศึกษา ว่าจะเชื่อฟังผู้มีอำนาจเพียงใดเมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้เขาทำสิ่งที่ขัดกับมโนธรรมส่วนตัว ผลการทดลองที่คาดไม่ถึงนี้มีว่า บุคคลส่วนมากพร้อมเชื่อฟังแม้ไม่เต็มใจ แม้จะประจักษ์ว่าก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความทรมานร้ายแรง มิลแกรมอธิบายงานวิจัยนี้ครั้งแรกในบทความตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาอปกติและจิตวิทยาสังคม (Journal of Abnormal and Social Psychology) ตีพิมพ์เมื่อ..

10 ความสัมพันธ์: การเชื่อฟังมหาวิทยาลัยเยลมโนธรรมระบอบนาซีสแตนลีย์ มิลแกรมอดอล์ฟ ไอชมันน์ฮอโลคอสต์จิตวิทยาสังคมโรคระบบหัวใจหลอดเลือดเยรูซาเลม

การเชื่อฟัง

การเชื่อฟัง (obedience) เป็น "รูปแบบของอิทธิพลทางสังคมซึ่งบุคคลยินยอมตามการสอนหรือคำสั่งจากผู้มีอำนาจอย่างชัดเจน" การเชื่อฟังต่างจากการยอมตาม (compliance) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากผู้เท่าเทียมกัน (peer) และจากความลงรอยกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตั้งใจให้เหมือนกับพฤติกรรมของส่วนใหญ่ มนุษย์ได้แสดงให้เห็นว่า เชื่อฟังอย่างน่าประหลาดใจในการกระทำต่อหน้าผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่รับรู้ได้ ดังที่แสดงโดยการทดลองของมิลแกรมในคริสต์ทศวรรษ 1960 การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การเชื่อฟังต่อผู้มีอำนาจเป็นบรรทัดฐาน มิใช่ข้อยกเว้น สแตนลีย์ มิลแกรม ผู้ทำการทดลอง กล่าวว่า "การเชื่อฟังนั้นเป็นส่วนประกอบพื้นฐานในโครงสร้างของชีวิตสังคมพอ ๆ กับที่คนหนึ่งสามารถบอกได้ ระบบอำนาจหน้าที่บางระบบเป็นสิ่งต้องการของการดำรงชีวิตในสังคม และมีเพียงคนที่อาศัยอยู่เดี่ยว ๆ เท่านั้นที่ไม่ถูกบังคับให้สนองต่อคำสั่งของผู้อื่น ผ่านการท้าทายหรือความอ่อนน้อม"Milgram, Stanley.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและการเชื่อฟัง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเยล

ห้องสมุดรัฐศาสมหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งใน ค.ศ. 1701 มหาวิทยาลัยเยลเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเยลอยู่ในกลุ่มไอวี่ลีก ในปี พ.ศ. 2549 มีนักเรียน 16,700 คน อาจารย์ 2,300 คน.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและมหาวิทยาลัยเยล · ดูเพิ่มเติม »

มโนธรรม

มโนธรรม (conscience) คือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เปรียบดั่งเสียงภายในซึ่งบอกว่าสิ่งใดควรกระทำ และสิ่งใดควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะทางด้านศีลธรรม เป็นความรู้สึกที่ช่วยแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นสิ่งดีงามและถูกต้อง และสิ่งใดเป็นสิ่งชั่วและผิด มโนธรรมทางด้านจิตวิทยา มักจะถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์รู้สึกผิด เมื่อไม่ได้กระทำสิ่งที่สอดคล้องกับศีลธรรมที่กำหนดโดยสังคม และทำให้มีความรู้สึกว่าตนเป็นคนที่ซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม เมื่อได้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม ทางด้านศาสนา โดยเฉพาะบรรดาศาสนาอับราฮัม (เช่น ศาสนาคริสต์) มักเชื่อว่ามโนธรรมเป็นกฎของพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าได้วางไว้ในใจมนุษย์ทุกคน นอกจากนี้ มักเชื่อว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถหล่อหลอมได้ด้วยการศึกษาคำสอนของพระเจ้.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและมโนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

สแตนลีย์ มิลแกรม

แตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1933 – 20 ธันวาคม ค.ศ. 1984) เป็นนักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังที่ถูกจัดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ขณะที่เขาเป็นศาสตราจารย์ ณ มหาวิทยาลัยเยลBlass, T. (2004).

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและสแตนลีย์ มิลแกรม · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ไอชมันน์

ออทโท อดอล์ฟ ไอชมันน์ (Otto Adolf Eichmann, 19 มีนาคม ค.ศ. 1906 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962) เป็นสมาชิกพรรคนาซี และ โอเบอร์ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์ (พันโท) ของหน่วยเอ็สเอ็ส และหนึ่งในผู้จัดการการล้างชาติโดยนาซีคนสำคัญ เพราะความสามารถพิเศษในการจัดการเป็นระบบและความน่าเชื่อถือทางอุดมการณ์ ไอชมันน์จึงได้รับมอบหมายจากไรน์ฮาร์ด ฮายดริชให้ปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกและจัดการพลาธิการการเนรเทศชาวยิวขนานใหญ่ไปยังเก็ตโตและค่ายมรณะในยุโรปตะวันออกภายใต้การยึดครองของเยอรมนี หลังสงครามยุติ เขาบินไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้บัตรอนุญาต (laissez-passer) ออกโดย กาชาดสากล ที่ได้มาโดยตลบแตลง เขาอาศัยอยู่ในอาร์เจนตินาภายใต้รูปพรรณปลอม ทำงานให้กับเมอร์ซิเดสเบนซ์ถึง..

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและอดอล์ฟ ไอชมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาสังคม

ตวิทยาสังคม คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาคำอธิบายว่าความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ ของคน ได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากการแสดงออก, จากการจินตนาการหรือการแสดงนัยของผู้อื่นอย่างไร นิยามของคำว่า ความคิด, ความรู้สึก, พฤติกรรม ใช้ในความหมายที่รวมถึงตัวแปรทางจิตวิทยาที่สามารถวัดปริมาณได้ การที่เราสามารถถูกจินตนาการหรือเป็นนัยที่ผู้อื่นแสดงออกมา แสดงให้เห็นว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลทางสังคม (หรืออาจเรียกว่าเป็นแรงกดดันทางสังคม) ซึ่งแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ตัวคนเดียวก็ได้รับอิทธิพลเช่นกัน เช่นในเวลาที่เราดูโทรทัศน์, การใช้หรือโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เกมส์, อินเทอร์เน็ต) หรือการทำตามบรรทัดฐานหรือธรรมเนียมของสังคม การร่วมมือ คือเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานร่วมกัน หรือช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการร่วมมือ มีหลายปัจจัยด้วยกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของทีมงานนั้นๆแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยคือ 1.เต็มใจที่จะทำงานนั้น ผู้ที่มีความเต็มใจทำงาน ถ้างานที่เราทำนั้นเราเต็มใจที่จะทำงานๆนั้นก็จะออกมา เต็มประสิทธิภาพของตัวเราแต่ในทางกลับกันถ้าเราถูกบังคับ ให้ทำงานนั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของเราก็จะลดลง 2.ความชำนาญ ทักษะที่จะทำงานนั้นออกมาให้มีคุณภาพถ้าขาดข้อนี้ไปต่อให้มีความเต็มใจในการทำงานก็ไม่สามารถทำงานนั้นออกมาได้คุณภาพ การร่วมมือกับประสิทธิภาพในการทำงาน การร่วมมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการแข่งขันเนื่องด้วยสาเหตุของสิ่งตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจถ้าสิ่งตอบแทนนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่คนที่ได้รับคนอื่นที่คิดว่าตนไม่ได้รับสิ่งตอบแทนนั้นแน่นอนก็จะเกิดไม่อยากทำงานนั้นๆส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานในภาครวมลดลงแต่ถ้าเกิดคนทุกคนได้รับสิ่งตอบแทนจากการทำงานนั้นแน่นอนงานก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและจิตวิทยาสังคม · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: การทดลองของมิลแกรมและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Milgram Experiment

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »