เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มิตรภาพ

ดัชนี มิตรภาพ

มิตรภาพเป็นความสัมพันธ์ความชอบซึ่งกันระหว่างหลายคน มิตรภาพเป็นพันธะระหว่างบุคคลรูปแบบที่แข็งแรงกว่าการรวมกลุ่ม (association) มีการศึกษามิตรภาพในสาขาวิชาการต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร สังคมวิทยา จิตวิทยาสังคม มานุษยวิทยาและปรัชญา มีการเสนอทฤษฎีวิชาการเรื่องมิตรภาพมากมาย รวมทั้งทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม ทฤษฎีความเที่ยงธรรม ปฏิพัฒนาการเชิงสัมพันธ์และสไตล์การยึดติด แม้มีมิตรภาพอยู่หลายรูปแบบซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละที่ แต่ลักษณะแน่นอนบางอย่างปรากฏในพันธะดังกล่าวหลายชนิด อย่างเช่น ความชอบ ความเมตตา ความรัก คุณธรรม ความเห็นอกเห็นใจ ความซื่อสัตย์ ปรัตถนิยม ความภักดี ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจซึ่งกัน ความชอบให้อีกคนอยู่ด้วย ความเชื่อใจ และความสามารถเป็นตัวของตัวเอง การแสดงความรู้สึกของคนหนึ่งต่อผู้อื่น และทำพลาดได้โดยไม่ต้องกลัวมิตรพิพากษา หมวดหมู่:คุณธรรม หมวดหมู่:ปรัชญาของความรัก หมวดหมู่:กระบวนการกลุ่ม.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: มานุษยวิทยาสังคมวิทยาจิตวิทยาสังคม

  2. กระบวนการกลุ่ม
  3. กิจกรรมของมนุษย์
  4. มโนทัศน์ทางจริยธรรม

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ดู มิตรภาพและมานุษยวิทยา

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ดู มิตรภาพและสังคมวิทยา

จิตวิทยาสังคม

ตวิทยาสังคม คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาคำอธิบายว่าความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ ของคน ได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากการแสดงออก, จากการจินตนาการหรือการแสดงนัยของผู้อื่นอย่างไร นิยามของคำว่า ความคิด, ความรู้สึก, พฤติกรรม ใช้ในความหมายที่รวมถึงตัวแปรทางจิตวิทยาที่สามารถวัดปริมาณได้ การที่เราสามารถถูกจินตนาการหรือเป็นนัยที่ผู้อื่นแสดงออกมา แสดงให้เห็นว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลทางสังคม (หรืออาจเรียกว่าเป็นแรงกดดันทางสังคม) ซึ่งแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ตัวคนเดียวก็ได้รับอิทธิพลเช่นกัน เช่นในเวลาที่เราดูโทรทัศน์, การใช้หรือโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เกมส์, อินเทอร์เน็ต) หรือการทำตามบรรทัดฐานหรือธรรมเนียมของสังคม การร่วมมือ คือเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานร่วมกัน หรือช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการร่วมมือ มีหลายปัจจัยด้วยกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของทีมงานนั้นๆแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยคือ 1.เต็มใจที่จะทำงานนั้น ผู้ที่มีความเต็มใจทำงาน ถ้างานที่เราทำนั้นเราเต็มใจที่จะทำงานๆนั้นก็จะออกมา เต็มประสิทธิภาพของตัวเราแต่ในทางกลับกันถ้าเราถูกบังคับ ให้ทำงานนั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของเราก็จะลดลง 2.ความชำนาญ ทักษะที่จะทำงานนั้นออกมาให้มีคุณภาพถ้าขาดข้อนี้ไปต่อให้มีความเต็มใจในการทำงานก็ไม่สามารถทำงานนั้นออกมาได้คุณภาพ การร่วมมือกับประสิทธิภาพในการทำงาน การร่วมมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการแข่งขันเนื่องด้วยสาเหตุของสิ่งตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจถ้าสิ่งตอบแทนนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่คนที่ได้รับคนอื่นที่คิดว่าตนไม่ได้รับสิ่งตอบแทนนั้นแน่นอนก็จะเกิดไม่อยากทำงานนั้นๆส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานในภาครวมลดลงแต่ถ้าเกิดคนทุกคนได้รับสิ่งตอบแทนจากการทำงานนั้นแน่นอนงานก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ.

ดู มิตรภาพและจิตวิทยาสังคม

ดูเพิ่มเติม

กระบวนการกลุ่ม

กิจกรรมของมนุษย์

มโนทัศน์ทางจริยธรรม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ มิตรเพื่อน