โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มในและกลุ่มนอก

ดัชนี กลุ่มในและกลุ่มนอก

ในสาขาสังคมศาสตร์และจิตวิทยาสังคม กลุ่มใน (ingroup) เป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลนับว่าตนเป็นสมาชิก โดยเปรียบเทียบกัน กลุ่มนอก (outgroup) ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลไม่นับว่าตนเป็นสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ที่จำแนกโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศ อายุ หรือศาสนา และมีการพบว่า ความรู้สึกทางจิตใจว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม มีบทบาทในปรากฏการณ์ทางสังคมต่าง ๆ มากมาย คำภาษาอังกฤษว่า ingroup และ outgroup เกิดความนิยมเพราะงานของเฮ็นรี่ ทัชเฟ็ล และเพื่อนร่วมงาน เมื่อกำลังสร้างทฤษฎีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity theory) และได้ศึกษาความแตกต่างของกลุ่มในกลุ่มนอก โดยวิธีที่เรียกว่า minimal group paradigm พวกเขาพบว่า เราสามารถสร้างกลุ่มในตามความชอบใจของตน ภายในไม่กี่นาที และกลุ่มเช่นนี้อาจจะมีเอกลักษณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความชอบใจในภาพศิลป์บางอย่าง.

11 ความสัมพันธ์: รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลัทธิอำนาจนิยมวัฒนธรรมวัฒนธรรมย่อยศาสนาสังคมศาสตร์อายุจิตวิทยาสังคมคติเห็นแก่ญาติเชื้อชาติเพศ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมย่อย

ในการเข้าใจทางสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมย่อย (subculture) ใช้เรียกลักษณะของกลุ่มสังคม ที่มีการยึดถือ บรรทัดฐาน และการกำหนดคุณค่าของสิ่งรูปธรรม และสิ่งนามธรรม แตกต่างกัน การพูดคุยในวัฒนธรรมย่อยเดียวกัน จะพูดคุยเรื่องเดียวกัน หรือที่เรียกว่า ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมย่อยแบ่งออกมาจาก วัฒนธรรม โดยแต่ละสังคมจะแตกต่างกันอยู่กับ อายุ ชนชาติ ศาสนา เพศ ความรู้ พื้นฐานทางสังคม และมุมมองต่างๆ อย่างไรก็ตามคำว่า วัฒนธรรมย่อยมีการกำหนดแตกต่างกันไปตามนักทฤษฎีต่างๆ ลักษณะหลักที่เห็นได้ชัดของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย จะเห็นได้ว่า ความเชื่อ แนวคิด จะแตกต่างกันตามกลุ่ม อย่างจะเห็นได้ว่า กลุ่มวัยรุ่นมีการแต่งตัว รสนิยมการเลือกฟังเพลง แตกต่างจากกลุ่มผู้ใหญ่ เนื่องจากความเชื่อและการยึดถือแตกต่างกัน เปรียบเทียบ ในมุมมองของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง การยิ้มให้เพศตรงข้ามที่ไม่สนิท ในวัฒนธรรมเอเชีย ถือว่าเป็นการไม่สุภาพ ในขณะที่การไม่ยิ้มให้เพศตรงข้ามถือว่าเป็นเป็นการไม่สุภาพในบางวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและวัฒนธรรมย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อายุ

อายุมัธยฐานในประเทศต่าง ๆ อายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา โดยมากจะนับเป็นจำนวนเต็มปี หรือเป็นเดือนสำหรับเด็กเล็ก หมวดหมู่:พฤฒาวิทยา หมวดหมู่:ประชากร.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและอายุ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาสังคม

ตวิทยาสังคม คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาคำอธิบายว่าความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ ของคน ได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากการแสดงออก, จากการจินตนาการหรือการแสดงนัยของผู้อื่นอย่างไร นิยามของคำว่า ความคิด, ความรู้สึก, พฤติกรรม ใช้ในความหมายที่รวมถึงตัวแปรทางจิตวิทยาที่สามารถวัดปริมาณได้ การที่เราสามารถถูกจินตนาการหรือเป็นนัยที่ผู้อื่นแสดงออกมา แสดงให้เห็นว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลทางสังคม (หรืออาจเรียกว่าเป็นแรงกดดันทางสังคม) ซึ่งแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ตัวคนเดียวก็ได้รับอิทธิพลเช่นกัน เช่นในเวลาที่เราดูโทรทัศน์, การใช้หรือโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เกมส์, อินเทอร์เน็ต) หรือการทำตามบรรทัดฐานหรือธรรมเนียมของสังคม การร่วมมือ คือเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานร่วมกัน หรือช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการร่วมมือ มีหลายปัจจัยด้วยกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของทีมงานนั้นๆแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยคือ 1.เต็มใจที่จะทำงานนั้น ผู้ที่มีความเต็มใจทำงาน ถ้างานที่เราทำนั้นเราเต็มใจที่จะทำงานๆนั้นก็จะออกมา เต็มประสิทธิภาพของตัวเราแต่ในทางกลับกันถ้าเราถูกบังคับ ให้ทำงานนั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของเราก็จะลดลง 2.ความชำนาญ ทักษะที่จะทำงานนั้นออกมาให้มีคุณภาพถ้าขาดข้อนี้ไปต่อให้มีความเต็มใจในการทำงานก็ไม่สามารถทำงานนั้นออกมาได้คุณภาพ การร่วมมือกับประสิทธิภาพในการทำงาน การร่วมมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการแข่งขันเนื่องด้วยสาเหตุของสิ่งตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจถ้าสิ่งตอบแทนนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่คนที่ได้รับคนอื่นที่คิดว่าตนไม่ได้รับสิ่งตอบแทนนั้นแน่นอนก็จะเกิดไม่อยากทำงานนั้นๆส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานในภาครวมลดลงแต่ถ้าเกิดคนทุกคนได้รับสิ่งตอบแทนจากการทำงานนั้นแน่นอนงานก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและจิตวิทยาสังคม · ดูเพิ่มเติม »

คติเห็นแก่ญาติ

ติเห็นแก่ญาติ (nepotism) คือ การแสดงความลำเอียงโดยความเป็นญาติพี่น้องแทนที่จะวัดจากความสามารถหรือความเหมาะสม เช่น ว่าจ้างหรือมอบตำแหน่งให้แก่ญาติพี่น้อง แทนที่จะมอบให้แก่ผู้ที่มีความสามารถมากกว่า ในภาษาอังกฤษคำว่า "nepotism" มาคำจากภาษาละตินว่า "nepos" แปลว่า หลานหรือเหลน และคติเห็นแก่ญาติมักใช้ในความหมายทางการเมืองและในหน้าที่การงาน ตัวอย่างเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่แสดงการใช้อำนาจในทาง "คติเห็นแก่ญาติ" คือ กรณีที่สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 ตั้งสคิปิโอเน บอร์เกเซ หลานของพระองค์เอง เป็นคาร์ดินัลและเลขาธิการเมื่อปี..

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและคติเห็นแก่ญาติ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อชาติ

ื้อชาติ (race) คือ ระบบการจำแนกมนุษย์เป็นประชากรหรือกลุ่มขนาดใหญ่และแตกต่างกันชัดเจน โดยลักษณะจีโนไทป์และฟีโนไทป์ที่สืบทอดได้ บรรพบุรุษทางภูมิศาสตร์ รูปลักษณ์ทางกาย ความเป็นชาติพันธุ์ (ethnicity) และสถานภาพสังคม ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำนี้มักใช้กันแพร่หลาย ในความหมายทางอนุกรมวิธาน เพื่อแสดงการแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรมนุษย์ที่นิยามโดยฟีโนไทป์ดู.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและเชื้อชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เพศ

การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ เพศ (sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: กลุ่มในและกลุ่มนอกและเพศ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

In-groupsIngroupIngroupsIngroups and outgroupsOut-groupsOutgroupOutgroup derogationOutgroupsกลุ่มภายในและกลุ่มภายนอกกลุ่มนอกกลุ่มในการดูถูกกลุ่มนอก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »