โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การขาดแอนโดรเจน

ดัชนี การขาดแอนโดรเจน

การขาดแอนโดรเจน หรือ ภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่อง (Androgen deficiency, hypoandrogenism, androgen deficiency syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่กำหนดโดยมีการทำงานเนื่องกับฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายไม่เพียงพอ.

27 ความสัมพันธ์: ช่องคลอดพันธุศาสตร์พิษกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจนกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการติดเชื้อการนอนไม่หลับภาวะภูมิต้านตนเองภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศยาศัลยศาสตร์สเตอรอยด์องค์การอาหารและยาฮอร์โมนความล้าความซึมเศร้า (อารมณ์)ตะคริวต่อมบ่งเพศต่อมลูกหมากต่อมใต้สมองปวดศีรษะใจสั่นโรคหลอดเลือดสมองไฮโปทาลามัสเอนไซม์เทสโทสเตอโรนเนื้องอก

ช่องคลอด

องคลอด (Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและช่องคลอด · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิษ

พิษ ในบริบทชีววิทยา คือ สสารใด ๆ ที่ก่อการรบกวนแก่สิ่งมีชีวิต มักโดยปฏิกิริยาเคมีหรือกิจกรรมอย่างอื่นในระดับโมเลกุล เมื่อซึมซาบเข้าสู่สิ่งมีชีวิตนั้นในปริมาณที่เพียงพอ สาขาแพทยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตวแพทยศาสตร์) และสัตววิทยา มักแยกพิษออกจากชีวพิษ (toxin) และจากพิษสัตว์ (venom) ชีวพิษเป็นพิษที่ผลิตโดยหน้าที่ทางชีวภาพบางอย่างในธรรมชาติ และพิษสัตว์มักนิยามเป็น ชีวพิษที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยการกัดหรือต่อยเพื่อก่อผลของมัน ขณะที่พิษอื่นโดยทั่วไปนิยามเป็นสสารที่ดูดซึมผ่านเยื่อบุผิว อาทิ ผิวหนังหรือลำไส้ หมวดหมู่:เครื่องประหารชีวิต.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและพิษ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน

กลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (androgen insensitivity syndrome; AIS, androgen resistance syndrome) เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางการเจริญทางเพศอย่างหนึ่งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างแอนโดรเจน รีเซพเตอร์ (androgen recepter) ผลของความผิดปกติเหล่านี้มีหลายอย่างขึ้นกับโครงสร้างและความไว (sensitivity) ของรีเซพเตอร์ที่ผิดปกติ ผู้ป่วยกลุ่มอาการนี้มีโครโมโซมเป็น XY ส่วนใหญ่จะมีความบกพร่องในการแสดงออกของลักษณะเพศชาย (undervirilization) และภาวะเป็นหมันแตกต่างกันไปในหลายระดับ ผู้ป่วยบางรายมีอาการต่อต้านแอนโดรเจนโดยสมบูรณ์ (compelte androgen insensitivity syndrome; CAIS) ทำให้มีลักษณะภายนอกเป็นเพศหญิงโดยสมบูรณ์แม้จะมีโครโมโซมเป็น 46XY และยังมีอัณฑะไม่ลงถุง ภาวะเช่นนี้เรียกว่า "testicular feminization" ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นคำที่ไม่ให้เกียรติและไม่ตรงความหม.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะภูมิต้านตนเอง

วะภูมิต้านตนเอง (autoimmunity) เกิดจากความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายไม่สามารถรับรู้ได้ว่าส่วนหนึ่งๆ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อเซลล์และเนื้อเยื่อของตัวเอง โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันเช่นนี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและภาวะภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

วะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Impotence) เนื่องจาก ปัญหาการแข็งตัวขององคชาต (Erectile dysfunction (ED)) เป็นอาการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้แต่ไม่เพียงพอที่จะร่วมกิจกรรมทางเพศกับคู่สัมพันธ์ได้อย่างพึงพอใจ การแข็งตัวขององคชาตเป็นผลมาจากการสูบฉีดของเลือดเข้าไปเก็บไว้ในเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำภายในอวัยวะเพศ กระบวนการนี​​้ส่วนใหญ่มักจะถูกกระตุ้นที่เป็นผลมาจากการเร้าอารมณ์ทางเพศเมื่อสัญญาณถูกส่งจากสมองไปยังเส้นประสาทในอวัยวะเพศชาย สาเหตุความผิดปรกติทางอินทรีย์ที่สำคัญที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน อีกทั้งปัญหาทางระบบประสาท (เช่นการบาดเจ็บจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก) การขาดฮอร์โมน (hypogonadism) แล​​ะผลข้างเคียงของยา ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางด้านจิตใจ (Psychological impotence) เกิดขึ้นเมื่อการแข็งตัวหรือการสอดใส่มีการล้มเหลวเนื่องจากความคิดหรือความรู้สึก (ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยา) มากกว่าเป็นเพราะภาวะหย่อนสมรรถภาพทางกาย สาเหตุนี้เกิดขึ้นค่อนข้างน้อยแต่บ่อยครั้งที่สามารถรักษาได้ ที่น่าสนใจในภาวะหย่อนสมรรถภาพทางด้านจิตใจ การรักษาด้วยยาหลอก (placebo effect) ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างดี ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจมีผลกระทบทางด้านจิตใจอย่างรุนแรงเนื่องจากมันสามารถเชื่อมโยงกับความยุ่งยากในชีวิตคู่และภาพลักษณ์ของผู้ชายโดยทั่วไป นอกเหนือจากการรักษา สาเหตุเช่นการขาดโพแทสเซียมหรือการปนเปื้อนสารหนูในน้ำดื่ม การรักษาขั้นแรกของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศประกอบด้วยการทดสอบด้วยยายับยั้ง PDE5 (PDE5 inhibitor) (ตัวยาแรกเป็น sildenafil หรือไวอากร้า) ในหลายกรณีการรักษาสามารถเกี่ยวข้องกับแท็บเล็ตของ prostaglandin ในท่อปัสสาวะ การฉีดเข้าไปในอวัยวะเพศชาย การฝังอุปกรณ์ในอวัยวะเพศชาย การใช้ปั๊มอวัยวะเพศหรือการผ่าตัดเสริมสร้างหลอดเลือด การศึกษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศทางการแพทย์ครอบคลุมบุรุษวิทยา (andrology) ซึ่งเป็นสาขาย่อยภายในระบบทางเดินปัสสาวะ การวิจัยพบว่าภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นเรื่องธรรมดาและบอกว่าประมาณ 40% ของผู้ชายต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นครั้งคราว.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและยา · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและยา

องค์การอาหารและยา หรือ อ. อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและองค์การอาหารและยา · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและความซึมเศร้า (อารมณ์) · ดูเพิ่มเติม »

ตะคริว

ตะคริว (Cramp) คือภาวะที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่คลายตัวออกตามปกติ มักเกิดขึ้นตามกล้ามเนื้อแขนและขา ปกติจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที แต่บางรายอาจรุนแรงและนาน บางรายเป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน แม้จะไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรง แต่หากเกิดขึ้นระหว่างขับรถหรือว่ายน้ำ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายถึงชีวิตได้ โดยทั่วไป ตะคริวมักเกิดกับนักกีฬาที่ออกกำลังหนักหรือมากเกินไป ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้สูบบุหรี่จัด สาเหตุทั่วไปของตะคริวที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อโครงร่าง หรือกล้ามเนื้อลาย มักเกิดจากการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ระดับโซเดียมและโปรแตสเซียมในร่างกายต่ำ หรือจากการที่ร่างกายพบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ต่างกันมากอย่างรวดเร็ว ร่างกายขาดน้ำหรือเสียเหงื่อมาก ระดับเกลือในร่างกายต่ำ ส่วนตะคริวที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อเรียบ อาจเกิดกับสตรีเวลาที่มีประจำเดือน หรือเกิดจากอาการกระเพาะหรือลำไส้อัก.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและตะคริว · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมบ่งเพศ

ต่อมบ่งเพศ (gonad) เป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในเพศชายคืออัณฑะ ส่วนในเพศหญิงคือรังไข่ เซลล์สืบพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ คือมีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งจากเซลล์ร่างกายอื่นๆ ตัวอย่างเช่นสเปิร์มและโอวุม.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและต่อมบ่งเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมาก (prostate) เป็นอวัยวะในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ที่อยู่ตรงด้านหลังของคอ กระเพาะปัสสาวะ ในอุ้งเชิงกรานหลังกระดูกหัวหน่าว ลักษณะต่อมมี 5 กลีบ หนักประมาณ 20 กรัม ทำหน้าที่สร้างของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ที่เป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ มีกลิ่นเฉพาะตัว สารที่หลั่งออกมาเป็นเบสอ่อนๆ ช่วยให้เกิดสภาพเหมาะสมกับตัวอสุจิ ลดสภาพความเป็นเบสของท่อปัสสาวะและช่วยให้อสุจิแข็งแรงและว่องไวขึ้น ในผู้สูงอายุมักพบโรคต่อมลูกหมากโต.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) จากไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 20 1.5 เซนติเมตร nani หน่านิ yaraniga ยาราไนก้.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและต่อมใต้สมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและใจสั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโปทาลามัส

ปทาลามัส มาจากภาษากรีซ ὑποθαλαμος แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลักที่อยู่ด้านล่างของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ในมนุษย์มีขนาดประมาณเมล็ดอัลมอนด์ ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมบางอย่าง และหน้าที่อื่นๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนประสาท (neurohormones) ซึ่งมักเรียกว่า hypothalamic-releasing hormones ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ความหิว, ความกระหายน้ำ, ความเหนื่อยล้า, ความโกรธ และจังหวะรอบวัน (Circadian rhythm) ไฮโปทาลามัสเป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ การหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ความสมดุลของน้ำในร่างกายและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและไฮโปทาลามัส · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: การขาดแอนโดรเจนและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Androgen deficiencyAndrogen deficiency syndromeHypoandrogenismHypogonadotropic hypoandrogenismHypogonadotropic hypogonadismการพร่องแอนโดรเจ่นภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่องอาการพร่องแอนโดรเจ่นอาการขาดแอนโดรเจนอาการแอนโดรเจนทำงานพร่อง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »