โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ใจสั่น

ดัชนี ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

11 ความสัมพันธ์: มะเร็งปอดหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจเต้นเร็วอาการอาการหายใจลำบากผู้ป่วยโรคโรควิตกกังวลโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคหืดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ใหม่!!: ใจสั่นและมะเร็งปอด · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ใหม่!!: ใจสั่นและหัวใจเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ใจสั่นและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากหรืออาการหอบ (dyspnea, shortness of breath) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นิยามโดยสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวถึงอาการหายใจลำบากไว้ว่าหมายถึง "ประสบการณ์โดยอัตวิสัยที่คนผู้หนึ่งหายใจไม่สะดวก เป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ" และแนะนำให้ผู้ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกที่ว่านี้ ระดับของความลำบากที่ปรากฎ และผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้สึกหายใจลำบากนี้มีหลายแบบ (เชิงคุณภาพ) เช่น รู้สึกว่าต้องใช้แรงมากในการหายใจ รู้สึกแน่นอยู่ในอก หรือรู้สึกหิวอากาศ หายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อาการหายใจลำบากเป็นอาการปกติของการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่หากเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกแรงเพียงเล็กน้อย จะถือเป็นความผิดปกติ โรคที่เป็นสาเหตุมีอยู่หลายอย่าง เช่น โรคหืด ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคเนื้อปอด หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคทางจิตใจ เช่น โรคแพนิก โรควิตกกังวล เป็นต้น การรักษาอาการหายใจลำบากมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหต.

ใหม่!!: ใจสั่นและอาการหายใจลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ป่วย

แพทย์กำลังวัดความดันเลือดให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วย, ผู้รับการรักษา, คนไข้ หมายถึงผู้ที่เข้ารับบริการสุขภาพรูปแบบใด ๆ จากแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ สัตวแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางครั้งอาจไม่ต้องก็ได้ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:การพยาบาล หมวดหมู่:มนุษย์.

ใหม่!!: ใจสั่นและผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ใจสั่นและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: ใจสั่นและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: ใจสั่นและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหืด

รคหืด (asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้ อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate) โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic) โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1 การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้ การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ใจสั่นและโรคหืด · ดูเพิ่มเติม »

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD, chronic obstructive lung disease, COLD, chronic obstructive airway disease, COAD) เป็นโรคปอดอุดกั้นที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศของระบบทางเดินหายใจ --> และมักจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป --> อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อย ไอ และ มีเสมหะ ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนใหญ่จะมี COPD ด้วย สาเหตุพบบ่อยที่สุดของ COPD คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม เป็นต้น สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อากาศเสียจากการทำอาหารหรือควันไฟ การสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นในเนื้อปอด ทำให้หลอดลมฝอยตีบลงและการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด เรียกว่า ถุงลมโป่งพอง อังกฤษ:emphysema การวินิจฉัยนั้นใช้พื้นฐานของความสามารถในการไหลผ่านของอากาศด้วยการตรวจวัดโดย การทดสอบการทำงานของปอด โดยมีความแตกต่างจากโรคหอบหืด คือ การลดลงของปริมาณอากาศที่ไหลผ่านด้วยการให้ยานั้นไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ COPD สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของโรคที่ทราบ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการสูบบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอก การรักษา COPD ได้แก่: การเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีน การฟื้นฟูสภาพ และการพ่นสูดยาขยายหลอดลมบ่อยๆ และการใช้ยาสเตียรอยด์ บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวหรือการปลูกถ่ายปอด ในกลุ่มผู้ที่มีการทรุดลงอย่างเฉียบพลันช่วงหนึ่ง การเพิ่มยาที่ใช้รักษาและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็น ในทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วย COPD จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากร ในปี..

ใหม่!!: ใจสั่นและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Palpitation

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »