โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะเทย (ชีววิทยา)

ดัชนี กะเทย (ชีววิทยา)

หอยทาก ''Helix aspersa'' ขณะกำลังผสมพันธุ์กัน ''Hylocereus undatus'' ต้นไม้ที่เป็นกะเทยในดอกเดียวมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย Hermaphroditus บุตรแห่งเทพเจ้ากรีก Hermes และ Aphrodite ต้นกำเนิดของคำ "hermaphrodite" กะเทย (hermaphrodite) ในทางชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในตัวเดียวกัน หรือมีอวัยวะเพศแบบก่ำกึ่งบอกไม่ได้แน่ว่าเป็นผู้หญิงหรือชาย หรือบางอวัยวะเป็นชาย บางอวัยวะเป็นหญิง กะเทยพบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไปในอัตราที่แตกต่างกัน ในคนพบกะเทยได้เป็นส่วนน้อยแต่ในพืชและสัตว์หลายชนิดเป็นกะเทยทั้งหมดหรือเป็นกะเทยเป็นส่วนใหญ่ ในพืชการการผสมพันธุ์จะเกิดในดอกเดียวกัน ต้นเดียวกัน หรือข้ามต้นก็ได้ สัตว์ที่มีกำเนิดเป็นกะเทย เช่น ไส้เดือน หอยทาก ปลาบางชนิด ไส้เดือนแต่ละตัวมีทั้งอวัยวะเพศตัวผู้และตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ต้องผสมกับอีกตัวหนึ่ง โดยที่แต่ละตัวเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมียพร้อมกัน อย่างไรก็ดีด้วยเหตุผลทางวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตมักมีกลไกป้องกันมิให้เกิดการปฏิสนธิในตนเอง (self-fertilization).

19 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาพันธุศาสตร์กะเทยการสมรสการตั้งครรภ์ภรรยารังไข่วิวัฒนาการหอยทากอวัยวะเพศอัณฑะฮอร์โมนประเทศอิตาลีปลาโครโมโซมไส้เดือนดินเพศชายเพศหญิงเอนไซม์

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กะเทย

กะเทย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลำไยกะเทย" ส่วนความหมายทางแพทยศาสตร์ หมายถึง คนที่มีอวัยวะของทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ส่วนกะเทยที่มีจิตใจตรงข้ามกับเพศของตน ทางการแพทย์เรียกกลุ่มนี้ว่า "ลักเพศ".

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และกะเทย · ดูเพิ่มเติม »

การสมรส

การสมรส เป็นการรวมกันทางสังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่งคู่สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรมสากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำให้เป็นทางการผ่านพิธีแต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มีเพศภาวะตรงข้ามกันในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการสมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสก่อนมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ บุคคลสมรสด้วยหลายเหตุผล มีทั้งทางกฎหมาย สังคม ลิบิโด อารมณ์ การเงิน จิตวิญญาณและศาสนา การสมรสสามารถกระทำในพิธีทางกฎหมายฝ่ายฆราวาส หรือทางฝ่ายศาสนาก็ได้ โดยปกติการสมรสสร้างข้อผูกพันที่เป็นนามธรรมหรือทางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางวัฒนธรรมอนุญาตให้เลิกการสมรสได้ผ่านการหย่าร้างหรือการเพิกถอนการสมรส การสมรสที่มีคู่ครองหลายคนอาจยังเกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายประจำชาติก็ตาม รัฐ องค์การ ฝ่ายศาสนา กลุ่มชนเผ่า ชุมชนท้องถิ่นหรือผู้เท่าเทียมกันสามารถรับรองการสมรสได้ มักถูกมองว่าเป็นสัญญา การสมรสตามกฎหมายเป็นมโนทัศน์ทางกฎหมายที่มองการสมรสว่าเป็นสถาบันของรัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตามกฎหมายการสมรสของเขตอำนาจ การบังคับสมรส (forced marriage) มิชอบด้วยกฎหมายในบางเขตอำน.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และการสมรส · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภรรยา

ภรรยา หมายถึง คู่สมรสฝ่ายหญิง สิทธิและพันธะของภรรยาต่อคู่สมรสของเธอและคนอื่น และสถานะของเธอในชุมชนและตามกฎหมายแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและยุคสมัย ในอดีต บางประเทศ ชายมีภรรยาได้ไม่จำกัดเพราะไม่มีกฎหมายบังคับ ในศาสนาคริสต์ ชายสามารถมีภรรยาได้หนึ่งคน ในศาสนาอิสลาม ชายสามารถมีภรรยาได้มากถึงสี่คน หมวดหมู่:เพศภาวะ หมวดหมู่:ครอบครัว หมวดหมู่:การแต่งงาน หมวดหมู่:เพศ.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และภรรยา · ดูเพิ่มเติม »

รังไข่

รังไข่ มี 2 อัน อยู่คนละข้างของมดลูก มีขนาดประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ หนักประมาณ 2-3 กรัม.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

หอยทาก

หอยทาก หอยทาก (Snail) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบมีหอยทาก มากกว่า 500 ชนิด หมวดหมู่:หอยฝาเดี่ยว หมวดหมู่:มอลลัสกาที่รับประทานได้.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และหอยทาก · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่; testicle, testis) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอ.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และปลา · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไส้เดือนดิน

้เดือนดิน หรือไส้เดือน หรือรากดิน (earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ปัจจุบันพบทั่วโลกประมาณ 4,400 ชนิด โดยแบ่งออกได้ตามลักษณะแหล่งที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และไส้เดือนดิน · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เพศหญิง

ัญลักษณ์เพศหญิง เพศหญิง (♀) หรือเพศเมีย (female) คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ โดยเซลล์ไข่สามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายที่เรียกว่า อสุจิ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่าการผสมพันธุ์ เพศหญิงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงอสุจิของเพศชายอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และเพศหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: กะเทย (ชีววิทยา)และเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hermaphroditeกะเทย (แพทย์ศาสตร์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »