โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อวัยวะเพศ

ดัชนี อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

40 ความสัมพันธ์: ช่องคลอดพืชดอกการร่วมเพศการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการแสดงลามกอนาจารภาวะอยากแปลงเพศภาวะเพศกำกวมภาษาละตินมอสส์มดลูกยูเธอเรียระบบสืบพันธุ์รังไข่ละอองเรณูวัยเริ่มเจริญพันธุ์หนังหุ้มปลายอัณฑะองคชาตถุงอัณฑะขนหัวหน่าวดอกดีเอ็นเอต่อมบาร์โทลินต่อมบ่งเพศต่อมลูกหมากต่อมคาวเปอร์ปุ่มกระสันแคม (อวัยวะเพศ)แคมใหญ่แคมเล็กโยนีโครโมโซมวายเฟิร์นเพศชายเพศหญิงเยื่อพรหมจารีเส้นสองสลึงเทสโทสเตอโรนเซลล์สืบพันธุ์เซลล์ไข่

ช่องคลอด

องคลอด (Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและช่องคลอด · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การแสดงลามกอนาจาร

การแสดงลามกอนาจาร (Indecent exposure) เป็นการแสดงส่วนหนึ่งหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของบุคคล ต่อหน้าชุมนุมชนหรือในที่ที่สาธารณชนสามารถมองเห็นได้ ในสถานการณ์ที่เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผิดไปจากมาตรฐานทางศีลธรรมหรือมาตรฐานอื่น ๆ เช่นความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทัศนคติของสังคมและชุมชนเกี่ยวกับการแสดงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และกฎหมายที่ควบคุมการแสดงลามกอนาจาร แตกต่างกันอย่างสำคัญในประเทศต่าง ๆ ซึ่งห้ามตั้งแต่การแสดงบริเวณอวัยวะเพศ ก้น และหน้าอกหญิง แต่ว่าไม่ใช่ทุกประเทศที่มีกฎหมายเช่นนี้ โดยประเทศไทยถือเป็นความผิดอาญาขั้นลหุโทษปรับไม่เกิน 500 บาท การกระทำเช่นนี้บางครั้งก็เรียกว่า การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล (public indecency) มาตรฐานความสุภาพเรียบร้อยขึ้นอยู่กับชุมชน ซึ่งบางครั้งจะกำหนดในกฎหมาย แต่อาจจะมีมูลฐานทางศาสนา ศีลธรรม หรือแม้แต่เพื่อให้ "เหมาะต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน" การแสดงลามกอนาจารบางครั้งหมายถึง การแสดงอนาจาร (exhibitionism) หรือ การเปลือยกายในที่สาธารณะ (public nudity) แต่ไม่ได้หมายความจะต้องแสดงกิจกรรมทางเพศ แต่ถ้ามีกิจกรรมทางเพศ แม้ว่าจะไม่เปลือยกาย ก็อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็น "การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล" และอาจจะผิดกฎหมายที่ร้ายแรงกว่า ในบางประเทศ การแสดงส่วนของร่างกายที่ผิดไปจากมาตรฐานชุมชนเกี่ยวกับความสุภาพเรียบร้อย (modesty) อาจจะจัดว่าเป็นการกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล มาตรฐานทางกฎหมายและชุมชนว่า เปลื้องผ้าแค่ไหนเป็นการแสดงลามกอนาจารต่างกันมากมาย และยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดการแสดง และมาตรฐานเช่นนี้ก็ยังเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีกด้วย ทำให้นิยามของคำว่าการแสดงลามกอนาจารเป็นเรื่องยุ่งยาก.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและการแสดงลามกอนาจาร · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะอยากแปลงเพศ

ผู้แปลงเพศ ชูตัวหนังสือเอ็กซ์วายที่เขียนบนฝ่ามือ ภาวะอยากแปลงเพศ (Transsexualism) เป็นภาวะที่แสดงตนเองทางเพศด้านกายภาพที่แตกต่างจากเพศแรกเกิดของตน สาเหตุอาจเกิดจากความรู้สึกไม่สะดวกสบายใจและต้องการเปลี่ยนไปเป็นเพศตรงข้าม หรือถ้าการทำงานไม่ปกติหรือความยุ่งยากในการแสดงตัวตนในเพศนั้น ภาวะอยากแปลงเพศถูกตีตราในหลายส่วนของโลกแต่เป็นที่เปิดกว้างมากกว่าในสังคมตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ร่วมไปกับการพัฒนาเรื่องการผ่าตัดแปลงเพศ แต่ก็ยังคงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น ทั้งการเลือกปฏิบัติและทัศนคติแง่ลบต่อบุคคลแปลงเพศ ที่มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและภาวะอยากแปลงเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเพศกำกวม

ตัวอย่างอวัยวะเพศกำกวมแบบหนึ่งของมนุษย์ ภาวะเพศกำกวม (intersexuality) เป็นภาวะของสิ่งที่มีชีวิตในสปีชีส์ gonochoristic ที่โครโมโซมเพศ, อวัยวะเพศ และ/หรือ ลักษณะเฉพาะทางเพศเมื่อเติบโตขึ้น ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหญิงหรือชายอย่างชัดเจน สิ่งมีชีวิตที่มีเพศกำกวมอาจมีลักษณะทางชีวภาพของทั้งเพศหญิงและเพศชาย คนที่อยู่ในภาวะเพศกำกวม อาจเผชิญกับปัญหาการเป็นตราบาปและการแบ่งแยกตั้งแต่เกิดหรือเมื่อค้นพบว่ามีลักษณะภาวะเพศกำกวม มีการบันทึกไว้ในในบางประเทศเช่น แอฟริกาและเอเชียว่าอาจมีการฆ่าทารก การละทิ้งและถูกมองว่าเป็นตราบาปของครอบครัว ทั่วโลก ทารกและเด็กที่มีภาวะเพศกำกวม เช่นผู้ที่มีอวัยวะเพศภายนอกคลุมเครือ มันถูกเปลี่ยนแปลงทางการผ่าตัดหรือฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะทางเพศที่เป็นที่ยอมรับทางสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตามนี่ถือเป็นข้อโต้แย้งโดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลลัพธ์ที่ดี, Australasian Paediatric Endocrine Group (APEG), 27 June 2013 การรักษาดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการทำหมัน ผู้ใหญ่รวมทั้งนักกีฬาหญิงแนวหน้าต่างได้รับการรักษาแบบนี้ด้วยเช่นกัน ประเด็นเหล่านี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ, Office of the UN High Commissioner for Human Rights, February 2013.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและภาวะเพศกำกวม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มอสส์

มอสส์เป็นพืชขนาดเล็ก, พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4-4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็กๆ คล้ายแคปซูล มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชีส์และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา ใน ไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบรโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและมอสส์ · ดูเพิ่มเติม »

มดลูก

มดลูก (Uterus) คือส่วนบริเวณตรงกลาง มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่และ ช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและยูเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system) เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป Body Guide powered by Adam.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและระบบสืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

รังไข่

รังไข่ มี 2 อัน อยู่คนละข้างของมดลูก มีขนาดประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ หนักประมาณ 2-3 กรัม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ละอองเรณู

ละอองเรณู เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอก อยู่ในอับเรณู (anther) เมื่อแก่เต็มที่อับเรณูจะแตกออก ทำให้ละอองเรณูที่อยู่ภายในถูกพาไปผสมพันธุ์กับไข่ได้ ทั้งนี้อาจอาศัยกระแสลม กระแสน้ำ แมลง มนุษย์ และ สัตว์อื่นๆ หากพิจารณาลักษณะของละอองเรณู อาจจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเซลล์เดี่ยว กลุ่มที่มีสองเซลล์ กลุ่มที่มีสี่เซลล์ และกลุ่มที่มีหลายเซลล์ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนเซลล์ยึดเกาะกันในจำนวนเฉพาะและเป็นลักษณะของชนิดพืช ในการบรรยายลักษณะของละอองเ___ลรณูต้องพิจารณาหลายลักษณะ ได้แก่ ขนาด รูปร่าง ขั้ว สมมาตรของเรณูและโครงสร้างของผนังเซลล์ (exine) ช่องเปิดของเรณู (aperture) ได้แก่รูเปิด (pore) หรือร่องเปิด (furrow) หรือเป็นช่องเปิดแบบผสมก็มี และลวดลายของพื้นผิวละอองเรณู (exine sculturing) หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:ดอกไม้ หมวดหมู่:เซลล์สืบพันธุ์ mzn:گرده (نمین).

ใหม่!!: อวัยวะเพศและละอองเรณู · ดูเพิ่มเติม »

วัยเริ่มเจริญพันธุ์

วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงและอัณฑะในเด็กชาย ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์ โดยเฉลี่ย เด็กหญิงเริ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–11 ปี เด็กชายเริ่มที่อายุ 11–12 ปี ปกติเด็กหญิงเสร็จวัยริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15–17 ขณะที่เด็กชายปกติเสร็จเมื่ออายุ 16–17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12–13 ปี สำหรับชายเป็นการหลั่งน้ำกามครั้งแรก ซึ่งเฉลี่ยเกิดเมื่ออายุ 13 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อายุเฉลี่ยซึ่งเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง ถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้แก่ 15 ปีสำหรับเด็กหญิง และ 16 ปีสำหรับเด็กชาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเนื่องจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น หรือการสัมผัสกับตัวรบกวนฮอร์โมน เช่น ซีโนเอสโตรเจน ซึ่งบางครั้งอาจเนื่องจากการบริโภคอาหารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เริ่มเร็วกว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย ส่วนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ซึ่งเริ่มช้ากว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงกายสัณฐานวิทยาในขนาด รูปทรง องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของกายวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่โดดเด่น คือ การพัฒนาลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คือ การเปลี่ยนจากกายเด็ก จากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว จากเด็กชายเป็นชายหนุ่ม คำว่า วัยเริ่มเจริญพันธุ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสู่การเจริญเต็มที่ทางเพศ มิใช่การเจริญเต็มที่ทางจิตสังคมและวัฒนธรรมซึ่งแสดงด้วยคำว่า "พัฒนาการเยาวชน" ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชน คือ ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางจิตใจจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งทับซ้อนกับช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์เสียมาก หมวดหมู่:เยาวชน หมวดหมู่:การเจริญของมนุษย์ หมวดหมู่:เพศสภาพกับอายุ.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและวัยเริ่มเจริญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังหุ้มปลาย

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์เพศชาย หนังหุ้มปลาย คือส่วนทบแบบสองขั้นของกล้ามเนื้อเรียบ หลอดเลือด เซลล์ประสาท ผิวหนัง และ เยื่อเมือก ที่เป็นส่วนหนึ่งของขององคชาต ทำหน้าที่ปกคลุมและปกป้องส่วนหัวองคชาตและรูปัสสาวะ มันยังสามารถอธิบายว่าเป็นหนังหุ้มปลายองคชาตได้อีกด้วย ในทางกว้างขึ้นทางศัพท์เทคนิคนั้นจะหมายรวมไปถึงหมวกปุ่มกระสัน (Clitoral hood) ในผู้หญิงด้วยด้วย ซึ่งหนังหุ้มปลายนั้นเป็นตัวอ่อนที่ต้นกำเนิดเหมือนกัน เป็นบริเวณเขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังที่ปกคลุมไปเส้นประสาทอย่างมากขององคชาต ซึ่งเกิดขึ้นใกล้กับส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย หนังหุ้มปลายนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย ยืดออกได้พอสมควร และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ โดยปกติ หนังหุ้มปลายของผู้ใหญ่จะสามารถดึงรั้งลงมา (retractable) จากส่วนหัวองคชาตได้ ซึ่งครอบคลุมส่วนหัวทั้งในสถานะอ่อนตัวและแข็งตัว ขึ้นอยู่กับความยาวของหนังหุ้มปลาย เมื่อแรกเกิดหนังหุ้มปลายจะยึดอยู่กับส่วนหัวองคชาต และโดยทั่วไปจะยังไม่สามารถดึงรั้งลงได้ในวัยทารก เมื่อโตขึ้นในวัยเด็กสามารถจึงสามารถดึงรั้งลงมาได้ แต่จากผลสำรวจพบว่า 95% ของผู้ชายสามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้อย่างเต็มที่ขณะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว การไม่สามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้ในวัยเด็กนั้นไม่ควรถือว่าเป็นปัญหาเว้นแต่มีอาการอย่างอื่น องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก" หนังหุ้มปลายอาจตกอยู่ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยาจำนวนมาก ส่วนมากเงื่อนไขนั้นเกิดยาก และสามารถรักษาได้ง่าย ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาวะเรื้อรัง การรักษาอาจทำได้วิธีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นการนำหนังหุ้มปลายองคชาตบางส่วนหรือทั้งหมดออกไป.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและหนังหุ้มปลาย · ดูเพิ่มเติม »

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่; testicle, testis) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอ.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

องคชาต

องคชาต (penis) เป็นอวัยวะเพศของเพศชายที่ใช้สืบพันธ์ุ และทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีลักษณะเป็นท่อนยาว อยู่ภายนอกร่างกายของเพศชาย ตรงบริเวณหัวหน่าวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำกาม ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อฟองน้ำ (corpus cavernosum) 1 คู่ และท่อปัสสาวะบางส่วน กล้ามเนื้อลักษณะฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด เมื่อมีอารมณ์ทางเพศทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต เพื่อให้สามารถสอดใส่องคชาตเข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิง ที่ปลายองคชาติเป็นจุดรวมของเส้นประสาท ซึ่งไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับคลิตอริสของเพศหญิง.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและองคชาต · ดูเพิ่มเติม »

ถุงอัณฑะ

ถุงอัณฑะ (scrotum) คือเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายที่เป็นเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มอัณฑะไว้อีกทีหนึ่งและห้อยอยู่ด้านนอกของร่างกาย มีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอสุจิ หมวดหมู่:ต่อม หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์ หมวดหมู่:อวัยวะเพศ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมวดหมู่:บุรุษเวชศาสตร์.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและถุงอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

ขนหัวหน่าว

นหัวหน่าว หรือ หมอย (pubic hair) เป็นขนซึ่งขึ้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์บางประเภทเมื่อร่างกายย่างเข้าสู่วัยสืบพันธุ์ โดยจะเริ่มยาว และหนา และบางทีก็หยิกขึ้นเรื่อย ๆ ขนเหล่านี้มีหน้าที่ป้องกันการเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์ และช่วยกรองฝุ่นละอองไม่ให้เข้าถึงอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและขนหัวหน่าว · ดูเพิ่มเติม »

ดอก

ปสเตอร์แสดงภาพดอกไม้ต่าง ๆ สิบสองชนิด ดอก เป็นโครงสร้างสืบพันธุ์พบในพืชดอก (พืชในหมวด Magnoliophyta) หน้าที่ทางชีววิทยาของดอก คือ เพื่อออกผลการสืบพันธุ์ ปกติโดยให้กลไกสำหรับการผสมระหว่างสเปิร์มกับไข่ ดอกอาจอำนวยให้การผสมข้ามดอก (outcrossing) หรือให้เกิดการผสมในดอกเดียวกัน (selfing) ก็ได้ บางดอกผลิตส่วนแพร่พันธุ์โดยไม่มีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกมีอับสปอร์และเป็นที่ซึ่งแกมีโทไฟต์เจริญ ดอกให้ผลและเมล็ด หลายดอกวิวัฒนาให้ดึงดูดสัตว์ เพื่อที่จะให้สัตว์เหล่านั้นเป็นพาหะส่งผ่านเรณู นอกเหนือไปจากการอำนวยการสืบพันธุ์ของพืชดอกแล้ว มนุษย์ยังชื่นชมและใช้เพื่อตกแต่งสิ่งแวดล้อมให้งาม และยังเป็นวัตถุแห่งความรัก พิธีกรรม ศาสนาแพทยศาสตร์และเป็นแหล่งอาหาร.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและดอก · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมบาร์โทลิน

ต่อมบาร์โทลิน (Bartholin gland) คือต่อมที่อยู่บริเวณปากช่องคลอด 2 ข้าง มีขนาดประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร และมีท่อของต่อมยาว 1.5-2 เซนติเมตร เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศ จะหลั่งสารเมือกออกม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและต่อมบาร์โทลิน · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมบ่งเพศ

ต่อมบ่งเพศ (gonad) เป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในเพศชายคืออัณฑะ ส่วนในเพศหญิงคือรังไข่ เซลล์สืบพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ คือมีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งจากเซลล์ร่างกายอื่นๆ ตัวอย่างเช่นสเปิร์มและโอวุม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและต่อมบ่งเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมาก (prostate) เป็นอวัยวะในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ที่อยู่ตรงด้านหลังของคอ กระเพาะปัสสาวะ ในอุ้งเชิงกรานหลังกระดูกหัวหน่าว ลักษณะต่อมมี 5 กลีบ หนักประมาณ 20 กรัม ทำหน้าที่สร้างของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ที่เป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ มีกลิ่นเฉพาะตัว สารที่หลั่งออกมาเป็นเบสอ่อนๆ ช่วยให้เกิดสภาพเหมาะสมกับตัวอสุจิ ลดสภาพความเป็นเบสของท่อปัสสาวะและช่วยให้อสุจิแข็งแรงและว่องไวขึ้น ในผู้สูงอายุมักพบโรคต่อมลูกหมากโต.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมคาวเปอร์

Bulbourethral gland หรือ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland) ตามชื่อของนักกายวิภาคชื่อว่า วิลเลียม คาวเปอร์ เป็นต่อมขับออก (exocrine gland) ในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้มากมายหลายประเภท (ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย มีสุนัขเท่านั้นที่ไม่มี) เป็นต่อมที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับต่อมบาร์โทลิน (Bartholin's gland) ในสัตว์ตัวเมี.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและต่อมคาวเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกระสัน

thumb คลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและปุ่มกระสัน · ดูเพิ่มเติม »

แคม (อวัยวะเพศ)

แคม หรือ ลาเบียม (Labium) คือส่วนหนึ่งของช่องสังวาส เป็นโครงสร้างคล้ายริมฝีปาก สี ขนาด และลักษณะที่ปรากฏของแคมมีได้หลากหลายในผู้หญิงแต่ละคน บางคนแคมเล็กเกือบไม่มี และในอีกคนอาจอวบและโหนกออกมา เป็นความแตกต่างเฉพาะบุคคล ขณะที่บางอย่างอาจโยงถึงพันธุกรรม เช่น แคมเล็กของชาว (khoisan) ผ้ากันเปื้อน (khoikhoi) อาจย้อยลงมาถึง 4 นิ้ว ออกมานอกแคมใหญ่ เมื่อยืนระหว่างถูกกระตุ้นทางเพศ แคมจะมีเลือดมาคั่งเต็มจนล้นออกมาให้เห็น และมีสีคล้ำหรือแดงขึ้น ลาเบียมเป็นพหูพจน์ labia มาจาภาษาละติน หมายถึง "ริมฝีปาก" ใช้อธิบายถึงโครงสร้างคล้ายริมฝีปาก แต่ในภาษาอังกฤษมักใช้เรียกส่วนของช่องสังว.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและแคม (อวัยวะเพศ) · ดูเพิ่มเติม »

แคมใหญ่

แคมใหญ่ (Labia majora) แคมใหญ่ (Labia majora) เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์หญิง อยู่บริเวณหัวหน่าวจนถึงช่องคลอด ภายในแคมใหญ่ประกอบด้วย ปุ่มกระสัน แคมเล็ก และช่องคลอด โดยมากจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนขึ้นมาเป็นแนวยาวจนถึงปากช่องคลอด สามารถขยายตัวได้ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะมีขนปกคลุม.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและแคมใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

แคมเล็ก

แคมเล็กหรือกลีบเล็ก (labia minora) เป็นผิวหนังที่สองด้านของทางเปิดช่องคลอดของมนุษย์ อยู่ระหว่างแคมใหญ่ แคมเล็กในหญิงแต่ละคนมีขนาด สีและรูปทรงต่างกัน มีกำเนิดเดียวกันกับท่อปัสสาวะและหนังองคชาติของชายManual of Obstetrics.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและแคมเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

โยนี

นี (vulva) ประกอบด้วยแคม ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก, ปุ่มกระสัน, ปากของ"ท่อปัสสาวะ" (urethra), และปากช่องคลอ.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและโยนี · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมวาย

รโมโซม Y เป็นอัลโลโซมที่เป็นโครโมโซมเพศอันหนึ่งในจำนวนสองอันของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด อีกอันหนึ่งคือโครโมโซม X.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและโครโมโซมวาย · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เพศหญิง

ัญลักษณ์เพศหญิง เพศหญิง (♀) หรือเพศเมีย (female) คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ โดยเซลล์ไข่สามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายที่เรียกว่า อสุจิ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่าการผสมพันธุ์ เพศหญิงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงอสุจิของเพศชายอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเพศหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อพรหมจารี

ื่อพรหมจารี (hymen) หมายถึง แผ่นเยื่อเมือก (mucous membrane) อันกำบังทางเข้าช่องคลอดของสตรีอยู่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโยนี (vulva)Emans, S. Jean.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเยื่อพรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

เส้นสองสลึง

เส้นสองสลึง (frenulum of prepuce of penis) คือ เส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อบางๆที่ยึดหัวองคชาต กับหนังที่รูดไปมาได้ขององคชาต เส้นสองสลึงนั้นบางคนมี บางคนไม่มีเนื่องจากขาดไปแล้ว จิง หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเส้นสองสลึง · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์สืบพันธุ์

เซลล์สืบพันธุ์ (gamete) เป็นผลสุดท้ายจากการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis) ในสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ แกมีตจะรวมเข้ากับแกมีตอื่นในการปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจึงเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) หรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตนั้น แกมีตในเพศผู้เรียกว่า สเปิร์ม (sperm) ส่วนแกมีตในเพศเมียเรียกว่า โอวุม (ovum) ซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าแกมีตของเพศผู้มาก หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:เซลล์สืบพันธุ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเซลล์สืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ไข่

เซลล์ไข่หรือโอวุมคือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบโอโอกามี (oogamy, การสืบพันธุ์โดยใช้เซลล์อสุจิและเซลล์ไข่โดยที่เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมากและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมาก อาจใหญ่จนเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพื่อเซลล์ไข่ผสมกับเซลล์อสุจิจะเกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นคู่ (ดิพลอยด์) เรียกว่าไซโกต ซึ่งสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตได้.

ใหม่!!: อวัยวะเพศและเซลล์ไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Female genitaliaGenitalMale genital organsอวัยวะสืบพันธุ์อวัยวะสืบพันธุ์สตรีอวัยวะสืบพันธุ์หญิงอวัยวะสืบพันธุ์ชายอวัยวะเพศสตรีอวัยวะเพศหญิงอวัยวะเพศชายจิ๋ม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »