โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โครโมโซม

ดัชนี โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

40 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาชีวเคมีกล้องจุลทรรศน์การหาลำดับดีเอ็นเอการถอดรหัส (พันธุศาสตร์)การทดลองภาษาฝรั่งเศสยูกลีนายูแคริโอตยีนออโตโซมอัลลีลอัณฑะฮิสโตนจีโนมมนุษย์ถั่วลันเตาดีเอ็นเอคณิตศาสตร์ตัวอสุจิตั๊กแตนนิวเคลียสนิวเคลียสของเซลล์แคริโอไทป์โครมาตินโครงการจีโนมมนุษย์โครโมโซม 1 (มนุษย์)โครโมโซมเพศโครโมโซมเอกซ์โปรตีนไมโอซิสไมโทคอนเดรียไมโทซิสไมโครทิวบูลไซโทพลาซึมเพศชายเพศหญิงเกรกอร์ เมนเดลเซลล์เซลล์ (ชีววิทยา)เซลล์สืบพันธุ์

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: โครโมโซมและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวเคมี

ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:ชีวเคมี.

ใหม่!!: โครโมโซมและชีวเคมี · ดูเพิ่มเติม »

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ใช้เลนส์ประกอบ สร้างโดยจอห์น คัฟฟ์ (John Cuff) ค.ศ. 1750 กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่าเช่น วัตถุที่อยู่ไกล วัตถุที่อยู่สูง เป็นต้น ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์ (microscopy).

ใหม่!!: โครโมโซมและกล้องจุลทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การหาลำดับดีเอ็นเอ

การหาลำดับ DNA คือกระบวนการที่ทำขึ้นเพื่อหาลำดับของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุล DNA อย่างแม่นยำ ได้แก่ A(adenine) G(guanine) C(cytosine) และ T(thymine) ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิกที่ทำให้การหาลำดับ DNA ทำได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางชีววิทยาและการแพทย์อย่างรวดเร็วก้าวกระโดด หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: โครโมโซมและการหาลำดับดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การถอดรหัส (พันธุศาสตร์)

การถอดรหัส หรือ การสร้างอาร์เอ็นเอ (Transcription หรือ RNA synthesis) คือ กระบวนการการสร้างอาร์เอ็นเอจากดีเอ็นเอ ซึ่งทั้งอาร์เอ็นเอและดีเอ็นเอต่างเป็นกรดนิวคลิอิกซึ่งใช้ลำดับคู่เบสของนิวคลีโอไทด์เป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกันซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้หากมีเอนไซม์ที่เหมาะสม ในช่วงการถอดรหัสนั้น ลำดับดีเอ็นเอจะถูกอ่านโดยเอนไซม์ RNA polymerase ซึ่งจะสร้างคู่เติมเต็มซึ่งเป็นสายอาร์เอ็นเอที่ขนานสวนกัน เทียบกันกับการสร้างดีเอ็นเอแล้ว การถอดรหัสจะทำให้ได้ผลเป็นอาร์เอ็นเอคู่เติมเต็มที่มีเบสยูราซิล (Uracil, U) แทนที่ตำแหน่งของเบสไทมีน (Thymine, T) ที่เคยมีในสายดีเอ็นเอคู่นั้น.

ใหม่!!: โครโมโซมและการถอดรหัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การทดลอง

เด็กเล็กทุกคนล้วนทำการทดลองเบื้องต้นเพื่อเรียนรู้โลก การทดลองเป็นวิธีดำเนินการอย่างมีระเบียบเพื่อพิสูจน์ยืนยัน หักล้างหรือสร้างความสมเหตุสมผลของสมมุติฐาน การทดลองที่มีการควบคุมทำให้ได้วิจารณญาณในเหตุภาพโดยการแสดงว่าผลลัพธ์ใดจะเกิดขึ้นหากเปลี่ยนแปลงปัจจัยหนึ่ง ๆ การทดลองที่มีการควบคุมแปรผันอย่างมากตามเป้าหมายและขนาด แต่ล้วนอาศัยวิธีดำเนินการที่ทำซ้ำได้และการวิเคราะห์ผลลัพธ์เชิงตรรกะเสมอ หมวดหมู่:การวิจัย.

ใหม่!!: โครโมโซมและการทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: โครโมโซมและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยูกลีนา

ูกลีนา (euglena) เป็นสัตว์เซลล์เดียวขยายพันธุ์ได้โดยวิธีแบ่งเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปกระสวย หน้าป้าน ท้ายเรียว มีเยื่อหุ้มหนาเรียก เพลลิเคิล (Pellicle) มีช่องเปิดขนาดเล็ก เรียก ไซโตสโตม (Cytostome) เชื่อมต่อเซลล์เป็นช่องเรียก canal และ ตอนปลายจะพองออกมีลักษณะเป็นถุงเรียกว่า รีเซอวัว (Reservoir) ทั้ง canal และ resovior รวมเรียกว่า ไซโตฟาริงซ์ (Cytopharynx) โดยที่ช่วงฐานจะมีส่วนที่เรียกว่า เรียก ไคเนโตโซม หรือ เบลฟฟาโรพลาสต์ หรือ เบซอลบอดี (Kinetosome or Blepharoplast or Basal body) เป็นที่เกิดของแฟลเจลลัม โดยมี 2 เส้น เส้นยาวยื่นจากไซโตสโตม เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่, เส้นสั้นอยู่ภายในรีเซอวัว -มีคอนแทร็กไทล์แวคิวโอลลักษณะทรงกลมอยู่ทางด้านข้างของรีเซอวัว โดยมีแวคิวโอลขนาดเล็กล้อมรอบอยู่ ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ และกำจัดน้ำโดยการหดตัว ทาง canal ของ gullet euglena มีจุดตาสีแดง (Eye spot or Stigma) เพราะมี caroteinoid pigment granules ลักษณะเป็นรูปถ้วยอยู่ทางด้านข้างไซโตฟาริงซ์ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของแสงส่งไปยังอวัยวะรับความรู้สึกที่โคน flagellum ที่เรียกว่า paraflagellar body (rod) หรือ paraxonemal หรือ paraxial body เพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนที่พัดโบกไปยังตำแหน่งของแสงที่สองมาเป็นการตอบสนองที่เรียกว่า phototaxis ตัวของยูกลีนาเป็นสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรพลาสต์รูป Large plated chloroplasts with the so-called double sheeted pyrenoid, that is, a pyrenoid which carries on both plastid surfaces a watch glass shaped cup of paramylon อยู่ในไซโตพลาสซึม จัดเป็น mixotroph เพราะ เมื่ออยู่ในสภาพที่มีแสงจะดำรงชีวิตแบบ autophototroph อาหารสะสมเป็นพาราไมลอนกระจายในเซลล์ ถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่มีแสงจะดำรงชีวิตแบบ heterotroph แบบ holozoic nutrition หรือ phagocytosis โดยคลอโรฟิลล์จะสลายไป เรียก bleached euglena หรือ mutant euglena ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากการชักนำ (induction) เช่น ความมืด,ยา, UV light,ความร้อน เป็นต้น พวกนี้จะแค่ protoplastid ที่ยังไม่กลายเป็น mature chloroplast แต่ถ้ากลับมาอยู่ในสภาพที่มีแสงใหม่ 4 ชั่วโมงพบยูกลีนาจะสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาใหม่โดย protoplastid มีลักษณะรูปร่างยาวขึ้นและ เริ่มเป็นชั้นของ lamellae เกิดขึ้น (lamination of chloroplast) หลังจากนั้น 72 ชั่วโมงพบว่าเหมือนกับ euglena ปรกติที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เรียก ปรากฏการนนี้ว่า light-dark adaptation.

ใหม่!!: โครโมโซมและยูกลีนา · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: โครโมโซมและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: โครโมโซมและยีน · ดูเพิ่มเติม »

ออโตโซม

ออโตโซม (autosome) คือ ชื่อเรียกโครโมโซม(chromosome)หรือกลุ่มของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะต่างๆของร่างกาย แต่เป็นโครโมโซมที่ไม่ใช่โครโมโซมเพศ สำหรับในมนุษย์จะมีออโตโซม 22 คู่ และมีโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ โดยอาจเป็น XY (เพศชาย) หรือ XX (เพศหญิง).

ใหม่!!: โครโมโซมและออโตโซม · ดูเพิ่มเติม »

อัลลีล

อัลลีล (allele) คือรูปแบบหนึ่ง ๆ จากหลาย ๆ รูปแบบของยีนหนึ่ง ๆ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดลักษณะแสดงออก เช่น สีตา สีผม ที่แตกต่างกันได้ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจไม่ได้ทำให้มีลักษณะแสดงออกที่แตกต่างกันก็ได้ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ส่วนใหญ่มีโครโมโซมสองชุด เรียกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์ โครโมโซมเหล่านี้เรียกว่าเป็นโครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกัน สิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์จะมียีนหนึ่ง ๆ หนึ่งยีน (และหมายถึงอัลลีลหนึ่ง ๆ หนึ่งอัลลีล) บนโครโมโซมแต่ละอัน หากทั้งสองอัลลีลเป็นอัลลีลที่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นอัลลีลที่เป็นโฮโมไซกัส ถ้าไม่เหมือนกันเรียกว่าเป็นเฮเทอโรไซกั.

ใหม่!!: โครโมโซมและอัลลีล · ดูเพิ่มเติม »

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่; testicle, testis) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอ.

ใหม่!!: โครโมโซมและอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิสโตน

รงสร้างของฮิสโตนที่เป็นแกนของนิวคลีโอโซม โปรตีนฮิสโตนเป็นโปรตีนที่มีประจุบวกสูงพันอยู่กับดีเอ็นเอของยูคาริโอตเป็นโครงสร้างที่เรียกว่านิวคลีโอโซม และเป็นโครงสร้างหลักของโครมาติน เกี่ยวข้องกับการม้ววนตัวของดีเอ็นเอและการแสดงออกของยีน ทำให้โครงสร้างของจีโนมมีขนาดเล็กลงเมื่อม้วนตัวจนแน่นเป็นโครโมโซมในการแบ่งเซลล์ระยะไมโทซ.

ใหม่!!: โครโมโซมและฮิสโตน · ดูเพิ่มเติม »

จีโนมมนุษย์

จีโนมของมนุษย์คือชุดของข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์ ข้อมูลนี้อยู่ในลำดับ DNA ซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซม 23 คู่ในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ รวมทั้งในโมเลกุล DNA อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในไมโตคอนเดรีย ข้อมูลในจีโนมของมนุษย์มีทั้ง DNA ส่วนที่จะถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (coding DNA) และส่วนที่จะไม่ถูกถอดรหัสเป็นโปรตีน (noncoding DNA) ครึ่งหนึ่งหรือส่วนที่เป็นแฮพลอยด์ของจีโนมมนุษย์ (พบในเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิ) มีจำนวนสามพันล้านคู่เบส ในขณะที่จีโนมทั้งหมดหรือดิพลอยด์ของจีโนม (พบในเซลล์โซมาติกทั่วไป) มีจำนวนคู่เบสดีเอ็นเอเป็น 2 เท่า หมวดหมู่:แผนที่พันธุกรรม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:จีโนมิกส์ หมวดหมู่:มนุษย์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของมนุษย์ หมวดหมู่:มนุษยพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: โครโมโซมและจีโนมมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลันเตา

''Pisum sativum'' ถั่วลันเตา จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น.

ใหม่!!: โครโมโซมและถั่วลันเตา · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: โครโมโซมและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: โครโมโซมและคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอสุจิ

รูปแบบการปฏิสนธิ ตัวอสุจิ (sperm) คือเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของสัตว์เพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์ และไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ในสัตว์เพศเมีย ตัวอสุจิถูกสร้างมาตัวเพศชายและหลั่งออกมาพร้อมกับน้ำเลี้ยงที่เรียกรวมกันว่า น้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 3 วันในร่างกายของสัตว์เพศเมียโดยไม่สัมผัสอากาศหรือของเหลวอื่น.

ใหม่!!: โครโมโซมและตัวอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตน

อวัยวะสืบพันธุ์ของตั๊กแตน ภาพของ ''Coryphistes ruricola'' ที่คล้ายตั๊กแตน ตั๊กแตน (Grasshopper) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอ.

ใหม่!!: โครโมโซมและตั๊กแตน · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: โครโมโซมและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสของเซลล์

เซลล์spider man ย้อมดีเอ็นเอด้วยสีย้อม Blue Hoechst เซลล์ตรงกลางและเซลล์ทางขวาอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสจึงทำให้สามารถย้อมสีเห็นนิวเคลียสได้ทั้งหมด ในขณะที่เซลล์ทางซ้ายอยู่ระหว่างการแบ่งนิวเคลียส (ไมโทซิส) ทำให้สามารถมองเห็นโครโมโซมที่กำลังแยกคู่จากกัน นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลไจแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในทางชีววิทยาของเซลล์ นิวเคลียส (nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: โครโมโซมและนิวเคลียสของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

แคริโอไทป์

ียมซา แคริโอไทป์หรือคาริโอไทป์ (karyotype) หมายถึงจำนวนและลักษณะของโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอต นอกจากนี้ยังใช้เวลากล่าวถึงชุดของโครโมโซมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งๆ หรือสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ อีกด้ว.

ใหม่!!: โครโมโซมและแคริโอไทป์ · ดูเพิ่มเติม »

โครมาติน

'''Fig. 1:''' The major structures in DNA compaction; DNA, the nucleosome, the 10nm "beads-on-a-string" fibre, the 30nm fibre and the metaphase chromosome. โครมาติน เป็นโครงสร้างย่อยของนิวเคลียส โครโมโซม 1 แท่งประกอบด้วยโครมาตินหรือโครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกันซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองขึ้นมาโดยโครมาตินหรือโครมาทิดทั้งสองจะติดกันตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ (DNA) พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียส เมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: โครโมโซมและโครมาติน · ดูเพิ่มเติม »

โครงการจีโนมมนุษย์

รงการจีโนมมนุษย์ (The Human Genome Project; ตัวย่อ: HGP) เป็นอภิมหาโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้ศึกษาจัดทำแผนที่ของจีโนมของมนุษย์ ซึ่งมีความละเอียดระดับนิวคลีโอไทด์ หรือ คู่เบส เพื่อที่จะวิเคราะตำแหน่งของหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีนของมนุษ.

ใหม่!!: โครโมโซมและโครงการจีโนมมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม 1 (มนุษย์)

locus for notation. โครโมโซม 1 เป็นโครโมโซมที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ โดยในแต่ละเซลล์จะมี 2 แท่ง (โครโมโซมคู่ที่ 1) และเป็นโครโมโซมร่างกาย (มนุษย์มีโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่) โครโมโซม 1 มีคู่เบส 249 ล้านคู่เบสhttp://vega.sanger.ac.uk/Homo_sapiens/mapview?chr.

ใหม่!!: โครโมโซมและโครโมโซม 1 (มนุษย์) · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมเพศ

รโมโซมเพศคือโครโมโซมประเภทหนึ่งที่ช่วยกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิต เป็นวิธีการกำหนดเพศแบบหนึ่ง เช่น ในมนุษย์ มีโครโมโซม 23 คู่ เป็นออโตโซม 22 คู่ และเป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่ มนุษย์เพศหญิงจะมีโครโมโซม X สองอัน ส่วนมนุษย์เพศชายมีโครโมโซม X หนึ่งอัน และโครโมโซม Y หนึ่งอัน.

ใหม่!!: โครโมโซมและโครโมโซมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมเอกซ์

Scheme of the X chromatid CCD camera. The Barr body is indicated by the arrow, it identifies the inactive X (Xi). โครโมโซมเอกซ์ เป็นโครโมโซมเพศหนึ่งในสองตัวสำหรับสัตว์หลายชนิดซึ่งรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย เป็นส่วนหนึ่งของระบบกำหนดเพศ XY และระบบกำหนดเพศ X0 ชื่อโครโมโซมเอกซ์ ได้มาจากลักษณะเฉพาะที่นักวิจัยที่ค้นพบโครโมโซมในระยะแรกสังเกตพบ ต่อมาจึงมาการกำหนดชื่อโครโมโซม Y ที่พบต่อมาในภายหลัง เพื่อให้เป็นอักษรที่ต่อจาก X.

ใหม่!!: โครโมโซมและโครโมโซมเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: โครโมโซมและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไมโอซิส

แผนภาพการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์ที่พบในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในยูคาริโอต การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสแบ่งเป็นระยะได้ 2 ระยะ ดังนี้.

ใหม่!!: โครโมโซมและไมโอซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทคอนเดรีย

รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: โครโมโซมและไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทซิส

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์แบบแบ่งตัวโดยตรง คือ นิวเคลียสค่อยๆ ยาวออกและเกิดคอดลงแล้วแบ่งไซโตพลาสซึมเป็น 2 ส่วนกลายเป็น 2 เซลล์ โดยทั้ง 2 เซลล์ต่างมีคุณสมบัติเหมือนเซลล์เดิม จำนวนโครโมโซม หลังการแบ่งจะเท่าเดิม (2n) เพราะไม่มีการแยกคู่ ของโฮโมโลกัสโครโมโซม การแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบมากในสัตว์เซลล์เดียว.

ใหม่!!: โครโมโซมและไมโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครทิวบูล

มโครทิวบูล (microtubule) เป็นออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งซึ่งพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต จัดเป็นส่วนหนึ่งในระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeloton) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเซลล์อย่างยิ่ง.

ใหม่!!: โครโมโซมและไมโครทิวบูล · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: โครโมโซมและไซโทพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: โครโมโซมและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เพศหญิง

ัญลักษณ์เพศหญิง เพศหญิง (♀) หรือเพศเมีย (female) คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ โดยเซลล์ไข่สามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายที่เรียกว่า อสุจิ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่าการผสมพันธุ์ เพศหญิงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงอสุจิของเพศชายอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: โครโมโซมและเพศหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เกรกอร์ เมนเดล

กรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregor Johann Mendel; 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 - 6 มกราคม พ.ศ. 2427) เป็นนักวิทยาศาสตร์และภราดาคณะออกัสติเนียนชาวโมราเวียที่พูดภาษาเยอรมัน ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากการก่อตั้งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่สาขาพันธุศาสตร์ แม้ว่าชาวสวนทั่วไปจะทราบถึงลักษณะปรากฏที่แตกต่างกันของพืชชนิดต่าง ๆ อยู่แล้ว โดยเมนเดลได้เริ่มศึกษาจากต้นถั่ว จนสามารถตั้งเป็นกฎทางพันธุกรรมมากมาย และภายหลังรู้จักกันในชื่อว่า พันธุศาสตร์ของเมนเดล เมนเดลเสียชีวิตด้วยโรคไตในวันที่ 6 มกราคม..

ใหม่!!: โครโมโซมและเกรกอร์ เมนเดล · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

ใหม่!!: โครโมโซมและเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: โครโมโซมและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์สืบพันธุ์

เซลล์สืบพันธุ์ (gamete) เป็นผลสุดท้ายจากการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis) ในสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ แกมีตจะรวมเข้ากับแกมีตอื่นในการปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจึงเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) หรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตนั้น แกมีตในเพศผู้เรียกว่า สเปิร์ม (sperm) ส่วนแกมีตในเพศเมียเรียกว่า โอวุม (ovum) ซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าแกมีตของเพศผู้มาก หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:เซลล์สืบพันธุ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์.

ใหม่!!: โครโมโซมและเซลล์สืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chromosome

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »