โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กนู

ดัชนี กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

27 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2526พ.ศ. 2527กลุ่มข่าวยูสเน็ตมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรียูนิกซ์ระบบปฏิบัติการริชาร์ด สตอลล์แมนลินุกซ์สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนูสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูสัทอักษรสากลสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์คลัง (โปรแกรม)คอมไพเลอร์คำย่อแบบกล่าวซ้ำซอฟต์แวร์เสรีแมคโอเอสโปรแกรมประยุกต์ไมโครซอฟท์ วินโดวส์เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันเรดแฮตเอ็กซ์วินโดวซิสเต็มเคอร์เนล27 กันยายน5 มกราคม

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กนูและพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กนูและพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มข่าวยูสเน็ต

กลุ่มข่าวยูสเน็ต (Usenet newsgroup) เป็นคลังเก็บสารที่โพสต์จากผู้ใช้หลายคนจากที่ต่าง ๆ โดยใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งปกติอยู่ในระบบยูสเน็ต คำว่า "กลุ่มข่าว" เป็นชื่อผิด จริง ๆ แล้วเป็นกลุ่มอภิปราย และไม่ได้มีไว้เพื่อพิมพ์เผยแพร่ข่าว แต่เคยใช้เมื่ออินเทอร์เน็ตยังมีอายุน้อย ในทางเทคนิคแล้วกลุ่มข่าวต่างจากฟอรัม (forum) อภิปรายในเวิลด์ไวด์เว็บ แต่มีฟังก์ชันคล้ายกัน เคยมีการใช้ซอฟต์แวร์อ่านข่าวเพื่ออ่านกลุ่มข่าว ่ก่อนมีเวิลด์ไวด์เว็บ กลุ่มข่าวยูสเน็ตเป็นบริการอินเทอร์เน็ตยอดนิยมอย่างหนึ่ง และยังคงสภาพไม่ใช่เชิงพาณิชย์ซึ่งตรงข้ามกับเว็บซึ่งมีโฆษณา ในปีหลัง ๆ การอภิปรายเปิดแบบนี้บนอินเทอร์เน็ตเสียพื้นที่ให้กับฟอรัมที่เข้าถึงได้ด้วยเบราว์เซอร์ที่มีปัจเจกบุคคลดำเนินการและเครือข่ายสังคมสื่อขนาดใหญ่อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ การสื่อสัญญาณภายในและที่ขอบเขตของเครือข่ายใช้เกณฑ์วิธีการโอนข่าวเครือข่าย (NNTP) ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: กนูและกลุ่มข่าวยูสเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี

300px มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation, ชื่อย่อ: FSF) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) เพื่อสนับสนุนแนวทางซอฟต์แวร์เสรี มีจุดประสงค์ต้องการให้สามารถเผยแพร่และแก้ไขซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ได้โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ มูลนิธินี้จดทะเบียนในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ทุนส่วนใหญ่ของมูลนิธินำไปใช้จากนักพัฒนามาเขียนซอฟต์แวร์เสรีสำหรับโครงการกนู แต่นับจากกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา พนักงานและอาสาสมัครของมูลนิธิส่วนใหญ่ทำงานด้านกฎหมาย และปัญหาทางโครงสร้างของแนวทางซอฟต์แวร์เสรีและชุมชนของซอฟต์แวร์เสรี เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย คอมพิวเตอร์ของมูลนิธิทุกเครื่องใช้แต่ซอฟต์แวร์เสรีเท่านั้น.

ใหม่!!: กนูและมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: กนูและยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: กนูและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด สตอลล์แมน

ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.

ใหม่!!: กนูและริชาร์ด สตอลล์แมน · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: กนูและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาต

สัญญาอนุญาต (AmE: license; BrE: licence; ศัพท์บัญญัติว่า ใบอนุญาต) ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, สิทธิบัตร) หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนสำหรับสินค้าที่กฎหมายได้คุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า สัญญาอนุญาตต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ในสัญญาอนุญาตต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้ ในกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องรับสินค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจำหน่ายเท่านั้น กรณีนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นสัญญาตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือว่าเป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จะต้องมาจดทะเบียนสัญญาอนุญาต และไม่ใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า หมวดหมู่:เอกสารทางกฎหมาย.

ใหม่!!: กนูและสัญญาอนุญาต · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: กนูและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู

รื่องหมายการค้าของกนิว สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนิว หรือ แอลจีพีแอล (GNU Lesser General Public License, LGPL) เป็นสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์เสรีรูปแบบหนึ่ง คล้ายคลึงกับสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนิวหรือจีพีแอล ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเช่นกัน แอลจีพีแอลถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 และดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2542 โดย ริชาร์ด สตอลล์แมน โดยได้รับคำปรึกษาจาก อีเบน โมเกลน แอลจีพีแอลใช้งานส่วนใหญ่กับไลบรารีมากกว่าตัวซอฟต์แวร์ โดยข้อแตกต่างระหว่างกับจีพีแอลคือ ตัวแอลจีพีแอลสามารถเชื่อมเข้ากับซอฟต์แวร์ทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแอลจีพีแอลหรือจีพีแอลเหมือนกัน นั่นคือ "การผ่อนปรน" กว่าตามชื่อสัญญาอนุญาตนั่นเอง ซอฟต์แวร์ของมอซิลลาและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกใช้สัญญาอนุญาตแอลจีพีแอล.

ใหม่!!: กนูและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (ย่อว่า GFDL) เป็นลักษณะสัญญาอนุญาตชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) สำหรับโครงการกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในปัจจุบันเป็นรุ่น 1.3 และเป็นสัญญาอนุญาตควบคู่กับสัญญาอนุญาต GPL เนื้อหาสัญญาทั้งหมดสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู มีลักษณะเปิดกว้าง หรือเรียกว่า copyleft โดยให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดไปใช้ได้ฟรีโดยมีเงื่อนไขว่า ผลงานที่สร้างใหม่ต้องใช้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู เช่นกัน ผลงานที่สร้างใหม่นั้นสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ถ้ามีการขายเป็นจำนวนมากจะมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมเข้ามา สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ครอบคลุมสำหรับ คู่มือคอมพิวเตอร์ ตำรา และแหล่งอ้างอิงอื่นทั้งในการเรียนการสอนและการทำงาน วิกิพีเดีย และโครงการอื่นของมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของสื่ออื่นที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู.

ใหม่!!: กนูและสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: กนูและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: กนูและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

คลัง (โปรแกรม)

ตัวอย่างแผนภาพแสดงการเรียกใช้งานไลบรารีของโปรแกรมเล่นสื่อผสมประเภท Ogg Vorbis คลังโปรแกรม หรือ ไลบรารี (library) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง.

ใหม่!!: กนูและคลัง (โปรแกรม) · ดูเพิ่มเติม »

คอมไพเลอร์

คอมไพเลอร์ (compiler) หรือ โปรแกรมแปลโปรแกรม, ตัวแปลโปรแกรม เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าแปลงชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์หนึ่ง ไปเป็นชุดคำสั่งที่มีความหมายเดียวกัน ในภาษาคอมพิวเตอร์อื่น คอมไพเลอร์ส่วนใหญ่ จะทำการแปล รหัสต้นฉบับ (source code) ที่เขียนในภาษาระดับสูง เป็น ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาเครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำงานได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม การแปลจากภาษาระดับต่ำเป็นภาษาระดับสูง ก็เป็นไปได้ โดยใช้ตัวแปลโปรแกรมย้อนกลับ (decompiler) รูปแสดงขั้นตอนการทำงานของตัวแปลโปรแกรม ผลลัพธ์ของการแปลโปรแกรม (คอมไพล์) โดยทั่วไป ที่เรียกว่า ออบเจกต์โค้ด จะประกอบด้วยภาษาเครื่อง (Machine code) ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ของแต่ละจุด และการเรียกใช้วัตถุภายนอก (Link object) (สำหรับฟังก์ชันที่ไม่ได้อยู่ใน อ็อบเจกต์) สำหรับเครื่องมือที่เราใช้รวม อ็อบเจกต์เข้าด้วยกัน จะเรียกว่าโปรแกรมเชื่อมโยงเพื่อที่ผลลัพธ์ที่ออกมาในขั้นสุดท้าย เป็นไฟล์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้สะดวก คอมไพเลอร์ที่สมบูรณ์ตัวแรก คือ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ของ ไอบีเอ็ม ในปี ค.ศ. 1957 และ ภาษาโคบอล (COBOL) ก็เป็นคอมไพเลอร์ตัวแรก ๆ ที่สามารถทำงานได้บนหลาย ๆ สถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาตัวแปลภาษารุดหน้าอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อมา ในช่วงทศวรรษ 1960.

ใหม่!!: กนูและคอมไพเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คำย่อแบบกล่าวซ้ำ

ำย่อแบบกล่าวซ้ำ เป็นตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษที่กล่าวซ้ำชื่อตัวเองอีกครั้งหนึ่ง คำย่อเหล่านี้ส่วนมาก จะแสดงถึงความหมายอื่นที่เน้นออกมา นอกจากความหมายเดิมของคำย่อเดิม มักนิยมใช้ในชื่อของคำที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ในทาง คอมพิวเตอร์ เพื่อล้อเลียนชื่อ หรือข้อความของกลุ่มอื่น ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: กนูและคำย่อแบบกล่าวซ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: กนูและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กนูและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์

OpenOffice.org Writer โปรแกรมประยุกต์ (application program) หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น (application software) ในบางครั้งเรียกย่อว่า แอปพลิเคชั่น หรือ แอป คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้รับรองการทำงานหรือกิจกรรมหลายด้านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word processor), แผ่นตารางทำการ (spreadsheet), แอปพลิเคชั่นบัญชี (accounting application), เว็บเบราว์เซอร์, แอปพลิเคชั่นเล่นคลิปสื่อ (media player), โปรแกรมจำลองการบิน (flight simulator), เกมคอนโซล, หรือ โปรแกรมตัดต่อภาพ คำว่าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นหมายถึงแอปพลิเคชั่นทั้งหมด ส่วนคำว่าซอฟต์แวร์ระบบ (system software) มักหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ แอปที่ถูกสร้างสำหรับใช้งานบนมือถือเรียกว่าแอปมือถือ (mobile app).

ใหม่!!: กนูและโปรแกรมประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: กนูและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: กนูและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

เรดแฮต

ัญลักษณ์แรดแฮต เรดแฮต (Red Hat) เป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นที่รู้จักในธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ก่อตั้ง ค.ศ. 1993 ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 700 คนใน 22 ประเทศทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง แรลี (Raleigh) รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา เรดแฮตเป็นผู้นำตลาดของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ Red Hat Enterprise Linux ซึ่งพัฒนามาจากโครงการโอเพนซอร์ส Fedora ซึ่งเรดแฮตเองเป็นผู้สนับสนุนหลัก.

ใหม่!!: กนูและเรดแฮต · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม

X Window System (อาจรู้จักในชื่อ X11 หรือ X) เป็นระบบการแสดงผลหน้าต่างแบบบิตแมปในคอมพิวเตอร์ X Window เป็นระบบ GUI มาตรฐานของระบบปฏิบัติการในตระกูลยูนิกซ์ และ OpenVMS ระบบ X นั้นเตรียมส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ GUI เช่น การวาดและเคลื่อนย้ายหน้าต่างบนหน้าจอคอมพิวเตอร์, การทำงานร่วมกับคีย์บอร์ดและเมาส์ แต่ไม่ได้ยุ่งกับส่วนติดต่อผู้ใช้โดยตรง ปล่อยให้โปรแกรมแต่ละตัวที่ทำงานบน X ทำหน้าที่นี้อย่างอิสร.

ใหม่!!: กนูและเอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

เคอร์เนล

อร์เนลเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เคอร์เนล (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล เนื่องจากตัว e ไม่ออกเสียง) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต.

ใหม่!!: กนูและเคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

27 กันยายน

วันที่ 27 กันยายน เป็นวันที่ 270 ของปี (วันที่ 271 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 95 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กนูและ27 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

5 มกราคม

วันที่ 5 มกราคม เป็นวันที่ 5 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 360 วันในปีนั้น (361 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: กนูและ5 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GNUกะนูโครงการกนู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »