โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นประสาทเฟเชียล

ดัชนี เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

23 ความสัมพันธ์: ช่องรูปไข่พอนส์กระดูกขมับกลีบหน้ากล้ามเนื้อฟรอนทาลิสกล้ามเนื้อหลับตากล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิสก้านสมองรอยโรคระบบประสาทพาราซิมพาเทติกลิ้นสมองใหญ่หลอดกึ่งวงกลมอัมพาตแบบเบลล์จุดประสานประสาทตาหลับไม่มิดประสาทสมองโพรงอากาศหน้าผากโรคไลม์ไฮโปทาลามัสเส้นประสาทอินเทอร์มีเดียทเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย

ช่องรูปไข่

องรูปไข่ (oval window, fenestra vestibuli) เป็นช่องที่ปิดด้วยเนื้อเยื่อจากหูชั้นกลางไปยังโพรงหน้า (vestibule) ของหูชั้นใน แรงดันเสียงจากหูชั้นนอกที่มากระทบกับแก้วหูที่ต้นหูชั้นกลาง จะวิ่งไปตามกระดูกหู (ossicle) 3 ท่อน (โดยชิ้นสุดท้ายเป็นกระดูกโกลน) เข้าไปในหูชั้นใน โดยช่องรูปไข่จะเป็นตัวเชื่อมหูชั้นกลางและหูชั้นในที่อยู่ชิดกับกระดูกโกลน แรงสั่นที่มาถึงช่องรูปไข่ จะขยายเกินกว่า 10 เท่า จากที่เข้ามากระทบแก้วหู ซึ่งแสดงกำลังขยายเสียงของหูชั้นกลาง ช่องเป็นรูปไข่ (หรือรูปไต) ระหว่างโพรงแก้วหู (tympanic cavity) และโพรงหน้าของหูชั้นใน เส้นผ่าศูนย์กลางด้านยาวของมันอยู่ในแนวราบโดยโค้งขึ้นตรงริม และเชื่อมอยู่กับฐานของกระดูกโกลน โดยวงรอบฐานของกระดูกมีเอ็นวงแหวนยึดอยู่กับขอบของช่อง ช่องรูปไข่มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 มม2.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและช่องรูปไข่ · ดูเพิ่มเติม »

พอนส์

อนส์และเมดัลลาออบลองกาตา พอนส์ (pons) เป็นโครงสร้างหนึ่งในก้านสมอง คำว่าพอนส์มาจากภาษาละติน แปลว่า สะพาน ตั้งชื่อโดยนักกายวิภาคศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวอิตาลี กอสตันโซ วาโรลิโอ (Costanzo Varolio) พอนส์อยู่เหนือเมดัลลา ออบลองกาตา อยู่ใต้สมองส่วนกลาง และอยู่ด้านหน้าซีรีเบลลัม ส่วนเนื้อขาวของพอนส์ประกอบด้วยลำเส้นใยประสาทที่นำสัญญาณจากซีรีบรัมลงมายังซีรีเบลลัมและเมดัลลา และมีลำเส้นใยประสาทรับสัญญาณความรู้สึกส่งขึ้นไปยังทาลามัสSaladin Kenneth S. (2007) Anatomy & physiology the unity of form and function.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและพอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกขมับ

กระดูกขมับ (temporal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างและด้านฐานของกะโหลกศีรษะ กระดูกนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนส่วนของใบหน้าที่เรียกว่า ขมับ (temple).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกระดูกขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบหน้า

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นบริเวณของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) แต่ละข้าง และอยู่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ส่วนสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ตั้งอยู่ล่างและหลังต่อสมองกลีบหน้.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกลีบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis muscle) เป็นกล้ามเนื้อบางๆ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของศีรษะ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเกาะกับพังผืดชั้นผิว (superficial fascia) มีลักษณะกว้างกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส (Occipitalis) และใยของกล้ามเนื้อนี้ยังยาวและสีซีดกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส กล้ามเนื้อนี้ไม่มีจุดเกาะอยู่กับกระดูก ใยกล้ามเนื้อส่วนใกล้กลาง (medial) ต่อเนื่องกับใยของกล้ามเนื้อโปรเซอรัส (Procerus) ใยกล้ามเนื้อตรงกลางร่วมไปกับกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) ยึดเกาะกับผิวหนังของคิ้ว "eye, human."Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อฟรอนทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหลับตา

กล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis ocule) เป็นกล้ามเนื้อในใบหน้าลักษณะเป็นเส้นใยวงกลมวนรอบดวงตา ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อนี้เกิดการหดตัวก็จะทำให้สามารถหลับตาได้ โดยเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็คือเส้นประสาทเฟเชียล หรือเส้นประสาทคู่ที่ 7 หลับตา.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อหลับตา · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส (Occipitofrontalis) เป็นกล้ามเนื้อบนศีรษะของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและก้านสมอง · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

Autonomic nervous system innervation, showing the sympathetic and parasympathetic (craniosacral) systems, in red and blue, respectively ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic system) เป็นหนึ่งในสองระบบหลักของ ระบบประสาทอัตโนมัติ เส้นประสาทในระบบพาราซิมพาเทติก คือเส้นประสาทที่มาจากบริเวณเหนือไขสันหลัง คือบริเวณที่เป็นสมองส่วนกลาง และเมดัลลาออบลองกาตา และเส้นประสาทที่มาจากบริเวณต่ำ หมวดหมู่:ระบบประสาทอัตโนมัติ.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดกึ่งวงกลม

หลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal, semicircular duct) เป็นท่อกึ่งวงกลม 3 ท่อที่เชื่อมต่อกันภายในหูชั้นในแต่ละข้าง คือ.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและหลอดกึ่งวงกลม · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาตแบบเบลล์

ภาวะอัมพาตแบบเบลล์ (Bell's paly) เป็นอาการอัมพาตของใบหน้าชนิดหนึ่งทำให้มีการทำงานผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) จนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โรคหรือภาวะที่ทำให้มีใบหน้าชาเช่นนี้มีอีกหลายโรค ตั้งแต่เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไลม์ และอื่นๆ แต่หากไม่พบภาวะซึ่งเป็นสาเหตุได้จะถือว่าภาวะใบหน้าเป็นอัมพาตนั้นเกิดจากภาวะอัมพาตแบบเบลล์ ภาวะนี้ได้ชื่อตามนักกายวิภาคศาสตร์ชาวสก็อตชื่อชาร์ลส์ เบลล์ ซึ่งได้บรรยายภาวะนี้เอาไว้เป็นครั้งแรก อัมพาตแบบเบลล์เป็นโรคของเส้นประสาทเส้นเดียว (mononeuropathy) ที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของภาวะเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดด้วย หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:โรคซึ่งไม่ทราบสาเหตุ หมวดหมู่:โรคของระบบประสาท หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและอัมพาตแบบเบลล์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและจุดประสานประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ตาหลับไม่มิด

ตาหลับไม่มิด (lagophthalmos) นิยามว่าเป็นการไม่สามารถปิดหนังตาได้อย่างสมบูรณ์ การกระพริบตาป้องกันตาด้วยชั้นของเหลวน้ำตาบาง ๆ ฉะนั้นจึงสนับสุนนสิ่งแวดล้อมชื้นที่จำเป็นต่อเซลล์ที่อยู่ส่วนนอกของตา น้ำตายังชะสิ่งแปลกล้อมล้างออกไป ซึ่งสำคัญต่อการหล่อลื่นและสุขภาพตาที่เหมาะสม หากกระบวนการนี้บกพร่อง ดังเช่นในตาหลับไม่มิด ตาอาจเกิดการถลอกและการติดเชื้อ ตาปิดไม่มิดนำไปสู่กระจกตาแห้งและแผลกระจกตา หมวดหมู่:โรคของหนังตา ระบบน้ำตาและลูกตา.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและตาหลับไม่มิด · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โพรงอากาศหน้าผาก

รงอากาศหน้าผาก (frontal sinuses) ตั้งอยู่ด้านหลังโหนกคิ้ว (superciliary arches) และมักอสมมาตรกันทั้งสองข้าง และมีผนังกั้นระหว่างกันซึ่งมักจะเบนออกจากแนวกลางตัวไปยังข้างใดข้างหนึ่ง ขนาดโดยเฉลี่ยของโพรงอากาศหน้าผากคือ สูงประมาณ 3 ซม.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและโพรงอากาศหน้าผาก · ดูเพิ่มเติม »

โรคไลม์

รคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในจีนัส Borrelia อย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี Borrelia burgdorferi sensu stricto เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปอเมริกาเหนือ และ Borrelia afzelii กับ Borrelia garinii เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปยุโรป โรคนี้ตั้งชื่อตามเมืองไลม์และโอลด์ไลม์ รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและโรคไลม์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโปทาลามัส

ปทาลามัส มาจากภาษากรีซ ὑποθαλαμος แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลักที่อยู่ด้านล่างของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ในมนุษย์มีขนาดประมาณเมล็ดอัลมอนด์ ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมบางอย่าง และหน้าที่อื่นๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนประสาท (neurohormones) ซึ่งมักเรียกว่า hypothalamic-releasing hormones ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ความหิว, ความกระหายน้ำ, ความเหนื่อยล้า, ความโกรธ และจังหวะรอบวัน (Circadian rhythm) ไฮโปทาลามัสเป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ การหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ความสมดุลของน้ำในร่างกายและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและไฮโปทาลามัส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท

นอร์วัส อินเทอร์มีเดียส (Nervus intermedius) หรือ เส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท (Intermediate nerve) เป็นส่วนหนึ่งของเส้นประสาทเฟเชียล (เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7) อยู่ระหว่างใยประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลและเส้นประสาทหู (vestibulocochlear nerve; เส้นประสาทสมองเส้นที่ 8) เส้นประสาทนี้นำพากระแสประสาทรับความรู้สึกและใยประสาทพาราซิมพาเทติกของเส้นประสาทเฟเชียล เส้นประสาทนี้เชื่อมกับรากประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลบริเวณปมประสาทเจนิคิวเลตก่อนถึงคลองประสาทเฟเชียล (facial canal).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและเส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต

เส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต (facial nerve paralysis) เป็นภาวะที่ทำให้อวัยวะที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียลเกิดทำงานไม่ได้หรือเป็นอัมพาตขึ้นมา เส้นทางของเส้นประสาทนี้ยาวและซับซ้อน เพราะฉะนั้นจึงอาจมีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้มากมาย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคืออัมพาตแบบเบลล์ ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ วินิจฉัยได้โดยการแยกเอาสาเหตุอื่นออกหมดแล้วเท่านั้น (by exclusion) หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา หมวดหมู่:โรคของระบบประสาทนอกส่วนกลาง หมวดหมู่:ใบหน้า.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย

นื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย (striated muscle tissue) เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อซึ่งมีซาร์โคเมียร์ (sarcomere) ซ้ำ ๆ ซึ่งต่างจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเรียบ กล่าวโดยเจาะจง กล้ามเนื้อลาย ได้แก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Facial nerveเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7เส้นประสาทหน้าเส้นประสาทใบหน้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »