โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นประสาทเฟเชียล

ดัชนี เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

35 ความสัมพันธ์: กระดูกห้องหูชั้นในกระดูกโกลนกล้ามเนื้อฟรอนทาลิสกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริสกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อลีควี นาไซกล้ามเนื้อหลับตากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิสกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิสกล้ามเนื้อออริคิวลาริสกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอกล้ามเนื้อนาซาลิสกล้ามเนื้อแสยะยิ้มกล้ามเนื้อโปรเซอรัสกล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริสกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์กล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิสการรับรู้รสรายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์รีเฟล็กซ์หูชั้นกลางหน่วยรับรสอะมิกดะลาอัมพาตแบบเบลล์ตุ่มรับรสประสาทสมองปุ่มลิ้นไลนิโซลิดเส้นประสาทอินเทอร์มีเดียทเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเปลือกสมองส่วนรู้รสICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอกICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท

กระดูกห้องหูชั้นใน

กระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth, osseous labyrinth, otic capsule) เป็นกำแพงกระดูกแข็งกั้นรอบหูชั้นในที่อยู่ในส่วน petrous ของกระดูกขมับ โดยมีส่วนสามส่วนคือ โพรงหน้า (vestibule) ที่อยู่ตรงกลาง หลอดกึ่งวงกลมที่อยู่ด้านบนหลัง และคอเคลียที่อยู่ด้านหน้า ซึ่งล้วนเป็นช่องในกระดูกบุด้วยเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) และบรรจุด้วยน้ำใส ๆ ที่เรียกว่า perilymph ซึ่งล้อมเยื่อห้องหูชั้นใน (membranous labyrinth) ที่อยู่ภายในและเต็มไปด้วยน้ำอีกอย่างคือ endolymph เยื่อห้องหูชั้นในเป็นส่วนที่มีโครงสร้างรับความรู้สึกของระบบการได้ยินคือคอเคลีย และของระบบการทรงตัว คือหลอดกึ่งวงกลม utricle และ saccule ในระบบการจำแนกกระดูกแตกอย่างหนึ่ง การพบกระดูกขมับแตกที่กระดูกห้องหูชั้นในด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สามารถพยากรณ์ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งปัญหาเส้นประสาทเฟเชียล, การเสียการได้ยินเนื่องจากประสาทรับความรู้สึก (sensorineural deafness) และน้ำสมองร่วมไขสันหลังไหลจากหู (cerebrospinal fluid otorrhea) ในภาพเอกซเรย์ กระดูกห้องหูชั้นในจะปรากฏเป็นส่วนทึบสุดของกระดูกขมั.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกระดูกห้องหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโกลน

กระดูกโกลน (stapes or stirrup) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโกลน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่ง (incus) และช่องรูปไข่ (fenestra ovalis) ซึ่งอยู่ชิดกับเวสทิบูลของหูชั้นใน กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เล็กและเบาที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกโกลนทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่งไปยังเยื่อแผ่นในหูชั้นในภายในช่องรูปไข่ กระดูกโกลนมีกล้ามเนื้อที่ช่วยให้เสถียรชื่อว่า กล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า คอลัมเมลลา (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกระดูกโกลน · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis muscle) เป็นกล้ามเนื้อบางๆ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของศีรษะ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเกาะกับพังผืดชั้นผิว (superficial fascia) มีลักษณะกว้างกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส (Occipitalis) และใยของกล้ามเนื้อนี้ยังยาวและสีซีดกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส กล้ามเนื้อนี้ไม่มีจุดเกาะอยู่กับกระดูก ใยกล้ามเนื้อส่วนใกล้กลาง (medial) ต่อเนื่องกับใยของกล้ามเนื้อโปรเซอรัส (Procerus) ใยกล้ามเนื้อตรงกลางร่วมไปกับกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) ยึดเกาะกับผิวหนังของคิ้ว "eye, human."Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อฟรอนทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริส

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริส (levator anguli oris) เป็นกล้ามเนื้อใบหน้าที่อยู่บริเวณปาก เริ่มจากแอ่งฟันเขี้ยว (canine fossa) ซึ่งอยู่ใต้ต่อรูใต้เบ้าตา (infraorbital foramen) ใยของกล้ามเนื้อเข้าเกาะปลายที่มุมของปาก ร่วมกับกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส (zygomaticus), ดีเพรสเซอร์ แองกูไล ออริส (depressor anguli oris), และกล้ามเนื้อหูรูดปาก (Orbicularis oris).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อลีควี นาไซ

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อัลลีค นาไซ (levator labii superioris alaeque nasi muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บนใบหน้า ชื่อของกล้ามเนื้อเป็นภาษาละตินแปลว่า กล้ามเนื้อที่ยกริมฝีปากบนและยกปีกจมูก กล้ามเนื้อนี้เป็นกล้ามเนื้อที่มีชื่อยาวที่สุดในบรรดากล้ามเนื้อในร่างกายของสัตว.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อลีควี นาไซ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหลับตา

กล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis ocule) เป็นกล้ามเนื้อในใบหน้าลักษณะเป็นเส้นใยวงกลมวนรอบดวงตา ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อนี้เกิดการหดตัวก็จะทำให้สามารถหลับตาได้ โดยเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็คือเส้นประสาทเฟเชียล หรือเส้นประสาทคู่ที่ 7 หลับตา.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อหลับตา · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส

กล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส (Occipitalis) เป็นกล้ามเนื้อบนศีรษะของมนุษย์ มีลักษณะบาง และมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า จุดเกาะเป็นเอ็นเส้นใยจากด้านข้าง 2/3 ของเส้นหลังคอเส้นบนสุด (superior nuchal line) ของกระดูกท้ายทอย และจากส่วนกกหูของกระดูกขมับ (mastoid part) และเข้าไปเกาะปลายที่กาเลีย อโพนิวโรติกา (galea aponeurotica) ในตำราบางเล่มจัดกล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส (occipitofrontalis muscle).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส (Occipitofrontalis) เป็นกล้ามเนื้อบนศีรษะของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออริคิวลาริส

กล้ามเนื้อออริคิวลาริส (Auriculares muscles) เป็นกล้ามเนื้อ 3 มัดที่อยู่ล้อมรอบใบหูหรือหูชั้นนอก ได้แก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อออริคิวลาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Depressor Supercilii) เป็นกล้ามเนื้อตาของร่างกายมนุษย์ ธรรมชาติของกล้ามเนื้อนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน ตำราทางกายวิภาคศาสตร์บางเล่มนับกล้ามเนื้อนี้เป็นกล้ามเนื้อมัดหนึ่ง (เช่น Netter, et al) แต่ผู้เขียนส่วนใหญ่นับกล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis oculi) ในทางตรงกันข้าม ตจแพทย์, จักษุแพทย์, และศัลยแพทย์พลาสติกจำนวนมากนับกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอเป็นกล้ามเนื้อมัดหนึ่งแยกออกมา และทำหน้าที่เฉพาะในการเคลื่อนไหวคิ้วและผิวหนังบริเวณแสกหน้.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซ

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซ (Depressor septi หรือ Depressor alœ nasi) เป็นกล้ามเนื้อบนใบหน้าที่มีจุดเกาะต้นที่แอ่งเพดานปากหลังฟันตัด (incisive fossa) ของกระดูกขากรรไกรบน ใยของกล้ามเนื้อทอดขึ้นไปเกาะปลายที่ผนังกลางจมูก (nasal septum) และส่วนหลังของส่วนปีกของกล้ามเนื้อนาซาลิส (nasalis muscle) กล้ามเนื้อนี้วางตัวระหว่างเยื่อเมือก (mucous membrane) และโครงสร้างกล้ามเนื้อของริมฝีปาก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

กล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็ก แคบ รูปร่างเป็นพีระมิด ตั้งอยู่ที่หัวคิ้ว ใต้ต่อกล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) กล้ามเนื้อนี้เริ่มจากปลายด้านใกล้กลางของโหนกคิ้ว (superciliary arch) และใยกล้ามเนื้อทอดไปทางด้านบนและด้านข้าง ระหว่างส่วนหนังตา (palpebral portion) และส่วนเบ้าตา (orbital portion) ของกล้ามเนื้อหลับตา และเข้าเกาะปลายที่พื้นผิวชั้นลึกของผิวหนัง เหนือต่อกึ่งกลางของโค้งเบ้าตา (orbital arch).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อนาซาลิส

กล้ามเนื้อนาซาลิส (nasalis) (กล้ามเนื้อคอมเพรสเซอร์ นาริส (compressor naris)) เป็นกล้ามเนื้อที่เหมือนหูรูดของจมูกซึ่งทำหน้าที่ในการหดหรือกดกระดูกอ่อนจมูก (nasal cartilage) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนทรานสเวอร์ส และ ส่วนเอลาร.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อนาซาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม หรือ กล้ามเนื้อไรซอเรียส (risorius) มีจุดเกาะต้นจากพังผืดเหนือต่อมพาโรติด และทอดในแนวขวางมาด้านหน้า อยู่ชั้นผิวกว่ากล้ามเนื้อแพลทิสมา (platysma) และเข้าเป็นจุดเกาะปลายที่ผิวหนังบริเวณมุมปาก ใยของกล้ามเนื้อนี้เป็นมัดแคบๆ มีส่วนกว้างที่สุดที่จุดเกาะต้น และมีความหลากหลายมากในขนาดและรูปร่าง.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อแสยะยิ้ม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเซอรัส

กล้ามเนื้อโปรเซอรัส (Procerus) เป็นแผ่นกล้ามเนื้อรูปพีระมิดขนาดเล็ก ลึกต่อเส้นประสาทซุพีเรียร์ออบิทัล (superior orbital nerve), หลอดเลือดแดงซุปปราออบิทัล (Supra-orbital artery), และหลอดเลือดดำซุปปราออบิทัล (Supraorbital vein).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อโปรเซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริส

กล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริส (Dilator naris muscle) เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อนาซาลิส ประกอบด้วยส่วนหลัง (โพสทีเรียร์) และส่วนหน้า (แอนทีเรียร์).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์ (zygomaticus minor) เป็นกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้าของมนุษย์ เริ่มจากกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic bone) และเข้าเกาะปลายที่ริมฝีปากบน ทำหน้าที่ยกมุมปากและช่วยในการยิ้ม กล้ามเนื้อนี้มีเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve, CN VII) เลี้ยงเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้ามัดอื่น.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์ (Zygomatic major) เป็นกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่ดึงมุมปากไปทางด้านบนและด้านข้าง กล้ามเนื้อนี้มีเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve, CN VII) เลี้ยงเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้ามัดอื่นๆ กล้ามเนื้อไซโกมาติคัสเกาะจากโค้งกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic arch) ไปยังมุมปาก กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ยกมุมปากในขณะที่ยิ้ม.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิส

กล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิส (Temporoparietalis muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่เหนือต่อกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ออริคิวลาร์ (Auricularis superior).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและกล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

รายชื่อกล้ามเนื้อของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนกล้ามเนื้อที่แน่นอนก็ยังไม่แน่ชัดเพราะแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการจัดกลุ่มกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ทำให้จำนวนกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์มีตั้งแต่ 640-850 มัด ซึ่งตารางนี้มีรายชื่อกล้ามเนื้อประมาณ 320 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อในตารางนี้เป็นหน้าที่มาตรฐานเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่าค (anatomical position) ในตำแหน่งร่างกายอื่นๆ กล้ามเนื้ออาจมีหน้าที่ที่ต.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและรายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รีเฟล็กซ์

รีเฟล็กซ์ หรือ ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary) ที่เกิดขึ้นอย่างแทบฉับพลันทันที (instantaneous) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (stimulus) โดยปกติและเมื่อหมายถึงรีเฟล็กซ์ของมนุษย์แล้ว รีเฟล็กซ์จะเกิดผ่านระบบการนำกระแสประสาทที่เรียกว่า วงรีเฟล็กซ์ (reflex arc) ซึ่งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ประเภทอื่นๆ คำว่ารีเฟล็กซ์อาจมีรายละเอียดของความหมายที่แตกต่างกันออกไปได้.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและรีเฟล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับรส

หน่วยรับรส (taste receptor) เป็นหน่วยรับความรู้สึกประเภทหนึ่ง อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์รับรส และอำนวยให้รู้รส เมื่ออาหารหรือสารอื่น ๆ เข้ามาในปาก โมเลกุลของอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำลายจะจับกับหน่วยรับรสในช่องปากและในที่อื่น ๆ ซึ่งก่อปฏิกิริยาภายในเซลล์ และในที่สุดทำให้เซลล์หลั่งสารสื่อประสาท อำนวยให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังสมอง แล้วทำให้รู้รส ระบบรับรสมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับสารอาหาร มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรับรู้รสหลัก ๆ ได้ 5 อย่างคือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน ขม และอุมะมิ หน่วยรับรสสามารถแบ่งออกเป็นแบบทั่ว ๆ ไปสองหมู่คือ.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและหน่วยรับรส · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาตแบบเบลล์

ภาวะอัมพาตแบบเบลล์ (Bell's paly) เป็นอาการอัมพาตของใบหน้าชนิดหนึ่งทำให้มีการทำงานผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) จนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โรคหรือภาวะที่ทำให้มีใบหน้าชาเช่นนี้มีอีกหลายโรค ตั้งแต่เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไลม์ และอื่นๆ แต่หากไม่พบภาวะซึ่งเป็นสาเหตุได้จะถือว่าภาวะใบหน้าเป็นอัมพาตนั้นเกิดจากภาวะอัมพาตแบบเบลล์ ภาวะนี้ได้ชื่อตามนักกายวิภาคศาสตร์ชาวสก็อตชื่อชาร์ลส์ เบลล์ ซึ่งได้บรรยายภาวะนี้เอาไว้เป็นครั้งแรก อัมพาตแบบเบลล์เป็นโรคของเส้นประสาทเส้นเดียว (mononeuropathy) ที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของภาวะเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดด้วย หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:โรคซึ่งไม่ทราบสาเหตุ หมวดหมู่:โรคของระบบประสาท หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและอัมพาตแบบเบลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ตุ่มรับรส

ตุ่มรับรส (Taste buds) เป็นโครงสร้างรูปลูกเลมอน/หัวกระเทียมที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อบุผิวและประกอบด้วยเซลล์รับรส 40-60 เซลล์ ซึ่งก็จะมีหน่วยรับรส (taste receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์อันทำให้สามารถรับรู้รสชาติ ตุ่มรับรสจะอยู่ที่ปุ่ม (papillae) ของผิวลิ้น ที่เพดานอ่อน ที่หลอดอาหารส่วนบน ที่แก้ม และที่ฝากล่องเสียง โดยเฉลี่ยแล้ว ลิ้นมนุษย์จะมีตุ่มรับรส 2,000-8,000 ตุ่ม และแต่ละตุ่มจะมีเซลล์รับรสซึ่งอยู่ร่วมกับเซลล์ค้ำจุนกับเซลล์ต้นกำเนิดที่ฐาน (basal stem cell) โครงสร้างเหล่านี้มีบทบาทในการรับรู้รสหลัก ๆ 5 อย่าง คือ เค็ม เปรี้ยว ขม หวาน และอุมะมิ ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะเป็นรสชาติของสิ่งที่อยู่ในปาก มีข่าวลอยว่า มีส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่รับรสโดยเฉพาะ ๆ แต่ความจริงลิ้นทั้งหมดสามารถรับรสได้ทุกรส ผ่านช่องเล็ก ๆ ในเนื้อเยื่อของลิ้นซึ่งเรียกได้ว่า รูรับรส (taste pore) โดยอาหารบางส่วนจะละลายในน้ำลาย ท่วมรูรับรส แล้วทำให้ถูกกับหน่วยรับรส เซลล์รับรสจะเป็นตัวส่งข้อมูลที่ได้จากหน่วยรับรสและช่องไอออนกลุ่มต่าง ๆ ไปยังเปลือกสมองส่วนรับรส (gustatory cortex) ผ่านประสาทสมองคือเส้นประสาทเฟเชียล (7), เส้นประสาทลิ้นคอหอย (9), และเส้นประสาทเวกัส (10) ถึงกระนั้น ลิ้นบางส่วนก็ยังอาจไวรสหนึ่ง ๆ มากกว่ารสอื่น ๆ คือ.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและตุ่มรับรส · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มลิ้น

ปุ่มลิ้น (Lingual papillae เอกพจน์ papilla) เป็นโครงสร้างเล็ก ๆ คล้ายหัวนมที่ผิวบนของลิ้นโดยมีอยู่ 4 ชนิด ซึ่งมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ดังนั้น จึงมีชื่อต่างกัน รวมทั้งปุ่มเซอร์คัมแวลเลต/ปุ่มล้อมด้วยกำแพง (circumvallate papillae, vallate papillae), ปุ่มรูปเห็ด (fungiform papillae), ปุ่มรูปด้าย (filiform papillae), และปุ่มรูปใบไม้ (foliate papillae) ทั้งหมดยกเว้นปุ่มรูปด้ายมีตุ่มรับรส (taste bud) ซึ่งทำให้รู้รสได้ ส่วนปุ่มรูปด้ายซึ่งมีมากที่สุดในลิ้นมนุษย์ นอกจากจะทำให้ลิ้นสาก ก็ยังมีส่วนในการทำให้รับรู้เนื้ออาหารที่ไม่ใช่รสได้.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและปุ่มลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ไลนิโซลิด

ลนิโซลิด (Linezolid) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ไลนิโซลิดสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกได้เกือบทุกสายพันธ์ุ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียในสกุลสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus), สกุลเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus; VRE), และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus; MRSA) ส่วนมากแล้วมักใช้ยานี้ในการรักษาโรคติดเชื้อดังข้างต้นบริเวณผิวหนังและในปอด อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจถูกใช้ในโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นได้เช่นกัน เช่น วัณโรคที่ดื้อต่อยารักษาวัณโรคสูตรปกติ โดยยานี้สามารถบริหารยาได้ทั้งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous) และการรับประทาน การใช้ยาไลนิโซลิดในระยะเวลาสั้นนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง หรือโรคตับอักเสบ อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ในช่วงสั้น ได้แก่ ปวดศีรษะ, ท้องเสีย, ผื่น, และอาเจียน ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome), การกดไขกระดูก (Bone marrow suppression) และภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก (lactic acidosis) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อใช้ยาไลนิโซลิดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ ในบางครั้งการใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทส่วนปลายจนไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งรวมถึงการทำลายเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของการมองเห็นด้วย ไลนิโซลิดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในยากลุ่มออกซาโซลิโดน (Oxazolidone) เนื่องจากยาดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้ยาดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีนาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนกับไลนิโซลิด แต่โดยแท้จริงแล้ว ไลนิโซลิดนั้นมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างไปจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่น กล่าวคือ ยาดังกล่าวจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งขั้นตอนแรกในการสร้างโปรตีน ในขณะที่ยาปฏิชีวนะอื่นนั้นจะออกฤทธิ์ในขั้นตอนที่เป็นลำดับถัดมา ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่นนี้ ทำให้อุบัติการณ์การดื้อต่อยาไลนิโซลิดของเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ข้อมูล ปี ค.ศ. 2014) ไลนิโซลิดถูกค้นพบในช่วงกลางทศวรรต 1990 และได้รับการรับรองให้มีการผลิตเชิงการค้าในปี..

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและไลนิโซลิด · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท

นอร์วัส อินเทอร์มีเดียส (Nervus intermedius) หรือ เส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท (Intermediate nerve) เป็นส่วนหนึ่งของเส้นประสาทเฟเชียล (เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7) อยู่ระหว่างใยประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลและเส้นประสาทหู (vestibulocochlear nerve; เส้นประสาทสมองเส้นที่ 8) เส้นประสาทนี้นำพากระแสประสาทรับความรู้สึกและใยประสาทพาราซิมพาเทติกของเส้นประสาทเฟเชียล เส้นประสาทนี้เชื่อมกับรากประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลบริเวณปมประสาทเจนิคิวเลตก่อนถึงคลองประสาทเฟเชียล (facial canal).

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและเส้นประสาทอินเทอร์มีเดียท · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต

เส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต (facial nerve paralysis) เป็นภาวะที่ทำให้อวัยวะที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียลเกิดทำงานไม่ได้หรือเป็นอัมพาตขึ้นมา เส้นทางของเส้นประสาทนี้ยาวและซับซ้อน เพราะฉะนั้นจึงอาจมีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้มากมาย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคืออัมพาตแบบเบลล์ ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ วินิจฉัยได้โดยการแยกเอาสาเหตุอื่นออกหมดแล้วเท่านั้น (by exclusion) หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา หมวดหมู่:โรคของระบบประสาทนอกส่วนกลาง หมวดหมู่:ใบหน้า.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนรู้รส

ปลือกสมองส่วนรู้รส (gustatory cortex ตัวย่อ GC) เป็นโครงสร้างสมองซึ่งทำหน้าที่รับรู้รส โดยมีโครงสร้างย่อย 2 ส่วน คือ anterior insula ใน insular cortex, และ operculum ส่วนหน้าที่บริเวณ inferior frontal gyrus ในสมองกลีบหน้า เพราะองค์ประกอบของมัน เปลือกสมองส่วนรู้รสบางครั้งจึงเรียกในวรรณกรรมต่าง ๆ ว่า AI/FO (Anterior Insula/Frontal Operculum) โดยใช้เทคนิคการบันทึกสัญญาณนอกเซลล์ นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงว่า นิวรอนใน AI/FO จะตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสขม และรสเปรี้ยว และเข้ารหัสความเข้มข้นของสิ่งเร้าที่มีร.

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและเปลือกสมองส่วนรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เส้นประสาทเฟเชียลและICD-10 บทที่ 6: โรคของระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Facial nerveเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7เส้นประสาทหน้าเส้นประสาทใบหน้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »