โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลีบหน้า

ดัชนี กลีบหน้า

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นบริเวณของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) แต่ละข้าง และอยู่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ส่วนสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ตั้งอยู่ล่างและหลังต่อสมองกลีบหน้.

54 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาของความซึมเศร้าฟิเนียส์ พี. เกจกลุ่มอาการมือแปลกปลอมกลีบสมองกลีบขมับกลีบข้างกลไกทางประสาทของการเจริญสติการกุเหตุความจำเสื่อมการรับรู้รสการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิการเข้ารหัสทางประสาทภาวะละเลยกึ่งปริภูมิภาวะเสียการคำนวณภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวดรอยนูนหน้าส่วนบนรอยนูนแองกูลาร์ระบบการได้ยินร่องกลางร่องด้านข้างวิวัฒนาการของมนุษย์สภาวะตื่นตัวสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหวสมองมนุษย์สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์สมองใหญ่สัจนิยมเหตุซึมเศร้าหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลอาการหลงผิดคะกราส์ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกายจิตพยาธิวิทยาสัตว์ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในความจำความจำเชิงกระบวนวิธีความเอนเอียงรับใช้ตนเองคอร์เทกซ์คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกตามนุษย์ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์โพรงสมองข้างโรคอัลไซเมอร์โรคซึมเศร้าเส้นประสาทเฟเชียลเปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็นเปลือกสมองส่วนรู้รสBálint's syndromeCotard delusionExecutive functions...Frontal eye fieldsICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกIntraparietal sulcusSmooth pursuit ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

ชีววิทยาของความซึมเศร้า

งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า บริเวณสมองเป็นจำนวนมากทำงานเปลี่ยนไปในคนไข้โรคซึมเศร้า ซึ่งให้กำลังใจแก่ผู้สนับสนุนทฤษฎีหลายอย่างที่พยายามกำหนดเหตุทางชีวภาพ-เคมีของโรค เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่เน้นเหตุทางจิตหรือทางสถานการณ์ มีทฤษฎีหลายอย่างในเรื่องเหตุทางชีววิทยาของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการเสนอ และที่เด่นที่สุดมีการวิจัยมากที่สุดก็คือสมมติฐานโมโนอะมีน (monoamine hypothesis).

ใหม่!!: กลีบหน้าและชีววิทยาของความซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ฟิเนียส์ พี. เกจ

นาย ฟิเนียส์ พี.

ใหม่!!: กลีบหน้าและฟิเนียส์ พี. เกจ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการมือแปลกปลอม

กลุ่มอาการมือแปลกปลอม (alien hand syndrome, Dr Strangelove syndrome) หรือ กลุ่มอาการมือต่างดาว เป็นความผิดปกติทางประสาทที่มือของคนไข้เหมือนกับมีใจเป็นของตน เป็นกลุ่มอาการที่มีการรายงานมากที่สุดในกรณีที่คนไข้ได้รับการตัด corpus callosumcorpus callosum หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (มีรก) ประเภท eutheria อยู่ที่ ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วน white matter (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน ออก ซึ่งบางครั้งใช้เป็นวิธีบรรเทาอาการเกี่ยวกับโรคลมชัก (epilepsy) ชนิดรุนแรง แต่ก็เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นด้วยในกรณีอื่น ๆ เช่นการผ่าตัดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ เนื้องอก หลอดเลือดโป่งพอง และโรคสมองเสื่อมบางชนิดเช่นโรคอัลไซเมอร์ และ Creutzfeldt-Jakob diseaseBellows, A. (2009).

ใหม่!!: กลีบหน้าและกลุ่มอาการมือแปลกปลอม · ดูเพิ่มเติม »

กลีบสมอง

กลีบสมอง (Lobes of the brain) เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในการแบ่งกลีบของสมองในระยะดั้งเดิม เป็นการแบ่งตามลักษณะทางกายวิภาค ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต่างๆ กันของสมอง เทเลนเซฟาลอน ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองมนุษย์แบ่งออกได้เป็นกลีบต่างๆ เช่นเดียวกันกับสมองส่วนซีรีเบลลัม แต่หากไม่ระบุให้เจาะจงลงไป การแบ่งกลีบของสมองมักหมายถึงการแบ่งกลีบเฉพาะของซีรีบรัม เทเลนเซฟาลอนแบ่งออกได้เป็น 4 กลีบ ได้แก่ #73B2F9 ซีรีเบลลัม (cerebellum).

ใหม่!!: กลีบหน้าและกลีบสมอง · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: กลีบหน้าและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: กลีบหน้าและกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

กลไกทางประสาทของการเจริญสติ

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness) ซึ่งสามารถฝึกได้โดยการเ เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกในกายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่ตัดสิน" เป็นการปฏิบัติที่มาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา และสร้างความนิยมในประเทศตะวันตก.

ใหม่!!: กลีบหน้าและกลไกทางประสาทของการเจริญสติ · ดูเพิ่มเติม »

การกุเหตุความจำเสื่อม

ในจิตวิทยาหรือจิตเวชศาสตร์ การกุเหตุความจำเสื่อม"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (confabulation มากจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "การเล่าเรื่อง") เป็นความปั่นป่วนของความจำที่ปรากฏโดยคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ตรงกับประวัติ ภูมิหลัง หรือสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง การกุเหตุความจำเสื่อมต่างจากการโกหกเพราะไม่มีเจตนาที่จะหลอกลวง และบุคคลนั้นไม่รู้ว่า ข้อมูลของตนนั้นไม่ตรงกับความจริงMoscovitch M. 1995.

ใหม่!!: กลีบหน้าและการกุเหตุความจำเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: กลีบหน้าและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ตสมองที่มีสีเน้นเป็นเขต anterior cingulate cortex ซึ่งทำงานเมื่อมีการเจริญกรรมฐาน การเจริญกรรมฐาน (meditation) ผลต่อการทำงานของสมอง และผลต่อระบบประสาทกลาง ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยข้ามสาขาในประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และชีววิทยาประสาท (neurobiology) ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานวิจัยได้พยายามที่จะกำหนดและแสดงลักษณะของการเจริญกรรมฐาน/การเจริญภาวนา/การนั่งสมาธิ แบบต่าง ๆ ผลการเจริญกรรมฐานต่อสมองมีสองแบบ คือผลต่อภาวะสมองระยะสั้นเมื่อกำลังเจริญกรรมฐาน และผลต่อลักษณะที่มีในระยะยาว ประเด็นการศึกษาบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานของชาวพุทธทั้งในแบบวิปัสสนา และในรูปแบบของนิกายเซน.

ใหม่!!: กลีบหน้าและการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสทางประสาท

การยิงศักยะงานเป็นขบวนหรือเป็นลำดับ ๆ ของเซลล์ประสาท การเข้ารหัสทางประสาท (Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก.

ใหม่!!: กลีบหน้าและการเข้ารหัสทางประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

วะละเลยกึ่งปริภูมิ หรือ ภาวะละเลยข้างเดียว (Hemispatial neglect หรือ hemiagnosia หรือ hemineglect หรือ unilateral neglect หรือ spatial neglect หรือ unilateral visual inattentionUnsworth, C. A. (2007). Cognitive and Perceptual Dysfunction. In T. J. Schmitz & S. B. O’Sullivan (Eds.), Physical Rehabilitation (pp. 1149-1185). Philadelphia, F.A: Davis Company. หรือ hemi-inattention หรือ neglect syndrome) เป็นภาวะทางประสาทจิตวิทยาที่เมื่อมีความเสียหายต่อซีกสมองด้านหนึ่ง ความบกพร่องในการใส่ใจ (attention) และการรู้สึกตัว (awareness) ในปริภูมิด้านหนึ่งของกายก็เกิดขึ้น ภาวะนี้กำหนดโดยความไม่สามารถที่จะประมวลผลและรับรู้ตัวกระตุ้นทางด้านหนึ่งของกายหรือสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความบกพร่องทางความรู้สึก ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิโดยมากมีผลในกายด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เกิดความเสียหาย (คือมีรอยโรค) แต่ว่า กรณีที่มีผลในด้านเดียวกันกับรอยโรคในสมองก็มีอยู่เหมือนกัน.

ใหม่!!: กลีบหน้าและภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียการคำนวณ

วะเสียการคำนวณ (Acalculia) เป็นภาวะบกพร่องที่ได้รับมา (acquired) ของผู้ป่วย มีอาการบกพร่องในกระบวนการทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ เช่น การบวก, การลบ, การคูณ, หรือแม้กระทั่งการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนว่าจำนวนใดมากกว่า ภาวะเสียการคำนวณแตกต่างจากภาวะบกพร่องการเรียนรู้การคำนวณ (dyscalculia) ซึ่งเป็นความผิดปกติของพัฒนาการ แต่ภาวะเสียการคำนวณเกิดจากการบาดเจ็บของระบบประสาทเช่นโรคหลอดเลือดสมอง.

ใหม่!!: กลีบหน้าและภาวะเสียการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด

วะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด (Pain asymbolia, pain dissociation) เป็นสภาพที่รู้สึกเจ็บปวดโดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อน ปกติเป็นผลของการบาดเจ็บต่อสมอง, การผ่าตัดแบบ prefrontal lobotomy หรือ cingulotomy, และความไม่รู้เจ็บเพราะมอร์ฟีน นอกจากนั้น รอยโรคที่ insular cortex อาจกำจัดความไม่น่าชอบใจของสิ่งเร้าที่เจ็บ แม้จะยังสามารถรู้ตำแหน่งและระดับความรุนแรง ปกติแล้ว คนไข้จะรายงานว่ารู้สึกเจ็บแต่ไม่ทุกข์ร้อน คือเข้าใจว่าเจ็บ แต่ก็ไม่เดือดร้อน.

ใหม่!!: กลีบหน้าและภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนหน้าส่วนบน

รอยนูนหน้าส่วนบน หรือ รอยนูนสมองกลีบหน้าส่วนบน (superior frontal gyrus, gyrus frontalis superior, ตัวย่อ SFG) เป็นส่วน 1 ใน 3 ของสมองกลีบหน้าของมนุษย์ อยู่ติดกับ ร่องสมองกลีบหน้าส่วนบน (superior frontal sulcus) ทางด้านข้าง และโดยเหมือนกับ รอยนูนหน้าส่วนล่างและรอยนูนหน้าส่วนกลาง รอยนูนหน้าส่วนบนจริงๆ แล้วเป็นเขตสมองโดยประสาทกายวิภาค ไม่ใช่เป็นรอยนูนจริง.

ใหม่!!: กลีบหน้าและรอยนูนหน้าส่วนบน · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนแองกูลาร์

รอยนูนแองกูลาร์ (angular gyrus) เป็นเขตสมองในสมองกลีบข้าง ซึ่งอยู่ใกล้ด้านบนของสมองกลีบขมับ และอยู่ข้างหลังต่อจาก Supramarginal gyrus เป็นเขตสมองที่มีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับภาษา การประมวลผลเกี่ยวกับตัวเลข การรู้จำปริภูมิ (spatial cognition) การค้นคืนความจำ ความใส่ใจ และการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mindการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mind) คือความสามารถในการเข้าใจสภาวะของจิตใจเป็นต้นว่า ความเชื่อ ความตั้งใจ ความปรารถนา การเสแสร้ง ความรู้ โดยเป็นของตนหรือเป็นของคนอื่น และในการเข้าใจว่า ผู้อื่นมีความเชื่อ ความปรารถนา และความตั้งใจเป็นต้น ที่ไม่เหมือนกับของตน) เขตนี้เป็นเขตเดียวกันกับเขตบร็อดแมนน์ 39 ในสมองมนุษ.

ใหม่!!: กลีบหน้าและรอยนูนแองกูลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ใหม่!!: กลีบหน้าและระบบการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ร่องกลาง

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ ร่องกลาง (Central sulcus) เป็นรอยพับในซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง อาจเรียกว่า central fissure เดิมเรียกว่า ร่องของโรลันโด (fissure of Rolando หรือ Rolandic fissure) ตามชื่อของลุยจี โรลันโด (Luigi Rolando, 1773-1831) ศาสตราจารย์ทางกายวิภาคศาสตร์ชาวอิตาลี ร่องกลางเป็นบริเวณที่สำคัญของสมอง ซึ่งแยกสมองกลีบข้าง (parietal lobe) และสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และแยกระหว่างไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) หรือคอร์เท็กซ์สั่งการปฐมภูมิ และไพรมารี โซมาโตเซนซอรี คอร์เท็กซ์ (primary somatosensory cortex) หรือคอร์เท็กซ์รับความรู้สึกส่วนกายปฐมภูม.

ใหม่!!: กลีบหน้าและร่องกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ร่องด้านข้าง

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ ร่องด้านข้าง หรือ ร่องซิลเวียน (Lateral sulcus หรือ Sylvian fissure หรือ lateral fissure) เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นของสมองมนุษย์ แบ่งสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ที่อยู่ด้านบนออกจากสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ที่อยู่ด้านล่าง ปรากฏอยู่ทั้งซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ทั้งสองข้าง แต่ข้างซ้ายยาวกว่า ร่องนี้เป็นหนึ่งในร่องที่วิวัฒนาการขึ้นมาแรกสุดในสมองมนุษย์ ปรากฏขึ้นในราวอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 14 นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย ร่องด้านข้างมีการแตกแขนงมากมาย แขนงที่เด่นๆ และพบได้ง่ายมีอยู่ 2 ร่อง คือ ascending (หรือ vertical) ramus และ horizontal ramus ซึ่งแบ่งลอนสมองอินฟีเรียร์ ฟรอนทัล (inferior frontal gyrus) ร่องด้านข้างนี้มีโครงสร้างที่เรียกว่า ลอนสมองทรานสเวอร์ส เทมเพอรัล (transverse temporal gyri) ซึ่งเป็นสมองส่วนการได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex) ชื่อ ร่องซิลเวียน มาจากชื่อฟรานซิสคัส ซิลเวียส (Franciscus Sylvius, 1614-1672) ศาสตราจารย์ทางการแพท.

ใหม่!!: กลีบหน้าและร่องด้านข้าง · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: กลีบหน้าและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ใหม่!!: กลีบหน้าและสภาวะตื่นตัว · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว

วะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว (Akinetic mutism) เป็นศัพท์ทางแพทย์ ที่ระบุผู้ป่วยที่มักจะไม่เคลื่อนไหวเพราะสภาวะเสียการเคลื่อนไหว (akinesia) และไม่พูดเพราะสภาวะพูดไม่ได้หรือสภาวะไม่ยอมพูด (mutism) เป็นสภาวะที่เกิดจากความเสียหายอย่างรุนแรงของสมองกลีบหน้า คนไข้มักจะมีอาการที่ไม่ตอบสนองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีการเคลื่อนไหวและการพูดจาที่น้อยลงไป ตัวอย่างของเหตุความผิดปกตินี้ก็คือเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (meningioma) ที่ร่องสมองของระบบการได้กลิ่น (olfactory groove) ความผิดปกตินี้เห็นได้ด้วยในอาการขั้นสุดท้ายของโรคครูซเฟล์ดต-เจคอบ (Creutzfeldt-Jakob Disease) ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ และในกรณีของสมองอักเสบแบบไม่เคลื่อนไหว (encephalitis lethargica) แบบฉับพลัน สภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นในโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสียหายของเส้นเลือดในเขตสมองใหญ่ด้านหน้า เหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือพิษในประสาทที่เกิดจากยาเช่น TacrolimusTacrolimus และ Cyclosporine เป็นยากดระบบภูมิคุ้มกัน โดยหลักใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เพื่อลดความเสี่ยงที่ร่างกายของคนไข้จะไม่รับอวัยวะใหม่ และ Cyclosporine เหตุอีกอย่างหนึ่งของทั้งสภาวะเสียการเคลื่อนไหวและสภาวะพูดไม่ได้ก็คือการสูญเสียรอยนูนซิงกูเลต (cingulate gyrus) ในระบบลิมบิก การเข้าไปทำลายรอยนูนซิงกูเลตเป็นวิธีการรักษาโรคจิตวิธีหนึ่ง รอยโรคดังที่กล่าวมานี้ก่อให้เกิดสภาวะเสียการเคลื่อนไหว สภาวะพูดไม่ได้ สภาวะไร้อารมณ์ และสภาวะไม่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด มีการคาดว่า คอร์เทกซ์ซิงกูเลตด้านหน้า (Anterior cingulate cortex) เป็นผู้ส่งองค์กระตุ้นทั่วระบบ ที่เป็นตัวกระตุ้นระบบการตัดสินใจ ดังนั้น เมื่อคอร์เทกซ์ซิงกูเลตด้านหน้ามีความเสียหาย จึงก่อให้เกิดสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กลีบหน้าและสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว · ดูเพิ่มเติม »

สมองมนุษย์

มองมนุษย์มีโครงสร้างทั่วไปเหมือนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น แต่มีเปลือกสมองพัฒนามากกว่าสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ใหญ่อย่างวาฬและช้างมีสมองใหญ่กว่าในเชิงสัมบูรณ์ แต่เมื่อเทียบกับขนาดกายแล้ว สมองมนุษย์ใหญ่เป็นเกือบสองเท่าของสมองโลมาปากขวดและใหญ่เป็นสามเท่าของสมองชิมแปนซี การขยายส่วนมากมาจากเปลือกสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลีบหน้า ซึ่งสัมพันธ์กับการทำหน้าที่บริหาร เช่น การควบคุมตน การวางแผน การให้เหตุผลและความคิดนามธรรม ส่วนของเปลือกสมองที่ทำหน้าที่มองเห็น คือ เปลือกสมองส่วนการเห็น ยังใหญ่มากในมนุษย์ด้วย เปลือกสมองมนุษย์เป็นชั้นเนื้อเยื่อประสาทหนาที่คลุมสมองส่วนใหญ่ ชั้นนี้พับเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวซึ่งสามารถจุในปริมาตรเท่าที่มี รูปแบบการพับเหมือนกันในแต่ละบุคคล แม้มีการแปรผันเล็กน้อยอยู่มาก เปลือกสมองแบ่งเป็นสี่ "กลีบ" เรียก กลีบหน้า กลีบข้าง กลีบขมับและกลีบท้ายทอย (ระบบจำแนกบางระบบยังรวมกลีบลิมบิกและถือเปลือกอินซูลาร์ เป็นกลีบหนึ่งด้วย) ในแต่ละกลีบมีพื้นที่เปลือกจำนวนมาก แต่ละพื้นที่กลีบสัมพันธ์กับหน้าที่เฉพาะ ซึ่งรวมการเห็น การควบคุมสั่งการและภาษา เปลือกสมองฝั่งซ้ายและขวาโดยคร่าว ๆ มีรูปทรงคล้ายกัน และพื้นที่กลีบส่วนมากมีซ้ำกันทั้งสองขวา ทว่า บางพื้นที่มีเฉพาะข้างหนึ่งอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษา ในคนส่วนมาก ซีกซ้าย "เด่น" สำหรับภาษา ขณะที่ซีกขวามีบทบาทเพียงเล็กน้อย มีหน้าที่อื่นเช่น มิติสัมพันธ์ ซึ่งซีกขวาโดยปกติเด่น แม้สมองมนุษย์ได้รับการป้องกันจากกระดูกที่หนาของกะโหลก แขวนในน้ำหล่อสมองไขสันหลัง และแยกจากกระแสเลือดด้วยเยื่อกั้นเลือด–สมอง กระนั้น ยังไวต่อความเสียหายและโรค ความเสียหายทางกายภาพแบบที่พบมากที่สุด คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะแบบปิด (closed head injury) เช่น การทุบศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะเป็นพิษจากสารเคมีหลายชนิดที่เป็นพิษต่อประสาท การติดเชื้อของสมอง แม้รุนแรง แต่พบน้อยเนื่องจากมีเยื่อกั้นชีวภาพป้องกันอยู่ สมองมนุษย์ยังไวต่อโรคการเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งและโรคอัลไซเมอร์ มีภาวะจิตเวชจำนวนหนึ่ง เช่น โรคจิตเภทและภาวะซึมเศร้า คาดว่าสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมอง แม้ธรรมชาติของวิกลภาพของสมองดังกล่าวยังไม่เข้าใจกันดีมาก.

ใหม่!!: กลีบหน้าและสมองมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์

อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ สมองของนักฟิสิกส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ถูกวิจัยและคาดคะเนอย่างมาก สมองของไอนสไตน์ถูกนำออกมาภายในเจ็ดชั่วโมงครึ่งหลังการเสียชีวิตของเขา ด้วยเขามีชื่อเสียงเป็นอัจฉริยบุคคลชั้นนำคนหนึ่งแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมองของเขาจึงได้รับความสนใจ มีการนำลักษณะต่าง ๆ ในสมองทั้งที่ปกติและแปลกไปใช้สนับสนุนความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกายวิภาคศาสตร์กับความฉลาดทั่วไปและทางคณิตศาสตร์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เสนอว่าบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการพูดและภาษานั้นเล็กกว่า ขณะที่บริเวณเกี่ยวกับจำนวนและการประมวลผลเชิงปริภูมินั้นใหญ่กว่า การศึกษาอื่น ๆ พบว่าสมองของไอนสไตน์มีจำนวนเซลล์เกลียมากกว่าปกต.

ใหม่!!: กลีบหน้าและสมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: กลีบหน้าและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สัจนิยมเหตุซึมเศร้า

ทฤษฎี สัจนิยมเหตุซึมเศร้า (Depressive realism) เป็นสมมติฐาน ว่าบุคคลที่รู้สึกซึมเศร้าทำการอนุมานที่ตรงกับความจริงมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้สึกซึมเศร้า แม้จะเชื่อกันโดยทั่วไปว่า บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความเอนเอียงทางประชานแบบลบ (negative cognitive bias) ที่มีผลเป็นความคิดเชิงลบอัตโนมัติที่ปรากฏบ่อย ๆ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และความเชื่อผิดปกติเกี่ยวกับโลก แต่สมมติฐานนี้เสนอว่า ความคิดเชิงลบเหล่านี้ อาจจะสะท้อนการประเมินความจริงเกี่ยวกับโลกที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และว่าบุคคลที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีการประเมินความจริงที่เอนเอียงไปทางบวก ทฤษฎีนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในระดับสูง เพราะว่า ถ้าเป็นจริงแล้ว กลไกทางประสาทที่การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) สำหรับโรคซึมเศร้า ทำการเปลี่ยนแปลง ก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน แม้ว่าจะมีหลักฐานที่สนับสนุนความถูกต้องของทฤษฎีนี้ ปรากฏการณ์นี้อาจจะจำกัดอยู่ในเหตุการณ์เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น.

ใหม่!!: กลีบหน้าและสัจนิยมเหตุซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล ให้ออกซิเจนเลี้ยงส่วนใหญ่ของส่วนกลางของสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และสมองกลีบข้างส่วนซุพีเรียร์ มีเดียล (superior medial parietal lobes) เป็นแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid artery) และเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมของวิลลิส (Circle of Willis) หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลข้างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันด้วยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์คอมมิวนิเคติง (anterior communicating artery).

ใหม่!!: กลีบหน้าและหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล · ดูเพิ่มเติม »

อาการหลงผิดคะกราส์

อาการหลงผิดคะกราส์ (Capgras delusion) หรือ กลุ่มอาการคะกราส์ (Capgras syndrome, /ka·'grɑ:/)เป็นความผิดปกติที่บุคคลหลงผิดว่า เพื่อน คู่สมรส บิดามารดา หรือสมาชิกสนิทในครอบครัว มีการทดแทนด้วยตัวปลอมที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน อาการหลงผิดคะกราส์จัดว่าเป็นกลุ่มอาการระบุผิดเพราะหลงผิด (delusional misidentification syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มของความเชื่อแบบหลงผิด ที่คนไข้ระบุบุคคล สถานที่ หรือวัตถุ แบบผิด ๆ (โดยปกติไม่ร่วมกัน)Ellis, H. D., & Lewis, M. B. (2001).

ใหม่!!: กลีบหน้าและอาการหลงผิดคะกราส์ · ดูเพิ่มเติม »

ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีผลมากต่อโครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และการรู้คิดของสมอง งานวิจัยในมนุษย์จำนวนมากแสดงว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (จากเบาถึงหนักที่ใช้กระบวนการสร้างพลังงานโดยออกซิเจน) โดยอย่างน้อย 30 นาทีทุกวันปรับปรุงการทำงานของสมอง โดยปรับหน้าที่การรู้คิด (cognitive function) การแสดงออกของยีน และสภาพพลาสติกทางประสาท (neuroplasticity) และพฤติกรรมที่มีผลดี ผลที่ได้ในระยะยาวรวมทั้งการเกิดเซลล์ประสาท (neurogenesis) ที่เพิ่มขึ้น, การทำงานทางประสาทที่ดีขึ้น (เช่นในการส่งสัญญาณแบบ และ BDNF), การรับมือกับความเครียดที่ดีขึ้น, การควบคุมพฤติกรรมที่ดีขึ้น, ความจำชัดแจ้ง (declarative) ความจำปริภูมิ (spatial) ความจำใช้งาน (working) ที่ดีขึ้น, และการปรับปรุงทางโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างสมองและวิถีประสาทที่สัมพันธ์กับการควบคุมการรู้คิดและความจำ ผลการออกกำลังกายต่อความรู้คิดอาจช่วยการเรียนหนังสือในนักเรียนนักศึกษา เพิ่มผลิตผลการทำงาน ช่วยรักษาการทำงานของสมองในคนแก่ ป้องกันหรือบำบัดความผิดปกติทางประสาทแบบต่าง ๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป คนที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ (เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ และขี่จักรยาน) ได้คะแนนดีกว่าเมื่อตรวจสอบการทำงานทางประสาทจิตวิทยาที่วัดหน้าที่การรู้คิดบางอย่าง เช่น การควบคุมการใส่ใจ การหยุดพฤติกรรมอัตโนมัติเพื่อทำสิ่งที่ได้ผลกว่า (inhibitory control) ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด ความจำใช้งานในด้านการอัพเดตและความจุ ความจำชัดแจ้ง ความจำปริภูมิ และความเร็วในการประมวลข้อมูล การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังเป็นยาแก้ซึมเศร้าและยาทำให้ครึ้มใจอีกด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะปรับปรุงอารมณ์และความภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ให้ดีขึ้นโดยทั่วไป.

ใหม่!!: กลีบหน้าและผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย · ดูเพิ่มเติม »

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: กลีบหน้าและจิตพยาธิวิทยาสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน

ลักษณะ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน หรือ ความสนใจภายนอก-ความสนใจภายใน (extraversion-introversion) เป็นมิติหลักอย่างหนึ่งของทฤษฎีบุคลิกภาพมนุษย์ ส่วนคำภาษาอังกฤษทั้งสองคำ คือ introversion และ extraversion เป็นคำที่จิตแพทย์ คาร์ล ยุง ได้สร้างความนิยม (translation H.G. Baynes, 1923) แม้ว่าการใช้คำทั้งโดยนิยมและทางจิตวิทยาจะต่างไปจากที่ยุงได้มุ่งหมาย ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมักปรากฏโดยเป็นการชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด กระตือรือร้น/มีชีวิตชีวา เทียบกับความสนใจต่อสิ่งภายในที่ปรากฏโดยเป็นคนสงวนท่าทีและชอบอยู่คนเดียว แบบจำลองบุคลิกภาพใหญ่ ๆ เกือบทั้งหมดมีแนวคิดเช่นนี้ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง, analytical psychology (ของยุง), three-factor model (ของ ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์), 16 personality factors (ของ ศ. ดร. Raymond Cattell), Minnesota Multiphasic Personality Inventory, และตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน เป็นค่าที่ต่อเนื่องกันเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ถ้าค่าของอย่างหนึ่งสูง อีกอย่างหนึ่งก็จะต้องต่ำ แต่ว่า น. คาร์ล ยุง และผู้พัฒนาตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ มีมุมมองต่างจากนี้และเสนอว่า ทุกคนมีทั้งด้านที่สนใจต่อสิ่งภายนอกและด้านที่สนใจต่อสิ่งภายใน โดยมีด้านหนึ่งมีกำลังกว่า แต่แทนที่จะเพ่งความสนใจไปที่เพียงพฤติกรรมกับคนอื่น ยุงนิยามความสนใจในสิ่งภายในว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยทิศทางของชีวิต ที่กรองผ่านสิ่งที่อยู่ในใจที่เป็นอัตวิสัย" (คือ สนใจในเรื่องภายในจิตใจ) และความสนใจในภายนอกว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยการพุ่งความสนใจไปที่วัตถุภายนอก" (คือโลกภายนอก).

ใหม่!!: กลีบหน้าและความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: กลีบหน้าและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำเชิงกระบวนวิธี

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) เป็นความจำเพื่อการปฏิการงานประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นความจำที่นำไปสู่พฤติกรรมเชิงกระบวนวิธีต่าง ๆ เป็นระบบที่อยู่ใต้สำนึก คือเมื่อเกิดกิจที่ต้องกระทำ จะมีการค้นคืนความจำนี้โดยอัตโนมัติเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกระบวนวิธีต่าง ๆ ที่มีการประสานกันจากทั้งทักษะทางประชาน (cognitive) และทักษะการเคลื่อนไหว (motor) มีตัวอย่างต่าง ๆ ตั้งแต่การผูกเชือกรองเท้าไปจนถึงการขับเครื่องบินหรือการอ่านหนังสือ ความจำนี้เข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมหรือความใส่ใจเหนือสำนึก (ที่เป็นไปใต้อำนาจจิตใจ) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาว (long-term memory) และโดยเฉพาะแล้ว เป็นประเภทหนึ่งของความจำโดยปริยาย (implicit memory) ความจำเชิงกระบวนวิธีสร้างขึ้นผ่าน "การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี" (procedural learning) คือการทำกิจที่มีความซับซ้อนนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งระบบประสาทที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการกระทำนั้น ๆ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธีที่เป็นไปโดยปริยาย (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) เป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ทักษะทางประชาน.

ใหม่!!: กลีบหน้าและความจำเชิงกระบวนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง

วามเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving bias) เป็นกระบวนการทางประชานหรือการรับรู้ที่มีการบิดเบือนเพื่อที่จะพิทักษ์รักษาหรือเพิ่มความภูมิใจของตน (self-esteem) เมื่อเราปฏิเสธคำวิจารณ์เชิงลบ เพ่งดูแต่ข้อดีและความสำเร็จของตน แต่มองข้ามข้อเสียและความล้มเหลว หรือให้เครดิตตนเองมากกว่าผู้อื่นในงานที่ทำเป็นกลุ่ม เรากำลังพิทักษ์รักษาอัตตาจากความคุกคามหรือความเสียหาย ความโน้มน้าวทางประชานและการรับรู้เช่นนี้ทำให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดและความผิดพลาด แต่เป็นความจำเป็นในการรักษาความภูมิใจในตนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจจะอ้างความเฉลียวฉลาดและความขยันของตน ว่าเป็นเหตุของการได้เกรดดีในการสอบ แต่อ้างการสอนของคุณครูหรือคำถามที่ไม่ยุติธรรมว่า เป็นเหตุของการได้เกรดไม่ดี ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมที่มีความเอนเอียงเช่นนี้ งานวิจัยต่าง ๆ ได้แสดงแล้วว่า การอ้างเหตุผลอย่างเอนเอียงเช่นนี้ ก็มีในสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย รวมทั้งในที่ทำงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการกีฬา และในการตัดสินใจของผู้บริโภค ทั้งกระบวนการแรงจูงใจ (เช่น การยกตนเอง การรักษาภาพพจน์) และกระบวนการทางประชาน (เช่น locus of control, ความภูมิใจในตน) ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความเอนเอียงนี้ ความเอนเอียงมีความแตกต่างกันทั้งในวัฒนธรรมต่าง ๆ (เช่นความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง และวัฒนธรรมที่เน้นส่วนรวม) และในคนไข้บางโรค (เช่นผู้มีภาวะเศร้าซึม) งานวิจัยโดยมากเกี่ยวกับความเอนเอียงนี้ ใช้การอ้างเหตุผลที่ผู้ร่วมการทดลองรายงาน (self-reports) ในการทดลองที่มีการปรับเปลี่ยนผลของงาน (ที่ไม่ใช่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลอง) และในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจริง ๆ แต่ว่า งานวิจัยที่ทันสมัยกว่านั้น จะใช้การปรับเปลี่ยนทางกายภาพ เช่นการทำให้เกิดอารมณ์ หรือการกระตุ้นการทำงานในระบบประสาท เพื่อที่จะเข้าใจกลไกทางชีวภาพที่มีส่วนให้เกิดความเอนเอียงรับใช้ตนเองได้ดีขึ้น.

ใหม่!!: กลีบหน้าและความเอนเอียงรับใช้ตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์

อร์เทกซ์ (cortex) มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า เปลือก เปลือกไม้ เปลือกผลไม้ เปลือกเนยแข็ง หนังสัตว์ เปลือกหอย แกลบ เปลือกเมล็ด อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: กลีบหน้าและคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

อร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex, ตัวย่อ PFC) เป็นส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (premotor cortex) สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคลิก เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม กิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือ การคิดและการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมายของแต่ละคน ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทำเรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ) นักวิชาการหลายท่านได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างบุคลลิกของคนๆหนึ่ง และหน้าที่ของ PFC.

ใหม่!!: กลีบหน้าและคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง

อร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง (posterior parietal cortex ตัวย่อ PPC, Cortex parietalis posterior) เป็นส่วนของสมองกลีบข้างหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) คือ ก่อนที่การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้น ระบบประสาทต้องรู้ตำแหน่งเดิมของส่วนของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหว และตำแหน่งต่าง ๆ ของวัตถุภายนอกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีปฏิกิริยาร่วมด้วย คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังรับข้อมูลจากระบบรับความรู้สึก 3 ระบบ ที่มีบทบาทในการกำหนดตำแหน่งของร่างกายและของวัตถุภายนอกในปริภูมิ ซึ่งก็คือ ระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ต่อจากนั้น คอร์เทกซ์จึงส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) ในสมองกลีบหน้า ไปยัง dorsolateral prefrontal cortex, ไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการทุติยภูมิ (secondary motor cortex) และ ไปยัง frontal eye field งานวิจัยที่ใช้ fMRI ในลิง และงานวิจัยที่ใช้การกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation) ในมนุษย์ ชี้ว่า คอร์เทกซ์นี้มีส่วนประกอบเป็นเขตเล็ก ๆ ที่แต่ละเขตมีหน้าที่เฉพาะในการนำทางการเคลื่อนไหวตา ศีรษะ แขน หรือมือ ความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้มีผลเป็นความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว-การรับรู้ (sensorimotor) รวมทั้งการรับรู้และความทรงจำที่เกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในปริภูมิ การยื่นมือออกไปเพื่อจับวัตถุ การเคลื่อนไหวตา และการใส่ใจ ผลที่เด่นที่สุดของความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้ก็คือภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia) และภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (hemispatial neglect) บางแหล่งกล่าวว่าคอร์เทกซ์นี้เป็นส่วนของเขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7 บางแหล่งกล่าวว่าอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 7 เท่านั้น มีหลักฐานว่า คอร์เทกซ์นี้ยังมีบทบาทในการรับรู้ความเจ็บปวดอีกด้วย งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) เกิดขึ้นจากเขตนี้โดยส่วนหนึ่ง งานวิจัยหนึ่งพบว่า เมื่อให้ทำการศิลป์ นักศิลป์สมัครเล่นมีการไหลเวียนของเลือดในระดับสูงขึ้นใน PPC ซีกขวา โดยเปรียบเทียบกับของนักศิลป์มืออาชีพ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: กลีบหน้าและคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์รับความรู้สึก

ำว่า คอร์เทกซ์รับความรู้สึก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cortex ว่า "คอร์เทกซ์" หรือ "เปลือกสมอง" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" หรือ "-สมอง" (sensory cortex) อาจหมายถึงคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ หรืออาจหมายถึงคอร์เทกซ์ปฐมภูมิและทุติยภูมิของประสาทสัมผัสต่าง ๆ (ซึ่งแต่ละชนิดมีสองคอร์เทกซ์ คือในสมองซีกซ้ายและขวา) รวมทั้งคอร์เทกซ์สายตา (visual cortex) ในสมองกลีบท้ายทอย, คอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) ในสมองกลีบขมับ, คอร์เทกซ์การได้กลิ่นปฐมภูมิ (primary olfactory cortex) ซึ่งอยู่ที่ uncus ของ Piriform cortex ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับ, คอร์เทกซ์การลิ้มรส (gustatory cortex) ซึ่งเป็นส่วนของ insular cortex, และคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ซึ่งอยู่ที่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง ส่วนด้านหน้าต่อจากคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิก็คือคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ (somatosensory association cortex) ซึ่งประสานข้อมูลความรู้สึกจากคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (รวมทั้งอุณหภูมิและแรงกดเป็นต้น) เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุที่กำลังสัมผัส ส่วนด้านล่างของสมองกลีบหน้ามีป่องกลิ่น (olfactory bulb) ซึ่งรับข้อมูลความรู้สึกจากเส้นประสาทรับกลิ่นแล้วส่งข้อมูลนั้นไปยังเขตต่าง ๆ ในสมอง แต่ว่า ข้อมูลของกลิ่นทั้งหมดไม่ได้ไปทางคอร์เทกซ์รับกลิ่นอย่างเดียว มีการส่งใยประสาทรับกลิ่นบางส่วนไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ในระบบลิมบิกโดยตรง และบางส่วนก็ส่งไปยังเขตเหนือเบ้าตา (supraorbital) ของสมองกลีบหน้า การเชื่อมต่อกับระบบลิมบิกโดยตรงแบบนี้ เป็นเอกลักษณ์ของระบบรับกลิ่น เขตคอร์เทกซ์ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน การเห็น การได้กลิ่น และการรับความรู้สึกทางกาย (คือความรู้สึกสัมผัสและการรับรู้อากัปกิริยาเป็นต้น) อยู่ที่ด้านข้างของร่องด้านข้าง (lateral fissure) และด้านหลังของร่องกลาง (central sulcus) ซึ่งก็คือ อยู่ไปทางส่วนหลังของสมอง ส่วนเขตคอร์เทกซ์ที่เกี่ยวข้องกับการลิ้มรสอยู่ที่ด้านหน้าของร่องกลาง ให้สังเกตว่า ร่องกลางนั้นแบ่งคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex ซึ่งอยู่ที่รอยนูนก่อนร่องกลางที่ด้านหลังของสมองกลีบหน้า) จากคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (ซึ่งอยู่บนรอยนูนหลังร่องกลางที่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง) คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางกาย สิ่งเร้าทางตา และแผนการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กลีบหน้าและคอร์เทกซ์รับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

ตามนุษย์

ตามนุษย์ เป็นอวัยวะที่ตอบสนองต่อแสงและแรงดัน ในฐานะเป็นอวัยวะรับความรู้สึก ตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำให้สามารถเห็นได้ ช่วยให้เห็นภาพเคลื่อนไหวเป็น 3 มิติ และปกติเห็นเป็นสีในช่วงกลางวัน เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในจอตาทำให้สามารถรับรู้แสงและเห็น รวมทั้งแยกแยะสีและรับรู้ความใกล้ไกล ตามนุษย์สามารถแยกแยะสีได้ประมาณ 10 ล้านสี และอาจสามารถตรวจจับโฟตอนแม้เพียงอนุภาคเดียวได้ เหมือนกับตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เซลล์ปมประสาทไวแสง (photosensitive ganglion cell) ในจอตามนุษย์ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภาพ จะได้สัญญาณแสงซึ่งมีผลต่อการปรับขนาดรูม่านตา ควบคุมและระงับการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และปรับตัวทางสรีรภาพและพฤติกรรมตามจังหวะรอบวัน (circadian rhythm).

ใหม่!!: กลีบหน้าและตามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

Koch 2004, Figure 1.1 ''The Neuronal Correlates of Consciousness'' p. 16. ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ (neural correlates of consciousness, ตัวย่อ NCC) คือเซตที่เล็กที่สุดของปรากฏการณ์ในเซลล์ประสาท และการประกอบกันของเซลล์ประสาทพอที่จะให้เกิดอารมณ์ที่รับรู้ (conscious percept) นักวิทยาศาสตร์ประสาทใช้วิธีการทดลองเป็นหลักเพื่อที่จะค้นพบประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ เซตได้รับการกำหนดให้เล็กที่สุดเพราะว่า ถ้าสมองเป็นเพียงธรรมชาติเดียวที่ก่อให้เกิดการรับรู้อารมณ์ สิ่งที่จะต้องสืบหาก็คือ ส่วนไหนของสมองเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการรู้อารมณ.

ใหม่!!: กลีบหน้าและประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรงสมองข้าง

รงสมองข้าง (Lateral ventricles) เป็นส่วนหนึ่งของระบบโพรงสมองของสมอง นับเป็นส่วนหนึ่งของเทเลนเซฟาลอน โพรงสมองนี้นับเป็นโพรงสมองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เชื่อมต่อกับโพรงสมองที่สามผ่านทางอินเตอร์เวนทริคูลาร์ ฟอรามินา (interventricular foramina of Monro).

ใหม่!!: กลีบหน้าและโพรงสมองข้าง · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: กลีบหน้าและโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: กลีบหน้าและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: กลีบหน้าและเส้นประสาทเฟเชียล · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: กลีบหน้าและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: กลีบหน้าและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนรู้รส

ปลือกสมองส่วนรู้รส (gustatory cortex ตัวย่อ GC) เป็นโครงสร้างสมองซึ่งทำหน้าที่รับรู้รส โดยมีโครงสร้างย่อย 2 ส่วน คือ anterior insula ใน insular cortex, และ operculum ส่วนหน้าที่บริเวณ inferior frontal gyrus ในสมองกลีบหน้า เพราะองค์ประกอบของมัน เปลือกสมองส่วนรู้รสบางครั้งจึงเรียกในวรรณกรรมต่าง ๆ ว่า AI/FO (Anterior Insula/Frontal Operculum) โดยใช้เทคนิคการบันทึกสัญญาณนอกเซลล์ นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงว่า นิวรอนใน AI/FO จะตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสขม และรสเปรี้ยว และเข้ารหัสความเข้มข้นของสิ่งเร้าที่มีร.

ใหม่!!: กลีบหน้าและเปลือกสมองส่วนรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

Bálint's syndrome

Bálint's syndrome เป็นกลุ่มอาการความเสียหายทางประสาทและจิตใจ 3 อย่างที่ไม่สามัญและยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดี คือ.

ใหม่!!: กลีบหน้าและBálint's syndrome · ดูเพิ่มเติม »

Cotard delusion

Cotard delusion (อาการหลงผิดกอตาร์) หรือ Cotard's syndrome (กลุ่มอาการกอตาร์) หรือ Walking Corpse Syndrome (กลุ่มอาการศพเดินได้) เป็นโรคทางจิตหาได้ยากที่คนไข้มีอาการหลงผิดว่าตนเองตายแล้ว (ไม่ว่าจะโดยอุปมาหรือจริง ๆ) หรือไม่มีอยู่จริง ๆ หรือกำลังเปื่อยเน่าอยู่ หรือได้สูญเสียเลือดหรืออวัยวะภายในไป หรือบางครั้งในกรณีที่มีน้อย อาจจะมีการหลงผิดว่ามีชีวิตเป็นอมต.

ใหม่!!: กลีบหน้าและCotard delusion · ดูเพิ่มเติม »

Executive functions

Executive functions (แปลว่า หน้าที่บริหาร ตัวย่อ EF) สามารถนิยามได้ว่า "เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำกิจที่มีเป้าหมาย มีจุดมุ่งหมาย" เป็นคำครอบคลุมที่ใช้กล่าวถึงกระบวนการทางประชานที่ควบคุมและจัดการกระบวนการทางประชานอื่น ๆ Elliott R (2003).

ใหม่!!: กลีบหน้าและExecutive functions · ดูเพิ่มเติม »

Frontal eye fields

Frontal eye fields (ตัวย่อ FEF) เป็นเขตสมองที่อยู่ในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งก็เป็นส่วนของสมองกลีบหน้าในสมองของสัตว์อันดับวานร มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความใส่ใจทางตา และการเคลื่อนไหวของต.

ใหม่!!: กลีบหน้าและFrontal eye fields · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: กลีบหน้าและICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

Intraparietal sulcus

intraparietal sulcus (ตัวย่อ IPS, แปลว่า ร่องภายในสมองกลีบข้าง) อยู่ที่ผิวด้านข้างของสมองกลีบข้าง มีทั้งส่วนที่เป็นไปแนวเอียงและเป็นไปในแนวนอน IPS มีส่วนย่อยต่าง ๆ ที่มีกิจหน้าที่ต่าง ๆ กัน ที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางทางประสาทสรีรวิทยา (neurophysiology) โดยวัดการตอบสนองในระดับเซลล์เดียวของสัตว์อันดับวานร และโดยการสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์ สมองส่วนนี้มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างการรับรู้และการสั่งการ (perceptual-motor) คือการสั่งการการเคลื่อนไหวตาและการเอื้อม และเกี่ยวกับความใส่ใจทางตา เชื่อกันว่า IPS ยังมีบทบาทในหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้ง การประมวลข้อมูลคณิตโดยสัญลักษณ์ ควา,จำใช้งานทางตาและพื้นที่ (visuospatial working memory) และการประเมินเจตนาความตั้งใจของผู้อื่น.

ใหม่!!: กลีบหน้าและIntraparietal sulcus · ดูเพิ่มเติม »

Smooth pursuit

Smooth pursuit eye movements (หมายความว่า การมองตามโดยไม่หยุด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ smooth ว่า "เรียบ, ราบเรียบ, ไม่หยุด" และของ pursuit ว่า "การไล่ติดตาม") เป็นการเคลื่อนไหวตาโดยมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไป เป็นวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนการทอดสายตา โดยอีกวิธีหนึ่งก็คือ saccade การมองตามต่างจาก vestibulo-ocular reflex ซึ่งมีจะมีก็ต่อเมื่อในขณะที่มีการเคลื่อนศีรษะเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับภาพของวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ คนโดยมากไม่สามารถเริ่มการมองตามโดยไม่มีวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปให้เห็น และถ้าเป้าสายตาเคลื่อนไหวเร็วกว่า 30 องศา/วินาที การมองตามก็จะต้องเกิดขึ้นสลับกับ saccade ด้วย การเคลื่อนไหวแบบนี้ไม่สามารถทำได้เท่ากันทั่วทุกทิศ มนุษย์และสัตว์อันดับวานรโดยมากจะสามารถมองตามโดยแนวนอนได้ดีกว่าแนวตั้ง กำหนดโดยความสามารถในการติดตามเป้าหมายโดยไม่หยุดที่ไม่มี saccade ในระหว่าง นอกจากนั้นแล้ว มนุษย์โดยมากสามารถเคลื่อนไหวตาแบบนี้ในด้านลงได้ดีกว่าด้านขึ้น การมองตามสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยใช้ข้อมูลป้อนกลับที่เกิดจากการเห็น ซึ่งไม่เหมือน saccade.

ใหม่!!: กลีบหน้าและSmooth pursuit · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Frontal cortexFrontal lobeกลีบหน้าผากกลีบด้านหน้าสมองกลีบหน้าสมองกลีบหน้าผากคอร์เทกซ์กลีบหน้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »