โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคไลม์

ดัชนี โรคไลม์

รคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในจีนัส Borrelia อย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี Borrelia burgdorferi sensu stricto เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปอเมริกาเหนือ และ Borrelia afzelii กับ Borrelia garinii เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปยุโรป โรคนี้ตั้งชื่อตามเมืองไลม์และโอลด์ไลม์ รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกใน..

14 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบการเห็นภาพซ้อนยาปฏิชีวนะสารขับไล่แมลงอัมพาตแบบเบลล์ข้ออักเสบดอกซีไซคลีนความซึมเศร้า (อารมณ์)โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)โรคไวรัสอีโบลาเยื่อหุ้มสมองอักเสบเส้นประสาทเฟเชียลเดเมโคลไซคลีนICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ Trypanosoma cruzi หรือเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคหัวใจ หมวดหมู่:โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง.

ใหม่!!: โรคไลม์และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นภาพซ้อน

การเห็นภาพซ้อน หรือ การเห็นซ้อนสอง (Diplopia, double vision) เป็นการเห็นภาพสองภาพของวัตถุเดียวกัน ที่อาจซ้อนกันตามแนวนอน แนวตั้ง แนวเฉียง หรือแนวหมุน และปกติเป็นผลของความพิการของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles, EOMs) คือตาทั้งสองทำงานได้ดีแต่ไม่สามารถหันไปที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีปัญหาทางกายภาพ มีโรคที่แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) มีโรคที่เส้นประสาทสมอง (เส้น 3, 4, และ 6) ที่สั่งการกล้ามเนื้อ และเป็นบางครั้ง มีปัญหาเกี่ยวกับวิถีประสาท supranuclear oculomotor หรือการบริโภคสิ่งที่เป็นพิษ การเห็นภาพซ้อนอาจเป็นอาการปรากฏแรก ๆ ของโรคทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและประสาท และอาจทำการทรงตัวของร่างกาย การเคลื่อนไหว และการอ่านหนังสือ ให้พิการ.

ใหม่!!: โรคไลม์และการเห็นภาพซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: โรคไลม์และยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

สารขับไล่แมลง

รขับไล่แมลง เป็นสารที่ทาบนผิวหนัง เสื้อผ้าหรือพื้นผิวอื่น ซึ่งทำให้แมลง (และสัตว์ขาปล้องทั่วไป) บนลงมาเกาะหรือปีนบนพื้นผิวนั้นน้อยลง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์สารขับไล่แมลงที่ใช้การสร้างเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลตราซาวน์ (เสียงความถี่สูงกว่าที่มนุษย์จะได้ยิน) ทว่า การศึกษาโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐและหลายมหาวิทยาลัยพบว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไม่มีผลขับไล่ยุง สารขับไล่แมลงช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่มาจากแมลง เช่น มาลาเรีย โรคไลม์ ไข้เด็งกี กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง และไข้ไนล์ตะวันตก สัตว์รังควานที่มักเป็นพาหะของโรคที่กล่าวมารวมถึงหมัด แมลงวันและยุง ตลอดจนหมั.

ใหม่!!: โรคไลม์และสารขับไล่แมลง · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาตแบบเบลล์

ภาวะอัมพาตแบบเบลล์ (Bell's paly) เป็นอาการอัมพาตของใบหน้าชนิดหนึ่งทำให้มีการทำงานผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) จนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โรคหรือภาวะที่ทำให้มีใบหน้าชาเช่นนี้มีอีกหลายโรค ตั้งแต่เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไลม์ และอื่นๆ แต่หากไม่พบภาวะซึ่งเป็นสาเหตุได้จะถือว่าภาวะใบหน้าเป็นอัมพาตนั้นเกิดจากภาวะอัมพาตแบบเบลล์ ภาวะนี้ได้ชื่อตามนักกายวิภาคศาสตร์ชาวสก็อตชื่อชาร์ลส์ เบลล์ ซึ่งได้บรรยายภาวะนี้เอาไว้เป็นครั้งแรก อัมพาตแบบเบลล์เป็นโรคของเส้นประสาทเส้นเดียว (mononeuropathy) ที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของภาวะเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดด้วย หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:โรคซึ่งไม่ทราบสาเหตุ หมวดหมู่:โรคของระบบประสาท หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

ใหม่!!: โรคไลม์และอัมพาตแบบเบลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้ออักเสบ

้ออักเสบ (Arthritis) เป็นกลุ่มของภาวะที่เกิดการทำลายข้อต่อของร่างกาย ข้ออักเสบมีได้มากกว่าร้อยรูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือข้อเสื่อม (osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การติดเชื้อของข้อและอายุ ส่วนข้ออักเสบรูปแบบอื่นเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อสะเก็ดเงิน จากภาวะภูมิต้านตนเอง ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อและทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตซึ่งเรียกว่า โรคเกาต์เทียม.

ใหม่!!: โรคไลม์และข้ออักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ดอกซีไซคลีน

อกซีไซคลีน (Doxycycline) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียและโปรโตซัว ยานี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, สิว, การติดเชื้อคลามัยเดีย, ระยะเริ่มต้นของโรคไลม์, อหิวาตกโรค และซิฟิลิส นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษามาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจำพวกโปรโตซัว โดยให้ยานี้ร่วมกับควินิน และอาจใช้ดอกซีไซคลีนเพื่อเป็นการป้องกันมาลาเรียสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคได้ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูกและสามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ ในรายที่มีอาการของโรครุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการบริหารยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotic) โดยยานี้จะฆ่าแบคทีเรียและโปรโตซัวที่ไวต่อยานี้ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการขยายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์จุลชีพเป้าหมายตายไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม การใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษานี้อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยจากการใช้ยานี้ ได้แก่ ท้องเสีย, คลื่นไส้, อาเจียน, ผื่นแดง, และผิวไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดผิวไหม้จากแสงแดด (sunburn) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้ดอกซีไซคลีนในหญิงตั้งครรภ์หรือในเด็กอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟันทารกหรือเด็กเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอย่างถาวรได้ ส่วนการใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย เนื่องจากดอกซีไซคลีนถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก ดอกซีไซคลีนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี..

ใหม่!!: โรคไลม์และดอกซีไซคลีน · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: โรคไลม์และความซึมเศร้า (อารมณ์) · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

url.

ใหม่!!: โรคไลม์และโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) · ดูเพิ่มเติม »

โรคไวรัสอีโบลา

รคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา ตรงแบบเริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลงตามมา เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก บุคคลรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำในร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคทางน้ำอสุจิได้เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างสารน้ำร่างกายจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ ความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูงระหว่าง 50% ถึง 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ การระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ. 2557 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ โดยระบาดในประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย จนถึงเดือนกรกฎาคม 2557 มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 1,320 คน แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน.

ใหม่!!: โรคไลม์และโรคไวรัสอีโบลา · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคไลม์และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: โรคไลม์และเส้นประสาทเฟเชียล · ดูเพิ่มเติม »

เดเมโคลไซคลีน

มโคลไซคลีน (Demeclocycline) เป็นยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์ชนิดหนึ่งในกลุ่มเตตราไซคลีน คัดแยกได้จากแบคทีเรีย Streptomyces aureofaciens ที่ได้รับการรับรองให้ใช้เพื่อการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด อาทิ โรคไลม์ สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 1980 ได้มีการนำยานี้มาใช้ในการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (SIADH) แต่มีการคิดค้นพัฒนายาชนิดใหม่สำเร็จ จึงไม่ค่อยมีการใช้เดเมโคลไซคลีนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวมากนักในปัจจุบัน เดเมโคลไซคลีนออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียขาดโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์วาโซเพรสซิน (vasopressin) บริเวณหน่วยไตได้ด้วย ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ ข้อห้ามใช้ และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาของเดเมโคลไซคลีนนั้นมีความคล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มเตตราซัยคลีน แต่เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่ก่อให้เกิดภาวะเบาจืดได้ จึงมีการนำเดเมโคลไซคลีนมาใช้ในการรักษากลุ่มอาการ SIADH.

ใหม่!!: โรคไลม์และเดเมโคลไซคลีน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: โรคไลม์และICD-10 บทที่ 1: โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lyme disease

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »