โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปีแยร์ รอซีเย

ดัชนี ปีแยร์ รอซีเย

รื่องหมายสตูดิโอถ่ายภาพของรอซีเยในฟรีบูร์ ปีแยร์ โฌแซ็ฟ รอซีเย (Pierre Joseph Rossier; 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1829 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 1886) เป็นช่างภาพยุคบุกเบิกชาวสวิส ถ่ายภาพโดยวิธีแอลบูเมน รวมถึงการภาพถ่ายสามมิติ และภาพการ์ตเดอวีซิตที่เป็นภาพถ่ายบุคคล ภาพทิวทัศน์ของเมือง และภาพภูมิทัศน์ เขาได้รับว่าจ้างจากบริษัท เนเกรตตีและแซมบรา (Negretti and Zambra) ในกรุงลอนดอนให้เดินทางมาทวีปเอเชียเพื่อบันทึกภาพกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศสในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง แม้ไม่ได้ร่วมคณะทหารไปด้วย แต่เขายังคงอยู่ในทวีปเอเชียหลายปี โดยผลิตผลงานเพื่อการค้าเป็นครั้งแรกให้กับประเทศจีน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และสยาม เขาถือเป็นช่างภาพอาชีพคนแรกของประเทศญี่ปุ่น ที่นั่นเขาได้สอนฟุรุกะวะ ชุมเป, คะวะโนะ เทโซ, อุเอะโนะ ฮิโกะมะ, มะเอะดะ เก็นโซ, โฮะริเอะ คุวะจิโร และช่างภาพรุ่นแรกคนอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงลดหลั่นไปของญี่ปุ่น ส่วนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาก่อตั้งสตูดิโอถ่ายภาพในเมืองฟรีบูร์และไอน์ซีเดิล์น และยังคงผลิตภาพถ่ายในสถานที่อื่น ๆ ของประเทศ รอซีเยถือเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคเริ่มแรกของการถ่ายภาพ ไม่เพียงเพราะผลงานภาพถ่ายของเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะการสอนของเขาได้ส่งผลกระทบสำคัญแก่วงการถ่ายภาพญี่ปุ่นในยุคบุกเบิกด้ว.

37 ความสัมพันธ์: ชาติพันธุ์วรรณนาฟรีบูร์ฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์กระบวนการกระจกเปียกกว่างโจวการถ่ายภาพแบบแอลบูเมนการ์ตเดอวีซิตภาพพิมพ์หินภาพพิมพ์แกะไม้ภูเขาไฟตาอัลมหาวิทยาลัยไลเดินมะเอะดะ เก็นโซรัฐฟรีบูร์วอลเทอร์ บี. วุดเบอรีสยามสงครามฝิ่นครั้งที่สองสตูดิโอถ่ายภาพอุเอะโนะ ฮิโกะมะจาการ์ตาคานางาวะซามูไรซูโม่ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศญี่ปุ่นประเทศจีนปักกิ่งปัตตาเวียนางาซากิโยโกฮามะโฮะริเอะ คุวะจิโรโตเกียวไอน์ซีเดิลน์เกาะคีวชูเวอแวเอเบิล กาวเวอร์เทียนจินเดอะไทมส์

ชาติพันธุ์วรรณนา

ติพันธุ์วรรณนา (ethnography) เป็นชาติพันธุ์วิทยาและมานุษยวิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาและอธิบายวัฒนธรรมและพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ของกลุ่มคน ระบบ แบบแผนทางสังคม ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของกลุ่มคนนั้น ๆ โดยใช้วิธีการคำนึงถึงข้อเท็จจริงแห่งประเด็นศึกษา มากกว่าจะใช้วิธีการตามหลักทั่วไป อาทิ การตั้งสมมุติฐาน การสัมภาษณ์ และการทำแบบสอบถาม.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและชาติพันธุ์วรรณนา · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีบูร์

ฟรีบูร์ (Fribourg; อาร์ป่ีต็อง: Fribôrg, Friboua; Freiburg, Freiburg im Üechtland; Friborgo, Friburgo; Friburg) เป็นเมืองหลวงของรัฐฟรีบูร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำซาเนอ/ซารีนบนที่ราบสูงสวิส เป็นเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านเศรษฐกิจ การปกครอง และการศึกษาบริเวณพรมแดนทางวัฒนธรรมระหว่างเยอรมนีกับสวิตเซอร์แลนด์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (รอม็องดี) ฟรีบูร์มีเมืองเก่าที่เป็นหนึ่งในเมืองเก่าที่ได้รับการดูแลรักษาดีที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่บนเนินเขาหินเล็ก ๆ เหนือหุบเขาแม่น้ำซารีน.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและฟรีบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์

ฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ (Philipp Franz von Siebold; 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1866) เป็นแพทย์ นักพฤกษศาสตร์ นักเดินทาง มีชื่อเสียงจากการศึกษาพฤกษชาติและพรรณสัตว์ประจำถิ่นของญี่ปุ่น ได้แนะนำการแพทย์แบบตะวันตกให้แก่ประเทศญี่ปุ่น เขายังเป็นบิดาของแพทย์หญิงคนแรกของญี่ปุ่น คุซุโมะโตะ อิเนะ หมวดหมู่:นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและฟีลิพพ์ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการกระจกเปียก

กระบวนการกระจกเปียก เป็นผลมาจากการทดลองใช้กระจกเป็นวัตถุรองรับในการถ่ายภาพ แทนแผ่นเพลทที่เป็นโลหะ โดยช่างแกะสลักชาวลอนดอน ชื่อ เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer) ได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทาบอลไทพ์ช่วยในการแกะสลักน้องสาวของของเขาให้เหมือนจริงมากขึ้น โดยการทดลองใช้วัสดุที่เรียกว่า "กัน คอตตอน" ละลายในแอลกอฮอล์และอีเธอร์ ซึ่งจะได้สารละลายที่เรียกว่า "โคโลเดียน" (Collodion) มีชื่อทางเคมีว่า "เซลลูโลสไนเตรต" ซึ่งทหารนำมาใช้ในการห้ามเลือดจากบาดแผลในสงคราม ซึ่งอาร์เชอร์ได้นำสารโคโลเดียนมาฉาบลงบนกระจกและจุ่มเพลทกะจกลงในสารละลายเงินไนเตรทอีกครั้งก่อนจะนำไปถ่ายภาพในขนะที่เพลทยังเปียกอยู่ (ขั้นตอนนี้ทำในห้องมืด) อาร์เชอร์พบว่าถ้ารอให้กระจกแห้งความไวแสงจะสูญเสียไปมาก แต่ถ้าถ่ายขณะที่เพลทยังเปียกอยู่จะใช้เวลาถ่ายน้อยกว่า 3นาที จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพด้วยการนำไปล้างในน้ำยา ไพโรแกลลิกแอซิด (Pyrogallic Acid) หรือ เฟอรัสซัลเฟต (FerrousSulphate) (ขั้นตอนนี้ทำในห้องมืด) จากนั้นนำไปคงภาพด้วยน้ำยาไฮโป เนื่องจากต้องถ่ายภาพขณะที่เพลทไวแสงยังเปียกอยู่จึงนิยมเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการกระจกเปียก (Wet Collodion Process On Glass) ซึ่งได้รับความนิยมนานถึง 30 ปี ซึ่งในการถ่ายนอกสถานที่ช่างภาพจะต้องนำกระโจมห้องมืด ขวดน้ำยาและเพลทกระจกและอุปกรณืที่จำเป็นอย่างอื่นไปด้วย หมวดหมู่:การถ่ายภาพ.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและกระบวนการกระจกเปียก · ดูเพิ่มเติม »

กว่างโจว

กว่างโจว กวางโจว หรือ กวางเจา (จีนตัวเต็ม: 廣州, จีนตัวย่อ: 广州 Guǎngzhōu หรือ Gwong2 zau1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง กว่างโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และมาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วย เมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย กว่างโจวแม้จะเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน แต่กว่างโจวยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในรูปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดินครอบคลุมเมืองชั้นในทั้งหมด รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย กว่างโจวมีภาพลักษณ์ค่อนข้างแตกต่างจากเมืองทางเหนือ ซึ่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วย "ราชการและเป็นทางการ" แต่ในกว่างโจวจะรู้สึกและรับรู้ได้ถึง "การค้าและความวุ่นวาย" กว่างโจว เคยใช้เป็นสถานที่หลักที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2010 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและกว่างโจว · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพแบบแอลบูเมน

การถ่ายภาพแบบแอลบูเมน (albumen print) ได้รับการเผยแพร่ในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและการถ่ายภาพแบบแอลบูเมน · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตเดอวีซิต

CARTE-DE-VISITE photography หรือ "การ์ตเดอวีซิต" เป็นชื่อนามบัตรรูปภาพเหมือนขนาดเล็ก (ขนาดปกติ 4 1/2 x 2 1/2") ริเริ่มโดยช่างภาพชาวกรุงปารีสชื่อ Andre Disdri ซึ่งในปี 1854 เขาได้จดลิขสิทธิ์วิธีการนำภาพหลายๆรูป (ปกติ 8 รูป) ถ่ายบน 1 plate (แผ่นกระจกรับแสงในกล้องถ่าพรูปสมัยก่อน), ดังนั้นจึงลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก (ในครั้งแรกที่เขาผลิตเขาไม่ได้ลดต้นทุนอย่างจริงจัง แต่ผลสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อช่างภาพไม่มีชื่อเสียงนักชื่อ Dodero จากเมืองมาเซลส นำไปทำ) กล้องถ่าพรูปหลายชนิดได้ถูกคิดค้นประดิษฐ์ขึ้น บางชนิดมีกลไกสามารถหมุนแผ่น plateได้ บางชนิดมีเลนซ์หลายเลนซ์ซึ่งสามารถใช้งานได้แบบเลนซ์เดียว หรือหลายๆ เลนซ์พร้อมกัน Cartes-de-visite ไม่เป็นที่แพร่หลายนักจนกระทั่งวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ปี 1859, นโบเลียนที่ 3 ขณะเดินทางพร้อมกองทัพไปอิตาลี ได้หยุดกองทัพและแวะไปที่ร้านถ่ายรูปของ Disdri ในกรุงปารีส เพื่อถ่าพรูปของเขาที่นั่น เมื่อข่าวการถ่ายรูปที่นี่เผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ทำให้ Disdri เป็นที่รู้จัก และในเวลา 2 ปีต่อมา เขาสามารถทำรายได้เกือบ 50,000 ต่อปี จากร้านนี้เพียงร้านเดียว ในประเทศอังกฤษ พระราชินีวิคตอเรียและเจ้าชายอัลเบริต์ ได้ทำนามบัตรรุปภาพเหมือน Cartes-de-visite และเป็นที่แน่นอนว่าการมีโอกาสเพียงเล็กน้อยได้ถ่ายภาพพระราชวงศ์ของอังกฤษ และนี่เป็นสัญญาณให้การสะสมภาพของผู้มีชื่อเสียง หรือการทำนามบัตร Cartes-de-visite เป็นที่โด่งดังเลื่องลือ เป็นที่กล่าวขวัญว่าภาพถ่ายพระราชินีวิคตอเรียและราชวงศ์ ซึ่งถ่ายโดย John Mayal ขายได้มากกว่า 100,000 ภาพ สิ่งเผยแพร่สู่สาธารณชนในรูปแบบอื่นๆ ได้ถูกชักจูงให้ทำและเผยแพร่ออกมา นักเขียนเรื่องประวัติศาสตร์การถ่ายภาพชื่อ Helmut Gernsheim ได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและการ์ตเดอวีซิต · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์หิน

อิร์นสท์ เฮิคเคิล แท่นพิมพ์แบบพิมพ์หินสำหรับพิมพ์แผนที่ในมิวนิค ภาพพิมพ์หิน หรือ กลวิธีพิมพ์หิน (Lithography) “Lithography” มาจากภาษากรีกว่า “λίθος” (lithos) ที่แปลว่า “หิน” สมาสกับคำว่า “γράφω” (graphο) ที่แปลว่า “เขียน” คือเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้หินปูนพิมพ์หิน (lithographic limestone) หรือแผ่นโลหะที่มีผิวเรียบ เดิมเทคนิคการพิมพ์ใช้น้ำมันหรือไขมัน แต่ในสมัยใหม่ภาพสร้างขึ้นโดยการใช้พอลิเมอร์ทำปฏิกิริยากับแผ่นพิมพ์อะลูมิเนียม พื้นผิวที่ราบเรียบแบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและภาพพิมพ์หิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้

''Four horsemen of the Apocalypse'' โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นศิลปะการพิมพ์แบบนูน โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์ แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut printmaking) มักจะไม่ใช้ในการแกะเฉพาะแต่ละภาพ แต่มักจะใช้สำหรับการแกะพิมพ์ที่มีทั้งตัวหนังสือแล.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและภาพพิมพ์แกะไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟตาอัล

ูเขาไฟตาอัล ภูเขาไฟตาอัล (Taal Volcano) เป็นกลุ่มภูเขาไฟอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีลักษณะเป็นแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดอยู่บนเกาะเล็ก ๆ กลางทะเลสาบตาอัล อยู่ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน ในเขตจังหวัดบาตังกัส ห่างจากกรุงมะนิลา 50 กิโลเมตร เนื่องจากมีลักษณะเป็นแอ่งภูเขาไฟโผล่ขึ้นกลางทะเลสาบ บางครั้งจึงเรียกภูเขาไฟนี้ว่า "เกาะภูเขาไฟ" (Volcano Island) เนื่องจากภูเขาไฟนี้ยังมีการปะทุอย่างรุนแรงอยู่เสมอ และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงถูกกำหนดเป็นสถานที่ห้ามประชาชนตั้งถิ่นฐาน การปะทุครั้งรุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและภูเขาไฟตาอัล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไลเดิน

มหาวิทยาลัยไลเดิน (Leiden University ย่อว่า LEI; Universiteit Leiden) ตั้งอยู่ที่เมืองไลเดิน เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและมหาวิทยาลัยไลเดิน · ดูเพิ่มเติม »

มะเอะดะ เก็นโซ

มะเอะดะ เก็นโซ (前田 玄造) (ค.ศ. 1831–1906) เป็นช่างภาพชาวญี่ปุ่นจากทางเหนือของเกาะคีวชู เขาศึกษาการถ่ายภาพที่นะงะซะกิจจากยัน กาเริล ฟัน แด็นบรุกและเย. แอ็ล. เซ. โปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต ต่างก็ไม่ใช่ช่างภาพผู้มีประสบการณ์ ความพยายามถ่ายภาพส่วนมากก็ล้มเหลว ถึงกระนั้น พวกเขาก็ได้สอนการถ่ายภาพด้วยกระบวนการกระจกเปียกให้แก่มะเอะดะและนักเรียนคนอื่น ๆ รวมถึง ฟุรุกะวะ ชุมเป, คะวะโนะ เทโซ, อุเอะโนะ ฮิโกะมะ และ โฮะริเอะ คุวะจิโร จนเมื่อช่างภาพชาวสวิส ปีแยร์ รอซีเย เดินทางมาถึงญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและมะเอะดะ เก็นโซ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฟรีบูร์

รัฐฟรีบูร์ (Fribourg) เป็นรัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีเมืองหลวงของรัฐคือเมืองฟรีบูร์ ชื่อ Fribourg เป็นภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่ Freiburg นั้นเป็นภาษาเยอรมัน ใช้เป็นชื่อของทั้งรัฐและเมือง.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและรัฐฟรีบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเทอร์ บี. วุดเบอรี

วอลเทอร์ เบนต์ลีย์ วุดเบอรี (Walter Bentley Woodbury; 26 มิถุนายน ค.ศ. 1834 – 5 กันยายน ค.ศ. 1885) เป็นนักประดิษฐ์และช่างภาพยุคบุกเบิกชาวอังกฤษ เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพยุคแรกของออสเตรเลียและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (ส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย) เขาจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพหลายชิ้น เขายังเป็นที่รู้จักกับผู้คิดนวัตกรรม กระบวนการถ่ายภาพวุดเบอรี (woodburytype photomechanical process) หมวดหมู่:บุคคลจากแมนเชสเตอร์ หมวดหมู่:ผู้บุกเบิกการถ่ายภาพ.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและวอลเทอร์ บี. วุดเบอรี · ดูเพิ่มเติม »

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝิ่นครั้งที่สอง

งครามฝิ่นครั้งที่สอง (ตี้เอ้อร์ยาเพี่ยนจ้านเจิง; Second Opium War) เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ กับ ราชวงศ์ชิง ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สตูดิโอถ่ายภาพ

ตูดิโอถ่ายภาพ (photographic studio) คือ สถานที่ทำงานสำหรับถ่าย พัฒนา พิมพ์ หรือทำซ้ำ ภาพถ่าย นอกจากนั้นอาจมีการฝึกฝนการถ่ายภาพและการแสดงภาพถ่ายในสตูดิโอถ่ายภาพด้วย สตูดิโออาจมีห้องมืด ห้องเก็บของ สตูดิโอที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพ จัดแสดง หรือพื้นที่สำหรับงานที่เกี่ยวข้อง สตูดิโอถ่ายภาพมักเป็นธุรกิจที่เป็นของช่างภาพเอง เป็นไปได้ว่า อาจจะมีผู้ช่วยหรือนักเรียน สตูดิโออาจมีขายภาพของเจ้าของสตูดิโอหรือช่างภาพอื่น ในช่วงปีแรก ๆ ของศตวรรษที่ 20 ธุรกิจของสตูดิโอถ่ายภาพมีเพิ่มมากขึ้น จนเรียกว่า เอเจนซีภาพ (photographic agency) จนทำให้คำว่า สตูดิโอถ่ายภาพ ใช้กับความหมาย ว่าเป็นสถานที่ทำงานแทบทั้งนั้น.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและสตูดิโอถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

อุเอะโนะ ฮิโกะมะ

อุเอะโนะ ฮิโกะมะ เป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพชาวญี่ปุ่น เกิดในนะงะซะกิ ขึ้นชื่อเรื่องการถ่ายภาพคนได้ดี มักถ่ายบุคคลสำคัญชาวญี่ปุ่นและต่างประเทศ และยังถ่ายภาพทัศนียภาพได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองนะงะซะกิและบริเวณโดยรอบ อุเอะโนะเป็นบุคคลสำคัญในการถ่ายภาพของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 19 ที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพเพื่อการค้าอย่างมีศิลปะ เขายังเป็นผู้สอนถ่ายภาพอีกด้ว.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและอุเอะโนะ ฮิโกะมะ · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

คานางาวะ

นางาวะ หรือ คานากาวะ (神奈川 Kanagawa) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและคานางาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

ซูโม่

ซูโม่ ซูโม่ หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วย ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครั.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและซูโม่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ปัตตาเวีย

ปัตตาเวีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและปัตตาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

โยโกฮามะ

นครโยโกฮามะ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองเรียงตามประชากรของประเทศญี่ปุ่นรองจากกรุงโตเกียว และยังถือเป็นเขตเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองเอกของจังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโตเกียวทางใต้ของกรุงโตเกียวในภาคคันโตบนเกาะหลักฮนชู โยโกฮามะถือเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตอภิมหานครโตเกียว.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและโยโกฮามะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮะริเอะ คุวะจิโร

ริเอะ คุวะจิโร (堀江 鍬次郎 1831 – 1866) เป็นช่างภาพยุคบุกเบิกชาวญี่ปุ่น และเป็นนักเขียนแนววิทยาศาสตร์ โฮะริเอะศึกษารังงะกุ ด้านเคมีที่ศูนย์ฝึกทหารเรือนะงะซะกิ (Nagasaki Naval Training Center) โดยมีเย. แอ็ล. เซ. โปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ต เป็นผู้สอน นอกจากเคมีแล้วโปมเปอ ฟัน เมร์เดอร์โฟร์ตยังสอนการถ่ายภาพ จนเมื่อช่างภาพชาวสวิส ปีแยร์ รอซีเยเดินทางมาถึงญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและโฮะริเอะ คุวะจิโร · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์ซีเดิลน์

อน์ซีเดิลน์ (Einsiedeln) เป็นเทศบาลและเขตในรัฐชวีซ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีโบสต์คริสต์ที่ชื่อเสียง คือ โบสถ์ไอน์ซีเดิลน์ (Einsiedeln Abbey) ก่อสร้างในศตวรรษที่ 10 ไอน์ซีเดิลน์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแอลป์ เมืองมีประชากร 15,361 คน (ข้อมูล 31 ธันวาคม ค.ศ. 2016).

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและไอน์ซีเดิลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะคีวชู

ีวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35,640 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 14,779,000 คน (ปี 2003) ชื่อคีวชูหมายถึง เก้าแคว้น.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและเกาะคีวชู · ดูเพิ่มเติม »

เวอแว

วอแว (Vevey) เป็นเมืองแห่งหนึ่งในรัฐโว ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งด้านเหนือของทะเลสาบเจนีวา ใกล้กับเมืองโลซาน เมืองนี้เคยเป็นศูนย์กลางการบริหารของเขตเวอแวจนถึง..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและเวอแว · ดูเพิ่มเติม »

เอเบิล กาวเวอร์

อเบิล แอนโทนี เจมส์ กาวเวอร์ (Abel Anthony James Gower; ค.ศ. 1836 ที่ลีวอร์โน ประเทศอิตาลี – 1899?) เป็นกงสุลชาวอังกฤษ ปฏิบัติหน้าที่ในญี่ปุ่น 2 ครั้ง ระหว่างช่วงบะกุมะสึ ที่นะงะซะกิและฮะโกะดะเตะ เขายังเป็นช่างภาพสมัครเล่น หลังจากใช้ชีวิตในประเทศจีน กาวเวอร์ทำงานที่สถานอัครราชทูตอังกฤษในโทเซ็นจิ เอะโดะ (ต่อมาคือโตเกียว) เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมเจ้าหน้าที่ของรัทเทอร์ฟอร์ด อัลคอก ต่อมาปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและเอเบิล กาวเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทียนจิน

ทียนจิน หรือ เทียนสิน (พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) คือหนึ่งใน 4 เทศบาลนครของจีน เทศบาลนครเทียนจินมีระดับเทียบเท่ากับมณฑลและปกครองจากรัฐบาลกลางโดยตรง พื้นที่ของเทียนจินเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีนแผ่นดินใหญ่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศจีน มีฉายา "เซี่ยงไฮ้ทางเหนือ" เนื่องจากประวัติที่เดิมเคยเป็นเมืองเช่าของตะวันตก การส่งออกอุตสาหกรรมหนัก เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก.

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและเทียนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะไทมส์

อห์น วอลเทอร์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการคนแรก เดอะไทมส์ (The Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1785 เดิมใช้ชื่อว่า The Daily Universal Register ก่อตั้งโดยจอห์น วอลเทอร์ ตีพิมพ์ฉบับแรกวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1785 และเปลี่ยนชื่อเป็น The Times ตั้งแต่ฉบับที่ 941 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1788 ในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ รอซีเยและเดอะไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pierre Rossierปีแยร์ โรซีเยร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »