โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมงกะพรุนไฟ

ดัชนี แมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนไฟ หรือ ตำแยทะเล เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกจำพวกแมงกะพรุนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chrysaora (/ไคร-เซ-ออ-รา/) จัดอยู่ในชั้นแมงกะพรุนแท้ หรือไซโฟซัว โดยแมงกะพรุนไฟ มีลักษณะทั่วไปคล้ายร่ม แต่มีสีลำตัวและหนวดเป็นสีแดงสดหรือสีส้ม ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป สังเกตได้ง่าย ปากและหนวดยื่นออกมาทางด้านล่างหรือด้านท้อง เส้นหนวดมีจำนวนมากเป็นสายยาวกว่าลำตัว พบในทะเลทั้งบริเวณชายฝั่งและไกลฝั่ง ในช่วงฤดูมรสุมอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย จัดเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากอีกจำพวกหนึ่ง เมื่อโดนต่อยจากเข็มพิษแล้วจะมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณบาดแผล จะมีอาการเจ็บ ปวดบริเวณบาดแผลอย่างรุนแรงภายในระยะเวลา 44 นาที บางครั้งอาจพบหนวดแมงกะพรุนขาดติดอยู่บนผิวสัมผัส ผิวหนังมีแนวผื่นแดง หรือรอยไหม้ ตามรอยหนวด ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงจากการอักเสบและอาจเป็นหนองจากการติดเชื้อสำทับ อาการบวมแดงอาจหายไปได้ในเวลาไม่ช้า แต่รอยไหม้และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หรืออยู่ถาวรตลอดไป นอกจากนี้อาจมีอาการไอ, น้ำมูกและน้ำตาไหล และอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว, อ่อนเพลีย และหมดสติ จากการฉีดพิษที่สกัดจากแมงกะพรุนไฟเข้าไปในสัตว์ทดลองพบว่าทำให้การทำงานของตับและไตผิดปรกติ จนอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมนุษย์ และผลที่ออกมาค่อนข้างทุกข์โศกพอสมควร โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงกะพรุนไฟนั้น คือ Chrysaora มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีก คือ ไครเซออร์ซึ่งเป็นโอรสของโปเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับเมดูซ่า เป็นอนุชาของเพกาซัส โดยที่ชื่อนี้มีความหมายว่า "บุรุษผู้ถืออาวุธทองคำ".

14 ความสัมพันธ์: ชายฝั่งมรสุมสัตว์สปีชีส์น้ำกร่อยน้ำตาแมงกะพรุนโพไซดอนไครเซออร์ไซโฟซัวไนดาเรียเพกาซัสเมดูซาเทพปกรณัมกรีก

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

มรสุม

กลุ่มเมฆและฝนที่เกิดจากมรสุม ภาพแสดงกลุ่มเมฆมรสุม มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือ ลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ สาเหตุใหญ่ ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในชั้นบรรยากาศ และวัฎจักรของฝน เนื่องจากความไม่เท่ากันของการรับและคายความร้อนของพื้นดินและน้ำ โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่ใช้บรรยายช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลงที่มีฝนตก ในระดับโลกสามารถที่จะจำแนกมรสุมได้เป็น มรสุมแอฟริกันตะวันตก และ มรสุมเอเชียออสเตรเลีย คำว่า “มรสุม” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ในอินเดียของบริเตน (ปัจจุบันคือ อินเดีย บังกลาเทศ และ ปากีสถาน) เพื่อสื่อถึงลมประจำฤดูกาลที่พัดจากอ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับนำพาฝนคะนองเข้าไปสู่บริเวณอินเดียของบริเตน คำว่า "มรสุม" หรือ monsoon ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า موسم ในภาษาอารบิก แปลว่า ฤดูกาล.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและมรสุม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตา

กายวิภาคของอวัยวะอันเกี่ยวข้องกับน้ำตาBreak a) ต่อมน้ำตาBreak b) จุดน้ำตาชั้นบนBreak c) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นบนBreak d) ถุงน้ำตาBreak e) จุดน้ำตาชั้นล่างBreak f) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นล่างBreak g) คลองท่อน้ำตา น้ำตา เกิดจากการหลั่งน้ำตา (Lacrimation หรือ lachrymation) ที่มีหน้าที่ทำความสะอาดและหล่อลื่นดวงตาเพื่อตอบสนองต่ออาการระคายเคืองตา น้ำตาที่เกิดจากการร้องไห้มีผลมาจากความรู้สึกรุนแรงภายใน เช่น ความโศกเศร้า ความปิติยินดี อารมณ์ ความกลัวเกรง หรือความยินดี การหัวเราะและการหาวก็สามารถทำให้เกิดน้ำตาได้.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและน้ำตา · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

ไครเซออร์

อร์ฟู ประเทศกรีซ ไครเซออร์ (Χρυσάωρ, Khrusaōr; Chrysaor; แปลว่า "ผู้มีอาวุธทองคำ") เป็นบุคคลในเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของโพไซดอน (Poseidon) เจ้าสมุทร กับเมดูซา (Medusa) อสุรกาย และเป็นพี่ชายของเพกาซัส (Pegasus) ม้ามีปีก ไครเซออร์มักปรากฏรูปโฉมเป็นบุรุษหนุ่ม สำหรับกำเนิดของไครเซออร์นั้น ย้อนไปถึงคราวที่เมดูซาเป็นหญิงรูปงาม แต่ได้ดูหมิ่นอะทีนา (Athena) เทวีแห่งการยุทธ์ ด้วยการสังวาสกับโพเซดอนในวิหารอะทีนา เทวีจึงสาปนางเป็นอสุรกายมีผมเป็นอสรพิษ บางตำราว่า อะทีนายังสาปให้นางมีปีกสีทองงอกออกมาจากศีรษะด้วย ครั้นเพอร์ซิอัส (Perseus) วีรบุรุษ มาตัดศีรษะเมดูซาไปถวายพระเจ้าพอลีเดกทิส (Polydectes) แห่งเกาะเซรีฟอส (Serifos) โลหิตเมดูซาไหลร่วงลงมหาสมุทร และไครเซออร์กับม้าเพกาซัสก็ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทรนั้น บางตำราว่า ทันทีที่เพอร์ซิอัสตัดศีรษะเมดูซา โลหิตกระเด็นจากคอนางออกมาเป็นไครเซออร์กับเพกาซัส เทพปกรณัมว่า ต่อมา ไครเซออร์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไอเบียเรีย (Iberia) ฮีเซียด (Hesiod) กวีกรีก บรรยายเกี่ยวกับไครเซออร์ไว้ในงานเขียนเรื่อง ทีโอโกนี (Theogony) ว่า "ไครเซออร์สมรสกับคอลลีร์โรอี (Callirrhoe) ธิดาโอซีอานัส (Oceanus) ผู้รุ่งเรือง แล้วให้กำเนิดเกเรียน (geryon) ยักษ์สามหัว ทว่า เกเรียนถูกปลิดชีพด้วยกำลังอันมากล้นของเฮราคลิส (Heracles) ท่ามกลางฝูงโคกระบือที่เกเรียนพาไปเดินทอดน่อง ณ เกาะสมุทรล้อมเอรีทีส (Erytheis) ในวันที่เฮราคลิสขับไล่วัวควายเหล่านั้นเข้าสู่เมืองทีรินซ์ (Tiryns) อันศักดิ์สิทธิ์ ข้ามผ่านกระแสชลโอเคียนอส (Okeanos) และประหารออร์ทอส (Orthos) กับโคบาลยูรีเชียน (Eurytion) ณ ชายทุ่งที่รกทึบเหนือทะเลโอเชียนอส (Oceanos) อันเลื่องชื่อ".

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและไครเซออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซโฟซัว

ซโฟซัว หรือ แมงกะพรุนแท้ เป็นชั้นของสัตวน้ำไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรีย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scyphozoa.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและไซโฟซัว · ดูเพิ่มเติม »

ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและไนดาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เพกาซัส

รูปสลักนูนต่ำ เบลเลโรฟอนปราบไคเมร่า ด้วยการขี่เพกาซัส เพกาซัส (Pegasus; กรีก: Πήγασος; เปกาซอส หมายถึง "แข็งแรง") เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นม้าเพศผู้รูปร่างกำยำพ่วงพีสีขาวบริสุทธิ์ และมีปีกอันกว้างสง่างามเหมือนนกพิราบ เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ซึ่งถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอุสฟันคอ ในขณะที่เลือดจากลำคอพุ่งกระเซ็นนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง เพกาซัสเป็นพี่ของคริสซาออร์ ซึ่งก็เกิดมาหลังจากนั้น ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลย ตอนที่เพกาซัสเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่เพกาซัสวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงามที่เหล่ากวีและศิลปินชื่นชมกันนักหนา คือ น้ำพุฮิปโปครีนี ที่เป็นที่รู้จักในวรรณคดีกรีกโบราณ ว่ากันว่า หากใครได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว โอกาสที่จะเป็นกวีเอกอยู่แค่เอื้อม นอกจากนี้แล้วเพกาซัสยังทำหน้าที่คอยเก็บสายฟ้าให้ซุส เพกาซัสโดนปราบโดยเด็กหนุ่มรูปงามชาวเมืองโครินทร์ คือ เบลเลอโรฟอน เบลเลอโรฟอนเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองโครินท์ คือ กลอคุส ซึ่งต่อมาเบลเลอโรฟอนได้ขี่เพกาซัสปราบสัตว์ประหลาดร้ายไคเมร.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและเพกาซัส · ดูเพิ่มเติม »

เมดูซา

ในเทพปกรณัมกรีก เมดูซาเป็นสัตว์ประหลาด กอร์กอน ทั่วไปอธิบายว่ามีใบหน้าหญิงมนุษย์น่ากลัวและมีงูพิษเป็น ๆ แทนผม การจ้องเธอโดยตรงจะเปลี่ยนผู้ดูให้เป็นหิน แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายว่าเธอเป็นธิดาของฟอร์ซีสและซีโต เมดูซาถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอัสตัดหัว จากนั้นเขาใช้ศีรษะเธอเป็นอาวุธ กระทั่งเขาถวายแด่เทพีอะธีนาซึ่งนำไปติดบนโล่ของพระนาง ในสมัยโบราณคลาสสิก ภาพศีรษะเมดูซาปรากฏในอุปกรณ์ขับไล่ความชั่วร้าย เรียก กอร์กะเนียน.

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและเมดูซา · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: แมงกะพรุนไฟและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ChrysaoraSea nettleตำแยทะเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »