โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

ดัชนี รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

รายชื่อกล้ามเนื้อของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนกล้ามเนื้อที่แน่นอนก็ยังไม่แน่ชัดเพราะแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการจัดกลุ่มกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ทำให้จำนวนกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์มีตั้งแต่ 640-850 มัด ซึ่งตารางนี้มีรายชื่อกล้ามเนื้อประมาณ 320 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อในตารางนี้เป็นหน้าที่มาตรฐานเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่าค (anatomical position) ในตำแหน่งร่างกายอื่นๆ กล้ามเนื้ออาจมีหน้าที่ที่ต.

171 ความสัมพันธ์: ช่องอกช่องคลอดฟอราเมน แมกนัมกระดูกพิสิฟอร์มกระดูกฝ่ามือกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3กระดูกสฟีนอยด์กระดูกสะบักกระดูกสะบ้ากระดูกสันหลังกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บกระดูกสแคฟฟอยด์กระดูกหน้าผากกระดูกอัลนากระดูกฮาเมตกระดูกทราพีซอยด์กระดูกทราพีเซียมกระดูกท้ายทอยกระดูกขมับกระดูกข้างขม่อมกระดูกค้อนกระดูกต้นขากระดูกต้นแขนกระดูกซี่โครงกระดูกปีกสะโพกกระดูกนิ้วมือกระดูกนิ้วมือท่อนต้นกระดูกนิ้วมือท่อนปลายกระดูกน่องกระดูกแข้งกระดูกแคปปิเตตกระดูกโกลนกระดูกไหปลาร้ากระดูกไฮออยด์กระดูกเรเดียสกล่องเสียงกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อฟรอนทาลิสกล้ามเนื้อกลุ่มโมบายล์ แวดกล้ามเนื้อมีเดียล เรกตัสกล้ามเนื้อลืมตากล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริสกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อลีควี นาไซกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์กล้ามเนื้อหลับตากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิสกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิสกล้ามเนื้อออริคิวลาริส...กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ ออบลีกกล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ เรกตัสกล้ามเนื้อทราพีเซียสกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซกล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิสกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอกล้ามเนื้อซิลิอารีกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ออบลีกกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ทาร์ซัลกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ เรกตัสกล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัสกล้ามเนื้อนาซาลิสกล้ามเนื้อแลทเทอรัล เรกตัสกล้ามเนื้อแสยะยิ้มกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อแอนโคเนียสกล้ามเนื้อโครงร่างกล้ามเนื้อโปรเซอรัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอกล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์กล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริสกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไมกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิสกล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิสกล้ามเนื้อเดลทอยด์กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ฝากล่องเสียงมือมุมด้านล่างของกระดูกสะบักรยางค์บนระบบประสาทพาราซิมพาเทติกระบบประสาทซิมพาเทติกริมฝีปากรูจมูกร่องใต้ไหปลาร้าร่องไบซิพิทัลลำตัวลิ้นสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียสหลอดเลือดแดงอัลนาหลอดเลือดแดงแขนหลอดเลือดแดงเรเดียลหูหูชั้นในอกอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์จมูกจะงอยบ่าจูกูลาร์ โพรเซสถุงอัณฑะทวารหนักท่อหูท่อปัสสาวะท้องขอบด้านบนของกระดูกสะบักขอบด้านข้างของกระดูกสะบักขอบแนวกลางของกระดูกสะบักขาข่ายประสาทแขนข้อศอกคอคอร์เนียล ลิมบัสคอหอยคางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตาประสาทสมองปลายแขนปากปุ่มกกหูปุ่มกระดูกหัวไหล่ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนปุ่มนอกของท้ายทอยปุ่มนูนอัลนาปุ่มนูนเรเดียสปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขนปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขนปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์นิ้วชี้นิ้วมือนิ้วหัวแม่มือแอ่งกลีนอยด์แอ่งใต้กระดูกสะบักแนวสันกระดูกสะบักแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้างแนวเดลทอยด์โหนกคิ้วโอเลครานอน โพรเซสโคโรนอยด์ โพรเซสไหล่เชิงกรานเสียงเส้นหลังคอเส้นขมับเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสเส้นประสาทมีเดียนเส้นประสาทเฟเชียลเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขนเท้าTrunk ขยายดัชนี (121 มากกว่า) »

ช่องอก

องอก (thoracic cavity หรือ chest cavity) เป็นช่องว่างในร่างกายมนุษย์ (และสัตว์ชนิดอื่นๆ) ที่ถูกหุ้มด้วยผนังช่องอก (thoracic wall) (กระดูกทรวงอก รวมทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ และพังผืด).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และช่องอก · ดูเพิ่มเติม »

ช่องคลอด

องคลอด (Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และช่องคลอด · ดูเพิ่มเติม »

ฟอราเมน แมกนัม

ฟอราเมน แมกนัม(Foramen Magnum, มาจากภาษาละติน แปลว่า รูขนาดใหญ่) ในทางกายวิภาคศาสตร์ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่รูปวงรีที่อยู่ที่ฐานของกะโหลกศีรษะ บนกระดูกท้ายทอย (Occipital Bone) ซึ่งเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ซึ่งติดต่อกับไขสันหลัง นอกจากช่องนี้จะเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตาแล้ว ยังเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (Vertebral Arteries), หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์สไปนัล (Anterior Spinal Artery), และหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์สไปนัล (Posterior Spinal Artery), เยื่อคลุม (Membrana Tectoria) และเอ็นเอลาร์ (Alar Ligaments).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และฟอราเมน แมกนัม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกพิสิฟอร์ม

กระดูกพิสิฟอร์ม (Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกพิสิฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกฝ่ามือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วชี้ (Second metacarpal bone or Metacarpal bone of the index finger) เป็นกระดูกฝ่ามือซึ่งมีความยาวที่สุด รองรับนิ้วชี้ และที่ฐานมีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 ฐานของกระดูกนี้ยืดยาวไปทางด้านบนและด้านใกล้กลาง (medialward) เกิดเป็นสันนูนเด่น กระดูกนี้มีหน้าประกบซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่น 4 หน้า โดย 3 หน้าอยู่ทางด้านบน และอีกด้านหนึ่งอยู่ด้านอัลนา (ด้านใกล้นิ้วกลาง) หน้าประกบที่อยู่ทางพื้นผิวด้านบน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วกลาง (Third metacarpal bone or Metacarpal bone of the middle finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่รองรับนิ้วกลาง และมีขนาดเล็กกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 เล็กน้อย ที่พื้นผิวด้านหลังมือของฐานของกระดูกนี้จะมีส่วนที่ยื่นลงมาทางด้านเรเดียส (ด้านที่ติดกับนิ้วชี้) เรียกว่า สไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งยื่นขึ้นมาประกอบกับทางด้านหลังของกระดูกแคปปิเตต (capitate) และด้านปลายของสไตลอยด์ โพรเซสมีพื้นผิวขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis muscle) หน้าประกบซึ่งเกิดข้อต่อด้านกระดูกข้อมือ (carpal) ด้านหลังมีลักษณะเว้า ด้านหน้าแบน เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต นอกจากนี้ที่ด้านเรเดียส (ด้านที่ติดนิ้วชี้) มีลักษณะเป็นหน้าประกบเรียบ เว้า ซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ ด้านอัลนา (ด้านที่ติดนิ้วนาง) มีหน้าประกบรูปวงรีขนาดเล็ก 2 อันซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสฟีนอยด์

กระดูกสฟีนอยด์ (Sphenoid bone; sphenoeides แปลว่า รูปร่างคล้ายลิ่ม) เป็นกระดูกชิ้นหนึ่งของฐานกะโหลกศีรษะด้านหน้าของกระดูกขมับ (temporal) และส่วนเบซิลาร์ของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) กระดูกชิ้นนี้มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อหรือค้างคาว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกสฟีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบ้า

กระดูกสะบ้า หรือ สะบ้าหัวเข่า (patella of knyecaeiei) เป็นกระดูกหนารูปสามเหลี่ยม ซึ่งเกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกต้นขาและอยู่คลุมและปกป้องทางด้านหน้าของข้อเข่า กระดูกสะบ้านับเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกนี้ยึดเกาะกับเอ็นกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส (quadriceps femoris) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า กล้ามเนื้อวาสตัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius) เกาะกับฐานของกระดูกสะบ้า และกล้ามเนื้อวาสตัส แลทเทอราลิส (vastus lateralis) กับกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียส (vastus medialis) เกาะกับขอบกระดูกด้านข้างกับด้านใกล้กลางของกระดูกสะบ้าตามลำดับ กระดูกสะบ้าสามารถวางตัวอยู่อย่างเสถียรได้เนื่องจากมีกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียสมาเกาะปลายและมีส่วนยื่นของคอนไดล์ด้านหน้าของกระดูกต้นขา (anterior femoral condyles) ซึ่งป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไปทางด้านข้างลำตัวระหว่างการงอขา นอกจากนี้เส้นใยเรตินาคิวลัม (retinacular fibre) ของกระดูกสะบ้าก็ช่วยให้กระดูกสะบ้าอยูมั่นคงระหว่างการออกกำลังกาย หน้าที่หลักของกระดูกสะบ้า คือเมื่อเกิดการเหยียดข้อเข่า (knee extension) กระดูกสะบ้าจะเพิ่มกำลังงัดของคานซึ่งเอ็นกล้ามเนื้อสามารถออกแรงบนกระดูกต้นขาโดยการเพิ่มมุมที่แรงของเอ็นกระทำ การสร้างกระดูกของกระดูกสะบ้าเกิดขึ้นเมื่ออายุ 2-6 ปี แต่ในบางคนอาจไม่พบกระบวนการนี้เนื่องจากความพิการแต่กำเนิด ในจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรมีกระดูกสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซึ่งไม่เกิดอาการแสดงใดๆ สำหรับในสัตว์ชนิดอื่นๆ กระดูกสะบ้าจะเจริญเต็มที่เฉพาะในยูเธอเรีย (eutheria; หรือสัตว์ที่มีรก) แต่ในสัตว์พวกมาร์ซูเปียเลีย (marsupial; หรือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง) จะไม่มีการสร้างเป็นกระดูก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกสะบ้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ

150px กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง ซึ่งเดิมมี 8 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด (sacral foramina) เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานแล.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสแคฟฟอยด์

กระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง".

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกสแคฟฟอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหน้าผาก

กระดูกหน้าผาก (frontal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ มีรูปร่างเหมือนเปลือกหอยแครง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกหน้าผาก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฮาเมต

กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกฮาเมต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีซอยด์

กระดูกทราพีซอยด์ (Trapezoid bone; lesser multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือชิ้นหนึ่งในสัตว์สี่เท้า (tetrapod) รวมทั้งมนุษย์ มีขนาดเล็กที่สุดในกระดูกข้อมือแถวปลาย มีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างเหมือนลิ่ม โดยมีปลายด้านหลังกว้าง และพื้นผิวด้านฝ่ามือแคบ กระดูกนี้มีหน้าประกบเกิดเป็นข้อต่อ 4 หน้าซึ่งแต่ละหน้าแยกกันด้วยขอบแหลมคม รากศัพท์ของ ทราพีซอยด์ (trapezoid) มาจากภาษากรีก trapezion แปลว่า สี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้าหรือขอบ หากแปลตามตัวอักษรอาจแปลได้ว่า โต๊ะขนาดเล็ก มาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ และ -oeides หมายถึง รูปร่าง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกทราพีซอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีเซียม

กระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone; Greater multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวปลาย อยู่ภายในข้อมือ กระดูกทราพีเซียมมีลักษณะเด่นคือจะมีร่องลึกทางด้านฝ่ามือ กระดูกชิ้นนี้จะตั้งอยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) ของข้อมือ ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (first metacarpal bone) รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษากรีก trapezion ซึ่งหมายความตามตัวอักษรว่า รูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ (irregular quadrilateral) หรือมาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ หรือมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้า หรือ ขอ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกทราพีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกท้ายทอย

กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) เป็นกระดูกรูปจานรองแก้วที่อยู่ด้านหลังและด้านล่างของกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและโค้ง มีช่องขนาดใหญ่รูปวงรีเรียกว่า ฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างโพรงกะโหลก (cranial cavity) และคลองกระดูกสันหลัง (vertebral canal) แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกขมับ

กระดูกขมับ (temporal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างและด้านฐานของกะโหลกศีรษะ กระดูกนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนส่วนของใบหน้าที่เรียกว่า ขมับ (temple).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้างขม่อม

กระดูกข้างขม่อม (parietal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ซึ่งประกอบกันอยู่ด้านข้างและเป็นหลังคาด้านบนของกะโหลกศีรษะ กระดูกข้างขม่อมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ มีพื้นผิว 2 ด้าน ขอบกระดูก 4 ขอบ และมุมกระดูก 4 มุม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกข้างขม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกค้อน

กระดูกค้อน (malleus or hammer) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนค้อน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่งและยึดเกาะกับพื้นผิวด้านในของเยื่อแก้วหู (eardrum) ทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังกระดูกทั่ง กระดูกค้อนเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรล่างในสัตว์มีถุงน้ำคร่ำ เรียกว่า กระดูกอาร์ติคิวลาร์ (articular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกค้อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นขา

กระดูกต้นขา (Femur) เป็นกระดูกยาวที่อยู่ภายในต้นขา (thigh) ในมนุษย์ถือว่าเป็นกระดูกที่ยาวที่สุด มีปริมาตรมากที่สุด และแข็งแรงที่สุด ความยาวของกระดูกต้นขาโดยเฉลี่ยของมนุษย์ประมาณ 48 เซนติเมตร และเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 2.34 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกต้นขา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกปีกสะโพก

กระดูกปีกสะโพก หรือ กระดูกไอเลียม (ilium) เป็นกระดูกของเชิงกราน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวกระดูก (body) และส่วนปีก (ala) รอยแยกระหว่าง 2 ส่วนนั้นเป็นเส้นโค้งที่อยู่บนพื้นผิวด้านใน เรียกว่า เส้นคาร์คูเอท (arcuate line) และเบ้าหัวกระดูกต้นขา (acetabulum) บนพื้นผิวด้านนอก ชื่อของกระดูกนี้ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า ขาหนีบ (groin).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกปีกสะโพก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือ

กระดูกนิ้วมือ (Phalanges of hand; Finger bones) เป็นกลุ่มของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นแกนของนิ้วมือทั้งห้านิ้วของมนุษย์ โดยแต่ละนิ้วจะมีกระดูกนิ้วมือ 3 ท่อน คือ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกนิ้วมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนต้น

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนต้น (Proximal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่โคนของนิ้วมือ ซึ่งนูนออกมาสังเกตได้ชัด เรียกว่า ข้อนิ้วมือ หรือ มะเหงก (knuckle) สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, หรือครีบ ในสัตว์หลายชนิด กระดูกนี้เป็นกระดูกนิ้วมือชิ้นที่ยาวที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกนิ้วมือท่อนต้น · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (Distal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วมือที่อยู่ปลายสุดของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก โดยทั่วไป กระดูกนิ้วมือท่อนปลายจะถูกต่อด้วยกรงเล็บ สำหรับในไพรเมต (primate) กระดูกนิ้วมือท่อนปลายถูกคลุมด้วยเล็บ กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกนิ้วมือชิ้นที่เล็กที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกน่อง

กระดูกน่อง หรือ กระดูกฟิบูลา เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างของกระดูกแข้ง (tibia) ซึ่งกระดูกสองชิ้นนี้มีข้อต่อกันทางด้านบนและด้านล่าง กระดูกนี้มีขนาดเล็กกว่ากระดูกแข้ง เมื่อเทียบสัดส่วนกับความยาวจะพบว่ากระดูกน่องเป็นกระดูกที่ผอมที่สุดในบรรดากระดูกยาวทั้งหมด ส่วนต้นกระดูกมีขนาดเล็ก วางตัวอยู่ด้านหลังของหัวกระดูกแข้งใต้ต่อระดับข้อเข่า และไม่ได้เป็นกระดูกองค์ประกอบของข้อเข่า ส่วนปลายของกระดูกนี้เอียงยื่นไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ปลายล่างของกระดูกนี้ยื่นลงต่ำกว่าปลายกระดูกแข้ง สร้างเป็นส่วนด้านข้างของข้อเท้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกน่อง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแข้ง

กระดูกแข้ง หรือ กระดูกทิเบีย (tibia) เป็นหนึ่งในสองกระดูกของขาท่อนล่างใต้เข่า มีขนาดใหญ่กว่ากระดูกน่อง พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแคปปิเตต

กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกแคปปิเตต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโกลน

กระดูกโกลน (stapes or stirrup) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโกลน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่ง (incus) และช่องรูปไข่ (fenestra ovalis) ซึ่งอยู่ชิดกับเวสทิบูลของหูชั้นใน กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เล็กและเบาที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกโกลนทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่งไปยังเยื่อแผ่นในหูชั้นในภายในช่องรูปไข่ กระดูกโกลนมีกล้ามเนื้อที่ช่วยให้เสถียรชื่อว่า กล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า คอลัมเมลลา (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกโกลน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไฮออยด์

กระดูกไฮออยด์ เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ และเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ เลย กระดูกนี้ค้ำจุนโดยกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ช่วยค้ำจุนโคนลิ้น กระดูกไฮออยด์มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า และแขวนจากยอดของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับโดยเอ็นสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid ligaments).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกไฮออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis muscle) เป็นกล้ามเนื้อบางๆ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของศีรษะ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเกาะกับพังผืดชั้นผิว (superficial fascia) มีลักษณะกว้างกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส (Occipitalis) และใยของกล้ามเนื้อนี้ยังยาวและสีซีดกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส กล้ามเนื้อนี้ไม่มีจุดเกาะอยู่กับกระดูก ใยกล้ามเนื้อส่วนใกล้กลาง (medial) ต่อเนื่องกับใยของกล้ามเนื้อโปรเซอรัส (Procerus) ใยกล้ามเนื้อตรงกลางร่วมไปกับกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) ยึดเกาะกับผิวหนังของคิ้ว "eye, human."Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อฟรอนทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อกลุ่มโมบายล์ แวด

กล้ามเนื้อกลุ่มโมบายล์ แวด (Mobile wad; Mobile wad of Henry) เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อ 3 มัดที่อยู่ในพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน (posterior compartment of the forearm) ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อกลุ่มโมบายล์ แวด · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อมีเดียล เรกตัส

กล้ามเนื้อมีเดียล เรกตัส เป็นกล้ามเนื้อในเบ้าต.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อมีเดียล เรกตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อลืมตา

กล้ามเนื้อลืมตา เป็นกล้ามเนื้อในเบ้าตา ลืมตา ล.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อลืมตา · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริส

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริส (levator anguli oris) เป็นกล้ามเนื้อใบหน้าที่อยู่บริเวณปาก เริ่มจากแอ่งฟันเขี้ยว (canine fossa) ซึ่งอยู่ใต้ต่อรูใต้เบ้าตา (infraorbital foramen) ใยของกล้ามเนื้อเข้าเกาะปลายที่มุมของปาก ร่วมกับกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส (zygomaticus), ดีเพรสเซอร์ แองกูไล ออริส (depressor anguli oris), และกล้ามเนื้อหูรูดปาก (Orbicularis oris).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แองกูไล ออริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อลีควี นาไซ

กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อัลลีค นาไซ (levator labii superioris alaeque nasi muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บนใบหน้า ชื่อของกล้ามเนื้อเป็นภาษาละตินแปลว่า กล้ามเนื้อที่ยกริมฝีปากบนและยกปีกจมูก กล้ามเนื้อนี้เป็นกล้ามเนื้อที่มีชื่อยาวที่สุดในบรรดากล้ามเนื้อในร่างกายของสัตว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ เลบิไอ ซุพีเรียริส อลีควี นาไซ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดี.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในส่วนนอกของลำคอ ชื่อของกล้ามเนื้อมัดนี้มาจากจุดเกาะทั้งสามจุดของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ กระดูกอก (sternum, sterno-) กระดูกไหปลาร้า (clavicle, cleido-) และมาสตอยด์ โพรเซส (mastoid process) ซึ่งเป็นส่วนนูนขนาดใหญ่บนกระดูกขมับ (temporal bone) ในบางครั้งอาจเรียกชื่อกล้ามเนื้อนี้ว่า สเตอร์โนมาสตอยด์ (sternomastoid) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ทำหน้าที่หลักในการหมุนและการงอของศีรษะ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับกลุ่มของกล้ามเนื้อสคาลีนนัส (scalenus muscles) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของช่องอกระหว่างการหายใจ แนวของกล้ามเนื้อนี้ยังใช้ในการแบ่งอาณาบริเวณทางกายวิภาคของลำคอเป็นสองส่วน คือพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้า (anterior triangle of neck) และพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลัง (posterior triangle of neck).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหลับตา

กล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis ocule) เป็นกล้ามเนื้อในใบหน้าลักษณะเป็นเส้นใยวงกลมวนรอบดวงตา ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อนี้เกิดการหดตัวก็จะทำให้สามารถหลับตาได้ โดยเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็คือเส้นประสาทเฟเชียล หรือเส้นประสาทคู่ที่ 7 หลับตา.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อหลับตา · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส

กล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส (Occipitalis) เป็นกล้ามเนื้อบนศีรษะของมนุษย์ มีลักษณะบาง และมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า จุดเกาะเป็นเอ็นเส้นใยจากด้านข้าง 2/3 ของเส้นหลังคอเส้นบนสุด (superior nuchal line) ของกระดูกท้ายทอย และจากส่วนกกหูของกระดูกขมับ (mastoid part) และเข้าไปเกาะปลายที่กาเลีย อโพนิวโรติกา (galea aponeurotica) ในตำราบางเล่มจัดกล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส (occipitofrontalis muscle).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส (Occipitofrontalis) เป็นกล้ามเนื้อบนศีรษะของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อออริคิวลาริส

กล้ามเนื้อออริคิวลาริส (Auriculares muscles) เป็นกล้ามเนื้อ 3 มัดที่อยู่ล้อมรอบใบหูหรือหูชั้นนอก ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อออริคิวลาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ ออบลีก

กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ ออบลีก เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะบางและแคบที่อยู่ใกล้ขอบหน้าของเบ้าต.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ ออบลีก · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ เรกตัส

เป็นกล้ามเนื้อในเบ้าตา อินฟีเรียร์ เรกตัส อ de:Augenmuskeln#Musculus rectus inferior.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ เรกตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อทราพีเซียส

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius) เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อทราพีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Depressor Supercilii) เป็นกล้ามเนื้อตาของร่างกายมนุษย์ ธรรมชาติของกล้ามเนื้อนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน ตำราทางกายวิภาคศาสตร์บางเล่มนับกล้ามเนื้อนี้เป็นกล้ามเนื้อมัดหนึ่ง (เช่น Netter, et al) แต่ผู้เขียนส่วนใหญ่นับกล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis oculi) ในทางตรงกันข้าม ตจแพทย์, จักษุแพทย์, และศัลยแพทย์พลาสติกจำนวนมากนับกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอเป็นกล้ามเนื้อมัดหนึ่งแยกออกมา และทำหน้าที่เฉพาะในการเคลื่อนไหวคิ้วและผิวหนังบริเวณแสกหน้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซ

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซ (Depressor septi หรือ Depressor alœ nasi) เป็นกล้ามเนื้อบนใบหน้าที่มีจุดเกาะต้นที่แอ่งเพดานปากหลังฟันตัด (incisive fossa) ของกระดูกขากรรไกรบน ใยของกล้ามเนื้อทอดขึ้นไปเกาะปลายที่ผนังกลางจมูก (nasal septum) และส่วนหลังของส่วนปีกของกล้ามเนื้อนาซาลิส (nasalis muscle) กล้ามเนื้อนี้วางตัวระหว่างเยื่อเมือก (mucous membrane) และโครงสร้างกล้ามเนื้อของริมฝีปาก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ เซปไต นาไซ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส

กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส (Coracobrachialis) เป็นกล้ามเนื้อที่เล็กที่สุดในบรรดากล้ามเนื้อ 3 มัดที่เกาะอยู่กับโคราคอยด์ โพรเซส (coracoid process) ของกระดูกสะบัก (scapula) (กล้ามเนื้ออีก 2 มัดที่เหลือคือกล้ามเนื้อเพคทอราลิส ไมเนอร์ (pectoralis minor) และกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii)) กล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ส่วนบนและส่วนด้านใกล้กลางของแขน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

กล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็ก แคบ รูปร่างเป็นพีระมิด ตั้งอยู่ที่หัวคิ้ว ใต้ต่อกล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) กล้ามเนื้อนี้เริ่มจากปลายด้านใกล้กลางของโหนกคิ้ว (superciliary arch) และใยกล้ามเนื้อทอดไปทางด้านบนและด้านข้าง ระหว่างส่วนหนังตา (palpebral portion) และส่วนเบ้าตา (orbital portion) ของกล้ามเนื้อหลับตา และเข้าเกาะปลายที่พื้นผิวชั้นลึกของผิวหนัง เหนือต่อกึ่งกลางของโค้งเบ้าตา (orbital arch).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อซิลิอารี

ซิลิอารี ซ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อซิลิอารี · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ออบลีก

กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ออบลีก เป็นกล้ามเนื้อรูปกระสวยที่เกิดขึ้นในส่วนบนของร่างก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ออบลีก · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ทาร์ซัล

กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ทาร์ซัล หรือที่เรียกกันว่า กล้ามเนื้อมึลเลอร์ เป็นกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ติดกันกล้ามเนื้อลืมตา ที่ช่วยในการยกระดับที่จะช่วยให้เพื่อยกเปลือกตาบน ซุพีเรียร์ ทาร์ซัล.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ทาร์ซัล · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ เรกตัส

กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ เรกตัส เป็นกล้ามเนื้อในเบ้าต.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ เรกตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส

กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (palmaris longus) เป็นกล้ามเนื้อเล็กๆ ของปลายแขน ที่เห็นเอ็นกล้ามเนื้อเล็กๆ อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (flexor carpi radialis) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris) ในบางครั้งอาจไม่พบกล้ามเนื้อนี้ก็ได้ กล้ามเนื้อนี้ลักษณะผอม เรียงเป็นรูปกระสวย ทอดตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (medial side) ของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นที่ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) โดยเอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์ (common flexor tendon), จากผนังกั้นระหว่างกล้ามเนื้อ (intermuscular septum) ที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia) ปลายของกล้ามเนื้อนี้มีลักาณะผอม เป็นเอ็นแบนๆ ซึ่งผ่านเหนือส่วนบนของเฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมของมือ (flexor retinaculum) และเข้าเกาะปลายที่ส่วนกลางของ เฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมและส่วนล่างของเอ็นแผ่ฝ่ามือ (palmar aponeurosis) บางครั้งอาจส่งแผ่นเอ็นกล้ามเนื้อเข้าไปยังกล้ามเนื้อสั้นของนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้จากผิวหนังโดยการงอนิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นอุ้งมือแล้วงอข้อมือ จะเห็นเอ็นกล้ามเนื้อนี้ (ถ้ามี) ชัดเจนอยูที่ข้อมือ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อนาซาลิส

กล้ามเนื้อนาซาลิส (nasalis) (กล้ามเนื้อคอมเพรสเซอร์ นาริส (compressor naris)) เป็นกล้ามเนื้อที่เหมือนหูรูดของจมูกซึ่งทำหน้าที่ในการหดหรือกดกระดูกอ่อนจมูก (nasal cartilage) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนทรานสเวอร์ส และ ส่วนเอลาร.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อนาซาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแลทเทอรัล เรกตัส

กล้ามเนื้อแลทเทอรัล เรกตัส เป็นกล้ามเนื้อในเบ้าต.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อแลทเทอรัล เรกตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม หรือ กล้ามเนื้อไรซอเรียส (risorius) มีจุดเกาะต้นจากพังผืดเหนือต่อมพาโรติด และทอดในแนวขวางมาด้านหน้า อยู่ชั้นผิวกว่ากล้ามเนื้อแพลทิสมา (platysma) และเข้าเป็นจุดเกาะปลายที่ผิวหนังบริเวณมุมปาก ใยของกล้ามเนื้อนี้เป็นมัดแคบๆ มีส่วนกว้างที่สุดที่จุดเกาะต้น และมีความหลากหลายมากในขนาดและรูปร่าง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อแสยะยิ้ม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

กล้ามเนื้อแอนโคเนียส (anconeus muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กที่อยู่ด้านหลังของข้อศอก บางตำรารวมให้กล้ามเนื้อแอนโคเนียสต่อเนื่องจากกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii muscle) ในตำราบางเล่มกล่าวว่ากล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านหลังต้นแขน (posterior compartment of the arm) แต่บางตำราจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านหลังปลายแขน (posterior compartment of the forearm) กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้ โดยอยู่ด้านข้างต่อโอเลครานอน โพรเซส (olecranon process) ของกระดูกอัลน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อแอนโคเนียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโครงร่าง

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งซึ่งมักมีส่วนยึดติดกับกระดูก กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยสร้างแรงกระทำกับกระดูกและข้อผ่านการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุม (ผ่านการกระตุ้นเส้นประสาทโซมาติก) อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้อโครงร่างสามารถหดตัวนอกเหนือการควบคุมได้ผ่านรีเฟลกซ์ เซลล์กล้ามเนื้อ (บางครั้งเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว หนึ่งเซลล์มีหลายนิวเคลียส นิวเคลียสของเซลล์กล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ส่วนริมเซลล์ ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อให้ตรงกลางเซลล์มีที่ว่างสำหรับ myofibril (ในทางกลับกัน หากนิวเคลียสของเซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างไปอยู่ตรงกลางเซลล์ จะถือว่าเป็นภาวะทางพยาธิวิทยาที่เรียกว่า centronuclear myopathy) กล้ามเนื้อโครงร่างจะมีปลายข้างหนึ่ง (จุดเกาะต้น) เกาะติดกับกระดูกส่วนที่ใกล้กับแกนกลางร่างกายมากกว่าและมักเป็นกระดูกที่ค่อนข้างยึดแน่น และปลายอีกข้างหนึ่ง (จุดเกาะปลาย) เกาะข้ามข้อไปยังกระดูกอีกชิ้นหนึ่งที่อยู่ห่างจากแกนกลางร่างกายมากกว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างจะทำให้กระดูกหมุนตามข้อ เช่น กล้ามเนื้อที่ชื่อว่า biceps brachii มีจุดเกาะต้นอยู่ที่กระดูกสะบัก และมีจุดเกาะปลายอยู่ที่กระดูกเรเดียส (ส่วนหนึ่งของแขนท่อนล่าง) เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัว จะทำให้เกิดการงอแขนที่ข้อศอก เป็นต้น การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อโครงร่างนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีหนึ่งคือแบ่งตามโปรตีนที่มีอยู่ใน myosin วิธีนี้จะทำให้ได้กล้ามเนื้อโครงร่างสองชนิด คือ ชนิดที่หนึ่ง (Type I) และชนิดที่สอง (Type II) กล้ามเนื้อ Type I จะมีสีออกแดง มีความทนมากและทำงานได้นานก่อนจะล้าเนื่องจากใช้พลังงานจากกระบวนการ oxidative metabolism ส่วนกล้ามเนื้อ Type II จะมีสีออกขาว ใช้สำหรับการทำงานที่ต้องการความเร็วและกำลังมากในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะล้าไป กล้ามเนื้อชนิดนี้ใช้พลังงานจากทั้งกระบวน oxidative metabolism และ anaerobic metabolism ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยแต่ละชนิด * fr:Muscle strié.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อโครงร่าง · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเซอรัส

กล้ามเนื้อโปรเซอรัส (Procerus) เป็นแผ่นกล้ามเนื้อรูปพีระมิดขนาดเล็ก ลึกต่อเส้นประสาทซุพีเรียร์ออบิทัล (superior orbital nerve), หลอดเลือดแดงซุปปราออบิทัล (Supra-orbital artery), และหลอดเลือดดำซุปปราออบิทัล (Supraorbital vein).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อโปรเซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus; PQ) เป็นกล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน ทำหน้าที่คว่ำมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อนี้อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของปลายแขน (anterior side of the arm) จึงถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (anterior interosseous nerve) ซึ่งเป็นแขนงของเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และถูกเลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (interosseous artery).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) เป็นกล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณปลายแขน (forearm) ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่คว่ำปลายแขนร่วมกับกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (Biceps brachii muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของต้นแขน (Anterior compartment of arm) กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่หลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการงอแขนและการหมุนของปลายแขนโดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดจากภายนอก และสามารถบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้มีรูปร่างที่ต้องการได้ง่ายโดยการยกน้ำหนัก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์

กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์ (iris sphincter muscle, pupillary sphincter, circular muscle of iris, circular fibers) เป็นกล้ามเนื้อในส่วนม่านตา อยู่รอบดวงตาและทำหน้าที่คล้ายหูรูดในการหดหรี่ม่านตา กล้ามเนื้อนี้พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ในชั้นเซฟาโลโปดา (cephalopoda) บางชนิด ในมนุษย์ กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่หดหรี่ม่านตาเมื่อภาพที่รับมีแสงจ้า (รีเฟล็กซ์ม่านตา (pupillary reflex)) หรือในรีเฟล็กซ์ปรับสายตา (accommodation reflex) ขนาดของกล้ามเนื้อนี้กว้างประมาณ 0.75 มม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์

กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์ (iris dilator muscle, pupil dilator muscle, pupillary dilator, radial muscle of iris, or radiating fibers) เป็นกล้ามเนื้อเรียบของตา วิ่งในแนวรัศมีของม่านตาทำหน้าที่ขยายรูม่านตา เลี้ยงโดยระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งสั่งการโดยการหลั่งสารสื่อประสาทนอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline) ซึ่งจับกับตัวรับชนิดแอลฟา-1 (α1-receptors) Page 163 ดังนั้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นการตอบสนองแบบต่อสู้หรือหนี (fight-or-flight) ระบบประสาทซิมพาเทติกจะกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดนี้ให้ทำหน้าที่ขยายรูม่านตา เพื่อให้มีแสงตกเข้าสู่เรตินามากขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริส

กล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริส (Dilator naris muscle) เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อนาซาลิส ประกอบด้วยส่วนหลัง (โพสทีเรียร์) และส่วนหน้า (แอนทีเรียร์).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อไดเลเตอร์ นาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์ (zygomaticus minor) เป็นกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้าของมนุษย์ เริ่มจากกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic bone) และเข้าเกาะปลายที่ริมฝีปากบน ทำหน้าที่ยกมุมปากและช่วยในการยิ้ม กล้ามเนื้อนี้มีเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve, CN VII) เลี้ยงเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้ามัดอื่น.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์

กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์ (Zygomatic major) เป็นกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่ดึงมุมปากไปทางด้านบนและด้านข้าง กล้ามเนื้อนี้มีเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve, CN VII) เลี้ยงเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้ามัดอื่นๆ กล้ามเนื้อไซโกมาติคัสเกาะจากโค้งกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic arch) ไปยังมุมปาก กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ยกมุมปากในขณะที่ยิ้ม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส

กล้ามเนื้อเบรกิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขน (forearm) ทำหน้าที่งอปลายแขนที่ข้อศอก สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งคว่ำและหงายมือขึ้นกับตำแหน่งของปลายแขน กล้ามเนื้อนี้ยึดเกาะกับสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส (distal styloid process of the radius) และแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง (lateral supracondylar ridge) ของกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus, FPL) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน (forearm) และมือ ที่ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้วางตัวอยู่ในระนาบเดียวกันกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum superficialis) หรือ เฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซับลิมิส (Flexor digitorum sublimis; FDS) เป็นกล้ามเนื้อกลุ่มงอนิ้วมือที่ข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วมือส่วนต้น (proximal interphalangeal joints) อยู่ที่พื้นที่ด้านหน้าปลายแขน (anterior compartment of the forearm) ในบางครั้งอาจจัดว่าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกที่สุดของกล้ามเนื้อชั้นตื้น (superficial layer) ของพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน หรืออาจจัดแยกออกไปเป็นชั้นต่างหาก เรียกว่า ชั้นตรงกลาง (intermediate layer) ของพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส

ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus; FDP) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือ จัดว่าเป็น extrinsic muscle เพราะว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ตำแหน่งที่แตกต่างจากตัวหลักของมัดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส ร่วมกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (flexor digitorum superficialis) มีเอ็นกล้ามเนื้อยาวที่วิ่งลงตมาลอดปลายแขน ผ่านคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) และยึดเกาะกับด้านฝ่ามือของกระดูกนิ้วมือ กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นอยู่ที่ด้านหน้าของกระดูกอัลนา กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส แต่ว่าจะมีจุดเกาะปลายที่อยู่ด้านปลายมากกว่า โดยเอ็นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสจะวิ่งผ่านช่องของเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส เข้าไปเกาะกับกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle; FCU) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอ (flex) และหุบ (adduct) มือ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส

ในทางกายวิภาคศาสตร์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (Flexor carpi radialis muscle; FCR) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอและกางมือออก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน มีขนาดใหญ่กว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อบางส่วนถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้ออื่น.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส โพรเพรียส (Extensor indicis; extensor indicis proprius) เป็นกล้ามเนื้อแบน ยาว อยู่ด้านใกล้กลางและทอดขนานไปกับกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม คอมมิวนิส (Extensor digitorum communis; ED) เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นโดยเป็นเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์อยู่ที่ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ (lateral epicondyle) ของกระดูกต้นแขน (humerus) และเกาะมาจากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ซึ่งกั้นระหว่างกล้ามเนื้อมัดนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และเกาะมาจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม (Extensor digiti minimi) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต ควินไต โพรเพรียส (Extensor digiti quinti proprius; EDM) เป็นกล้ามเนื้อมัดผอมๆ อยู่ในปลายแขน (forearm) อยู่บนด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นของเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์ (common Extensor tendon) โดยแผ่นเอ็นบางๆ จากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ที่กั้นระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง เอ็นกล้ามเนื้อนี้วิ่งผ่านช่องของเอ็นดอร์ซัล คาร์ปัล (dorsal carpal ligament) ด้านหลังต่อข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (distal radio-ulnar joint) แล้วจึงแบ่งออกเป็น 2 เอ็นเมื่อข้ามาถึงมือ และสุดท้ายไปร่วมกับเอ็นแผ่ของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมที่ด้านหลังของกระดูกนิ้วมือ (phalanx) ของนิ้วก้อ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Extensor carpi ulnaris; ECU) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่เหยียด (extend) และหุบ (adduct) ข้อมือ อยู่บริเวณพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน (posterior side of the forearm).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis; ECRB) เป็นกล้ามเนื้อที่หนากว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus) ที่อยู่เหนือกว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิส

กล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิส (Temporoparietalis muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่เหนือต่อกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ออริคิวลาร์ (Auricularis superior).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเทมพอโรพาไรทาลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเดลทอยด์

กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมายถึงกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมที่เป็นส่วนสำคัญของกล้ามเนื้อในบริเวณไหล่ และเป็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขนที่มีข้อต่อไหล่เป็นจุดหมุน นอกจากนี้ยังนิยมใช้กล้ามเนื้อนี้ในการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ (intramuscular injection) อีกด้วย ในตำรากายวิภาคศาสตร์บางเล่มอาจใช้คำว่า เดลทอยเดียส (deltoideus) ในการกล่าวถึงกล้ามเนื้อมัดนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งคำว่าเดลทอยด์และเดลทอยเดียส ต่างมาจากอักษรเดลตา (Delta) ในภาษากรีก ซึ่งเป็นอักษรรูปสามเหลี่ยม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกล้ามเนื้อเดลทอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝากล่องเสียง

ฝาปิดกล่องเสียง หรือ ลิ้นปิดกล่องเสียง เป็นแผ่นกระดูกอ่อนชนิดอิลาสติกคาร์ทิเลจ (elastic cartilage) ที่คลุมด้วยเยื่อเมือก (mucus membrane) ติดอยู่กับโคนของลิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นฝาปิดที่ขยับขึ้นลงได้ ฝานี้จะยื่นเอียงขึ้นด้านบนหลังลิ้นและกระดูกไฮออยด์ (hyoid bone).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และฝากล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และมือ · ดูเพิ่มเติม »

มุมด้านล่างของกระดูกสะบัก

มุมด้านล่างของกระดูกสะบัก เป็นมุมที่มีความหนาและขรุขระ เกิดจากการทำมุมกันของขอบแนวกลางและขอบด้านข้างของกระดูกสะบัก พื้นผิวด้านหลังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (Teres major) และอาจมีใยบางส่วนของกล้ามเนื้อแลททิสซิมุส ดอร์ไซ (Latissimus dorsi).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

รยางค์บน

ต้นแขนของมนุษย์ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ รยางค์บน (upper limb หรือ upper extremities) คือส่วนของร่างกายมนุษย์ที่เรียกโดยทั่วไปว่า แขน (arm) คือโครงสร้างตั้งแต่แขนจนถึงปลายนิ้ว รวมทั้งส่วนของต้นแขน (upper arm) ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และรยางค์บน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

Autonomic nervous system innervation, showing the sympathetic and parasympathetic (craniosacral) systems, in red and blue, respectively ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic system) เป็นหนึ่งในสองระบบหลักของ ระบบประสาทอัตโนมัติ เส้นประสาทในระบบพาราซิมพาเทติก คือเส้นประสาทที่มาจากบริเวณเหนือไขสันหลัง คือบริเวณที่เป็นสมองส่วนกลาง และเมดัลลาออบลองกาตา และเส้นประสาทที่มาจากบริเวณต่ำ หมวดหมู่:ระบบประสาทอัตโนมัติ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทอัตโนมัติสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และระบบประสาทซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

ริมฝีปาก

ริมฝีปาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด ริมฝีปากจะนุ่ม เคลื่อนไหวได้ และทำหน้าที่เปิดออกเพื่อรับอาหารและใช้เปล่งเสียงและคำพูด ริมฝีปากมนุษย์เป็นอวัยวะที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัส และทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้เมื่อใช้จูบและในความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่าง ๆ หมวดหมู่:ริมฝีปาก หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และริมฝีปาก · ดูเพิ่มเติม »

รูจมูก

รูจมูก (nostril, naris) คือ รูที่เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศเข้าสู่โพรงจมูกจากนั้นอากาศจะถูกส่งผ่านเข้าไปยังหลอดลมและเข้าสู่ปอดเพื่อทำการแลกเปลี่ยนแก๊ส นอกจากอากาศแล้ว รูจมูกยังเป็นทางออกของน้ำมูก หรือเศษอาหารที่เกิดจากการสำลักอีกด้วย สำหรับมนุษย์ รูจมูกที่มองเห็นจากภายนอกหรืออยู่บริเวณด้านนอกของจมูกนั้น เรียกว่า รูจมูกด้านหน้า (anterior nares) ซึ่งรูจมูกทั้งสองรูถูกแบ่งออกจากกันโดยผนังกั้นโพรงจมูก (nasal septum) ส่วนรูจมูกภายในหรือรูจมูกด้านหลัง (anterior nares) จะอยู่ด้านในศีรษะ เรียกว่า choanae.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และรูจมูก · ดูเพิ่มเติม »

ร่องใต้ไหปลาร้า

ร่องใต้ไหปลาร้า (Subclavian groove) เป็นร่องที่อยู่ที่พื้นผิวด้านล่างของกระดูกไหปลาร้าด้านใกล้กลางลำตัว ซึ่งเป็นที่กล้ามเนื้อใต้ไหปลาร้า (Subclavius) มายึดเกาะ แผ่นพังผืดคอราโคคลาวิคิวลาร์ (coracoclavicular fascia) ซึ่งแยกออกเพื่อโอบรอบกล้ามเนื้อจะมายึดเกาะกับขอบของร่องนี้ ในบางครั้งร่องนี้อาจถูกแบ่งออกในแนวนอนโดยแนวซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของผนังกั้นระหว่างกล้ามเนื้อ (intermuscular septum) ของกล้ามเนื้อใต้ไหปลาร้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และร่องใต้ไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

ร่องไบซิพิทัล

ร่องไบซิพิทัล (bicipital groove) หรือ ร่องระหว่างปุ่มกระดูก (intertubercular groove) เป็นร่องลึกบนกระดูกต้นแขน (humerus) ที่แบ่งระหว่างปุ่มใหญ่ (greater tubercle) และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเอ็นของปลายจุดเกาะต้นด้านยาวของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (Biceps brachii) และเป็นทางผ่านของแขนงหลอดเลือดแดงรอบต้นแขนด้านหน้า (anterior humeral circumflex artery) ไปยังข้อต่อไหล่ (shoulder-joint) ร่องนี้วิ่งลงมาในแนวเฉียง และสิ้นสุดประมาณ 1/3 ด้านบนของกระดูกต้นแขน ร่องนี้ยังเป็นผนังด้านข้างของรักแร้อีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และร่องไบซิพิทัล · ดูเพิ่มเติม »

ลำตัว

ลำตัวของมนุษย์เพศชาย ลำตัว (Torso หรือ trunk) เป็นศัพท์ที่เรียกส่วนตรงกลางของร่างกายสัตว์หลายชนิด (รวมถึงมนุษย์) ซึ่งมีรยางค์และลำคอที่ยื่นออกไป ลำตัวประกอบด้วยอก (thorax) และท้อง (abdomen).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และลำตัว · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

สไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส

ตลอยด์ โพรเซส (Styloid process) อยู่บริเวณพื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ของกระดูกเรเดียส มีลักษณะยาวในแนวเฉียงลงล่างไปยังส่วนยื่นที่แข็งแรง รูปทรงกรวย ซึ่งที่ฐานของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) และที่ยอดของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัลของข้อมือ ส่วนพื้นผิวด้านข้างของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นร่องแบนๆ สำหรับเอ็นของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (abductor pollicis longus) และ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (extensor pollicis brevis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงอัลนา

หลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)เป็ยเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปยังแขน ไปสิ้นสุดยังฝ่ามือ ซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงที่เรียงตัวเป็นรัศมี สามารถเห็นได้ชัดที่ข้อมือ มีเส้นเลือดดำชื่อเดียวกันนี้เรียกหลอดเลือดดำอัลน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และหลอดเลือดแดงอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงแขน

หลอดเลือดแดงแขน (Brachial artery) เป็นหลอดเลือดหลักของต้นแขน ต่อเนื่องมาจากหลอดเลือดแดงรักแร้ (axillary artery) และเริ่มจากขอบล่างของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) ต่อเนื่องลงมาตามแขน จนกระทั่งถึงแอ่งแขนพับ (cubital fossa) บริเวณข้อศอก จนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อหลอดเลือดนี้แยกออกเป็นหลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) และหลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery) ที่ทอดลงมาตามปลายแขน (forearm) ในบางคน ตำแหน่งแยกนี้อาจแยกก่อนถึงแอ่งแขนพับ ทำให้พบหลอดเลือดแดงเรเดียลและอัลนาในต้นแขน เราสามารถคลำชีพจรได้จากหลอดเลือดแดงแขนทางด้านหน้าของข้อศอกและอาจใช้เครื่องฟังตรวจ (stethoscope) และมาตรความดันเลือด (sphygmomanometer) เพื่อวัดความดันโลหิต ลักษณะที่ brachial artery มี brachial vein สองเส้นทอดขนาบ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า venae commitant.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และหลอดเลือดแดงแขน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงเรเดียล

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) เป็นหลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนมากมายังด้านข้าง (lateral) ของปลายแขน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และหลอดเลือดแดงเรเดียล · ดูเพิ่มเติม »

หู

หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน สัตว์แต่ละประเภทจะมีตำแหน่งหูที่แตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และหู · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

อก

ปรียบเทียบอกของมนุษย์และมด แผนภาพของแมลงดูดเลือด แสดงส่วนหัว อก และท้อง อก (อังกฤษ: thorax) เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของสัตว์ที่อยู่ระหว่างศีรษะและท้อง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อกเป็นบริเวณของร่างกายที่เกิดจากกระดูกอก (sternum), กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebra), และกระดูกซี่โครง (rib) นับตั้งแต่คอไปจนถึงกะบังลม แต่ไม่รวมถึงรยางค์บน (upper limb) อวัยวะที่สำคัญที่อยู่ภายในช่องอกเช่น หัวใจ, ปอด รวมถึงหลอดเลือดจำนวนมากมาย อวัยวะภายในช่องอกจะถูกปกป้องด้วยกระดูกซี่โครงและกระดูกอก ไตรโลไบต์แบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ หัว (cephalon) ซึ่งมีตา, ส่วนปาก และอวัยวะรับความรู้สึก เช่น หนวด (antennae), ส่วนอกซึ่งแบ่งเป็นปล้องๆ (ในบางชนิด การเป็นปล้องช่วยให้สามารถม้วนตัวได้), ส่วนหาง หรือ pygidium สำหรับในแมลงและไตรโลไบต์ (trilobite) ซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อกเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณหลักๆ 3 ส่วน (tagmata) ของร่างกายซึ่งแบ่งออกได้เป็นปล้องย่อยๆ อีกหลายปล้อง บริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีปีกและขายึดเกาะหรือเป็นบริเวณแผ่นข้อต่อหลายแผ่นในไตรโลไบต์ ในแมลงส่วนใหญ่ อกจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ prothorax, mesothorax, และ metathorax ในแมลงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วน prothorax จะไม่มีปีกแต่จะมีขาในตัวเต็มวัย ส่วนปีกจะมีอยู่บ้างในส่วนของ mesothorax และโดยทั่วไปจะอยู่ที่ metathorax แต่ปีกอาจจะลดรูป หรือเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (เช่นในแมลงวัน ปีกในปล้อง metathorax จะลดรูปเป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัวเล็กๆ ชื่อว่า halteres) แมลงในอันดับย่อย Apocrita ในอันดับแตนจะมีท้องปล้องแรกรวมกับ metathorax เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า propodeum ดังนั้นแมลงในอันดับย่อยนี้ อกจะประกอบไปด้วย 4 ปล้อง เรียกส่วนอกใหม่ว่า mesosoma ส่วนอกของแมลงสามารถแบ่งย่อยออกเป็นส่วนต่างๆ หลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ส่วนหลัง (notum), ส่วนข้าง (pleuron มีอยู่ข้างละ 1 อัน), และส่วนท้อง (sternum) ในแมลงบางชนิดส่วนต่างๆ เหล่านี้จะประกอบด้วยแผ่นโครงกระดูกภายนอกอิสระ 1 อันหรือหลายอันโดยมีเยื่อแผ่นระหว่างกันเรียกว่า sclerites.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และอก · ดูเพิ่มเติม »

อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์

อนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ หรือ แอ่งเรเดียล (anatomical snuffbox; radial fossa; Foveola Radialis) เป็นรอยเว้าลึกรูปสามเหลี่ยมบนด้านเรเดียล (ด้านนิ้วโป้ง) ด้านหลังของมือ ที่ระดับของกระดูกข้อมือ โดยมีกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone) เป็นพื้น ชื่อของแอ่งนี้มาจากมีการใช้ร่องนี้ในการใส่ผงยาสูบ (tobacco) หรือยานัตถุ์ (snuff) เพื่อสูดดม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

จมูก

มูก (Nose) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนอกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยีงเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเฟัยงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และจมูก · ดูเพิ่มเติม »

จะงอยบ่า

ราคอยด์ โพรเซส (Coracoid process) หรือ จะงอยบ่า เป็นโครงสร้างคล้ายตะขอยื่นออกมาจากกระดูกสะบักชี้ไปทางด้านหน้า คำว่า โคราคอยด์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ลักษณะคล้ายจะงอยปากนกกาเรเวน (Korax แปลว่า นกการาเวน).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และจะงอยบ่า · ดูเพิ่มเติม »

จูกูลาร์ โพรเซส

ูกูลาร์ โพรเซส (jugular process) เป็นแผ่นกระดูกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ยื่นออกมาทางด้านข้างของส่วนครึ่งหลังของปุ่มกระดูกท้ายทอย (occipital condyle) ของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งด้านหน้าเป็นรอยเว้า เรียกว่า รอยเว้าจูกูลาร์ (jugular notch) ซึ่งประกอบเป็นส่วนหลังของจูกูลาร์ ฟอราเมน (jugular foramen) ส่วนนี้เป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อเรคตัส แคปปิติส แลทเทอราลิส (rectus capitus lateralis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และจูกูลาร์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

ถุงอัณฑะ

ถุงอัณฑะ (scrotum) คือเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายที่เป็นเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มอัณฑะไว้อีกทีหนึ่งและห้อยอยู่ด้านนอกของร่างกาย มีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอสุจิ หมวดหมู่:ต่อม หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์ หมวดหมู่:อวัยวะเพศ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมวดหมู่:บุรุษเวชศาสตร์.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และถุงอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

ทวารหนัก

ทวารหนัก (anus) มาจากคำภาษาลาติน anus แปลว่า "วงแหวน" หรือ "วงกลม" เป็นรูเปิดตรงส่วนปลายของทางเดินอาหารของสัตว์ตรงข้ามกับปาก มีหน้าที่ในการควบคุมการปล่อยอุจจาระ, ของกึ่งแข็งที่ไม่เป็นที่ต้องการในระบบย่อยอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด อาจรวมถึง สิ่งที่สัตว์ชนิดนั้นไม่สามารถย่อยได้ เช่น กระดูก, Summary at ส่วนที่เหลือของอาหารหลังสารอาหารถูกนำออกไปหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสหรือลิกนิน (lignin), สิ่งที่อาจเป็นพิษหากคงอยู่ในทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์ในลําไส้ (gut bacteria) ที่ตายแล้วหรือเกินจำเป็นรวมถึงสิ่งมีชีวิตร่วมอาศัย (endosymbiont) อื่น ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และนก ใช้ช่องเปิดช่องเดียวกันเรียกว่าทวารรวม (cloaca) สำหรับขับถ่ายของเสียทั้งของเหลวและของแข็ง, สำหรับรวมเพศ และสำหรับวางไข่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยโมโนทรีมมีทวารรวมเช่นกัน คาดว่าเป็นลักษณะที่สืบทอดจากสัตว์มีถุงน้ำคร่ำยุคแรกสุดผ่านสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องมีช่องเปิดเดียวสำหรับขับของเหลวและของแข็ง และเพศเมียมีช่องคลอดแยกสำหรับการสืบพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่ม placentalia เพศหญิงมีช่องเปิดแยกสำหรับถ่ายอุจจาระ ขับปัสสาวะ และสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้มีช่องเปิดสำหรับอุจจาระและอีกช่องสำหรับทั้งปัสสาวะและสืบพันธุ์ แม้ช่องทางที่ไหลไปยังช่องเปิดนั้นแทบจะแยกกันอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาของทวารหนักเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และทวารหนัก · ดูเพิ่มเติม »

ท่อหู

ท่อหู หรือ ท่อยูสเตเชียน (page) เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างคอหอยและหูชั้นกลาง ในมนุษย์โตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 33 มม.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และท่อหู · ดูเพิ่มเติม »

ท่อปัสสาวะ

ท่อปัสสาวะ เป็นท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอก ในชายท่อปัสสาวะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และยังเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิ ท่อปัสสาวะในชายคดเคี้ยว คล้ายตัวเอส (S) ในหญิง ท่อปัสสาวะยาว 4 มิลลิเมตร จากมุมล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดโค้งลงล่างไปข้างหน้า เปิดสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หน้ารูเปิดของช่องคลอด ต่ำกว่าคลิตอริสประมาณ 2.5 เซนติเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และท่อปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ท้อง

ท้อง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และท้อง · ดูเพิ่มเติม »

ขอบด้านบนของกระดูกสะบัก

อบด้านบนของกระดูกสะบัก (Superior border of scapula) เป็นขอบที่สั้นและบางที่สุดที่บรรดาขอบกระดูกสะบักทั้งสาม มีลักษณะเว้า เชื่อมตั้งแต่มุมด้านบนของกระดูกสะบัก (medial angle) ไปยังฐานของโคราคอยด์ โพรเซส (coracoid process) ที่ส่วนด้านข้างลำตัวของขอบนี้มีลักษณะลึก เป็นร่องรูปครึ่งวงกลม เรียกว่า รอยเว้าเหนือแนวสันกระดูกสะบัก (scapular notch) โดยมีฐานของโคราคอยด์โพรเซสเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ประกอบขึ้นเป็นร่องนี้ รอยเว้านี้จะถูกคลุมด้านบนปิดด้วยเอ็นซุพีเรียร์ทรานสเวิร์ส (superior transverse ligament) กลายเป็นช่องซึ่งให้เส้นประสาทเหนือกระดูกสะบัก (suprascapular nerve) (แต่หลอดเลือดแดงเหนือกระดูกสะบักไม่วิ่งผ่านช่องนี้) ในบางครั้งเอ็นนี้จะเปลี่ยนเป็นกระดูก ส่วนที่ติดกันของขอบด้านบนของกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อโอโมไฮออยด์ (Omohyoideus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และขอบด้านบนของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

ขอบด้านข้างของกระดูกสะบัก

อบด้านข้างของกระดูกสะบัก หรือ ขอบด้านรักแร้ของกระดูกสะบัก เป็นขอบที่หนาที่สุดในบรรดาขอบทั้งสามของกระดูกสะบัก เริ่มจากด้านบนของของล่างของแอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity) และวิ่งมาในแนวเฉียงลงและไปทางด้านหลังไปยังมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก (inferior angle) ด้านล่างของแอ่งกลีนอยด์เป็นรอยประทับขรุขระเรียกว่า ปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์ (infraglenoid tuberosity) ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ด้านหน้าของปุ่มนี้เป็นร่องแนวนอน ซึ่งกว้างไปถึงด้านล่าง 1/3 ของขอบนี้ เป็นจุดเกาะต้นของส่วนของกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis) ด้านล่าง 1/3 (inferior third) มีลักษณะบางและแหลม ด้านหลังเป็นจุดเกาะของใยกล้ามเนื้อบางใยของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (Teres major) และด้านหน้าเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และขอบด้านข้างของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

ขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก

อบแนวกลางของกระดูกสะบัก หรือ ขอบด้านกระดูกสันหลังของกระดูกสะบัก เป็นขอบที่ยาวที่สุดในบรรดาขอบทั้งสามของกระดูกสะบัก เชื่อมตั้งแต่มุมด้านบน (medial angle) ลงมาถึงมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก (inferior angle) ขอบนี้มีลักษณะโค้ง มีความหนามากกว่าขอบด้านบนแต่บางกว่าขอบด้านข้าง และส่วนของขอบที่อยู่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก (spine) ทำมุมป้านกับส่วนด้านล่าง ขอบนี้ประกอบด้วยแนวด้านหน้า (anterior lip) และแนวด้านหลัง (posterior lip) และมีบริเวณแคบๆ ระหว่างแนวทั้งสอง แนวด้านหน้า เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อเซอร์ราตัส แอนทีเรียร์ (Serratus anterior) และแนวด้านหลัง แบ่งออกเป็นส่วนที่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อซุปปราสไปนาตัส (Supraspinatus) และส่วนใต้แนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้ออินฟราสไปนาตัส (Infraspinatus) ส่วนบริเวณระหว่างแนวทั้งสองเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อหลายมัด ส่วนเหนือบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นจุดเริ่มของแนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ สแคปูเล (Levator scapulæ) ที่ขอบของพื้นผิวนั้นเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ ไมเนอร์ (Rhomboideus minor) และส่วนใต้ลงมาเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ เมเจอร์ (Rhomboideus major) ซึ่งมีลักษณะเป็นโค้งพังผืด (fibrous arch) เชื่อมส่วนบนของพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมส่วนล่างที่ฐานของแนวสันกระดูกสะบัก และส่วนล่างของบริเวณล่างขอบนี้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และขา · ดูเพิ่มเติม »

ข่ายประสาทแขน

ประสาทเบรเคียล หรือ ข่ายประสาทแขน (Brachial plexus) เป็นการจัดเรียงตัวของเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังท่อนที่ C5 ถึง T1 ผ่านมายังคอ รักแร้ และไปยังแขน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และข่ายประสาทแขน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และคอ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เนียล ลิมบัส

อร์เนียล ลิมบัส (corneal limbus) เป็นขอบของกระจกตา (cornea) ที่ต่อเนื่องกับเปลือกลูกตา (sclera) ลิมบัสเป็นบริเวณที่มักจะเกิดเนื้องอกของเยื่อบุกระจกตา (corneal epithelial neoplasms).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และคอร์เนียล ลิมบัส · ดูเพิ่มเติม »

คอหอย

อหอย (pharynx, pharynges) เป็นส่วนหนึ่งของคอ (neck) และช่องคอ (throat) ตั้งอยู่ด้านหลังปากและโพรงจมูก และอยู่บนหลอดอาหาร กล่องเสียงและท่อลม (trachea).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และคอหอย · ดูเพิ่มเติม »

คาง

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ คาง อยู่บริเวณใต้สุดของใบหน้า หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และคาง · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยสภากาชาดไท.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และตา · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปาก · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกกหู

ปุ่มกกหู (mastoid process) เป็นส่วนยื่นรูปกรวยซึ่งยื่นออกมาจากพื้นผิวด้านล่างของส่วนกกหูของกระดูกขมับ (mastoid portion of the temporal bone) ตั้งอยู่ทางด้านหลังของปากรูหู (external acoustic meatus) และทางด้านข้างของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับ (styloid process) ขนาดและรูปร่างของปุ่มกกหูมีความแปรผัน ซึ่งในผู้ชายมักจะมีขนาดใหญ่กว่าผู้หญิง ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อไดแกสทริก (Digastric muscle) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid) กล้ามเนื้อสปลีเนียส แคปิติส (Splenius capitis) และกล้ามเนื้อลองจิสสิมุส แคปิติส (Longissimus capitis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มกกหู · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกระดูกหัวไหล่

อโครเมียน โพรเซส (acromion process) หรือย่อว่า อโครเมียน (acromion) หรือ ปุ่มกระดูกหัวไหล่ เป็นลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสะบัก (scapula).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มกระดูกหัวไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน มีขนาดใหญ่กว่าและยื่นออกมามากกว่าปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ ยื่นไปทางด้านหลังเล็กน้อย ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มเวนทรัล อีพิคอนไดล์ (ventral epicondyle of the humerus) ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ของข้อศอก, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกลุ่มกล้ามเนื้องอของปลายแขน (เอ็นคอมมอนเฟล็กเซอร์ (common flexor tendon)) เส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) วิ่งอยู่ในร่องที่อยู่ด้านหลังของปุ่มกระดูกนี้ ถ้ามีกระดูกหักบริเวณมีเดียล อีพิคอนไดล์จะทำให้มีอันตรายต่อเส้นประสาทอัลน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มนอกของท้ายทอย

ปุ่มนอกของท้ายทอย (external occipital protuberance) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ใกล้กับตรงกลางของกระดูกท้ายทอยส่วนสความา ออกซิปิทาลิส (occipital squama) ด้านข้างของปุ่มนี้ 2 ข้างเป็นเส้นหลังคอเส้นบน (superior nuchal line) และเหนือต่อสันนี้เป็นเส้นบางๆ เรียกว่า เส้นหลังคอเส้นบนสุด (highest nuchal line) โหนกท้ายทอย (inion) เป็นยอดบนสุดของปุ่มนอกของท้ายทอ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มนอกของท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มนูนอัลนา

ปุ่มนูนอัลนา หรือ ปุ่มกระดูกอัลนา (tuberosity of the ulna; ulnar tuberosity) เป็นบริเวณบนกระดูกอัลนา ตรงรอยต่อของพื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างของโคโรนอยด์ โพรเซส และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนา มีลักษณะเป็นส่วนยื่นขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (Brachialis) และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มนูนอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มนูนเรเดียส

ปุ่มนูนเรเดียส (radial tuberosity) เป็นปุ่มนูนที่อยู่ด้านใกล้กลางลำตัว ใต้ต่อคอกระดูกเรเดียส พื้นผิวของปุ่มนี้แบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มนูนเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (Lateral epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกขนาดเล็ก โค้งเล็กน้อยทางด้านหน้า เป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (radial collateral ligament) ของข้อศอก และจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) และกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดนิ้วบางมัด ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มดอร์ซัล อีพิคอนไดล์ (dorsal epicondyle of the humerus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ด้านข้างต่อหัวกระดูกและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน (humerus) แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle) แต่ก็ยื่นออกมามากกว่า ตั้งอยู่ด้านหน้า และชี้ไปทางใกล้กลางลำตัวและไปด้านหน้า เหนือต่อและหน้าต่อปุ่มกระดูกนี้เป็นรอยประทับซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็นกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์

ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์ (Supraglenoid tubercle) เป็นส่วนของกระดูกสะบักที่อยู่เหนือแอ่งกลีนอยด์ (gleniod cavity) เป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วชี้

ผู้ชายกำลังชี้ไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งในระหว่างการโต้แย้งทางการเมือง นิ้วชี้ (index finger; หรือชื่อเรียกอื่น forefinger, pointer finger, trigger finger, digitus secundus, digitus II และ ฯลฯ) เป็นนิ้วมือแรกในการนับจำนวนของมือมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ระหว่างนิ้วมือแรกกับนิ้วมือที่สามคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง ซึ่งเป็นนิ้วมือที่มีความคล่องตัวและมีความละเอียดอ่อนมากที่สุด แต่ไม่ได้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุดเนื่องด้วยสั้นกว่านิ้วกลาง โดยที่อาจมีความสั้นหรือยาวกกว่านิ้วนาง เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของนิ้วมือ "index finger" ในภาษาอังกฤษแท้จริงแล้วหมายถึง "นิ้วสำหรับชี้" จากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า indicate ซึ่งมีชื่อทางกายวิภาคคือ "นิ้วชี้" หรือ "นิ้วหลักที่สอง".

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และนิ้วชี้ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วมือ

นิ้วมือ เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เอ็น และผิวหนังห่อหุ้ม มีตำแหน่งอยู่ตรงปลายสุดของแขนถัดจากมือ ซึ่งสามรถเคลื่อนไหวได้โดยการสั่งการของสมองและระบบประสาท.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และนิ้วมือ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วหัวแม่มือ

นิ้วหัวแม่มือ หรือ นิ้วโป้ง (Thumb) เป็นนิ้วแรกของมือในทั้งหมด 5 นิ้ว.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และนิ้วหัวแม่มือ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งกลีนอยด์

แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity; glenoid fossa of scapula) เป็นพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ อยู่ที่มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก แอ่งนี้เป็นข้อต่อที่รับกับหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ฐานล่างของแอ่งนี้กว้างกว่ายอดบน พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และแอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งใต้กระดูกสะบัก

แอ่งใต้กระดูกสะบัก (subscapular fossa) เป็นแอ่งเว้าขนาดใหญ่ที่อยู่ทางด้านหน้าหรือด้านกระดูกซี่โครงของกระดูกสะบัก เป็นบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (subscapularis muscle).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และแอ่งใต้กระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

แนวสันกระดูกสะบัก

แนวสันกระดูกสะบัก (Spine of scapula) เป็นแผ่นกระดูกที่ยื่นออกมา วางตัวเป็นแนวเฉียง ใกล้กลางลำตัว 4 ใน 5 (medial four-fifths) ของพื้นผิวด้านหลังของกระดูกสะบักส่วนบน แบ่งระหว่างแอ่งเหนือแนวสันกระดูกสะบัก (Supraspinatous fossa) และแอ่งใต้แนวสันกระดูกสะบัก (infraspinatous fossa) แนวนี้เริ่มจากขอบแนวตั้ง เป็นบริเวณเรียบรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีเอ็นของจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่างคลุม และค่อยๆ ยกตัวขึ้นจนมาสุดที่อโครเมียน (acromion) ซึ่งยื่นออกมาเป็นข้อต่อไหล่ แนวสันกระดูกสะบักเป็นรูปสามเหลี่ยม และแบนลงจากด้านบนลงมา ยอดสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในขอบแนวกลาง (vertebral border).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และแนวสันกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

แนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง

แนวสัน หรือ แนวเส้นซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง หรือ แนวสันแลทเทอรัล ซุปปราคอนไดลาร์ (lateral supracondylar ridge) อยู่บริเวณส่วนล่างของขอบกระดูกข้างของตัวกระดูกต้นแขน (humerus) ที่มีลักษณะนูนเป็นสัน ขอบขรุขระ โค้งเล็กน้อยจากด้านหลังมาด้านหน้า ประกอบด้วยแนวด้านหน้า (anterior lip) ซึ่งด้านบนเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) ด้านล่างเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus), แนวด้านหลัง (posterior lip) เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (Triceps brachii), และแนวสันระหว่างกลาง (intermediate ridge) เป็นจุดเกาะของผนังกั้นแลทเทอรัล อินเตอร์มัสคิวลาร์ (lateral intermuscular septum).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง · ดูเพิ่มเติม »

แนวเดลทอยด์

แนวเดลทอยด์ (deltoid tuberosity) เป็นบริเวณของแท่งกระดูกต้นแขน (humerus) ซึ่งเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (deltoid muscle).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และแนวเดลทอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โหนกคิ้ว

โหนกคิ้ว (superciliary arches) เป็นส่วนนูน 2 อันซึ่งอยู่บนส่วนสความา ฟรอนทาลิส (squama frontalis) ของกระดูกหน้าผาก (frontal bone) ของกะโหลกศีรษะ อยู่ใต้ต่อเนินหน้าผาก (frontal eminences) โดยมีร่องตื้นๆ คั่นระหว่างเนินหน้าผากและโหนกคิ้ว โหนกคิ้วทั้งสองข้างจะเชื่อมกันตรงกลางเป็นรอยยกตัวเรียบที่เรียกว่า แสกหน้า (glabella) โดยทั่วไปแล้ว โหนกคิ้วของลิงจะนูนเด่นกว่าของมนุษย์ และในเพศชายจะนูนกว่าเพศหญิง หมวดหมู่:กะโหลกศีรษะ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และโหนกคิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

โอเลครานอน โพรเซส

อเลครานอน (Olecranon) หรือ โอเลครานอน โพรเซส (Olecranon process) หรือ ปุ่มปลายศอก หรือ ยอดศอก เป็นส่วนยื่นที่มีลักษณะโค้ง ขนาดใหญ่และหนา ตั้งอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของกระดูกอัลนา ที่ยอดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเป็นจะงอยรับเข้ากับแอ่งโอเลครานอน (olecranon fossa) ของกระดูกต้นแขนเมื่อปลายแขนอยู่ในท่าเหยียดตรง ส่วนฐานของโอเลครานอน โพรเซสเป็นคอคอดเชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกอัลนา นับว่าเป็นส่วนคอดที่สุดของปลายบนของกระดูกอัลนา พื้นผิวด้านหลังของโอเลครานอน โพรเซสชี้ไปทางด้านหลัง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบ อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) และถูกปกคลุมด้วยถุงลดเสียดสี (bursa) พื้นผิวด้านบนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ส่วนด้านหน้าใกล้กับขอบกระดูกมีร่องตื้นๆ ในแนวขวางซึ่งเป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นด้านหลังของข้อศอก พื้นผิวด้านหน้ามีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนบนของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) ขอบของโอเลครานอน โพรเซสเป็นส่วนต่อของร่องบนขอบของพื้นผิวด้านบนซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และโอเลครานอน โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนอยด์ โพรเซส

รนอยด์ โพรเซส (Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

ไหล่

แคปซูลของข้อต่อไหล่ขณะกางแขนออก มุมมองทางด้านหน้า ไหล่ หรือ บ่า (shoulder) เป็นส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ที่อยู่บริเวณข้อต่อไหล่ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกต้นแขนประกอบกับกระดูกสะบัก ไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า (clavicle), กระดูกสะบัก (scapula) และกระดูกต้นแขน (humerus) ร่วมกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ข้อต่อระหว่างกระดูกต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันเป็นข้อต่อไหล่ ไหล่เป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้แขนและมือสามารถการเคลื่อนที่ได้อย่างมาก และยังมีความแข็งแรงมากเพื่อใช้ในการออกแรงยกของ ดัน และดึง จากหน้าที่การทำงานของไหล่ดังกล่าวทำให้ไหล่เป็นบริเวณที่คนมักบาดเจ็บหรือปวดล้าอยู่สม่ำเสมอ.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

เชิงกราน

งกราน (pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium), กระดูกก้น (ischium), และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเชิงกราน · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นหลังคอ

้นหลังคอ (nuchal lines) เป็นเส้นโค้ง 4 เส้นที่อยู่บนพื้นผิวด้านนอกของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเส้นหลังคอ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขมับ

้นขมับ (temporal lines) เป็นเส้นโค้ง 2 เส้นที่ทอดผ่านข้ามตรงกลางของกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) แบ่งออกเป็นเส้นบน (superior temporal line) และเส้นล่าง (inferior temporal lines) เส้นขมับเส้นบนเป็นจุดเกาะของพังผืดขมับ (temporal fascia) ส่วนเส้นล่างเป็นขอบเขตบนสุดของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเทมพอราลิส (Temporalis).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเส้นขมับ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา

้นประสาทกล้ามเนื้อตา หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 เป็นเส้นประสาทสมองเส้นหนึ่งจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา การหรี่ม่านตา และช่วยในการลืมตา (นอกจากนี้ยังมีเส้นประสาทสมองเส้นที่ 4 และ 6 ที่มีส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตา).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส

เส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส (Musculocutaneous nerve) เป็นเส้นประสาทที่มีต้นกำเนิดมาจาก lateral cord ของร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) อยู่ตรงกล้ามกับขอบล่างของ กล้ามเนื้อเพคเทอรัลลิส ไมเนอร์ (pectoralis minor) มีใยประสาทที่มีต้นกำเนิดมาจาก เส้นประสาทคอ (cervical nerve) เส้นที่ห้า หก และเจ็ด หมวดหมู่:เส้นประสาท.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทมีเดียน

เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขนและปลายแขน นับเป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่มีต้นกำเนิดมาจากร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) เส้นประสาทมีเดียนเกิดจากแลทเทอรัล คอร์ด lateral cord) และมีเดียล คอร์ด (medial cord) ของร่างแหประสาทแขน และต่อเนื่องลงมาตามแขนและเข้าสู่ปลายแขนร่วมกับหลอดเลือดแดงแขน (brachial artery) เส้นประสาทมีเดียนเป็นเส้นประสาทเพียงเส้นเดียวที่ผ่านเข้าในคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) ซึ่งอาจถูกกดได้ในกลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel syndrome) ส้เนประสาทมีเดียน ส้เนประสาทมีเดียน.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเส้นประสาทมีเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเส้นประสาทเฟเชียล · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก

อ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เป็นแผ่นของเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) ที่มีความกว้างและบาง ทำหน้าที่แบ่งกระดูกหลายชิ้นในร่างกาย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของข้อต่อหลายชิ้น เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกในร่างกายมนุษย์ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

อ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน (interosseous membrane of the forearm) เป็นแผ่นเส้นใยที่เชื่อมระหว่างกระดูกเรเดียส (radius) และกระดูกอัลนา (ulna) เป็นโครงสร้างหลักของข้อต่อชนิดแผ่นเยื่อคั่นเรดิโออัลนา (radio-ulnar syndesmosis) ซึ่งเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกทั้งสองชิ้นนี้ เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขนแบ่งพื้นที่ของปลายแขนออกเป็นพื้นที่ด้านหน้า (anterior compartment) และด้านหลัง (posterior compartment) เป็นบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อในปลายแขน และส่งผ่านแรงจากกระดูกเรเดียส ไปยังกระดูกอัลนา ไปยังกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

เท้า

ท้า เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์หลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขา ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail).

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และเท้า · ดูเพิ่มเติม »

Trunk

Trunk สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์และTrunk · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »