โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอ

ดัชนี คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

20 ความสัมพันธ์: ช่องคอกระดูกสันหลังกระดูกไหปลาร้ากระดูกไฮออยด์กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์กล้ามเนื้อทราพีเซียสกายวิภาคศาสตร์การแขวนคอลำตัวลูกกระเดือกศีรษะสมองสัตว์มีกระดูกสันหลังหลอดเลือดแดงท่อลมข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์คางต่อมไทรอยด์ปุ่มกกหูไขสันหลัง

ช่องคอ

ในทางกายวิภาคศาสตร์ ช่องคอ เป็นส่วนหน้าของคอ ด้านหน้าต่อกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยคอหอย (pharynx) และกล่องเสียง (larynx) โครงสร้างที่สำคัญของช่องคอคือฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ซึ่งเป็นแผ่นที่แยกหลอดอาหาร (esophagus) และท่อลม (trachea) และป้องกันไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มตกลงไปในท่อลม ช่องคอประกอบด้วยหลอดเลือดและกล้ามเนื้อคอหอยจำนวนมาก รวมทั้งท่อลมและหลอดอาหาร กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) และกระดูกไหปลาร้า (clavicle) เป็นกระดูกเพียง 2 ชิ้นที่ตั้งอยู่ในช่องคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: คอและช่องคอ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: คอและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: คอและกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไฮออยด์

กระดูกไฮออยด์ เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ และเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ เลย กระดูกนี้ค้ำจุนโดยกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ช่วยค้ำจุนโคนลิ้น กระดูกไฮออยด์มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า และแขวนจากยอดของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับโดยเอ็นสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid ligaments).

ใหม่!!: คอและกระดูกไฮออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในส่วนนอกของลำคอ ชื่อของกล้ามเนื้อมัดนี้มาจากจุดเกาะทั้งสามจุดของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ กระดูกอก (sternum, sterno-) กระดูกไหปลาร้า (clavicle, cleido-) และมาสตอยด์ โพรเซส (mastoid process) ซึ่งเป็นส่วนนูนขนาดใหญ่บนกระดูกขมับ (temporal bone) ในบางครั้งอาจเรียกชื่อกล้ามเนื้อนี้ว่า สเตอร์โนมาสตอยด์ (sternomastoid) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ทำหน้าที่หลักในการหมุนและการงอของศีรษะ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับกลุ่มของกล้ามเนื้อสคาลีนนัส (scalenus muscles) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของช่องอกระหว่างการหายใจ แนวของกล้ามเนื้อนี้ยังใช้ในการแบ่งอาณาบริเวณทางกายวิภาคของลำคอเป็นสองส่วน คือพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้า (anterior triangle of neck) และพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลัง (posterior triangle of neck).

ใหม่!!: คอและกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อทราพีเซียส

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius) เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก.

ใหม่!!: คอและกล้ามเนื้อทราพีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: คอและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การแขวนคอ

thumbnail การแขวนคอ (Hanging) เป็นการทำให้มนุษย์หมดสติและถึงแก่ความตายโดยแขวนคอเข้ากับเชือกที่ผูกยึดเอาไว้ด้านบน บางประเทศใช้วิธีการนี้ในการประหารชีวิต และวิธีนี้ยังมักใช้ฆ่าตัวตายด้ว.

ใหม่!!: คอและการแขวนคอ · ดูเพิ่มเติม »

ลำตัว

ลำตัวของมนุษย์เพศชาย ลำตัว (Torso หรือ trunk) เป็นศัพท์ที่เรียกส่วนตรงกลางของร่างกายสัตว์หลายชนิด (รวมถึงมนุษย์) ซึ่งมีรยางค์และลำคอที่ยื่นออกไป ลำตัวประกอบด้วยอก (thorax) และท้อง (abdomen).

ใหม่!!: คอและลำตัว · ดูเพิ่มเติม »

ลูกกระเดือก

ลูกกระเดือก เป็นกระดูกชิ้นหนึ่งที่อยู่ในกล่องเสียงทั้งผู้ชายและผู้หญิง ลูกกระเดือกของผู้ชายเรียกว่า อดัมส์ แอปเปิ้ล (Adams apple) แปลว่าแอปเปิ้ลของอดัมส์ (มาจากความเชื่อของชาวคริสต์ที่ว่าอดัมส์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของผู้ชายไปกินแอปเปิ้ลซึ่งเป็นผลไม้ต้องห้ามในสวนของพระเจ้า เมื่อพระเจ้าจับได้ก็สาปให้ติดคอ) มีลักษณะเป็นแผ่น 2 แผ่น เชื่อมประกบทำมุมกันเป็นชั้นเดียว ในผู้ชายมีลักษณะแหลมยื่นออกมา ส่วนลูกกระเดือกของผู้หญิงเรียกว่า เอปิกลอตติส (Epiglottis) เป็นกระดูกอ่อนรูปร่างเรียบป้านคล้ายใบไม้ทำให้มองเห็นไม่ชัด ด้านหน้าของลูกกระเดือกเป็นช่องเปิดเข้าสู่กล่องเสียง ในขณะกลืนอาหารกล่องเสียงจะเลื่อนขึ้นข้างบน ส่วนปลายของลูกกระเดือกจะเลื่อนลงมาปิดกล่องเสียงไม่ให้อากาศเข้าสู่กล่องเสียงได้.

ใหม่!!: คอและลูกกระเดือก · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: คอและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: คอและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: คอและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่มีชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงทุกเส้นขนส่งเลือดที่มีออกซิเจน ยกเว้นหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัล (umbilical artery) ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุของการเสียชีวิต 2 อันดับแรกคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของการไหลของเลือดซึ่งเสื่อมสภาพไปตามอายุ (ดูเพิ่มที่ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง) หมวดหมู่:ระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: คอและหลอดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ท่อลม

thumb ท่อลม (pneumatic tube, capsule pipeline, หรือ Pneumatic Tube Transport ย่อว่า PTT) เป็นระบบที่ใช้ส่งกระบอกบรรจุภัณฑ์ไปมาตามท่อโดยใช้อากาศหรือสุญญากาศขับดัน ระบบนี้ใช้ขนส่งของแข็ง ต่างจากท่อทั่วไปที่ใช้ส่งของเหลว สำนักงานต่าง ๆ เริ่มรับมาใช้ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยจำเป็นต้องขนส่งพัสดุขนาดเล็ก อย่างจดหมาย เอกสาร หรือเงินตรา เป็นการด่วนหรือภายในระยะทางอันสั้น เช่น ในอาคารหรือเมืองเดียวกัน ปัจจุบัน นิยมติดตั้งในโรงพยาบาลที่ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมแต่งขึ้นอีกมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: คอและท่อลม · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์

้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (Sternoclavicular joint) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมายถึงข้อต่อที่อยู่ระหว่างปลายด้านกระดูกอกของกระดูกไหปลาร้า (Sternal end of clavicle) กับรอยเว้าคลาวิคิวลาร์ (clavicular notch) ที่อยู่บนส่วนแมนูเบรียมของกระดูกอก (manubrium of sternum) และบางส่วนของกระดูกซี่โครงชิ้นที่ 1 โดยที่พื้นผิวข้อต่อส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านปลายด้านกระดูกไหปลาร้า ข้อต่อนี้มีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่ของไหล่และต้นแขนที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของกระดูกไหปลาร้.

ใหม่!!: คอและข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาง

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ คาง อยู่บริเวณใต้สุดของใบหน้า หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: คอและคาง · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อมกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid), สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม.

ใหม่!!: คอและต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกกหู

ปุ่มกกหู (mastoid process) เป็นส่วนยื่นรูปกรวยซึ่งยื่นออกมาจากพื้นผิวด้านล่างของส่วนกกหูของกระดูกขมับ (mastoid portion of the temporal bone) ตั้งอยู่ทางด้านหลังของปากรูหู (external acoustic meatus) และทางด้านข้างของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับ (styloid process) ขนาดและรูปร่างของปุ่มกกหูมีความแปรผัน ซึ่งในผู้ชายมักจะมีขนาดใหญ่กว่าผู้หญิง ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อไดแกสทริก (Digastric muscle) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid) กล้ามเนื้อสปลีเนียส แคปิติส (Splenius capitis) และกล้ามเนื้อลองจิสสิมุส แคปิติส (Longissimus capitis).

ใหม่!!: คอและปุ่มกกหู · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ใหม่!!: คอและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Neckลำคอพระศอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »