โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกต้นแขน

ดัชนี กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

34 ความสัมพันธ์: กระดูกยาวกระดูกสะบักกระดูกอัลนากระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสกล้ามเนื้อเดลทอยด์กายวิภาคศาสตร์ร่องสไปรัลร่องไบซิพิทัลข้อศอกข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลคอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขนคอกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขนปลายแขนปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขนปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขนแอ่งกลีนอยด์แอ่งโอเลครานอนแอ่งโคโรนอยด์แคปปิทูลัมแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านกลางลำตัวแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้างแนวเดลทอยด์โอเลครานอน โพรเซสโทรเคลียร์โคโรนอยด์ โพรเซสไหล่

กระดูกยาว

กระดูกต้นแขน เป็น'''กระดูกยาว'''ชนิดหนึ่ง กระดูกยาว (Long bone) เป็นประเภทหนึ่งของกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง ซึ่งมีการเติบโตแบบปฐมภูมิโดยการยืดออกของไดอะไฟซิส (diaphysis) โดยมีเอพิไฟซิส (epiphysis) อยู่ที่ปลายของกระดูกที่เจริญ ปลายของเอพิไฟซิสถูกคลุมด้วยกระดูกอ่อนชนิดไฮยาลิน คาร์ทิเลจ (hyaline cartilage) (หรือ "articular cartilage") การเจริญเติบโตทางยาวของกระดูกยาวเป็นผลจากการสร้างกระดูกแบบแทนที่กระดูกอ่อน (endochondral ossification) ที่บริเวณแผ่นเอพิไฟเซียล (epiphyseal plate) การยืดยาวออกของกระดูกถูกกระตุ้นโดยการสร้างโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ตัวอย่างของกระดูกยาว เช่น กระดูกต้นขา กระดูกแข้ง และกระดูกน่องของขา กระดูกต้นแขน กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาของแขน กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่าเท้า (metatarsal) ของมือและเท้า และกระดูกนิ้วมือและกระดูกนิ้วเท้า กระดูกยาวของขามนุษย์มีความยาวเกือบเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงในผู้ใหญ่ นอกจากนั้นโครงสร้างที่เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นความสูงก็ได้แก่กระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะ ด้านนอกของกระดูกประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) นอกจากนี้เปลือกนอกของกระดูกยาวเป็นกระดูกเนื้อแน่น หรือกระดูกทึบ (compact bone) ชั้นลึกลงไปเป็นชั้นกระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, กระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่ง (cancellous bone หรือ spongy bone) ซึ่งมีไขกระดูก (bone marrow) ส่วนด้านในของกระดูกยาวเป็นช่องว่างเรียกว่า medullary cavity ซึ่งแกนกลางของโพรงกระดูกประกอบด้วยไขกระดูกเหลือง (yellow marrow) ในผู้ใหญ่ ซึ่งจะพบมากในผู้หญิง.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกระดูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส

กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส (Coracobrachialis) เป็นกล้ามเนื้อที่เล็กที่สุดในบรรดากล้ามเนื้อ 3 มัดที่เกาะอยู่กับโคราคอยด์ โพรเซส (coracoid process) ของกระดูกสะบัก (scapula) (กล้ามเนื้ออีก 2 มัดที่เหลือคือกล้ามเนื้อเพคทอราลิส ไมเนอร์ (pectoralis minor) และกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii)) กล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ส่วนบนและส่วนด้านใกล้กลางของแขน.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) เป็นกล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณปลายแขน (forearm) ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่คว่ำปลายแขนร่วมกับกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (Biceps brachii muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของต้นแขน (Anterior compartment of arm) กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่หลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการงอแขนและการหมุนของปลายแขนโดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดจากภายนอก และสามารถบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้มีรูปร่างที่ต้องการได้ง่ายโดยการยกน้ำหนัก.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส

กล้ามเนื้อเบรกิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขน (forearm) ทำหน้าที่งอปลายแขนที่ข้อศอก สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งคว่ำและหงายมือขึ้นกับตำแหน่งของปลายแขน กล้ามเนื้อนี้ยึดเกาะกับสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส (distal styloid process of the radius) และแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง (lateral supracondylar ridge) ของกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเดลทอยด์

กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมายถึงกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมที่เป็นส่วนสำคัญของกล้ามเนื้อในบริเวณไหล่ และเป็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขนที่มีข้อต่อไหล่เป็นจุดหมุน นอกจากนี้ยังนิยมใช้กล้ามเนื้อนี้ในการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ (intramuscular injection) อีกด้วย ในตำรากายวิภาคศาสตร์บางเล่มอาจใช้คำว่า เดลทอยเดียส (deltoideus) ในการกล่าวถึงกล้ามเนื้อมัดนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งคำว่าเดลทอยด์และเดลทอยเดียส ต่างมาจากอักษรเดลตา (Delta) ในภาษากรีก ซึ่งเป็นอักษรรูปสามเหลี่ยม.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อเดลทอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ร่องสไปรัล

ร่องสไปรัล, ร่องเรเดียล หรือ ร่องมัสคิวโลสไปรัล (Spiral groove; Radial sulcus; musculospiral groove) เป็นร่องที่อยู่ตรงกลางของขอบด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) มีลักษณะกว้าง ตื้น วิ่งในแนวเฉียง เป็นร่องสำหรับเส้นประสาทเรเดียล (radial nerve).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและร่องสไปรัล · ดูเพิ่มเติม »

ร่องไบซิพิทัล

ร่องไบซิพิทัล (bicipital groove) หรือ ร่องระหว่างปุ่มกระดูก (intertubercular groove) เป็นร่องลึกบนกระดูกต้นแขน (humerus) ที่แบ่งระหว่างปุ่มใหญ่ (greater tubercle) และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเอ็นของปลายจุดเกาะต้นด้านยาวของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (Biceps brachii) และเป็นทางผ่านของแขนงหลอดเลือดแดงรอบต้นแขนด้านหน้า (anterior humeral circumflex artery) ไปยังข้อต่อไหล่ (shoulder-joint) ร่องนี้วิ่งลงมาในแนวเฉียง และสิ้นสุดประมาณ 1/3 ด้านบนของกระดูกต้นแขน ร่องนี้ยังเป็นผนังด้านข้างของรักแร้อีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและร่องไบซิพิทัล · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล

้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล (Glenohumeral joint) หรือข้อต่อไหล่ (Shoulder joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ข้อต่อนี้เป็นข้อต่อซินโนเวียล (Synovial joint) ชนิดเบ้า (ball and socket) โดยมีแอ่งกลีนอยด์ (glenoid fossa) ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่เป็นเบ้ารองรับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน และยังมีโครงสร้างของเอ็นรอบกระดูกและกล้ามเนื้อกลุ่มโรเตเตอร์ คัฟฟ์ (rotator cuff muscles) คอยค้ำจุน ข้อต่อนี้จึงเป็นข้อต่อที่มีอิสระในการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายมนุษ.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล · ดูเพิ่มเติม »

คอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน

อกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน (anatomical neck of the humerus) เป็นส่วนของกระดูกต้นแขน อยู่ในแนวเฉียง เกิดเป็นมุมป้านกับส่วนกลางของกระดูก จะเห็นได้เด่นชัดที่สุดทางครึ่งล่างของเส้นรอบคอกระดูก ครึ่งบนของคอกระดูกจะเห็นเป็นร่องแคบๆ ที่แยกระหว่างส่วนหัวกระดูกและปุ่มกระดูก คอกระดูกนี้เป็นที่ยึดเกาะของแคปซูลข้อต่อของข้อต่อไหล่ และยังมีช่องสำหรับหลอดเลือดเข้ามาเลี้ยงอีกมากม.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและคอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

คอกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขน

อกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขน (Surgical neck of the humerus) เป็นรอยคอดของกระดูกต้นแขนที่อยู่ใต้ปุ่มใหญ่ (greater tubercle) และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle) เป็นบริเวณที่กระดูกมักจะหักได้บ่อยมากกว่าคอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน (anatomical neck of the humerus) การหักของกระดูกต้นแขนบริเวณนี้มักจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทรักแร้ (axillary nerve).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและคอกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน มีขนาดใหญ่กว่าและยื่นออกมามากกว่าปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ ยื่นไปทางด้านหลังเล็กน้อย ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มเวนทรัล อีพิคอนไดล์ (ventral epicondyle of the humerus) ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ของข้อศอก, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกลุ่มกล้ามเนื้องอของปลายแขน (เอ็นคอมมอนเฟล็กเซอร์ (common flexor tendon)) เส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) วิ่งอยู่ในร่องที่อยู่ด้านหลังของปุ่มกระดูกนี้ ถ้ามีกระดูกหักบริเวณมีเดียล อีพิคอนไดล์จะทำให้มีอันตรายต่อเส้นประสาทอัลน.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (Lateral epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกขนาดเล็ก โค้งเล็กน้อยทางด้านหน้า เป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (radial collateral ligament) ของข้อศอก และจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) และกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดนิ้วบางมัด ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มดอร์ซัล อีพิคอนไดล์ (dorsal epicondyle of the humerus).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ด้านข้างต่อหัวกระดูกและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน (humerus) แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle) แต่ก็ยื่นออกมามากกว่า ตั้งอยู่ด้านหน้า และชี้ไปทางใกล้กลางลำตัวและไปด้านหน้า เหนือต่อและหน้าต่อปุ่มกระดูกนี้เป็นรอยประทับซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็นกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งกลีนอยด์

แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity; glenoid fossa of scapula) เป็นพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ อยู่ที่มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก แอ่งนี้เป็นข้อต่อที่รับกับหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ฐานล่างของแอ่งนี้กว้างกว่ายอดบน พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโอเลครานอน

แอ่งโอเลครานอน (Olecranon fossa) เป็นแอ่งลึกรูปสามเหลี่ยมบนด้านหลังของกระดูกต้นแขน (humerus) อยู่เหนือด้านหลังของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับยอดของโอเลครานอน โพรเซส (olecranon) เมื่ออยู่ในท่าเหยียดปลายแขน.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแอ่งโอเลครานอน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโคโรนอยด์

แอ่งโคโรนอยด์ (Coronoid fossa) เป็นแอ่งขนาดเล็กบนด้านหน้าของกระดูกต้นแขน อยู่เหนือด้านหน้าของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ของกระดูกอัลนา (ulna) เมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแอ่งโคโรนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แคปปิทูลัม

แคปปิทูลัมของกระดูกต้นแขน (Capitulum of the humerus) เป็นส่วนด้านข้างของพื้นผิวข้อต่อของกระดูกต้นแขน มีลักษณะเป็นเนินเรียบ และกลม ส่วนนี้เป็นข้อต่อกับส่วนหัวของกระดูกเรเดียสซึ่งเป็นพื้นผิวรูปถ้วยคว่ำ เรียกว่าข้อต่อฮิวเมอโรเรเดียล (humeroradial joint).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแคปปิทูลัม · ดูเพิ่มเติม »

แนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านกลางลำตัว

แนวเส้น หรือ แนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านกลางลำตัว หรือ แนวสันมีเดียลซุปปราคอนไดลาร์ (medial supracondylar ridge) เป็นแนวสันกระดูกที่อยู่ด้านล่าง 1/3 ของขอบแนวใกล้กลางลำตัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ซึ่งทางด้านล่างจะยื่นออกมามากกว่าด้านบน แบ่งออกเป็นแนวด้านหน้า (anterior lip) ซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (Brachialis) และกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และแนวด้านหลัง (posterior lip) ซึ่งเป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นแนวใกล้กลาง (medial head) ของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (Triceps brachii), และแนวสันระหว่างกลาง (intermediate ridge) ซึ่งเป็นที่เกาะของผนังกั้นมีเดียล อินเตอร์มัสคิวลาร์ (medial intermuscular septum).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านกลางลำตัว · ดูเพิ่มเติม »

แนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง

แนวสัน หรือ แนวเส้นซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง หรือ แนวสันแลทเทอรัล ซุปปราคอนไดลาร์ (lateral supracondylar ridge) อยู่บริเวณส่วนล่างของขอบกระดูกข้างของตัวกระดูกต้นแขน (humerus) ที่มีลักษณะนูนเป็นสัน ขอบขรุขระ โค้งเล็กน้อยจากด้านหลังมาด้านหน้า ประกอบด้วยแนวด้านหน้า (anterior lip) ซึ่งด้านบนเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) ด้านล่างเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus), แนวด้านหลัง (posterior lip) เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (Triceps brachii), และแนวสันระหว่างกลาง (intermediate ridge) เป็นจุดเกาะของผนังกั้นแลทเทอรัล อินเตอร์มัสคิวลาร์ (lateral intermuscular septum).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง · ดูเพิ่มเติม »

แนวเดลทอยด์

แนวเดลทอยด์ (deltoid tuberosity) เป็นบริเวณของแท่งกระดูกต้นแขน (humerus) ซึ่งเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (deltoid muscle).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและแนวเดลทอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเลครานอน โพรเซส

อเลครานอน (Olecranon) หรือ โอเลครานอน โพรเซส (Olecranon process) หรือ ปุ่มปลายศอก หรือ ยอดศอก เป็นส่วนยื่นที่มีลักษณะโค้ง ขนาดใหญ่และหนา ตั้งอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของกระดูกอัลนา ที่ยอดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเป็นจะงอยรับเข้ากับแอ่งโอเลครานอน (olecranon fossa) ของกระดูกต้นแขนเมื่อปลายแขนอยู่ในท่าเหยียดตรง ส่วนฐานของโอเลครานอน โพรเซสเป็นคอคอดเชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกอัลนา นับว่าเป็นส่วนคอดที่สุดของปลายบนของกระดูกอัลนา พื้นผิวด้านหลังของโอเลครานอน โพรเซสชี้ไปทางด้านหลัง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบ อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) และถูกปกคลุมด้วยถุงลดเสียดสี (bursa) พื้นผิวด้านบนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ส่วนด้านหน้าใกล้กับขอบกระดูกมีร่องตื้นๆ ในแนวขวางซึ่งเป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นด้านหลังของข้อศอก พื้นผิวด้านหน้ามีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนบนของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) ขอบของโอเลครานอน โพรเซสเป็นส่วนต่อของร่องบนขอบของพื้นผิวด้านบนซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและโอเลครานอน โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

โทรเคลียร์

ริเวณตรงกลางของพื้นผิวข้อต่อของกระดูกต้นแขน (humerus) เรียกว่า โทรเคลียร์ (Trochlea) มีลักษณะเป็นร่องลึกระหว่างขอบยกทั้งสอง มีลักษณะนูนในแนวหน้า-หลัง และเว้าในแนวข้าง และกินพื้นที่ด้านหน้า ด้านล่าง และด้านหลังของส่วนปลายกระดูกต้นแขน (lower extremity of humerus) ส่วนนี้เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา (ulna).

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและโทรเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนอยด์ โพรเซส

รนอยด์ โพรเซส (Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซ.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

ไหล่

แคปซูลของข้อต่อไหล่ขณะกางแขนออก มุมมองทางด้านหน้า ไหล่ หรือ บ่า (shoulder) เป็นส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ที่อยู่บริเวณข้อต่อไหล่ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกต้นแขนประกอบกับกระดูกสะบัก ไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า (clavicle), กระดูกสะบัก (scapula) และกระดูกต้นแขน (humerus) ร่วมกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ข้อต่อระหว่างกระดูกต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันเป็นข้อต่อไหล่ ไหล่เป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้แขนและมือสามารถการเคลื่อนที่ได้อย่างมาก และยังมีความแข็งแรงมากเพื่อใช้ในการออกแรงยกของ ดัน และดึง จากหน้าที่การทำงานของไหล่ดังกล่าวทำให้ไหล่เป็นบริเวณที่คนมักบาดเจ็บหรือปวดล้าอยู่สม่ำเสมอ.

ใหม่!!: กระดูกต้นแขนและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Humerus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »