โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แอ่งกลีนอยด์

ดัชนี แอ่งกลีนอยด์

แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity; glenoid fossa of scapula) เป็นพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ อยู่ที่มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก แอ่งนี้เป็นข้อต่อที่รับกับหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ฐานล่างของแอ่งนี้กว้างกว่ายอดบน พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น.

4 ความสัมพันธ์: กระดูกสะบักกระดูกอ่อนกระดูกต้นแขนมุมด้านข้างของกระดูกสะบัก

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: แอ่งกลีนอยด์และกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: แอ่งกลีนอยด์และกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: แอ่งกลีนอยด์และกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก

มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก หรือ หัวกระดูกสะบัก (head of the scapula) เป็นส่วนที่หนาที่สุดของกระดูกสะบัก บริเวณนี้มีพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ เรียกว่า แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity) ซึ่งชี้ไปทางด้านข้างลำตัวและด้านหน้า เป็นข้อต่อกับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน (head of the humerus) พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น ที่ยอดของแอ่งมีการยกสูงเล็กน้อยเป็นปุ่มเรียกว่า ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์ (supraglenoid tuberosity) เป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii) ที่คอของกระดูกสะบัก (neck of the scapula) มีลักษณะคอดเล็กน้อย ซึ่งบริเวณด้านล่างและด้านหลังจะแตกต่างกับด้านบนและด้านหน้าอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: แอ่งกลีนอยด์และมุมด้านข้างของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Glenoid cavity

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »