โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนเจริญกรุง

ดัชนี ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

31 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2404พ.ศ. 2405พ.ศ. 2407พระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครกงสุลภาษาแต้จิ๋ววัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)สะพานเหล็กถนนบำรุงเมืองถนนสนามไชยถนนตกถนนเฟื่องนครคลองถมแม่น้ำเจ้าพระยาแยกวงเวียน รด. และแยกท้ายวังแยกหมอมีแขวงตลาดน้อยเมตรเฮนรี อาลาบาศเตอร์เจ้าพระยายมราช (ครุฑ)เขตบางรักเขตบางคอแหลมเขตพระนครเขตสัมพันธวงศ์เขตสาทรเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย5 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2404

ทธศักราช 2404 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1861.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและพ.ศ. 2404 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2405

ทธศักราช 2405 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1862.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและพ.ศ. 2405 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2407

ทธศักราช 2407 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1864.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและพ.ศ. 2407 · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 รองจากพระบรมเชษฐา สูงศักดิ์กว่า "วังหน้า" กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช)พระองค์ใดในอดีต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อมีพระชนมายุได้ 43 พรรษ.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กงสุล

กงสุล (Consul) เป็นตำแหน่งทางการเมือง ใช้กับผู้แทนอย่างเป็นทางการของรัฐบาลของรัฐหนึ่งในดินแดนของอีกรัฐหนึ่ง ตามปกติมีหน้าที่ช่วยเหลือและคุ้มครองพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุล และเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและไมตรีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ กงสุลแตกต่างจากเอกอัครราชทูตตรงที่เอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนจากประมุขแห่งรัฐหนึ่งกับประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เอกอัครราชทูตจากประเทศหนึ่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งสามารถมีได้เพียงคนเดียว ขณะที่กงสุลอาจมีได้หลายคน ประจำอยู่นหัวเมืองหลักต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเด็นทางราชการแก่ทั้งพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งหรือที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ และพลเมืองของประเทศที่กงสุลประจำอยู่ซึ่งต้องการท่องเที่ยวในหรือค้าขายกับประเทศผู้แต่งตั้ง.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและกงสุล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเหล็ก

นดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545 สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง ของกรุงเทพมหานคร บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต" ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท ในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคังมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงกลางปีค่อนไปทางปลายปี..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและสะพานเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและถนนบำรุงเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสนามไชย

นนสนามไชย ถนนสนามไชย (Thanon Sanam Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงกลาโหม, กรมอัยการสูงสุด, พระบรมมหาราชวัง, พระราชวังสราญรมย์, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ถนนสนามไชย มีจุดเริ่มต้นที่ถนนหน้าพระลานตัดกับถนนราชดำเนินใน ที่บริเวณแยกป้อมเผด็จ สิ้นสุดลงที่ถนนราชินี บริเวณปากคลองตลาด มีความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนที่มีชื่อเรียกว่า "ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง" เป็นลักษณะเป็นลานกว้าง ๆ มีความสำคัญตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องด้วยเป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับพระราชพิธีหรือกระบวนแห่ต่าง ๆ โดยชื่อ "สนามไชย" มาจากท้องสนามไชย ซึ่งเป็นลานอยู่ข้างท้องสนามหลวง เป็นสถานที่ ๆ ให้ข้าราชบริพารตลอดจนประชาชนใช้สำหรับเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาล ครั้นทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เนื่องในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ โดยชื่อถนนสนามไชย เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและถนนสนามไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตก

นนตก (อักษรโรมัน: Thanon Tok) เป็นถนนและทางแยกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระรามที่ 3 และถนนมไหสวรรย์ ถนนตก เป็นส่วนหนึ่งของถนนเจริญกรุง ถือได้ว่าเป็นส่วนปลายสุดของถนนเจริญกรุง โดยเกิดขึ้นมาพร้อมกับถนนเจริญกรุงในปี..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและถนนตก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเฟื่องนคร

นนเฟื่องนคร (Thanon Fueang Nakhon) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ในท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ จนถึงถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยาศรี) รวมระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร ถนนเฟื่องนครเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเมืองด้านใต้ คือใต้ปากคลองตลาด ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวนตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัวหลวง หรือบ้านท้าวประดู่ในวรรณกรรมระเด่นลันได ซึ่งปัจจุบันนี้คือ สี่แยกคอกวัว สวนหลวง ไปจนถึงกำแพงเมืองด้านเหนือที่ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเริ่มทำพร้อมถนนบำรุงเมืองใน พ.ศ. 2406 และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 จากนั้นได้พระราชทานนามว่า "ถนนเฟื่องนคร" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันสอดคล้องกับชื่อถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและถนนเฟื่องนคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองถม

ลองถม เป็นแหล่งขายของมือสองและของเก่า รวมทั้งอุปกรณ์รถยนต์ประดับยนต์ รวมไปถึงของจิปาถะ เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนวรจักรและถนนเจริญกรุงกับเยาวราชมาแต่โบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมคลองถมนั้นเรียกกันว่า คลองสำเพ็ง โดยมีปลายคลองด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนปลายคลองอีกด้านออกสู่คลองมหานาค เมื่อมีการตัดถนนเพิ่มขึ้น และทางการได้ลดจำนวนคลองลง ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จากนั้นก็ได้มีการสร้างถนนขึ้นบริเวณคลองนี้ ตอนแรกก็ถมกันด้วยขยะทั่วไป ต่อมาก็แปรสภาพมาเป็นถนน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกนั้นมาแต่เดิม เรียกกันติดปากเรื่อยมากันว่า "คลองถม" จนถึงทุกวันนี้ คลองถม ถือเป็นแหล่งขายของมือสอง อุปกรณ์รถยนต์ ตลอดจนถึงของจิปาถะเป็นเวลายาวนานจนเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์จะมีทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อคับคั่ง จนเกิดเป็นปัญหาการจราจร จนกระทั่งหลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลมีนโยบายจัดระเบียบสังคม จึงมีนโยบายให้ผู้ค้าคลองถมเลิกขาย โดยจะหาพื้นที่ใหม่ให้ ซึ่งในวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและคลองถม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แยกวงเวียน รด. และแยกท้ายวัง

แยกวงเวียน ร. และ แยกท้ายวัง เป็นวงเวียนจุดตัดถนนสนามไชย, ถนนเจริญกรุง และถนนท้ายวัง ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งทางแยกทั้ง 2 แห่งอยู่ที่จุดเดียวกัน แต่แนวถนนเจริญกรุงและถนนท้ายวังจะเยื้องกันเล็กน้อย จึงมีการจัดการจราจรเป็นรูปแบบวงเวียน โดยไม่มีสัญญาณไฟจราจร วงเวียนแห่งนี้เป็นเพียงเครื่องกั้นทางชั่วคราวที่สามารถย้ายออกได้เมื่อมีพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้พื้นที่บนถนนสนามไชย เช่น พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น บริเวณทางแยกนี้มีสถานที่สำคัญตั้งอยู่ทั้ง 4 มุมถนน ได้แก่ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (สวนเจ้าเชตุ) ซึ่งในอดีตใช้ชื่อกรมการรักษาดินแดน มีชื่อย่อว่า ร. เป็นที่มาของชื่อทางแยก เยื้องกันเป็นพระบรมมหาราชวัง ด้านท้ายวัง (พระตำหนักสวนกุหลาบ) และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งมีถนนท้ายวังแบ่งเขตวัดกับวัง และมีสวนสราญรมย์อยู่อีกด้านหนึ่งของทางแยก.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและแยกวงเวียน รด. และแยกท้ายวัง · ดูเพิ่มเติม »

แยกหมอมี

แยกหมอมี (Mo Mi Intersection) หรือที่นิยมเรียกว่า สามแยก หรือ สามแยกถนนเจริญกรุง เป็นห้าแยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 4, ถนนทรงสวัสดิ์ และถนนมิตรพันธ์ ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญในกรุงเทพฯ ในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสถานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เรียกว่า "ตำบลสามแยก" ต่อมาในปลายปี..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและแยกหมอมี · ดูเพิ่มเติม »

แขวงตลาดน้อย

ทความนี้เป็นแขวงในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในส่วนของตำบลตลาดน้อย จังหวัดสระบุรี ดูที่: อำเภอบ้านหมอ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย แขวงตลาดน้อย เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราชและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นตลาดที่คึกคักมาก โดยเรียกกันในภาษาแต้จิ๋วว่า "ตั๊กลักเกี้ย" (噠叻仔; ลูกตลาด, ตลาดน้อย) มีที่มาจากเจ้าสัวเนียม หรือเจ๊สัวเนียม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแถบนี้มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ "น้อย" เป็นท่าเรือและชุมชนที่รุ่งเรืองก่อนเยาวราช โดยมีชาวโปรตุเกส เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ จากนั้นจึงตามมาด้วยชาวจีน, ชาวญวน รวมถึงเขมรมาปักหลักอาศัย ปัจจุบันมีสภาพเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของผู้คนในลักษณะอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และตรอกซอกซอยต่าง ๆ และยังมีศาสนสถานสำคัญของหลายศาสนา และมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดเด่น เช่น ริเวอร์ซิตี้ หรือ สะพานพิทยเสถียร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยหลายอาคารนั้นเป็นอาคารที่เก่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ มีมากถึง 64 อาคาร ตลาดน้อยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่ โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย ภายในซอยมีหลายสถานที่ ๆ ได้รับความสนใจ เช่น ศาลเจ้าโจวซือกง, บ้านโซวเฮงไถ่ บ้านโบราณที่มีอายุกว่า 200 ปี สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบซื่อเหอย่วนของจีน, เซียงกง หรือ ซอยวานิช 2 แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ที่มีชื่อเสียง, โบสถ์กาลหว่าร์ ศาสนสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, กรมเจ้าท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตัวอาคารธนาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก โดยก่อสร้างตั้งแต..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและแขวงตลาดน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี อาลาบาศเตอร์

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (พ.ศ. 2379 – พ.ศ. 2427 เฮนรี อาลาบาศเตอร์ (Henry Alabaster; 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2379 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2427) ต้นตระกูลเศวตศิลา รองกงสุลชาวอังกฤษ สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย เป็นผู้รังวัดในการตัดถนนเจริญกรุง ต่อมาเกิดขัดแย้งกับกงสุลนอกซ์ จึงลาออกและเดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับมารับราชการกับไทยตั้งแต..

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเฮนรี อาลาบาศเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยายมราช (ครุฑ)

้าพระยายมราช (ครุฑ) อดีตเสนาบดีกรมเวียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเจ้าพระยายมราช (ครุฑ) · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเขตบางรัก · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางคอแหลม

ตบางคอแหลม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเขตบางคอแหลม · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตสาทร

ตสาทร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเขตสาทร · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

5 กุมภาพันธ์

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 36 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 329 วันในปีนั้น (330 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ถนนเจริญกรุงและ5 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถ.เจริญกรุง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »