โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนตก

ดัชนี ถนนตก

นนตก (อักษรโรมัน: Thanon Tok) เป็นถนนและทางแยกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระรามที่ 3 และถนนมไหสวรรย์ ถนนตก เป็นส่วนหนึ่งของถนนเจริญกรุง ถือได้ว่าเป็นส่วนปลายสุดของถนนเจริญกรุง โดยเกิดขึ้นมาพร้อมกับถนนเจริญกรุงในปี..

9 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครมติชนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสอักษรละตินถนนพระรามที่ 3ถนนเจริญกรุงทางแยกแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางรัก

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนตกและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มติชน

ริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) (Matichon Public Company Limited) เป็นบริษัทแม่เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย สิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ และเป็นผู้ริเริ่มกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างไปจากสื่อมวลชนไทยในวงการ เพื่อเติมเต็มข้อมูลให้แก่สังคมข่าวสาร.

ใหม่!!: ถนนตกและมติชน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อม.

ใหม่!!: ถนนตกและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ถนนตกและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 3

ถนนพระรามที่ 3 ช่วงวัดคลองภูมิ ถนนพระรามที่ 3 (Thanon Rama III) เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่สะพานกรุงเทพในพื้นที่แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ข้ามคลองวัดจันทร์ในเข้าสู่พื้นที่แขวงบางโคล่ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ข้ามคลองบางมะนาว ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองใหม่เข้าสู่พื้นที่แขวงช่องนนทรี ไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนยานนาวา (แยกพระรามที่ 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส หรือแยกช่องนนทรี) และถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรีเข้าสู่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง (จุดตัดกับถนนสุนทรโกษาและถนน ณ ระนอง) ถนนพระรามที่ 3 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้วางแผนให้ถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แทนที่ถนนสีลม ซึ่งประสบปัญหาแออัดและการจราจรติดขัดมาก ในช่วงนั้นเจ้าของธุรกิจหลายๆที่ จึงมองว่าเป็นทำเลทองแห่งใหม่ บางธนาคารและบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 แห่งนี้ รัฐบาลได้วางนโยบายพร้อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค พร้อมขยายถนนจาก 4 ช่องทางจราจรไปและกลับ เป็นถนน 8 ช่องจราจรไปและกลับ พร้อมกับถมคลองที่ขนานกับถนน ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อว่าถนนพระรามที่ 3 ถนนพระรามที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นชื่อถนนที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก เป็นชื่อถนนในโครงการตัดถนนใหม่ของถนนวงแหวนรอบใน นอกจากนี้ ถนนพระรามที่ 3 (ช่วงตั้งแต่แยกถนนสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยก นางลิ้นจี่) มีมาแต่เดิมแล้วโดยมีชื่อเป็นทางการว่าถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย หรือประชาชนจะนิยมเรียกว่า ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีโครงการทำถนนวงแหวนรอบใน จึงมีการตัดถนนเพิ่มเติม(แยกสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยกถนนตก) ใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก เมื่อมีโครงการสร้างถนนเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อถนนใหม่เป็น ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านการค้าตั้งแต่ยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าล่องในลำน้ำช่วงนี้มาจอดเป็นแถวตั้งแต่ถนนตกจนถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง และแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นที่ขนถ่ายสินค้า จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนพระรามที่ 3" ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมเพราะวางแผนให้ถนนแห่งนี้เป็นถนนเศรษฐกิจการค้า หมวดหมู่:ถนนในเขตยานนาวา หมวดหมู่:ถนนในเขตบางคอแหลม หมวดหมู่:ถนนในเขตคลองเตย หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนตกและถนนพระรามที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: ถนนตกและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยก

ทางแยกในคาร์คิฟ ประเทศยูเครน ทางแยกในมากาตี ประเทศฟิลิปปินส์ ทางแยก (intersection) เป็นจุดตัดที่อยู่ในระดับเดียวกันของถนนสองสายขึ้นไปที่มาบรรจบกันหรือตัดข้ามกัน ได้แก่ สามแยก เช่น สามแยกรูปตัวที (T junction) หรือ สามแยกรูปตัววาย (Y junction) หรือสี่แยก ห้าแยก หรือมากกว่านั้น ทางแยกต่าง ๆ มักจะมีการควบคุมโดยไฟจราจร หรือมีการสร้างวงเวียน หรือทั้งสอง.

ใหม่!!: ถนนตกและทางแยก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนตกและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: ถนนตกและเขตบางรัก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สี่แยกถนนตกแยกถนนตก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »