สารบัญ
40 ความสัมพันธ์: บลิทซ์ครีกชวังเกาฟือเรอร์พลเอกพันเซอร์ 1กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมันกองทัพบกเยอรมัน (เวร์มัคท์)การบุกครองโปแลนด์การสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918กางเขนเหล็กกางเขนอัศวินมิวนิกยุทธการที่ฝรั่งเศสรัฐบาวาเรียราชอาณาจักรปรัสเซียรถถังรถถังพันเทอร์วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์สหภาพโซเวียตสงครามกลางเมืองรัสเซียสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอันชลุสส์ฮันส์ เคร็บส์ (นายพลเวร์มัคท์)ฮันโนเฟอร์จักรวรรดิเยอรมันจังหวัดชล็อนสก์ทะเลบอลติกคาร์ลสรูเออปฏิบัติการบาร์บารอสซาประเทศฝรั่งเศสประเทศเยอรมนีตะวันตกนาซีเยอรมนีแม่น้ำเมิซแวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์กแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โฟล์กสวาเกนไรชส์เวร์ไทเกอร์ 2เวียนนาเอาโทบาน
- เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองชาวเยอรมันที่ถูกจับโดยสหรัฐ
- ไฮนทซ์ กูเดรีอัน
บลิทซ์ครีก
วามเสียหายหลังจากบลิทซ์ครีก บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg) การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นคำแผลงเป็นอังกฤษ เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีก เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิดบลิทซ์ครีกนั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง นำโดยพลเอกไฮนซ์ กูเดเรียน บลิทซ์ครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและบลิทซ์ครีก
ชวังเกา
วังเกา (Schwangau) เป็นเมืองชนบทในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี เมืองชวังเกาตั้งอยู่ติดกับชายแดนประเทศออสเตรีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอยู่ติดกับทะเลสาบฟอร์เกิน เมืองนี้เป็นที่ตั้งของปราสาทที่มีชื่อเสียงที่สุดของเยอรมันอย่างปราสาทนอยชวานชไตน์และปราสาทโฮเอินชวังเกา เมืองแห่งนี้ีไม่มีทางรถไฟผ่าน จึงสามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์เท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีรถบัสให้บริการจากเมืองฟึสเซินที่อยู่ห่างออกไป 4 กิโลเมตร.
ฟือเรอร์
ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.
พลเอก
ลเอก (General officer) คือ ยศของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพบก และในกองทัพเรือและกองทัพอากาศสำหรับบางประเทศ คำว่า "General" หรือ "นายพล" ถูกนำมาใช้ได้สองแบบ คือ โดยทั่วไปหมายถึงนายทหารชั้นยศนายพลทั้งหมดตั้งแต่ พลจัตวา ถึง พลเอก และใช้เฉพาะเจาะจงหมายถึงยศพลเอก.
พันเซอร์ 1
ันเซอร์คัมพฟ์วาเกิน 1 (Panzerkampfwagen I (อักษรย่อ Pz.Kpfw. I)) หรือที่เรียกในอีกชื่อหนึ่งคือ พันเซอร์ 1 เป็นรถถังเบาสำหรับสนับสนุนทหารราบของกองทัพนาซีเยอรมัน ที่ได้สร้างหลังจากการเซนต์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมันได้ออกแบบในช่วงทศวรรษที่1930 และได้ทำการผลิตแบบจำนวนมากเมื่อปี1934 และเยอรมันยังได้ส่งแพนเซอร์ 1 ไปรบเพื่อเป็นการทดสอบประสิทธิภาพในสงครามกลางเมืองสเปน และ จีน ยังได้ซื้อไปใช้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นด้วย หลังการประเมินผลในการรบในสเปน แพนเซอร์ 1 รบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสงครามโลกระเบิดขึ้น จึงได้เข้าร่วมสมรภูมิหลายแห่ง แต่ช่วงกลางสงคราม รถถังรุ่นใหม่ๆของกองเยอรมันมีอานุภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ แพนเซอร์ 1 จึงลดบทบาทลง และมีการนำตัวถังรถ มาติดตั้งปืนขนาด75มม.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและพันเซอร์ 1
กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน
กองบัญชาการใหญ่กองทัพบก (Oberkommando des Heeres) ของประเทศเยอรมนีในสมัยนาซี กองบัญชาการนี้ก่อตั้งขึ้นในปี..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน
กองทัพบกเยอรมัน (เวร์มัคท์)
กองทัพบกเยอรมันหรือเรียกว่า เฮร์ (Heer) เป็นกองทัพบกเยอรมันในส่วนหนึ่งของกองทัพเวร์มัคท์,กองทัพประจำของเยอรมันในปี 1935 จนกระทั่งถูกปลดและสลายตัวในเดือนสิงหาคม ปี 1946.กองทัพเวร์มัคฺได้รวมถึงครีกซมารีเนอ (กองทัพเรือ),และลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากศ).ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง,จำนวนทหารทั้งหมด 13 ล้านนายรับใช้ในกองทัพเยอรมัน.บุคลากรของกองทัพส่วนใหญ่มาจากการเกณฑ.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและกองทัพบกเยอรมัน (เวร์มัคท์)
การบุกครองโปแลนด์
การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและการบุกครองโปแลนด์
การสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ังกล่าวถ่ายขึ้นหลังจากบรรลุข้อตกลงในการสงบศึกซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในภาพ รถไฟโดยสารคันดังกล่าวเป็นของเฟอร์ดินานด์ ฟอค และตำแหน่งอยู่ในป่าคองเปียญ ฟอคเป็นชายคนที่สองนับจากขวามือ การสงบศึกระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับเยอรมนีได้มีการลงนามในรถไฟโดยสารในป่ากงเปียญ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและการสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน
กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน (Ritterkreuz des Eisernen Kreuzes) หรือเรียกอีกอย่างว่า กางเขนอัศวิน (Ritterkreuz) เป็นบำเหน็จความชอบขั้นสูงสุดในกองกำลังทหารและกึ่งทหารของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการมอบบำเหน็จนี้อย่างแพร่หลายด้วยสารพัดเหตุผล เช่น การนำทัพที่ยอดเยี่ยมของผู้บัญชาการ หรือความกล้าหาญในสมรภูมิของนายทหารระดับล่าง บำเหน็จนี้จะถูกมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ในสามเหล่าทัพของเวร์มัคท์ (''เฮร์'', ครีกซมารีเนอ และลุฟท์วัฟเฟอ) ตลอดจนสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส, กองแรงงานไรช์ และโฟล์คสชทูร์ม บำเหน็จนี้ถูกมอบไปมากกว่า 7,000 สำรับตลอดช่วงสงคราม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สถาปนาบำเหน็จนี้ขึ้นเมื่อ 1 กันยายน..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและกางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน
มิวนิก
มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.
ยุทธการที่ฝรั่งเศส
ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและยุทธการที่ฝรั่งเศส
รัฐบาวาเรีย
ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและรัฐบาวาเรีย
ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและราชอาณาจักรปรัสเซีย
รถถัง
รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.
รถถังพันเทอร์
right พันเทอร์ (Panther) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พันเซอร์ 5 (Panzer V) ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Panzerkampfwagen V Panther เป็นรถถังขนาดกลางของนาซีเยอรมนีที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยถูกออกแบบในช่วงปี ค.ศ.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและรถถังพันเทอร์
วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์
วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ (Walther von Brauchitsch) เป็นจอมพลเยอรมันและเป็นผู้บัญชาการกองทัพบกเยอรมันในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเกิดในครอบครัวทหารและเริ่มเข้ารับราชการทหารในปี 1901 เขามีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยประจำแนวรบด้านตะวันตก หลังพรรคนาซีได้ครองอำนาจใน..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและวัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์
สหภาพโซเวียต
หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและสหภาพโซเวียต
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
งครามกลางเมืองรัสเซีย (Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)Mawdsley, pp.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและสงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามโลกครั้งที่สอง
งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและสงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
อันชลุสส์
ตำรวจชายแดนเยอรมัน-ออสเตรียกำลังรื้อถอนที่กั้นชายแดนในเหตุการณ์อันชลุสส์ ปี 1938. อันชลุสส์ (Anschluss, Anschluß, ท. การผนวก หรือ การเชื่อมโยง) เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อนาซีสำหรับการบุกครองและการรวมประเทศออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและอันชลุสส์
ฮันส์ เคร็บส์ (นายพลเวร์มัคท์)
ันส์ เครบส์ (Hans Krebs) เป็นนายพลทหารราบแห่งกองทัพบกเยอรมันระหว่างก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่เบอร์ลิน เครบส์พยายามเจรจาสงบศึกแบบมีเงื่อนไขกับนายพลวาซีลี ชุยคอฟของกองทัพแดงแต่ไม่เป็นผล เครบส์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมที่ฟือเรอร์บุงเคอร์ในวันที่ 2 พฤษภาคม..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและฮันส์ เคร็บส์ (นายพลเวร์มัคท์)
ฮันโนเฟอร์
ันโนเฟอร์ (Hannover) เป็นเมืองหลวงของรัฐนีเดอร์ซัคเซินในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,772 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) เคยถูกปกครองโดยเป็นรัฐร่วมประมุขของราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ โดยดยุกแห่งดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ต่อมาหลังจากสงครามนโปเลียน ได้ตั้งเป็นราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ ปัจจุบัน ฮันโนเฟอร์เป็นศูนย์กลางในการจัดงานแสดงสินค้าและการประชุม เป็นเจ้าภาพในการจัดงานแสดงนิทรรศการนานาชาติหรือเอ็กซ์โป 2000 และจัดงาน CeBIT กับ Hanover Fair เป็นประจำทุกปี ฮันโนเฟอร์เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและฮันโนเฟอร์
จักรวรรดิเยอรมัน
ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและจักรวรรดิเยอรมัน
จังหวัดชล็อนสก์
ล็อนสก์ (Śląsk) หรือ ไซลีเซีย (Silesia) เป็นจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศโปแลนด์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 12,333 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 4,615,870 คน โดยมีเมืองหลักคือ คาโตวีตเซ จังหวัดชล็อนสก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและจังหวัดชล็อนสก์
ทะเลบอลติก
ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและทะเลบอลติก
คาร์ลสรูเออ
Karlsruhe Palace คาร์ลสรูเออ (Karlsruhe) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี ใกล้ชายแดนประเทศฝรั่งเศส เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ เมืองตั้งขึ้นเมื่อ..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและคาร์ลสรูเออ
ปฏิบัติการบาร์บารอสซา
ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและปฏิบัติการบาร์บารอสซา
ประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและประเทศฝรั่งเศส
ประเทศเยอรมนีตะวันตก
ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและประเทศเยอรมนีตะวันตก
นาซีเยอรมนี
นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและนาซีเยอรมนี
แม่น้ำเมิซ
แม่น้ำเมิซ (Meuse) หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์เรียก แม่น้ำมาส (Maas) เป็นแม่น้ำสายใหญ่ในยุโรป อยู่ทางตะวันตกของทวีป ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดโอต-มาร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ผ่านประเทศเบลเยียมทางด้านตะวันออก แล้วไหลเข้าไปในเนเธอร์แลนด์ไปรวมกับแม่น้ำวาลที่เมืองคอร์เกิม (Gorinchem) แล้วจึงไหลลงทะเลเหนือ รวมความยาว 925 กม.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและแม่น้ำเมิซ
แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก
แวร์เนอร์ เอดวร์ด ฟริทซ์ ฟอน บลอมแบร์ก (Werner Eduard Fritz von Blomberg) เป็นจอมพลเยอรมัน รัฐมนตรีว่าการสงครามแห่งไรช์และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพเยอรมันจนถึง..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและแวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก
แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
โฟล์กสวาเกน
ฟล์กสวาเกน (Volkswagen, ย่อว่า VW) เป็นรถยนต์ที่ถือกำเนิดในเยอรมันในสมัยของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งถูกตั้งโจทย์ว่าต้องเป็นรถที่มีสมรรถนะดีพอ ประโยชน์ใช้สอยมากพอ และราคาถูกเท่ารถจักรยานยนต์ (ในสมัยนั้น) อีกด้วย โดยผู้ออกแบบรถ คือ แฟร์ดีนันด์ พอร์เชอ ผู้ให้กำเนิดรถยนต์ยี่ห้อปอร์เช่ (Porsche) โฟล์กสวาเกนหมายถึง "รถของประชาชน" ในภาษาเยอรมัน คำขวัญปัจจุบันคือ Das Auto (ภาษาเยอรมัน แปลว่า รถยนต์) โฟล์คสวาเกน เป็นผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันและเป็นยี่ห้อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ขายในกลุ่มโฟล์คสวาเกนซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของหลายยี่ห้อด้วยกันอาทิ ออดี้,เบนท์ลีย์, บูกัตติ, ลัมโบร์กีนี, ซีท ถือหุ้น 49.9% ของปอร์เช่, สโกด้า และรถบรรทุกสแกนเนีย รถโฟร์คสวาเกน รู้จักกันส่วนมากว่า "รถเต่า" (ชื่อรุ่นของมันคือ Beetle อ่านว่า บีเทิล) ซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นแรกสุด ออกแบบมาคล้ายกับ เต่า และยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไว้จนถึงปัจจุบัน.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและโฟล์กสวาเกน
ไรชส์เวร์
รชส์เวร์ (Reichswehr ความหมาย: "กองกำลังป้องกันประเทศ") เป็นชื่อเรียกกองกำลังป้องกันตนเองของเยอรมนีระหว่าง..
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและไรชส์เวร์
ไทเกอร์ 2
ทเกอร์ 2 ไทเกอร์ 2 (Panzerkampfwagen Tiger Ausf.; Tiger II) เป็นรถถังประเภทรถถังหนักหรือเฮฟวี่แทงค์ (Heavy tank) ที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลายปี ค.ศ.
ดู ไฮนซ์ กูเดเรียนและไทเกอร์ 2
เวียนนา
วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).
เอาโทบาน
อาโทบานสาย 3 ตัดกับสาย 5 บริเวณแฟรงเฟิร์ต เอาโทบาน (Autobahn ออกเสียง: เอาโทบาน) เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันหมายถึง ทางด่วนระหว่างเมือง ซึ่งเป็นทางคู่และมีทางยกระดับข้ามทางแยก ศัพท์คำนี้ใช้เรียกทางด่วนในเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปมักหมายถึงทางหลวงในเยอรมนี เอาโทบานในเยอรมนีเป็นทางด่วนที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าผ่านทาง ส่วนในออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์มีด่านเก็บค่าผ่านทาง ในเยอรมนีและออสเตรีย กำหนดให้พาหนะที่ใช้งานเอาโทบานได้ จะต้องเป็นพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กม/ชม (37 mph) ส่วนในสวิตเซอร์แลนด์ต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 80 กม/ชม (50 mph) ส่วนขีดจำกัดความเร็วนั้น กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 130 กม/ชม (80 mph) สำหรับออสเตรีย, ไม่เกิน 120 กม/ชม (75 mph) สำหรับสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนในเยอรมนีนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีจำกัดความเร็วสูงสุด แต่มีการกำหนดความเร็วแนะนำที่ 130 กม/ชม (80 mph) ยกเว้นในบางรัฐเช่น เบรเมิน ที่เริ่มจำกัดความเร็วเพื่อควบคุมระดับเสียงและลดมลภาวะ เอาโทบานในสมัยนาซีเยอรมนี ค.ศ.
ดูเพิ่มเติม
เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองชาวเยอรมันที่ถูกจับโดยสหรัฐ
ไฮนทซ์ กูเดรีอัน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไฮนซ์ กูเดอร์เรียน