เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไอโซโพรพานอล

ดัชนี ไอโซโพรพานอล

อโซโพรพานอล (Isopropanol) หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) หรือ 2-โพรพานอล (2-Propanol) หรือโพรพาน-2-ออล (Propan-2-ol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งนิยมใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในทางการแพทย์ มักใช้ผสมกับอะซีโทนหรือน้ำกลั่นโดยให้แอลกอฮอล์มีปริมาณ 70% โดยปริมาตร เป็นของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นรุนแรง และเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับ1-โพรพานอล จะต่างกันตรงที่มีหมู่ไฮดรอกซิล ต่อที่คาร์บอนตัวที่สองแทนที่จะเป็นปลาย ไอโซโพรพานอลผสมเข้ากับน้ำ อีเทอร์ และคลอโรฟอร์มได้ดี โดยเมื่อผสมกับน้ำแล้วจะเกิดเป็นสารกลั่นแยกไม่ได้ (azeotrope) สารนี้รับประทานไม่ได้ และมีจุดเยือกแข็งต่ำลง (คือ ช่วงอุณหภูมิที่เป็นของเหลวกว้างขึ้น) นอกจากนี้ยังเป็นตัวทำละลายเอทิลเซลลูโลส โพลิไวนิลบิวทิรัล น้ำมัน อัลคาลอยด์ และยางไม้ได้ แต่ไม่ละลายในสารละลายเกลือ จึงทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายได้โดยเติมเกลือแกง โซเดียมซัลเฟต หรือเกลืออนินทรีย์อย่างอื่นเพื่อให้แอลกอฮอล์แยกชั้นออกมา ไอโซไพรพานอลมีสภาพดูดกลืน ที่ 205 nm ภายใต้สเปกตรัมรังสีอัลตราไวโอเลต ไอโซโพรพานอลผลิตได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมน้ำเข้ากับโพรพีน จากกฎของมาร์คอฟนิคอฟซึ่งกล่าวว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะผนวกเข้ากับคาร์บอนที่มีไฮโดรเจนมากกว่าเสมอ จึงทำให้เกิดไอโซโพรพานอล มากกว่าที่จะเป็น 1-โพรพานอล หรืออาจจะใช้ปฏิกิริยาของโพรพีนกับกรดซัลฟิวริก ให้ให้เกิดซัลเฟตเอสเทอร์ ที่เมื่อสลายด้วยน้ำแล้วจะได้ไอโซโฟรพิลแอลกอฮอล์ ในกระบวนการอย่างหลังจะมีไดไอโซโพรพิลอีเทอร์เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง นอกจากนี้ ไอโซโพรพานอลยังผลิดได้โดยเติมไฮโดรเจนลงในอะซีโทนก็ได้ ไอโซโพรพานอลถูกนำไปใช้งานมากมาย อาทิ เป็นตัวทำละลายประสิทธิภาพสูงและมีพิษน้อยกว่าตัวทำละลายชนิดอื่น ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และใช้ผสมน้ำ 60 - 75% เพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น รอบบาดแผล หรือล้างมือ หากไม่ผสมน้ำ เยื้อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียจะไม่เปิดออกเพื่อให้แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ได้.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยโทรอนโตรังสีอัลตราไวโอเลตสภาพผสมเข้ากันได้อีเทอร์คลอโรฟอร์มแอลกอฮอล์แอลคาลอยด์แอซีโทนโซเดียมคลอไรด์โซเดียมซัลเฟตไอโซเมอร์ไฮดรอกซิลเบนซีนเอทานอล1-โพรพานอล

  2. สารระงับเชื้อ
  3. สารเคมีในบ้าน
  4. แอลกอฮอล์ทุติยภูมิ

มหาวิทยาลัยโทรอนโต

หอประชุม อาคารหลักของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียภายมหาวิทยาลัยโทรอโต มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto - U of T) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ ตั้งอยู่ในออนทาริโอ ประทศแคนาดา วิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยคือ เซนต์จอร์จ ตั้งในใจกลางเมืองโทรอนโตซึ่งล้อมรอบไปด้วยอุทยานควีนส์ปาร์กและรัฐสภาออนทาริโอ วิทยาเขตอีก 2 แห่งคือมหาวิทยาลัยโทรอนโต สการ์โบโร (UTSC) และมหาวิทยาลัยโทรอนโตมิสซิทซูกา (UTM) ซึ่งเรียกกันไม่เป็นทางการว่า "วิทยาเขตอีรินเดล" ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของปริมลฑลโทรอนโตตามลำดับ จัดตั้งโดย จอห์น สแทรชาน เพื่อให้เป็นคิงส์คอลเลจโดยได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อ พ.ศ.

ดู ไอโซโพรพานอลและมหาวิทยาลัยโทรอนโต

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ดู ไอโซโพรพานอลและรังสีอัลตราไวโอเลต

สภาพผสมเข้ากันได้

น้ำมันดีเซลไม่สามารถผสมเข้ากันได้กับน้ำ รูปแบบสีรุ้งเกิดจากการแทรกสอดทางแสง สภาพผสมเข้ากันได้ เป็นคำที่ใช้ในทางเคมี เพื่ออธิบายสมบัติของของเหลวที่ผสมกันในทุกอัตราส่วน ทำให้เกิดสารละลายเนื้อเดียว ตามหลักการแล้ว สภาพผสมเข้ากันได้สามารถหมายถึงสารในสถานะอื่นก็ได้ (ของแข็งและแก๊ส) แต่จุดสนใจหลักอยู่ที่สภาพละลายได้ของของเหลวชนิดหนึ่ง ในของเหลวอีกชนิดหนึ่ง น้ำและเอทานอลเป็นตัวอย่างของสารที่สามารถผสมเข้ากันได้ในทุกอัตราส่วน ในทางตรงข้าม สสารสองชนิดจะกล่าวว่าไม่สามารถผสมเข้ากันได้ ถ้าหากเมื่อผสมสารทั้งสองด้วยอัตราส่วนบางค่าแล้วไม่เกิดสารละลาย ตัวอย่างเช่น ไดเอทิลอีเทอร์เป็นสารที่ละลายได้ในน้ำพอสมควร แต่ตัวทำละลายทั้งสองไม่สามารถผสมเข้ากันได้ เนื่องจากไม่สามารถละลายได้ในทุกอัตราส่วน หมวดหมู่:สมบัติทางเคมี.

ดู ไอโซโพรพานอลและสภาพผสมเข้ากันได้

อีเทอร์

รงสร้างทั่วไปของอีเทอร์ อีเทอร์ (Ether) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็น หมู่แอลคอกซี (alcoxy, R–O–R’) มีสูตรทั่วไปเป็น ROR’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล ตัวอย่างของอีเทอร์ เช่น เมทอกซีมีเทนหรือมีชื่อสามัญคือไดเมทิลอีเทอร์ (CH3OCH3) ซึ่งเป็นไอโซเมอร?โครงสร้างกับเอทานอล (CH3CH2OH).

ดู ไอโซโพรพานอลและอีเทอร์

คลอโรฟอร์ม

คลอโรฟอร์ม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไตรคลอโรมีเทน (trichloromethane: TCM) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมี CHCl3 ไม่เกิดการเผาไหม้ในบรรยากาศปกติยกเว้นเมื่อผสมกับสารที่ไวไฟกว่าอื่น ๆ เป็นสารประกอบในกลุ่มไตรฮาโลมีเทน คลอโรฟอร์มมีประโยชน์ใช้งานหลายอย่าง เป็นสารตั้งต้น ตัวทำปฏิกิริยา และเป็นตัวทำละลาย ไตรคลอโรมีเทนเป็นสารควบคุมเพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:สารเคมี.

ดู ไอโซโพรพานอลและคลอโรฟอร์ม

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ดู ไอโซโพรพานอลและแอลกอฮอล์

แอลคาลอยด์

isbn.

ดู ไอโซโพรพานอลและแอลคาลอยด์

แอซีโทน

แอซีโทน (acetone) หรือตามระบบตั้งชื่อเรียก โพรพาโนน (propanone) เป็นสารเคมีที่พื้นฐานที่สุดของคีโตน (ketone) แอซีโทน เป็นของเหลวที่ระเหยง่ายไม่มีสีมีจุดหลอมเหลวที่ -95.4 °C และจุดเดือดที่ 56.53 °C มันมี ความหนาแน่นสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.819 (ที่ 0 °C) ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก การใช้งานแอซีโทนที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือใช้ในน้ำยาล้างเล็บ แอซีโทน ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น.

ดู ไอโซโพรพานอลและแอซีโทน

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ดู ไอโซโพรพานอลและโซเดียมคลอไรด์

โซเดียมซัลเฟต

ซเดียมซัลเฟต (Sodium sulfate) เป็นเกลือโซเดียมของกรดกำมะถัน เมื่อปราศจากน้ำจะเป็นผลึกสีขาว มีสูตร Na2SO4 เรียกว่าเกลือของ Glauber ของแข็งอีกรูปหนึ่งจะมีน้ำ 7 โมเลกุล ใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่นในอุตสาหกรรมกระดาษ รูปที่พบในธรรมชาติจะมีน้ำ 10 โมเลกุล เกิดเป็นผลพลอยได้ในการผลิตกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมซัลเฟตรูปที่มีโมเลกุลของน้ำ 10 โมเลกุลเรียกว่าดีเกลือไทย ได้มาจากการทำนาเกลือ ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ใช้ผสมในน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าและพิมพ์ผ้.

ดู ไอโซโพรพานอลและโซเดียมซัลเฟต

ไอโซเมอร์

อโซเมอร์ (Isomer) เป็นโมเลกุลที่มีสูตรเคมีเหมือนกันแต่มีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน ไอโซเมอร์ 2 ตัวไม่จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติคล้ายกัน เว้นแต่ว่าไอโซเมอร์ทั้งสองจะอยู่ในหมู่ฟังก์ชันเดียวกัน ไอโซเมอร์มีหลายชนิดเช่น stereoisomers, enantiomers, geometrical isomers, เป็นต้น.

ดู ไอโซโพรพานอลและไอโซเมอร์

ไฮดรอกซิล

ำว่า หมู่ไฮดรอกซิล(hydroxyl group) ใช้ในการกล่าวถึงหมู่ฟังก์ชัน -OH ในสารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) สารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลเราจะเรียกว่าสารประเภทแอลกอฮอล์ (สูตรเคมีอย่างง่ายของแอลกอฮอล์คือ CnH2n+1 -OH).

ดู ไอโซโพรพานอลและไฮดรอกซิล

เบนซีน

เบนซีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีสูตรทางเคมีคือ C6H6 บางครั้งอาจเขียนเป็นตัวย่อเป็น Ph–H เบนซีนไม่มีสีแต่ไวไฟและมีกลิ่นหอมหวาน เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งจึงไม่นิยมใช้เป็นสารเติมแต่งน้ำมันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสารนี้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา พลาสติก ยางสังเคราะห์และสีย้อม เบนซีนเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของปิโตรเลียมและสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียอื่นๆ เบนซีนเป็นสารประกอบอะโรมาติกชนิดหนึ่ง หมวดหมู่:สารก่อมะเร็ง หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:อาชีวอนามัยและความปลอดภัย.

ดู ไอโซโพรพานอลและเบนซีน

เอทานอล

อทานอล (ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น.

ดู ไอโซโพรพานอลและเอทานอล

1-โพรพานอล

1-โพรพานอล (1-Propanol) หรือ โพรพาน-1-ออล (Propan-1-ol) หรือโพรพิลแอลกอฮอล์ (Propyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยคาร์บอนสามอะตอมในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลที่ปลาย แอลกอฮอล์ชนิดนี้ใส ไม่มีสี ติดไฟได้ มีสมบัติทางเคมีเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ทั่วไปคือ สามารถฟอกสีโบรมีนได้ สามารถทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติกเกิดเป็นโพรพิลอะซิเตต โดยอาศัยกรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 1-โพรพานอลเตรียมได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมไฮโดรเจนของโพรพิโอนัลดีไฮด์ ซึ่งโพรพิโอนัลดีไฮด์เตรียมได้จากปฏิกิริยาไฮโดรฟอร์มิเลชันของเอทิลีน กับคาร์บอนมอนอกไซด์ และ ไฮโดรเจน ในสภาวะที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา 1-โพรพานอลสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ โดยมีค่าเลขออกเทนที่ 118 และดัชนีต่อต้านการน็อก (Anti-Knock Index) ที่ 108.

ดู ไอโซโพรพานอลและ1-โพรพานอล

ดูเพิ่มเติม

สารระงับเชื้อ

สารเคมีในบ้าน

แอลกอฮอล์ทุติยภูมิ