โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซิลเวอร์ไนเตรต

ดัชนี ซิลเวอร์ไนเตรต

ซิลเวอร์ไนเตรต (silver nitrate) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ AgNO3 ลักษณะเป็นผลึกของแข็งไม่มีสีถึงขาว ไม่มีกลิ่น เป็นสารตั้งต้นของสารประกอบเงินหลายชนิด ซิลเวอร์ไนเตรตใช้ในงานหลายประเภท เช่น ทางการแพทย์ งานถ่ายภาพ การย้อมสี การเคลือบเงินและการทำกระจก ในศตวรรษที่ 13 อัลแบร์ตุส มาญุสเคยบันทึกว่ากรดไนตริกสามารถละลายธาตุเงิน และสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตทำให้ผิวดำได้ ครั้งหนึ่งนักเล่นแร่แปรธาตุเคยเรียกซิลเวอร์ไนเตรตว่า lunar caustic เพราะเชื่อว่าธาตุเงินเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ (lunar ในภาษาละตินแปลว่า ดวงจันทร์) ซิลเวอร์ไนเตรตเตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุเงินกับกรดไนตริก ได้ผลิตภัณฑ์เป็นซิลเวอร์ไนเตรต น้ำและออกไซด์ของไนโตรเจนตามสมการ: ปฏิกิริยาดังกล่าวต้องทำในตู้ดูดควันเนื่องจากไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นก๊าซพิษ ซิลเวอร์ไนเตรตเป็นตัวออกซิไดซ์ จึงควรเก็บแยกกับสารอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากร่างกายได้รับสารประกอบเงินอาจก่อให้เกิดภาวะอาร์จีเรีย (argyria) ซึ่งจะทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำเงินหรือน้ำเงินเท.

12 ความสัมพันธ์: กรดไนตริกภาษาละตินสารประกอบอนินทรีย์อัลแบร์ตุส มาญุสอีเทอร์ตัวออกซิไดซ์นครนิวยอร์กแอมโมเนียแอซีโทนไนตริกออกไซด์ไนโตรเจนไดออกไซด์เงินตรา

กรดไนตริก

กรดไนตริก หรือ กรดดินประสิว (Nitric acid) เป็นกรดที่มีอันตราย หากสัมผัสจะทำให้เกิดแผลไหม้ขั้นรุนแรง กรดไนตริกนี้ ค้นพบโดยการสังเคราะห์ โดย "Muslim alchemist Jabir ibn Hayyan" ประมาณ ค.ศ. 800 กรดไนตริกบริสุทธ์ 100% (ปราศจากน้ำ) จะเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่น 1,552 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ -42 °C ลูกบาศก์ โดยจะเป็นผลึกสีขาว และจะเดือดที่อุณหภูมิ 83 °C แต่ก็สามารถเดือดในที่ ที่มีแสงสว่าง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง สารประกอบเคมีในกรดไนตริก (HNO3), หรือ อควา ฟอร์ติส (aqua fortis) หรือ สปิริต ออฟ ไนเตอร์ (spirit of nitre) เป็นของเหลวที่กัดกร่อนและไม่มีสี เป็นกรดที่มีพิษที่สามารถทำให้เกิดแผลไฟไหม้อย่างรุนแรง สารละลายที่มีกรดไนตริกมากกว่า 86% เรียกว่า fuming nitric acidและสามารถกัดกร่อนโลหะมีตะกูลได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ขาว (white fuming nitric acid) และแดง (red fuming nitric acid).

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและกรดไนตริก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลแบร์ตุส มาญุส

นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุสกีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 609 (Albertus Magnus) หรือนักบุญอัลเบิร์ตผู้ยิ่งใหญ่ (Albert the Great) หรือนักบุญอัลเบิร์ตแห่งโคโลญ (Saint Albert of Cologne) เป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เกิดราวปี ค.ศ. 1193/ค.ศ. 1206 ที่เลาอิงเงิน ดัชชีบาวาเรีย (ประเทศเยอรมนีปัจจุบัน) และถึงแก่มรณกรรมเมื่อวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและอัลแบร์ตุส มาญุส · ดูเพิ่มเติม »

อีเทอร์

รงสร้างทั่วไปของอีเทอร์ อีเทอร์ (Ether) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็น หมู่แอลคอกซี (alcoxy, R–O–R’) มีสูตรทั่วไปเป็น ROR’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล ตัวอย่างของอีเทอร์ เช่น เมทอกซีมีเทนหรือมีชื่อสามัญคือไดเมทิลอีเทอร์ (CH3OCH3) ซึ่งเป็นไอโซเมอร?โครงสร้างกับเอทานอล (CH3CH2OH).

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและอีเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวออกซิไดซ์

ตัวออกซิไดซ์ (oxidizing agent) ในสาขาเคมี มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกเป็นสายพันธ์เคมีชนิดหนึ่งที่แยกอิเล็กตรอนออกจากสายพันธ์เคมีอีกชนิดหนึ่ง มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปฏิกิริยาลดการออกซิไดซ์ (ปฏิกิริยารีดอกซ์) (oxidation-reduction (redox) reaction) อีกความหมายหนึ่ง ตัวออกซิไดซ์เป็นสายพันธุ์เคมีชนิดหนึ่งที่ถ่ายโอนอะตอมที่มีกระแสไฟฟ้าลบ ปกติก็คือออกซิเจนไปให้กับสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง การสันดาป การระเบิดจำนวนมาก และปฏิกิริยาแบบรีดอกซ์อินทรีย์ (organic redox reaction) เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาถ่ายโอนอะตอม พลังงานในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากตัวรับอิเล็กตรอนที่เลวไปสู่ตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีที่สุด และปล่อยพลังงานออกมา ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและตัวออกซิไดซ์ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและแอมโมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แอซีโทน

แอซีโทน (acetone) หรือตามระบบตั้งชื่อเรียก โพรพาโนน (propanone) เป็นสารเคมีที่พื้นฐานที่สุดของคีโตน (ketone) แอซีโทน เป็นของเหลวที่ระเหยง่ายไม่มีสีมีจุดหลอมเหลวที่ -95.4 °C และจุดเดือดที่ 56.53 °C มันมี ความหนาแน่นสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.819 (ที่ 0 °C) ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก การใช้งานแอซีโทนที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือใช้ในน้ำยาล้างเล็บ แอซีโทน ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและแอซีโทน · ดูเพิ่มเติม »

ไนตริกออกไซด์

นตริกออกไซด์ (Nitric oxide; NO) หรือไนโตรเจนออกไซด์ หรือไนโตรเจนมอนอกไซด์ เป็น โมเลกุล ที่มีสูตรทางเคมีเป็นNO เป็นอนุมูลอิสระ ที่อยู่ในรูปของก๊าซ สามารถเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ ทั้งบริเวณที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ และมีความสำคัญในทางอุตสาหกรรมไนตริกออกไซด์เป็นผลพลอยได้ของการเผาไหม้สารอินทรีย์ในที่ที่มีอากาศ เช่นเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และเกิดขึ้นตามธรรมชาติระหว่างการเกิดฟ้าผ่า พืชสามารถสังเคราะห์ NO ขึ้นได้โดยวิถีกระบวนการสร้างและสลายที่ใช้ Arginine หรือไนไตรต์ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในพืช ได้แก่ nitrate reductase (NR) ซึ่งเปลี่ยนไนไตร์ลเป็น NO โดยมีโมลิบดินัมเป็นโคแฟกเตอร์ เอนไซม์อีกตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ xanthine oxidoreductase ซึ่งมีโมลิบดินัมและโคบอลต์เป็นองค์ประกอบด้วย Arasimowicz, M., and Floryszak-Wieczorek, J. 2007.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและไนตริกออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจนไดออกไซด์

นโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตรเคมี เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ของไนโตรเจนออกไซด์ เป็นระดับกลางในการสังเคราะห์อุตสาหกรรมของกรดไนตริก นับล้านตันที่ผลิตในแต่ละปี แก๊สพิษสีน้ำตาลแดงนี้มีลักษณะคมกัดกลิ่นและมลพิษทางอากาศที่โดดเด่น ไนโตรเจนใดออกไซด์เป็นโมเลกุลพาราแมกเนติก โค้งด้วย C2v กลุ่มจุดเชื่อมสมมาตร.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและไนโตรเจนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: ซิลเวอร์ไนเตรตและเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »