โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บราสสิโนสเตอรอยด์

ดัชนี บราสสิโนสเตอรอยด์

Brassinolide บราสสิโนสเตอรอยด์ตัวแรกที่ค้นพบ บราสสิโนสเตอรอยด์ (Brassinosteroids; BR) เป็นสารกลุ่มสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ต่อการเจริญเติบโตของพืชได้หลากหลาย พบครั้งแรกในละอองเรณูของพืชตระกูลผักกาด ในปัจจุบันพบสารกลุ่มนี้แล้วมากกว่า 60 ชนิด นอกจากนั้น BR ยังมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนที่ควบคุมการลอกคราบของแมลง และสามารถออกฤทธิ์เป็นสารต่อต้านการลอกคราบได้ จึงเป็นสารธรรมชาติที่น่าสนใจในการใช้ควบคุมแมลง นอกจากนั้น มีการทดลองใช้ BR ในการเพิ่มผลผลิตของพืชหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม ผักกาดหัว พริกหยวก มันฝรั่ง แต่การออกฤทธิ์ในสภาพแปลงปลูกยังไม่แน่นอน.

9 ความสัมพันธ์: พริกหยวกพลาสโมเดสมาตากรดอินโดล-3-แอซีติกมันฝรั่งออกซินผักกาดหอมผักกาดหัวเอทิลีนเนื้อไม้

พริกหยวก

ริกหยวกสีแดง เหลืองและเขียว พริกหยวก, พริกหวาน หรือพริกยักษ์ (bell pepper, sweet pepper หรือ capsicum) เป็นกลุ่มพันธุ์ของสปีชีส์ Capsicum annuum พริกหยวกให้ผลสีต่าง ๆ กัน รวมถึงแดง เหลือง ส้มและเขียว บางครั้งพริกหยวกถูกจัดกลุ่มรวมกับพริกที่เผ็ดน้อย เรียกว่า "พริกหวาน" พริกเป็นพืชประจำถิ่นในเม็กซิโก อเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ตอนเหนือ ภายหลังเมล็ดพริกถูกนำไปยังสเปนใน..

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และพริกหยวก · ดูเพิ่มเติม »

พลาสโมเดสมาตา

วาดแสดงพลาสโมเดสมาตา พลาสโมเดสมาตา (Plastmodesmata) เป็นช่องว่างเล็กจำนวนมาก (ในรูปเอกพจน์เรียกว่า พลาสโมเดสมา: plasmodesma) ที่อยู่บนผนังเซลล์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50-60 นาโนเมตร ช่วยทำหน้าที่เชื่อมเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยในการขนถ่ายสิ่งๆต่างๆระหว่างเซลล์พืช (แบบ apoplast) เช่น น้ำ สารอาหาร ฮอร์โมน (Epel, 1994) ซึ่งอาจจะอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ถึง 1 ล้านช่องต่อตารางมิลลิเมตร ซึ่งจะกินพื้นที่ประมาณ 1% ของพื้นที่ผิวของผนังเซลล์เท่านั้น (Salisbury and Ross, 1992).

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และพลาสโมเดสมาตา · ดูเพิ่มเติม »

กรดอินโดล-3-แอซีติก

กรดอินโดล-3-แอซีติก (Indole-3-acetic acid: IAA) เป็นฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซิน เป็นของแข็ง ไม่มีสี และเป็นออกซินธรรมชาติที่สำคัญมาก เป็นอนุพันธ์ของ indoleที่มีหมู่ carboxymethyl group (หรือกรดน้ำส้ม).

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และกรดอินโดล-3-แอซีติก · ดูเพิ่มเติม »

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง (Solanum tuberosum) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริก.

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และมันฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิน

ออกซิน (Auxin) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวของเซลล์ การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง.

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และออกซิน · ดูเพิ่มเติม »

ผักกาดหอม

ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และผักกาดหอม · ดูเพิ่มเติม »

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว (subsp. longipinnatus) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า เป็นสปีชีส์ย่อยของ ผักกาดหัวสีแดง (R. sativus) ในอาหารญี่ปุ่นหัวไช้เท้าดิบมาขูดฝอยลงในซีอิ๊วและซอสต่างๆ ใช้เป็นน้ำจิ้ม ใส่ในต้มเค็ม และนิยมต้มปลาหมึกสดกับผักกาดหัวเพื่อช่วยให้เนื้อปลาหมึกนุ่มน่ารับประทานหน้า 22 เกษตร, ผักกาดหัว.

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และผักกาดหัว · ดูเพิ่มเติม »

เอทิลีน

อทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง บทบาทที่สำคัญของเอทิลีนคือควบคุมกระบวนการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับความชรา การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล และควบคุมการเจริญของพืชเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เอทิลีนมีผลต่อต้นกล้าของถั่ว 3 ลักษณะ (Triple response) ได้แก่ ยับยั้งความสูงของลำต้น ลำต้นหนาขึ้น เพิ่มการเติบโตในแนวราบ นอกจากนั้น ยังพบว่าการแผ่ขยายของแผ่นใบถูกยับยั้ง ส่วนเหนือใบเลี้ยงมีลักษณะโค้งงอเป็นตะขอ (epicotyl hook).

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และเอทิลีน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อไม้

หน้าตัดของต้นไม้ ส่วนหมายเลข 3 คือ เนื้อไม้ (ไซเลม) เนื้อไม้ หรือ ไซเลม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อของพืชที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำ.

ใหม่!!: บราสสิโนสเตอรอยด์และเนื้อไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »