โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กราฟ (คณิตศาสตร์)

ดัชนี กราฟ (คณิตศาสตร์)

วาดของกราฟระบุชื่อที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ กราฟ (Graph) ประกอบไปด้วยเซตของวัตถุที่เรียกว่าจุดยอด (vertex) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเชื่อม (edge) โดยทั่วไปแล้วเรามักวาดรูปแสดงกราฟโดยใช้จุด (แทนจุดยอด) เชื่อมกันด้วยเส้น (แทนเส้นเชื่อม) กราฟเป็นวัตถุพื้นฐานของการศึกษาในวิยุตคณิต หัวข้อทฤษฎีกราฟ เส้นเชื่อมอาจมีทิศทางหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติให้จุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการจับมือกัน เส้นเชื่อมก็จะเป็นเส้นเชื่อมไม่มีทิศ เพราะการที่ A จับมือ B ก็แปลว่า B จับมือ A อย่างไรก็ตาม สมมุติถ้าจุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการรู้จัก เส้นเชื่อมก็ต้องเป็นเส้นเชื่อมมีทิศทาง เพราะ A รู้จัก B ไม่จำเป็นว่า B ต้องรู้จัก A หรือนั่นก็คือความสัมพันธ์การรู้จักไม่เป็นความสัมพันธ์สมมาตร จุดยอดอาจจะถูกเรียกว่าโหนด ปม หรือจุด ในขณะที่เส้นเชื่อมอาจถูกเรียกว่าเส้น คำว่า "กราฟ" ถูกใช้ครั้งแรกโดย J.J. Sylvester ในปี..

19 ความสัมพันธ์: กราฟบริบูรณ์กราฟสองส่วนกราฟเชิงระนาบวิยุตคณิตวิทยาการคอมพิวเตอร์อภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟจุดยอด (ทฤษฎีกราฟ)ทฤษฎีกราฟความต่อเนื่อง (ทฤษฎีกราฟ)คู่อันดับคู่ไม่อันดับคณิตศาสตร์ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ)ซิมเพล็กซ์ปัญหาวิถีสั้นสุดแผนภูมิเส้นเครื่องสถานะจำกัดเซต (แก้ความกำกวม)เซตจำกัด

กราฟบริบูรณ์

กราฟบริบูรณ์ (complete graph) เป็น กราฟ ที่ทุกคู่ของ จุดยอด ถูกเชื่อมต่อด้วย เส้นเชื่อม เป็น กราฟสม่ำเสมอ ที่มีระดับขั้น n-1 กราฟบริบูรณ์บนจุดยอด n จุด ใช้สัญลักษณ์ K_n, มี n จุดยอด, และ \frac เส้นเชื่อม ไดกราฟบริบูรณ์ (complete digraph) ก็เป็นลักษณะเดียวกับกราฟ ต่างกันที่เส้นเชื่อมแต่ละเส้น จะถูกแทนด้วยเป็นเส้นเชื่อมระบุทิศทาง 2 เส้น ในทิศทางตรงข้ามกัน.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และกราฟบริบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กราฟสองส่วน

ในคณิตศาสตร์สาขาทฤษฎีกราฟ กราฟสองส่วน (bipartite graph) คือ กราฟที่เซตจุดยอดสามารถแบ่งได้เป็น 2 เซตที่ไม่มีส่วนร่วมกัน และจุดยอด 2 จุดใด ๆ ในเซตเดียวกัน จะไม่มีเส้นเชื่อมเชื่อมระหว่างกัน กราฟสองส่วนมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาการจับคู่ (matching problems) เช่น ปัญหาการจัดงาน สมมติว่ามีคนอยู่ P คน และมีงานอยู่ J งาน ซึ่งแต่ละคนจะทำงานได้บางงานเท่านั้น เราจะแทนปัญหานี้ด้วยกราฟที่มีจุดยอด P + J จุด ถ้า p_i สามารถทำงาน j_i ได้ เราจะแทนด้วยเส้นเชื่อมเชื่อมระหว่าง p_i กับ j_i ทฤษฎีบทการสมรส (marriage theorem) นั้นใช้คุณสมบัติของกราฟเรื่อง การจับคู่สมบูรณ์ (perfect matchings).

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และกราฟสองส่วน · ดูเพิ่มเติม »

กราฟเชิงระนาบ

กราฟเชิงระนาบ (planar graph) ในทฤษฎีกราฟ คือกราฟที่สามารถวาดบนระนาบได้โดยไม่มีเส้นเชื่อมใดๆ ตัดกัน เช่น กราฟต่อไปนี้เป็นกราฟเชิงระนาบ ไฟล์:6n-graf.svg 200px (รูปที่สอง สามารถวาดให้ไม่มีเส้นเชื่อมตัดกันได้ โดยย้ายเส้นทแยงมุมเส้นหนึ่งออกไปข้างนอก) แต่กราฟสองรูปข้างล่างนี้ ไม่เป็นกราฟเชิงระนาบ ''K''5 ''K''3,3 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะวาดกราฟสองรูปนี้โดยไม่มีเส้นเชื่อมตัดกัน กราฟสองรูปนี้เป็นกราฟที่ไม่เป็นกราฟเชิงระนาบที่เล็กที่สุดด้ว.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และกราฟเชิงระนาบ · ดูเพิ่มเติม »

วิยุตคณิต

วิยุตคณิต ภินทนคณิตศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง (discrete mathematics) หรือบางครั้งเรียกว่า คณิตศาสตร์จำกัด (finite mathematics) เป็นการศึกษาโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ซึ่งมีลักษณะเป็นค่าเฉพาะเจาะจง และไม่ต่อเนื่อง ซึ่งไม่ต้องใช้แนวคิดเกี่ยวกับความต่อเนื่อง วัตถุที่ศึกษาส่วนมากในสาขานี้มักเป็นเซตนับได้ เช่น เซตของจำนวนเต็ม วิยุตคณิตได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากการประยุกต์ใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แนวคิดและสัญกรณ์จากวิยุตคณิตนั้นมีประโยชน์ในการศึกษา หรืออธิบายวัตถุหรือปัญหาในขั้นตอนวิธี และภาษาโปรแกรม ในหลาย ๆ หลักสูตรทางคณิตศาสตร์วิชาด้านคณิตศาสตร์จำกัด จะเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจ ส่วนวิยุตคณิตเน้นแนวคิดสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อการเปรียบเทียบ ดู ภาวะต่อเนื่อง ทอพอลอยี และ คณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และวิยุตคณิต · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ

ทฤษฎีกราฟเติบโตอย่างรวดเร็วในวงการวิจัยด้านคณิตศาสตร์ และมีคำศัพท์เฉพาะทางอยู่หลายคำ บทความนี้จะรวบรวมคำและความหมายของศัพท์ในทฤษฎีกราฟ.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และอภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ · ดูเพิ่มเติม »

จุดยอด (ทฤษฎีกราฟ)

กราฟซึ่งมี 6 จุดยอดและ 7 เส้นเชื่อม และจุดยอดหมายเลข 6 เป็นจุดยอดปลาย ในทฤษฎีกราฟ จุดยอด หรือ โหนด เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดกราฟ กราฟไม่ระบุทิศทางประกอบด้วยเซตของจุดยอดและเซตของเส้นเชื่อม (คู่ไม่อันดับของจุดยอด) ในขณะที่กราฟระบุทิศทางประกอบด้วยเซตของจุดยอดและเซตของเส้นเชื่อมที่มีทิศทาง (คู่อันดับของจุดยอด) จุดยอด w เรียกว่าอยู่ ประชิด (adjacent) กับจุดยอด v โดยที่ v ไม่ใช่ w ก็ต่อเมื่อกราฟนั้นมีเส้นเชื่อม (v,w) และเพื่อนบ้านของจุดยอด v คือจุดยอดทั้งหมดที่ประชิดกับ v.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และจุดยอด (ทฤษฎีกราฟ) · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีกราฟ

กราฟที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ทฤษฎีกราฟ (graph theory) เป็นหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ศึกษาถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของกราฟ.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และทฤษฎีกราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ความต่อเนื่อง (ทฤษฎีกราฟ)

ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เรื่องทฤษฎีกราฟ ความต่อเนื่อง หรือ ความเชื่อมโยง (Connectivity) เป็นคุณสมบัติหนึ่งของกราฟ โดยกราฟต่อเนื่อง หรือ กราฟเชื่อมโยง (Connected graph) หมายความว่ากราฟไม่ขาดจากกัน กล่าวคือ สำหรับทุกๆสองจุดยอดใดๆ จะสามารถไปถึงกันได้ หรือก็คือมีวิถีระหว่างจุดยอดทั้งสอง ในขณะที่กราฟไม่ต่อเนื่อง หรือ กราฟไม่เชื่อมโยง (Unconnected graph) หมายความว่ากราฟนั้นขาดออกจากกัน กล่าวคือมีอย่างน้อยสองจุดยอด ที่ไม่สามารถไปถึงกันได้ หรือก็คือไม่มีวิถีระหว่างจุดยอดทั้งสองจุดนั้น ความต่อเนื่องของกราฟ ยังสามารถมองได้ในอีกแง่มุมหนึ่ง คือจำนวนของจุดยอดหรือเส้นเชื่อมที่น้อยที่สุด ที่ถ้าลบจุดยอดหรือเส้นเชื่อมเหล่านั้นทิ้งแล้ว กราฟดังกล่าวจะกลายเป็นกราฟไม่ต่อเนื่องDiestel, R.,, 2005, p 12.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และความต่อเนื่อง (ทฤษฎีกราฟ) · ดูเพิ่มเติม »

คู่อันดับ

ในคณิตศาสตร์ คู่อันดับ (a, b) เป็นคู่ของวัตถุทางคณิตศาสตร์ โดย a เรียกว่า สมาชิกตัวหน้า และ b เรียกว่า สมาชิกตัวหลัง คู่อันดับอาจจะมองเป็นพิกัดก็ได้ สำหรับคู่อันดับนั้น อันดับมีความสำคัญ นั่นคือคู่อันดับ (a, b) แตกต่างจากคู่อันดับ (b, a) ยกเว้นกรณีที่ a.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และคู่อันดับ · ดูเพิ่มเติม »

คู่ไม่อันดับ

ในคณิตศาสตร์ คู่ไม่อันดับ เป็นเซตในรูปของ นั่นก็คือเซตที่มีสมาชิก 2 ตัวคือ a และ b โดยที่สมาชิกทั้งสองไม่มีลำดับมาก่อนหลัง ทำให้.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และคู่ไม่อันดับ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ)

กราฟที่เป็นต้นไม้ ต้นไม้ คือ กราฟที่สองจุดยอดใดๆจะมีวิถีเดินทางถึงกันได้เพียงวิถีเดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นกราฟที่ไม่มีวัฏจักรแต่เป็นกราฟที่เชื่อมต่อกันหมด สำหรับกราฟที่ไม่เชื่อมต่อกันหมดเราเรียกว่า ป่า (forest).

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ) · ดูเพิ่มเติม »

ซิมเพล็กซ์

3-ซิมเพล็กซ์ หรือ ทรงสี่หน้า ในเรขาคณิต ซิมเพล็กซ์ (simplex) หรือ n-ซิมเพล็กซ์ คือรูปเชิงอุปมานของรูปสามเหลี่ยมใน n มิติ หรืออาจกล่าวให้ชัดเจนขึ้นได้ว่า ซิมเพล็กซ์ คือ คอนเว็กซ์ฮัล (convex hull) ของเซตของจุด n+1 จุดที่อิสระสัมพรรค (affinely independent) กันในปริภูมิแบบยุคลิดมิติ n หรือมากกว่า เช่น 0-ซิมเพล็กซ์ คือ จุด, 1-ซิมเพล็กซ์ คือ เส้น, 2-ซิมเพล็กซ์ คือ รูปสามเหลี่ยม, 3-ซิมเพล็กซ์ คือ ทรงสี่หน้า (รวมไปถึงบริเวณภายในของแต่ละรูปด้วย) หมวดหมู่:พอลิโทป หมวดหมู่:เรขาคณิตหลายมิติ หมวดหมู่:ทอพอโลยี.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และซิมเพล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาวิถีสั้นสุด

วิถีสั้นสุดบนกราฟไม่ระบุทิศทางที่ไม่ถ่วงน้ำหนักระหว่างจุดยอด 6 กับ 1 คือ (6, 4, 5, 1) ในทฤษฎีกราฟ ปัญหาวิถีสั้นสุด (shortest path problem)​ เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดระหว่างจุดยอด 2 จุดภายในกราฟ กล่าวคือในวิถีสั้นสุดนั้น ผลรวมของน้ำหนักในเส้นเชื่อมแต่ละเส้นรวมกันแล้วน้อยที่สุดในบรรดาวิถีทั้งหมด ตัวอย่างปัญหานี้เช่นการหาวิธีเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งในแผนที่ ในกรณีนี้ จุดยอดแทนด้วยสถานที่ต่างๆ ส่วนเส้นเชื่อมแทนด้วยถนนหรือเส้นทาง และน้ำหนักบนเส้นเชื่อมแทนด้วยเวลาในการเดินทางด้วยถนนหรือเส้นทางนั้น.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และปัญหาวิถีสั้นสุด · ดูเพิ่มเติม »

แผนภูมิเส้น

แผนภูมิเส้น เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูล โดยใช้จุดและส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมต่อจุด ซึ่งแต่ละจุดจะบอกจำนวนหรือปริมาณของข้อมูลแต่ละรายการ นิยมใช้กราฟเส้นกับข้อมูลที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับก่อนหลังของเวลา หมวดหมู่:Quality control tools หมวดหมู่:แผนภูมิและแผนภาพทางสถิติ หมวดหมู่:Financial charts.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และแผนภูมิเส้น · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสถานะจำกัด

รื่องสถานะจำกัด หรือ ไฟไนต์สเตตแมชชีน (finite state machine) คือวงจรเชิงลำดับซึ่งออกแบบเป็นสถานะการทำงาน (state) ของวงจรออกเป็นหลายๆ สถานะ แต่ละสถานะมีลอจิกการทำงานที่ต่างกัน เพื่อกำเนิดค่าเอาต์พุตและค่าสถานะถัดไป มีสัญญาณสถานะที่กำหนดว่าสถานะปัจจุบันเป็นสถานะไหน สัญญาณของสถานะจะถูกเก็บไว้ในเรจิสเตอร์ ดังนั้นสถานะจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ขอบขาของ clock เท่านั้น.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และเครื่องสถานะจำกัด · ดูเพิ่มเติม »

เซต (แก้ความกำกวม)

ซต สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และเซต (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เซตจำกัด

ในทางคณิตศาสตร์ เซตจำกัด (finite set) คือเซตที่มีจำนวนสมาชิกจำกัด แต่โดยทั่วไปนั้น เซตจำกัดหมายถึงเซตที่สามารถนับแบบมีหลักการ โดยมีจุดสิ้นสุดในการนับ เช่น เป็นเซตจำกัดที่มีสมาชิก 5 ตัว โดยที่จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดเป็นจำนวนธรรมชาติ (จำนวนเต็มแบบไม่ติดลบ) และถูกเรียกว่าเป็นภาวะเชิงการนับของเซต เซตที่ไม่จำกัดจะถูกเรียกว่า เซตอนันต์ (infinite set) ตัวอย่างเช่น เซตที่มีจำนวนเต็มบวกทั้งหมด จะเป็นเซตอนันต์: เซตจำกัดสำคัญโดยเฉพาะในคณิตศาสตร์เชิงการจัด ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการนับ หมวดหมู่:มโนทัศน์เบื้องต้นในทฤษฎีเซต หมวดหมู่:จำนวนเชิงการนับ.

ใหม่!!: กราฟ (คณิตศาสตร์)และเซตจำกัด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กราฟอย่างง่ายกราฟไม่ระบุทิศทางไดกราฟ (คณิตศาสตร์)เส้นเชื่อมเส้นเชื่อม (ทฤษฎีกราฟ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »