โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โอล์ม

ดัชนี โอล์ม

อล์ม (Olm, Human fish) เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์หมาน้ำ (Proteidae) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Proteus (เคยมีอีกชนิดหนึ่ง คือ P. bavaricus สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน) โอล์ม เป็นซาลาแมนเดอร์รูปร่างประหลาดกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าว คือ มีรูปร่างเพรียวยาวเหมือนปลาไหลหรืองู มากกว่าจะเป็นซาลาแมนเดอร์ ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ผิวหนังขาวซีด ไม่มีเม็ดสี รวมทั้งไม่มีตา เนื่องจากใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำที่มีแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่างส่องเข้ามาถึง จึงหายไปเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ ขาเล็กสั้น นิ้วตีนหน้ามี 3 นิ้ว และตีนหลัง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นการลดรูปของอวัยวะที่ไม่ได้ใช้งาน มีส่วนปากยื่นยาวและแผ่กว้าง ซึ่งเป็นประสาทสัมผัส โอล์ม กระจายพันธุ์เฉพาะในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส ในถ้ำลึกของทวีปยุโรป แถบยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ เช่น สโลเวเนีย, โครเอเชีย เช่น ถ้ำโพสทอยน่าในสโลเวเนีย โดยหลบซ่อนอยู่ตามหลืบหินหรือซอกต่าง ๆ ใต้น้ำ เมื่อแรกเจอ โอล์มถูกเชื่อว่าเป็นลูกของมังกร ซึ่งพ่อแม่ของมังกรหลบอยู่ในส่วนลึกของถ้ำเข้าไปอีก นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลามนุษย์" จากการที่มีผิวขาวเหมือนชาวผิวขาว ซึ่งมาจากภาษาสโลเวเนีย คำว่า človeška ribica และภาษาโครเอเชีย คำว่า čovječja ribica โอล์ม มีความไวต่อแสงมาก แม้จะไม่มีตา แต่ก็มีประสาทสัมผัสที่ดีมาก ตลอดจนมีประสาทรับรู้รสในปาก เมื่อโตเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังคงรูปร่างเมื่อยังเป็นตัวอ่อนอยู่ คือ ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่เห็นเป็นพู่เหงือก และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง มีการขยายพันธุ์ด้วยการปฏิสนธิในตัว ตัวเมียวางไข่จำนวน 50-70 ฟอง นอกจากนี้แล้ว ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการค้นพบโอล์มดำ (P. a. parkelj) ซึ่งเป็นชนิดย่อยของโอล์ม มีส่วนปากสั้นกว่าโอล์ม แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นชัดเจน คือ มีตาขนาดเล็กเห็นชัดเจน และสีผิวที่คล้ำกว่า รวมทั้งมีความกระฉับกระเฉงว่องไวกว่า มีความยาว 40 เซนติเมตรเท่ากัน โอล์มดำ เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในลำธารใต้ดินใกล้กับเมือง คอร์โนเมลจ์ ในสโลเวเนียเท่านั้น การขยายพันธุ์ของโอล์มดำนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบกันโดยแน่ชัดThe Human Fish, "Nick Baker's Weird Creatures".

18 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยพ.ศ. 2529ภาษาโครเอเชียมังกรยุโรปยุโรปกลางรงควัตถุลิสแซมฟิเบียวงศ์หมาน้ำสมัยไพลสโตซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์คอเคเซียนซาลาแมนเดอร์ประเทศสโลวีเนียประเทศโครเอเชีย

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: โอล์มและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โอล์มและพ.ศ. 2529 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโครเอเชีย

ษาโครเอเชีย เป็นภาษาในกลุ่มสลาวิก เป็นภาษาราชการของประเทศโครเอเชีย และประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา center Areas where Croatian language is spoken (as of 2006).

ใหม่!!: โอล์มและภาษาโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

มังกรยุโรป

วาดมังกรยุโรปสู้กับอัศวิน คิงกิโดรา มังกรยุโรป (European dragon) เป็นมังกรในความเชื่อของยุโรปสมัยกลาง แต่มีความแตกต่างจากมังกรจีนหรือมังกรทิเบตมาก ซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพเจ้ามีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลให้เกิดฝน เกิดความอุดมสมบูรณ์ได้ แต่มังกรของยุโรปเป็นสัตว์ที่เสมือนตัวแทนของความชั่วร้ายหรือปีศาจ เป็นสัตว์ที่มุ่งร้ายต่อมนุษย์ โดยมากมีลักษณะเป็นสัตว์สี่ขา มีปีกกว้างใหญ่คล้ายค้างคาว หางยาวปลายหางเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวหอก สามารถพ่นไฟได้ มังกรในตำนานพื้นบ้านของยุโรป มักเป็นสัตว์ที่เฝ้าสมบัติและหวงทรัพย์สินเหล่านั้น โดยมากมักจับเอาเจ้าหญิงแสนสวยไปขังไว้บนยอดปราสาท และเป็นอัศวินซึ่งเสมือนวีรบุรุษเข้ามาช่วยเจ้าหญิงและฆ่ามังการนั้นตาย ตำนานมังกรของยุโรป ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ซิคฟรีด (Siegfried) ในตำนานแร็กนาร็อกของยุโรปเหนือ ที่สังหารมังกรแล้วเลือดมังการอาบตัวทำให้เกิดความอมตะ ไม่มีวันตาย เป็นต้น กระนั้นมังกรของยุโรป ก็มักใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของตระกูลขุนนาง อัศวิน หรือประดับบนธงของบางประเทศ เวลส์ เป็นต้น เพราะถือเป็นการแสดงถึงพลังอำน.

ใหม่!!: โอล์มและมังกรยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: โอล์มและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รงควัตถุ

ีฟ้านี้เป็นรงควัตถุธรรมชาติในรูปของผง สีฟ้านี้เป็นรงควัตถุที่สังเคราะห์ขึ้นมา รงควัตถุ คือสารที่ดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำไปใช้ได้เหมือนกัน โดยการสังเคราะห์แสงแบ่งเป็น 2 ระบบตามความยาวคลื่นของพลังงาน 1.Photosyntem I (PS I): มีความยาวคลื่น 700 nm มีรงควัตถุเพียงตัวเดียว คือ Chlorophyll A มีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ และในยูกลีนา แบคทีเรียบางชนิด 2.Photosystem II (PS II): ความยาวคลื่นพลังงานที่ใช้กระตุ้น 680 nm หมวดหมู่:อุปกรณ์และวัสดุสำหรับเขียนงานจิตรกรรม หมวดหมู่:สี.

ใหม่!!: โอล์มและรงควัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: โอล์มและลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หมาน้ำ

ำหรับหมาน้ำที่เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ดูที่: อะโซล็อต สำหรับหมาน้ำที่เป็นกบและคางคก ดูที่: จงโคร่ง และเขียดว้าก วงศ์หมาน้ำ (Mudpuppy, Waterdog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Proteidae ลักษณะโดยรวมของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้ คือ มีโครงสร้างรูปร่างที่ยังคงรูปร่างของซาลาแมนเดอร์ขณะยังเป็นวัยอ่อนอยู่เมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่น ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง และมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น ๆ คือ ไม่มีกระดูกแมคซิลลา เช่นเดียวกับไซเรน (Sirenidae) และมีโครโมโซมจำนวน 38 (2n) แท่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น มีปอดแต่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีรูปร่างราวเรียวยาว ความยาวลำตัวประมาณ 20-48 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา โดยจะอาศัยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใสสะอ.

ใหม่!!: โอล์มและวงศ์หมาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: โอล์มและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: โอล์มและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: โอล์มและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: โอล์มและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ใหม่!!: โอล์มและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ (Advanced salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์และนิวต์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandroidea เป็นอันดับย่อยของซาลาแมนเดอร์ส่วนใหญ่ พบกระจายพันธุ์ในทุกภูมิภาคของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา, ตอนใต้ของซาฮาร่า และโอเชียเนีย มีลักษณะโครงสร้างของร่างกายแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อย Cryptobranchoidea ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ จะมีกระดูกเพียร์ติคูลาร์เป็นเชิงมุม ในขากรรไกรล่างเชื่อมติดกันและทุกชนิดมีการปฏิสนธิภายในตัว ตัวเมียจะถูกปฏิสนธิจากสเปิร์มจากถุงสเปิร์ม ถุงสเปิร์มจะติดอยู่ที่ช่องทวารรวม สเปิร์มจะถูกเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์มของตัวเมียบนด้านหลังของช่องทวารรวมเป็นสิ่งจำเป็นในเวลาที่วางไข่ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ คือ Beiyanerpeton jianpingensis ที่พบในชั้นเทียวจิซาน ฟอร์เมชั่น ตรงกับยุคจูราซซิคยุคปลาย ราว 157 ล้านปีมาแล้ว (บวกลบไม่เกิน 3 ล้านปี).

ใหม่!!: โอล์มและอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอเคเซียน

อเคเซียน หรือ ยูโรปอยด์ เป็นแนวคิดเชื้อชาตินิยมวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การแยกแยะแบบนี้ถูกทำให้หมดความน่าเชื่อถือ และแนวคิดดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้ในงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ คำว่าคอเคเซียนยังคงใช้อยู่ในฐานะการแยกแยะ "คนผิวขาว" ในการศึกษาทางสังคมวิทยาหลายสาขา มันยังถูกใช้ควบคู่กับคำว่า นิกรอยด์ และ มองโกลอยด์ ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ในสาขาชีวมานุษยวิท.

ใหม่!!: โอล์มและคอเคเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: โอล์มและซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวีเนีย

ประเทศสโลวีเนีย (Slovenia; Slovenija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene:, abbr.: RS) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวีเนียเป็นภูเขาและมีลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีปหลัก ยกเว้นภูมิภาคชายฝั่งจะมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเทือกเขาแอลป์ นอกจากนี้ไดนาริกแอลป์และที่ราบพันโนเนียก็พอได้ในสโลวีเนียเช่นกัน สโลวีเนียเป็นหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในพื้นที่ ๆ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์มากในยุโรป ทั้งแม่น้ำจำนวนมาก ชั้นหินอุ้มน้ำและแหล่งธารน้ำใต้ดิน สโลวีเรียมีป่าปกคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ส่วนการตั้งถิ่นฐานของประชากรก็จะกระจักกระจายกันไป ประวัติศาสตร์สโลวีเนียได้รับทั้งวัฒนธรรมและภาษาจากสลาวิกตะวันตก สลาวิกใต้ เจอร์แมนิก โรมานซ์และฮังกาเรียน ถึงแม้ประชากรในประเทศจะไม่ได้เป็นเอกพันธุ์เดียวกันแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีน ภาษาสโลวีเนียซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาราชการของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไม่นับถือศาสนาอย่างแท้จริง แต่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศได้รับอิทธิพลจากโรมันคาทอลิกและลูเทอแรน เศรษฐกิจของประเทศสโลเวเนียเป็นแบบเปิดขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มช่วงปลายยุค 2000 เศรษฐกิจหลักคืออุตสาหกรรมบริการตามด้วยอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในอดีตพื้นที่ของสโลเวเนียเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่แตกต่างกันหลายแห่งทั้งจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สาธารณรัฐเวนิส จังหวัดอิลลิเรียของนโปเลียนที่ 1ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: โอล์มและประเทศสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: โอล์มและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Human fishOlmProteusProteus anguinusProteus anguinus anguinusปลามนุษย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »