โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

ดัชนี อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ (Advanced salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์และนิวต์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandroidea เป็นอันดับย่อยของซาลาแมนเดอร์ส่วนใหญ่ พบกระจายพันธุ์ในทุกภูมิภาคของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา, ตอนใต้ของซาฮาร่า และโอเชียเนีย มีลักษณะโครงสร้างของร่างกายแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อย Cryptobranchoidea ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ จะมีกระดูกเพียร์ติคูลาร์เป็นเชิงมุม ในขากรรไกรล่างเชื่อมติดกันและทุกชนิดมีการปฏิสนธิภายในตัว ตัวเมียจะถูกปฏิสนธิจากสเปิร์มจากถุงสเปิร์ม ถุงสเปิร์มจะติดอยู่ที่ช่องทวารรวม สเปิร์มจะถูกเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์มของตัวเมียบนด้านหลังของช่องทวารรวมเป็นสิ่งจำเป็นในเวลาที่วางไข่ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ คือ Beiyanerpeton jianpingensis ที่พบในชั้นเทียวจิซาน ฟอร์เมชั่น ตรงกับยุคจูราซซิคยุคปลาย ราว 157 ล้านปีมาแล้ว (บวกลบไม่เกิน 3 ล้านปี).

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2465การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การปฏิสนธิยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคจูแรสซิกลิสแซมฟิเบียวงศ์หมาน้ำวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้วงศ์แอกโซลอเติลสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอสุจิอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ทวีปแอนตาร์กติกาทะเลทรายสะฮาราซากดึกดำบรรพ์ซาลาแมนเดอร์ประเทศเม็กซิโกนิวต์แอกโซลอเติลแอมฟิอูมาโอเชียเนีย

พ.ศ. 2465

ทธศักราช 2465 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1922 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และพ.ศ. 2465 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หมาน้ำ

ำหรับหมาน้ำที่เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ดูที่: อะโซล็อต สำหรับหมาน้ำที่เป็นกบและคางคก ดูที่: จงโคร่ง และเขียดว้าก วงศ์หมาน้ำ (Mudpuppy, Waterdog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Proteidae ลักษณะโดยรวมของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้ คือ มีโครงสร้างรูปร่างที่ยังคงรูปร่างของซาลาแมนเดอร์ขณะยังเป็นวัยอ่อนอยู่เมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่น ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง และมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น ๆ คือ ไม่มีกระดูกแมคซิลลา เช่นเดียวกับไซเรน (Sirenidae) และมีโครโมโซมจำนวน 38 (2n) แท่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น มีปอดแต่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีรูปร่างราวเรียวยาว ความยาวลำตัวประมาณ 20-48 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา โดยจะอาศัยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใสสะอ.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และวงศ์หมาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ หรืออาจเรียกได้ว่า นิวต์ (Newts, True salamanders) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandridae จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีลักษณะโดยรวม คือ ตัวเต็มวัยไม่มีเหงือก และไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด รูปร่างมีแตกต่างกันตั้แงต่เรียวยาวจนถึงป้อม ขาสั้น ผิวหลังลำตัวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ราบเรียบจนถึงหยักย่น สำหรับตัวที่หยักย่นนั้นเนื่องจากมีต่อมน้ำพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์วงศ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีสีสันลำตัวที่สดใสจัดจ้าน โดยเฉพาะด้านข้างลำตัวและหลัง ซึ่งจะใช้พิษและสีเหล่านี้เพื่อใช้ในการเตือนภัยสัตว์ล่าเหยื่อ มีวงจรชีวิตแตกต่างหลากหลายกันออกไปตามแต่สกุล บางสกุลอาศัยอยู่บนบก แต่หลายสกุลอาศัยอยู่ในน้ำและมีส่วนหางเป็นแผ่นแบนคล้ายใบพาย บางชนิดวางไข่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะวางไข่ในน้ำ บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างแค่บางส่วนในวัยอ่อนแล้วขึ้นไปอาศัยบนบกตั้งแค่ระยะเวลานาน 1–14 ปี ต่อจากนั้นจึงย้ายกลับไปใช้ชีวิตในน้ำแล้วจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดไปก็มี มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกาตะวันตก, เอเชียตะวันตก และเอเชียตะวันออก สำหรับในประเทศไทย กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดอยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน และก็มีพิษด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอกโซลอเติล

วงศ์แอกโซลอเติล (Mole salamander; วงศ์: Ambystomatidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ambystomatidae เป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีรูปร่างป้อมและใหญ่ ไม่มีเหงือกและไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด ประสาทไขสันหลังมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับซาลาแมนเดอร์ในวงศ์ Plethodonidae แต่โครงสร้างหลายประการยังคงรูปแบบแบบโบราณอยู่ การคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้อาจเกิดขึ้นเป็นบางโอกาสหรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยบางชนิดได้ถูกนำมาศึกษาทางวิชาการ เช่น แอกโซลอเติล (Ambystoma mexicanum) โดยถูกนำมาศึกษาการเจริญเติบโตในระยะวัยอ่อนมาก และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย โดยรวมแล้ว ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้มีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนมากอาศัยอยู่บนพื้นดิน การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในตัว การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดในกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ การเกี้ยวพาราสีเกิดขึ้นในน้ำ โดยตัวผู้ไปถึงแหล่งน้ำก่อนและรอตัวเมีย ตัวผู้จะแสดงพฤติกรรมต่อหน้าตัวเมียหลายตัวและสัมผัสกับตัวเมียบางตัว ต่อจากนั้นจึงถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์ให้ตัวเมียใช้ทวารร่วมหนีบไป ตัวเมียจะวางไข่ในอีกหลายวันต่อมา จากนั้นทั้งคู่จะแยกย้ายกันไป ก่อนจะมาผสมพันธุ์กันอีกในปีถัดมา แต่ในบางชนิดจะมีช่วงผสมพันธุ์ระหว่างฤดูใบไม้ร่วง การเกี้ยวพาราสีอยู่บนพื้นดินและวางไข่บนพื้นดิน ซึ่งรังที่ใช้วางไข่ถูกน้ำท่วมโดยฝนกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิหรือจากน้ำที่เกิดขึ้นจากการละลายของหิมะ วัยอ่อนเมื่ออกจากไข่จะอาศัยอยู่ในน้ำ มีทั้งหมดประมาณ 33 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Ambystoma พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ใต้สุดของแคนาดาไปจนถึงใต้สุดของที่ราบสูงเม็กซิโก.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และวงศ์แอกโซลอเติล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

อสุจิ

อสุจิ สามารถหมายถึงสารผสมระหว่าง.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Primitive salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptobranchoidea เป็นซาลาแมนเดอร์กลุ่มที่พบกระจายพันธุ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายพื้นที่ของทวีปเอเชีย อาทิ จีน, ญี่ปุ่น, เกาะไต้หวัน, เกาหลี, อัฟกานิสถาน และอิหร่าน มีลักษณะบางอย่างทางโครงสร้างของร่างกายเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์คล้ายคลึงกัน คือ มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นภายนอกลำตัว และไม่มีพฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสี ตัวผู้ในบางสกุลแสดงความสนใจในตัวเมียต่อเมื่อมีถุงไข่โผล่ออกมาจากช่องทวารร่วมของตัวเมีย ในช่วงเวลาที่ตัวเมียปล่อยถุงไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำและพยายามทำให้ถุงไข่หลุดออกจากช่องทวารร่วมนั้น ตัวผู้หลายตัวจะเข้าไปกลุ้มรุมตัวเมียและพยายามดันตัวเมียให้พ้นไปจากถุงไข่เพื่อถ่ายสเปิร์ม.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และทะเลทรายสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์

นิวต์ (Newts) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ (Salamandridae) ในวงศ์ย่อย Pleurodelinae นิวต์เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย เมื่อยังเป็นวัยอ่อนที่มีพู่เหงือกเรียกว่า "เอลฟ์" (Efts) นิวต์มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างไปจากซาลาแมนเดอร์ คือ มีผิวหนังที่แห้งกว่าและขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำกว่า และมักมีพิษ กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดว่าเป็นนิวต์เช่นกัน ไม่ใช่ซาลาแมนเดอร์ และก็มีพิษด้วยเช่นกัน นิวต์อาจจำแนกออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และนิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอกโซลอเติล

แอกโซลอเติล (axolotl) หรือ อาโชโลตล์ (นาอวตล์: āxōlōtl) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับซาลาแมนเดอร์เสือ (A. tigrinum) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน โดยที่ชื่อ "แอกโซลอเติล" นั้น มาจากชื่อของเทพเจ้าโชโลตล์ (Xolotl) ซึ่งเป็นพระเจ้าแห่งความตายตามความเชื่อของชาวแอซเท็ก แอกโซลอเติลเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ที่มีถิ่นที่อยู่ค่อนข้างจำกัด โดยจะพบได้เฉพาะทะเลสาบหรือพื้นที่ชุ่มน้ำใกล้กับกรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโกเท่านั้น จุดเด่นของแอกโซลอเติลก็คือ มีพู่เหงือกสีแดงสดซึ่งเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจซึ่งติดตัวมาตั้งแต่ฟักออกจากไข่ โดยที่ไม่หายไปเหมือนกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น เช่น กบหรือซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ซึ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของแอกโซลอเติล คือ เมื่ออวัยวะไม่ว่าส่วนใดของร่างกายขาดหายไปจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะสำคัญภายในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด แอกโซลอเติลยังเป็นสัตว์ที่ไม่มีเปลือกตา และของเหลวที่ขับออกมาเป็นของเสียออกจากร่างกายก็ไม่ใช่ปัสสาวะ แต่เป็นน้ำที่ผ่านเหงื่อ อีกทั้งยังมีสีผิวแตกต่างกันหลากหลายด้วย เช่น สีน้ำตาลเข้ม สีดำ สีส้ม สีขาวตาดำ หรือแม้กระทั่งสีขาวตาแดงหรือสภาพที่เป็นอัลบิโน โดยทั้งนี้ที่เป็นแบบนี้ เพราะแอกโซลอเติลเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการแบบย้อนกลับเพื่อให้เข้าได้กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แอกโซลอเติลมีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดเฉลี่ย 15 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 18-24 เดือน มีอายุยืนยาวประมาณ 15 ปี โดยอาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจัดว่าค่อนข้างเย็น กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น ปลาขนาดเล็ก กุ้ง หอยชนิดต่าง ๆ รวมถึงไส้เดือนดินหรือไส้เดือนน้ำ เป็นต้น ขยายพันธุ์เมื่ออายุได้ 5 เดือนจนถึงโต ซึ่งขึ้นอยู่กับความถี่และคุณภาพของอาหาร รวมถึงอุณหภูมิกับคุณภาพของน้ำด้วย มีรายงานว่ามีตัวผู้ที่พร้อมผสมพันธุ์มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนอยู่พอสมควร โดยที่ตัวผู้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะมีความยาว 7 นิ้ว ขณะที่ตัวเมียมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ช่วงวัยนี้ช้ากว่าตัวผู้ 1-2 เดือน ตัวผู้มีลักษณะโคนหางที่ใหญ่และยาวกว่าตัวเมีย ฤดูการขยายพันธุ์อยู่ในเดือนมิถุนายนถึงธันวาคมในแต่ละปี ซึ่งในสถานที่เลี้ยงพบว่าสามารถขยายพันธุ์ได้ทุกช่วงเดือนของปี ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 2 สัปดาห์ สถานะในธรรมชาติของแอกโซลอเติลจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในถิ่นที่อยู่จากมนุษย์และยังตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าตามห่วงโซ่อาหาร เช่น นกกินปลา ปลาขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว แอกโซลอเติลยังกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ อีกด้วย โดยนิยมเลี้ยงในตู้ปลาเช่นเดียวกับปลาสวยงามทั่วไป ในประเทศไทย บางครั้งแอกโซลอเติลจะถูกเรียกว่า "หมาน้ำ".

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และแอกโซลอเติล · ดูเพิ่มเติม »

แอมฟิอูมา

แอมฟิอูมา (Amphiuma, Conger eel) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Amphiumidae เป็นวงศ์ที่คงรูปร่างของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในวัยอ่อนไว้เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คือ ไม่มีเปลือกตา ไม่มีลิ้น ไม่มีเหงือกภายนอก แต่มีเหงือกภายใน และมีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ มีขาทั้ง 2 คู่ แต่มีขนาดเล็กมาก และมีจำนวนนิ้วที่แตกต่างกันตั้งแต่ 1-3 นิ้ว มีฟันและมีปอด มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรืองูและมีความยาวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 33 เซนติเมตร จนถึง 1.2 เมตร พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และบางครั้งอาจขึ้นมาบนบก โดยสามารถกินได้ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก เช่น แมลง, กุ้ง, ปู, หอย, ปลา, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น และหนูตัวเล็ก ๆ ก็สามารถกินได้ หากินในเวลากลางคืน มีการปฏิสนธิภายในตัว โดยตัวผู้จะถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์เข้าไปในช่องทวารร่วมของตัวเมียโดยตรง ขณะเกี้ยวพาราสีกัน ตัวเมียวางไข่บนพื้นโคลนใกล้แหล่งน้ำที่อาศัยและเฝ้าดูแลไข่ แอมฟิอูมา มีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Amphiuma แตกต่างกันไปตามจำนวนของนิ้วที่ปรากฏ.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และแอมฟิอูมา · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์และโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Salamandroidea

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »