โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์หมาน้ำ

ดัชนี วงศ์หมาน้ำ

ำหรับหมาน้ำที่เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ดูที่: อะโซล็อต สำหรับหมาน้ำที่เป็นกบและคางคก ดูที่: จงโคร่ง และเขียดว้าก วงศ์หมาน้ำ (Mudpuppy, Waterdog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Proteidae ลักษณะโดยรวมของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้ คือ มีโครงสร้างรูปร่างที่ยังคงรูปร่างของซาลาแมนเดอร์ขณะยังเป็นวัยอ่อนอยู่เมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่น ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง และมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น ๆ คือ ไม่มีกระดูกแมคซิลลา เช่นเดียวกับไซเรน (Sirenidae) และมีโครโมโซมจำนวน 38 (2n) แท่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น มีปอดแต่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีรูปร่างราวเรียวยาว ความยาวลำตัวประมาณ 20-48 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา โดยจะอาศัยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใสสะอ.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2368การสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ลิสแซมฟิเบียสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหินปูนอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์จงโคร่งถ้ำทวีปอเมริกาเหนือซาลาแมนเดอร์ประเทศอิตาลีแอกโซลอเติลโอล์มโครโมโซมไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)เทือกเขาแอลป์เขียดว้าก

พ.ศ. 2368

ทธศักราช 2368 ตรงกับคริสต์ศักราช 1825 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและพ.ศ. 2368 · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ (Advanced salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์และนิวต์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandroidea เป็นอันดับย่อยของซาลาแมนเดอร์ส่วนใหญ่ พบกระจายพันธุ์ในทุกภูมิภาคของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา, ตอนใต้ของซาฮาร่า และโอเชียเนีย มีลักษณะโครงสร้างของร่างกายแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อย Cryptobranchoidea ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ จะมีกระดูกเพียร์ติคูลาร์เป็นเชิงมุม ในขากรรไกรล่างเชื่อมติดกันและทุกชนิดมีการปฏิสนธิภายในตัว ตัวเมียจะถูกปฏิสนธิจากสเปิร์มจากถุงสเปิร์ม ถุงสเปิร์มจะติดอยู่ที่ช่องทวารรวม สเปิร์มจะถูกเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์มของตัวเมียบนด้านหลังของช่องทวารรวมเป็นสิ่งจำเป็นในเวลาที่วางไข่ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ คือ Beiyanerpeton jianpingensis ที่พบในชั้นเทียวจิซาน ฟอร์เมชั่น ตรงกับยุคจูราซซิคยุคปลาย ราว 157 ล้านปีมาแล้ว (บวกลบไม่เกิน 3 ล้านปี).

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จงโคร่ง

และวงศ์หมาน้ำ จงโคร่ง หรือ หมาน้ำ หรือ กง หรือ กระทาหอง หรือ กระหอง (ปักษ์ใต้) (อังกฤษ: Giant jungle toad, Asian giant toad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phrynoidis aspera) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกคางคกขนาดใหญ่ที่พบในประเทศไทยชนิดหนึ่ง จงโคร่งนับเป็นคางคกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย บริเวณหลังมีน้ำพิษเห็นเป็นปุ่มชักเจน ตาใหญ่ ตัวมีสีน้ำตาลดำ ตัวผู้มักปรากฏลายสีเข้มเป็นแถบทั้งขาหน้า และขาหลัง บริเวณใต้ท้องมีสีขาวหม่น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร ขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จงโคร่งเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะในป่าดิบชื้น โดยจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารน้ำตกหรือลำห้วย โดยมักใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าอยู่บนบก มักหลบอยู่ตามขอนไม้หรือก้อนหินขนาดใหญ่ หากินในเวลากลางคืน อาหารหลักได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "หมาน้ำ" โดยมีพฤติกรรมร้องเป็นจังหวะ ๆ ละ 6-10 วินาที ลักษณะไข่เป็นฟองกลม ๆ อาจติดอยู่ตามขอบแหล่งน้ำที่อาศัย โดยฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตกและภาคใต้ ในความเชื่อของคนปักษ์ใต้ จงโคร่งหรือกงเป็นสัตว์นำโชค หากเข้าบ้านใครถือเป็นลางมงคล แต่ในบางท้องถิ่นมีการเอาหนังของจงโคร่งมาตากแห้งแล้วมวนผสมกับใบยาสูบสูบเหมือนยาสูบทั่วไป มีฤทธิ์แรงกว่ายาสูบหรือบุหรี่ทั่วไป โดยมีความแรงเทียบเท่ากับกัญชา ในฟิลิปปินส์ก็นิยมทำเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและจงโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ถ้ำ

้ำ Lechuguilla นิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ถ้ำ ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์อีกด้ว.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

แอกโซลอเติล

แอกโซลอเติล (axolotl) หรือ อาโชโลตล์ (นาอวตล์: āxōlōtl) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับซาลาแมนเดอร์เสือ (A. tigrinum) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน โดยที่ชื่อ "แอกโซลอเติล" นั้น มาจากชื่อของเทพเจ้าโชโลตล์ (Xolotl) ซึ่งเป็นพระเจ้าแห่งความตายตามความเชื่อของชาวแอซเท็ก แอกโซลอเติลเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ที่มีถิ่นที่อยู่ค่อนข้างจำกัด โดยจะพบได้เฉพาะทะเลสาบหรือพื้นที่ชุ่มน้ำใกล้กับกรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโกเท่านั้น จุดเด่นของแอกโซลอเติลก็คือ มีพู่เหงือกสีแดงสดซึ่งเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจซึ่งติดตัวมาตั้งแต่ฟักออกจากไข่ โดยที่ไม่หายไปเหมือนกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น เช่น กบหรือซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ซึ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของแอกโซลอเติล คือ เมื่ออวัยวะไม่ว่าส่วนใดของร่างกายขาดหายไปจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะสำคัญภายในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด แอกโซลอเติลยังเป็นสัตว์ที่ไม่มีเปลือกตา และของเหลวที่ขับออกมาเป็นของเสียออกจากร่างกายก็ไม่ใช่ปัสสาวะ แต่เป็นน้ำที่ผ่านเหงื่อ อีกทั้งยังมีสีผิวแตกต่างกันหลากหลายด้วย เช่น สีน้ำตาลเข้ม สีดำ สีส้ม สีขาวตาดำ หรือแม้กระทั่งสีขาวตาแดงหรือสภาพที่เป็นอัลบิโน โดยทั้งนี้ที่เป็นแบบนี้ เพราะแอกโซลอเติลเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการแบบย้อนกลับเพื่อให้เข้าได้กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แอกโซลอเติลมีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดเฉลี่ย 15 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 18-24 เดือน มีอายุยืนยาวประมาณ 15 ปี โดยอาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจัดว่าค่อนข้างเย็น กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น ปลาขนาดเล็ก กุ้ง หอยชนิดต่าง ๆ รวมถึงไส้เดือนดินหรือไส้เดือนน้ำ เป็นต้น ขยายพันธุ์เมื่ออายุได้ 5 เดือนจนถึงโต ซึ่งขึ้นอยู่กับความถี่และคุณภาพของอาหาร รวมถึงอุณหภูมิกับคุณภาพของน้ำด้วย มีรายงานว่ามีตัวผู้ที่พร้อมผสมพันธุ์มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนอยู่พอสมควร โดยที่ตัวผู้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะมีความยาว 7 นิ้ว ขณะที่ตัวเมียมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ช่วงวัยนี้ช้ากว่าตัวผู้ 1-2 เดือน ตัวผู้มีลักษณะโคนหางที่ใหญ่และยาวกว่าตัวเมีย ฤดูการขยายพันธุ์อยู่ในเดือนมิถุนายนถึงธันวาคมในแต่ละปี ซึ่งในสถานที่เลี้ยงพบว่าสามารถขยายพันธุ์ได้ทุกช่วงเดือนของปี ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 2 สัปดาห์ สถานะในธรรมชาติของแอกโซลอเติลจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในถิ่นที่อยู่จากมนุษย์และยังตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าตามห่วงโซ่อาหาร เช่น นกกินปลา ปลาขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว แอกโซลอเติลยังกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ อีกด้วย โดยนิยมเลี้ยงในตู้ปลาเช่นเดียวกับปลาสวยงามทั่วไป ในประเทศไทย บางครั้งแอกโซลอเติลจะถูกเรียกว่า "หมาน้ำ".

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและแอกโซลอเติล · ดูเพิ่มเติม »

โอล์ม

อล์ม (Olm, Human fish) เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์หมาน้ำ (Proteidae) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Proteus (เคยมีอีกชนิดหนึ่ง คือ P. bavaricus สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน) โอล์ม เป็นซาลาแมนเดอร์รูปร่างประหลาดกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าว คือ มีรูปร่างเพรียวยาวเหมือนปลาไหลหรืองู มากกว่าจะเป็นซาลาแมนเดอร์ ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ผิวหนังขาวซีด ไม่มีเม็ดสี รวมทั้งไม่มีตา เนื่องจากใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำที่มีแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่างส่องเข้ามาถึง จึงหายไปเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ ขาเล็กสั้น นิ้วตีนหน้ามี 3 นิ้ว และตีนหลัง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นการลดรูปของอวัยวะที่ไม่ได้ใช้งาน มีส่วนปากยื่นยาวและแผ่กว้าง ซึ่งเป็นประสาทสัมผัส โอล์ม กระจายพันธุ์เฉพาะในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส ในถ้ำลึกของทวีปยุโรป แถบยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ เช่น สโลเวเนีย, โครเอเชีย เช่น ถ้ำโพสทอยน่าในสโลเวเนีย โดยหลบซ่อนอยู่ตามหลืบหินหรือซอกต่าง ๆ ใต้น้ำ เมื่อแรกเจอ โอล์มถูกเชื่อว่าเป็นลูกของมังกร ซึ่งพ่อแม่ของมังกรหลบอยู่ในส่วนลึกของถ้ำเข้าไปอีก นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลามนุษย์" จากการที่มีผิวขาวเหมือนชาวผิวขาว ซึ่งมาจากภาษาสโลเวเนีย คำว่า človeška ribica และภาษาโครเอเชีย คำว่า čovječja ribica โอล์ม มีความไวต่อแสงมาก แม้จะไม่มีตา แต่ก็มีประสาทสัมผัสที่ดีมาก ตลอดจนมีประสาทรับรู้รสในปาก เมื่อโตเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังคงรูปร่างเมื่อยังเป็นตัวอ่อนอยู่ คือ ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่เห็นเป็นพู่เหงือก และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง มีการขยายพันธุ์ด้วยการปฏิสนธิในตัว ตัวเมียวางไข่จำนวน 50-70 ฟอง นอกจากนี้แล้ว ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการค้นพบโอล์มดำ (P. a. parkelj) ซึ่งเป็นชนิดย่อยของโอล์ม มีส่วนปากสั้นกว่าโอล์ม แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นชัดเจน คือ มีตาขนาดเล็กเห็นชัดเจน และสีผิวที่คล้ำกว่า รวมทั้งมีความกระฉับกระเฉงว่องไวกว่า มีความยาว 40 เซนติเมตรเท่ากัน โอล์มดำ เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในลำธารใต้ดินใกล้กับเมือง คอร์โนเมลจ์ ในสโลเวเนียเท่านั้น การขยายพันธุ์ของโอล์มดำนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบกันโดยแน่ชัดThe Human Fish, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและโอล์ม · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ำหรับสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ดูที่: ไซเรน ไซเรน (Sirens) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sirenidae จัดอยู่ในอันดับย่อย Sirenoidea ไซเรน มีความแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่น ๆ พอสมควร เนื่องจากมีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือเขียดงู ไม่มีขาคู่หลังและกระดูกเชิงกราน ขาคู่หน้าเล็กมากและนิ้วเท้าลดจำนวนลง ปากเป็นจะงอยแข็ง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ยังคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนไว้หลายประการ เช่น ไม่มีเปลือกตา, มีเหงือก, มีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ หรือ 3 ช่อง, ไม่มีฟัน, ไม่มีกระดูกแมคซิลลา หรือมีขนาดเล็กมาก รวมทั้งลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง มีความยาวของลำตัวประมาณ 10–90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา เช่น บึง, ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กุ้ง, ปู, แมลงน้ำ, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ เป็นต้น โดยกินด้วยการดูด ในช่วงฤดูแล้งจะฝังตัวอยู่ใต้โคลน โดยสร้างปลอกหุ้มตัวคล้ายดักแด้ของแมลง การปฏิสนธิของไซเรน เกิดขึ้นภายนอกตัว และไม่พบมีพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี และไม่มีต่อมโคลเอคัลซึ่งเป็นต่อมที่ตัวผู้ของซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่นใช้สร้างสเปอร์มาโทฟอร์ และของตัวเมียใช้เก็บสเปิร์ม ตัวเมียวางไข่ติดกับพืชน้ำหรือสร้างรังอยู่ในกอของพืชน้ำที่อยู่ใต้น้ำ บางชนิดมีพฤติกรรมเฝ้.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เขียดว้าก

ำหรับหมาน้ำที่เป็นคางคก ดูที่ จงโคร่ง สำหรับหมาน้ำที่เป็นซาลาแมนเดอร์ ดูที่ อะโซล็อต และวงศ์หมาน้ำ เขียดว้าก หรือ หมาน้ำ (Glandular frog) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae) ถือเป็นเขียดหรือกบขนาดกลาง หัวมีขนาดใหญ่ ปลายจมูกกลมมนไม่ยื่นยาวออกไป แผ่นเยื่อแก้วหูมีขนาดใหญ่ และเห็นได้ชัดเจน ปลายนิ้วเท้าทั้งขาหน้าและขาหลังจะมีตุ่มกลม ๆ ขนาดเล็ก สีของลำตัวด้านบนมีสีค่อนข้างเทาถึงสีน้ำตาลแดง สลับกับมีจุดสีดำเล็ก ๆ ทั่วไป ปากมีสีเข้มสลับกับจุดหรือแถบสีขาว ในตัวผู้จะมีถุงเสียงขนาดใหญ่ จัดเป็นเขียดที่มีเสียงร้องดังที่สุดในบรรดาเขียดในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศไทย โดยจะส่งเสียงร้องดัง "ว้าก ๆ ๆ ๆ" อันเป็นที่มาของชื่อเรียก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในหนองบึง คลอง หรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล เขียดว้ากจะร้องเสียงดังในเวลาค่ำคืนและฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งเสียงคล้ายกับเสียงลูกสุนัข จึงเป็นที่มาของชื่อ "หมาน้ำ".

ใหม่!!: วงศ์หมาน้ำและเขียดว้าก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MudpuppyProteidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »