โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หทัยวิทยา

ดัชนี หทัยวิทยา

หทัยวิทยา (cardiology) คือ การแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะมีทั้งการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defect: CHD) โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และ ระบบไฟฟ้าของหัวใจ (electrophysiology) แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า นักหทัยวิทยา หรือ หทัยแพทย์ (cardiologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคหัวใ.

7 ความสัมพันธ์: ภาวะหัวใจวายแพทยศาสตรบัณฑิตแพทย์แพทย์ประจำบ้านโรคลิ้นหัวใจโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตรบัณฑิต

แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เป็นหลักสูตรในการศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ในประเทศไทยเทียบเท่าปริญญาตรี แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เทียบเท่าปริญญาเอก (Professional Doctorate) ผู้ที่จะเข้าศึกษา Doctor of Medicine (MD)ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องจบปริญญาตรีก่อน จึงจะสามารถเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ได้ แพทยศาสตรบัณฑิต หมวดหมู่:แพทยศาสตรศึกษา.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและแพทยศาสตรบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์ประจำบ้าน

แพทย์ประจำบ้าน (residency) เป็นลำดับขั้นหนึ่งของการศึกษาหลังปริญญาของแพทยศาสตรศึกษา แพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วและกำลังปฏิบัติงานด้านการแพทย์เฉพาะทางภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านต่างๆ การศึกษาในระดับแพทย์ประจำบ้านมักต้องผ่านการเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะหรือแพทย์ใช้ทุน (internship) มาก่อน หรืออาจผนวกระยะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นชั้นปีแรกของการศึกษาระดับแพทย์ประจำบ้านก็ได้ หลังจากการศึกษาระดับนี้แล้วผู้เรียนมักศึกษาต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellowship) เพื่อศึกษาการแพทย์เฉพาะทางย่อยต่อไป แม้ว่าโรงเรียนแพทย์จะได้สอนแพทย์ให้รู้กว้างขวางเกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์ทั่วไป ทักษะทางคลินิกพื้นฐาน และประสบการณ์ทางการแพทย์ก็ตาม แต่การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านนี้จะฝึกในเชิงลึกเกี่ยวกับการแพทย์เฉพาะทาง อันได้แก่ วิสัญญีวิทยา อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นิติเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เป็นต้น หลักสูตรในประเทศไทยของแพทย์ประจำบ้านนั้นโดยทั่วไปมักมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปีตามแต่ละสถาบันและแต่ละสาขาวิชา หลังจากนั้นต้องเข้าสอบเพื่อรับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากราชวิทยาลัยต่างๆ ตามสาขาของแพทย์เฉพาะทางนั้น.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและแพทย์ประจำบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ (Valvular Heart Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจทำงานไม่ปกติ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงทั่วร่างกายไม่สะดวก และทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น และผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย หมวดหมู่:โรคลิ้นหัวใจ.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและโรคลิ้นหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

รูปผิดปกติแต่กำเนิดของหัวใจ หรือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease/defect, CHD) คือภาวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงได้หลากหลายตามแต่ชนิดของความผิดปกติ โดยอาจมีตั้งแต่ไม่มีอาการใด ๆ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ทันทีหลังเก.

ใหม่!!: หทัยวิทยาและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cardiologyวิทยาหัวใจหัวใจวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »