โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หัวใจ

ดัชนี หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

21 ความสัมพันธ์: ช่องอกกล้ามเนื้อหัวใจกะบังลมการหายใจรอบหัวใจเต้นระบบไหลเวียนลิ้นหัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังหลอดเลือดดำจากปอดหลอดเลือดแดงสู่ปอดหทัยวิทยาออกซิเจนปอดแอ่งเลือดโคโรนารีเยื่อหุ้มหัวใจเอออร์ตาเครื่องฟังตรวจเซลล์เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันOgg

ช่องอก

องอก (thoracic cavity หรือ chest cavity) เป็นช่องว่างในร่างกายมนุษย์ (และสัตว์ชนิดอื่นๆ) ที่ถูกหุ้มด้วยผนังช่องอก (thoracic wall) (กระดูกทรวงอก รวมทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ และพังผืด).

ใหม่!!: หัวใจและช่องอก · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) พบที่หัวใจ ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังระบบไหลเวียนโลหิตโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: หัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

กะบังลม

กะบังลม (Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกายขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น A commonly used mnemonic to remember the level of the diaphragmatic apertures is this: Mnemonic.

ใหม่!!: หัวใจและกะบังลม · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจ

การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การหายใจ หมวดหมู่:รีเฟล็กซ์ หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: หัวใจและการหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

รอบหัวใจเต้น

หตุการณ์ของหัวใจระหว่างรอบหัวใจเต้น ในแผนภาพแสดงรอบหัวใจเต้นสองรอบสมบูรณ์ รอบหัวใจเต้น หมายถึง การเต้นของหัวใจสมบูรณ์ตั้งแต่การสร้างจนถึงเริ่มการเต้นครั้งถัดไป จึงรวมทั้งช่วงหัวใจคลายตัว (diastole) ช่วงการบีบตัวของหัวใจ (systole) และการพักแทรก (intervening pause) ความถี่ของรอบหัวใจเต้นอธิบายด้วยอัตราหัวใจเต้น ซึ่งตรงแบบแสดงเป็นครั้งต่อนาที การเต้นของหัวใจแต่ละครั้งมีห้าขั้น สองขั้นแรกซึ่งมักอธิบายร่วมกันเป็นขั้น "เติมหัวใจห้องล่าง" (ventricular filling) เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่าง สามขั้นถัดมาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดจากหัวใจห้องล่างสู่หลอดเลือดแดงปอด (กรณีเป็นหัวใจห้องล่างขวา) และเอออร์ตา (กรณีเป็นหัวใจห้องซ้ายล่าง)Guyton, A.C. & Hall, J.E. (2006) Textbook of Medical Physiology (11th ed.) Philadelphia: Elsevier Saunder ISBN 0-7216-0240-1 ขั้นแรก "ช่วงหัวใจคล้ายตัวต้น" (early diastole) คือ เมื่อลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยว (ลิ้นพัลโมนารีและเอออร์ติก) ปิด ลิ้นหัวใจห้องบนห้องล่าง (เอวี) (ลิ้นไมทรัลและไตรคัสพิด) เปิด และหัวใจทั้งหมดคลายตัว ขั้นที่สอง "ช่วงการบีบตัวของหัวใจห้องบน" (atrial systole) คือ เมื่อหัวใจห้องบนบีบตัว และเลือดไหลจากหัวใจห้องบนสู่หัวใจห้องล่าง ขั้นที่สาม "การบีบตัวคงปริมาตร" (isovolumic contraction) คือ เมื่อหัวใจห้องล่างเริ่มบีบตัว ลิ้นเอวีและลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยวปิด และไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ขั้นที่สี่ "การขับของหัวใจห้องล่าง" (ventricular ejection) คือ เมื่อหัวใจห้องล่างบีบตัวและขจัดของที่บรรจุอยู่ และลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยวเปิด ระหว่างขั้นที่ห้า "เวลาหย่อนคงปริมาตร" (isovolumic relaxation time) ความดันลดลง ไม่มีเลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่าง หัวใจห้องล่างหยุดบีบตัวและเริ่มคลายตัว และลิ้นจันทร์ครึ่งเสี้ยวปิดเพราะความดันของเลือดในเอออร์ตา ตลอดทั้งรอบหัวใจเต้น ความดันเลือดเพิ่มขึ้นและลดลง ชุดพลังผลักดันไฟฟ้าซึ่งผลิตจากเซลล์หัวใจที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะซึ่งพบในไซโนเอเตรียลโนดและเอตริโอเวนตริคูลาร์โนดประสานงานรอบหัวใจเต้น กล้ามเนื้อหัวใจประกอบด้วยเซลล์หัวใจซึ่งเริ่มการหดตัวของมันเองโดยไม่ต้องอาศัยเส้นประสาทจากภายนอก (ยกเว้นการดัดแปลงอัตราหัวใจเต้นเนื่องจากความต้องการทางเมแทบอลิซึม) ภายใต้สภาพแวดล้อมปกติ รอบหัวใจเต้นแต่ละรอบกินเวลา 0.8 วินาที.

ใหม่!!: หัวใจและรอบหัวใจเต้น · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: หัวใจและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจ (heart valve) มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ โดยปกติแล้วลิ้นหัวใจจะควบคุมการไหลของเลือดให้ไปได้ในทิศทางเดียว คือไม่มีการไหลย้อนกลับของเลือดมายังทิศทางเดิม ลิ้นหัวใจแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ atrioventricular valves (AV valves) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง และ semilunar valves (SL valves) อยู่บริเวณหลอดเลือดอาร์เตอรีที่ออกจากหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ thumb.

ใหม่!!: หัวใจและลิ้นหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: หัวใจและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำจากปอด

หลอดเลือดดำจากปอด หรือ พัลโมนารีเวน (Pulmonary vein) เป็นหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ซึ่งรับเอาเลือดดำที่บรรจุออกซิเจนแล้วจากปอดไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งมีอยู่สี่เส้นด้วยกัน ถือเป็นหนึ่งในหลอดเลือดดำเพียงไม่กี่เส้นที่ลำเลียงเลือดมีออกซิเจน หลอดเลือดดำจากปอดมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณขั้วปอดแต่ละข้าง รับเลือดมาจากแต่ละหลอดเลือดบรองเคียลสามเส้นจากสี่เส้น แต่ละเส้นลำเลียงเลือดไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย เนื่องจากปอดแต่ละข้างมีทั้งหลอดเลือดดำทั้งบนล่าง ดังนั้นหลอดเลือดดำจากปอดจึงมีอยู่ทั้งหมดสี่เส้นด้วยกัน โดยหลอดเลือดยึดติดอยู่กับเยื่อหุ้มหัวใจ หลอดเลือดดำจากปอดมีทิศทางการลำเลียงควบคู่ไปกับหลอดเลือดแดงสู่ปอ.

ใหม่!!: หัวใจและหลอดเลือดดำจากปอด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงสู่ปอด

หลอดเลือดแดงสู่ปอด หรือ พัลโมนารีอาร์เทอรี (Pulmonary artery) เป็นหลอดเลือดแดงซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนจากหัวใจเข้าสู่ปอด ซึ่งถือว่าเป็นหลอดเลือดแดงเพียงชนิดเดียวที่บรรจุเลือดแดงที่ปราศออกซิเจน ในหัวใจของมนุษย์ หลอดเลือดแดงสู่ปอดทั้งหลายจะมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ราว 3 เซนติเมตรแต่สั้นประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วแตกกิ่งออกเป็นสองเส้น (ซ้ายกับขวา) ซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนไปสู่ปอด และเข้าสู่หลอดเลือดผอยบริเวณถุงลมของปอด เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์บางส่วนออกไปและรับออกซิเจนเข้ามา ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการของระบบหายใจ ความดันหลอดเลือดแดงสู่ปอดของมนุษย์จะอยู่ที่ 9 - 18 มม.ปรอท 2009 ในขณะที่ความดันหลอดเลือดฝอยในปอดจะอยู่ที่ไม่เกิน 25มม.ปรอท หากเกินกว่านี้แสดงถึงภาวะความดันโลหิตในปอดสูง.

ใหม่!!: หัวใจและหลอดเลือดแดงสู่ปอด · ดูเพิ่มเติม »

หทัยวิทยา

หทัยวิทยา (cardiology) คือ การแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะมีทั้งการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defect: CHD) โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และ ระบบไฟฟ้าของหัวใจ (electrophysiology) แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า นักหทัยวิทยา หรือ หทัยแพทย์ (cardiologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคหัวใ.

ใหม่!!: หัวใจและหทัยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: หัวใจและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: หัวใจและปอด · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งเลือดโคโรนารี

แอ่งเลือดโคโรนารี (Coronary sinus) คือ แอ่งที่มีการรวมหลอดเลือดเวนเส้นต่างๆเข้าด้วยกันกลายเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่รับเลือดจากกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) และส่งเลือดซึ่งมีแก๊สออกซิเจนต่ำไปยังหัวใจห้องบนขวา (right atrium) เช่นเดียวกับหลอดเลือดเวนาคาวาด้านบนและหลอดเลือดเวนาคาวาด้านล่างที่รับเลือดเสียจากส่วนต่างๆของร่างกายแล้วส่งไปยังหัวใจห้องบนขวา โดยแอ่งเลือดโคโรนารีนั้นสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมรวมทั้งมนุษย์ด้วย แอ่งเลือดโคโรนารีเปิดเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาที่รูเปิดโคโรนารี ไซนัส ซึ่งอยู่บริเวณระหว่างหลอดเลือดเวนาคาวาด้านล่างกับรูเปิดแอนตริโอเวนตริคูลาร์ด้านขว.

ใหม่!!: หัวใจและแอ่งเลือดโคโรนารี · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มหัวใจ

ื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) เป็นเยื่อหุ้มสองชั้นที่มีลักษณะเหนียวและมีความแข็งแรงทนทาน โดยช่องว่างระหว่างเยื้อหุ้มทั้งสองชั้นจะมีของเหลวบรรจุอยู่ซึ่งมีหน้าที่ช่วยปกป้องหัวใจจากการกระตุกและการช็อก เยื่อหุ้มหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชั้นหลักๆได้แก่.

ใหม่!!: หัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เอออร์ตา

อออร์ตา เป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เริ่มต้นจากหัวใจห้องล่างซ้าย และนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation).

ใหม่!!: หัวใจและเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องฟังตรวจ

เครื่องฟังตรวจ (stethoscope) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ใช้สำหรับการฟังตรวจ (auscultation) เพื่อฟังเสียงภายในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ เครื่องฟังตรวจสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีแผ่นรับแรงสั่นสะเทือนรูปจานใช้สำหรับวางตรงบริเวณที่จะฟัง เชื่อมกับท่อที่แยกออกเป็นส่วนหูฟังสองข้างใช้สำหรับสอดเข้าหูเพื่อฟัง ส่วนใหญ่ใช้ฟังเสียงของปอด เสียงของหัวใจ นอกจากนี้ยังใช้ฟังเสียงของลำไส้ หลอดเลือด และประกอบการวัดความดันเลือดด้วยเครื่องวัดความดันเลือด หมวดหมู่:อุปกรณ์การแพทย์ หมวดหมู่:การทดสอบทางการแพทย์.

ใหม่!!: หัวใจและเครื่องฟังตรวจ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

ใหม่!!: หัวใจและเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย

นื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย (striated muscle tissue) เป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อซึ่งมีซาร์โคเมียร์ (sarcomere) ซ้ำ ๆ ซึ่งต่างจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเรียบ กล่าวโดยเจาะจง กล้ามเนื้อลาย ได้แก.

ใหม่!!: หัวใจและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: หัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

Ogg

ogg ("อ็อก") เป็นรูปแบบหีบห่อดิจิทัลแบบมาตรฐานเปิดสำหรับบรรจุสื่อผสม มันถูกออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพในการกระจายเสียง (สตรีมมิง) และการเปลี่ยนแปร รูปแบบ ogg ออกแบบโดยมูลนิธิ Xiph.Org และปลอดจากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ คำว่า "ogg" ยังถูกใช้บ่อย ๆ เพื่อเรียกรูปแบบแฟ้มเสียง Ogg Vorbis ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกเข้ารหัสแบบ Vorbis แล้วเก็บลงในหีบห่อ Ogg การเข้ารหัสอื่นที่เด่น ๆ ของ Xiph ที่มักถูกใส่ใน Ogg ก็คือ Theora ซึ่งเป็นการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ), และ Speex ซึ่งเป็นการบีบอัดเสียงพูดของมนุษย์ MIME type ของ ogg คือ application/ogg.

ใหม่!!: หัวใจและOgg · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระบบหมุนเวียนเลือดในคนห้องหัวใจพระหทัย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »