โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคคอพอกตาโปน

ดัชนี โรคคอพอกตาโปน

รคคอพอกตาโปน หรือ โรคเกรฟส์ (Graves' disease) เป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือคอพอก (goiter), ตาโปน (exophthalmos), ผิวเหมือนเปลือกส้ม ("orange-peel" skin), และมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) โรคนี้มีสาเหตุมาจากแอนติบอดีในปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง แต่สิ่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวยังไม่ทราบชัดเจน โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบมากที่สุดในโลก และเป็นภาวะต่อมไทรอยด์โตที่พบมากที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในยุโรปบางประเทศเรียกโรคนี้ว่า โรคเบสโดว์ (Basedow’s disease) หรือ โรคเกรฟส์-เบสโดว์ (Graves-Basedow disease) โรคคอพอกตาโปนมีอาการเด่นคืออาการต่อมไทรอยด์โตขึ้นและปัญหาของดวงตา อาการแสดงที่ดวงตาของโรคนี้พบมากในผู้สูบบุหรี่และอาจแย่ลงหลังจากการรักษาอาการที่ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี (radioiodine) ดังนั้นอาการแสดงที่ดวงตาจึงไม่ได้เกิดจากตัวต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดเพราะว่าภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินจากสาเหตุอื่นๆ ทำให้หนังตาบนหดรั้งขึ้นไป (eyelid lag หรือ hyperthyroid stare) แต่ลูกตาไม่ได้โปนยื่นออกมา ซึ่งทำให้สับสนกับอาการตาโปนที่ลูกตาทั้งลูกยื่นออกมา อย่างไรก็ตามสภาวะทั้งหนังตาบนหดรั้งขึ้นไปและตาโปนอาจเกิดขึ้นพร้อมกันในผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินร่วมกับโรคเกรฟ.

31 ความสัมพันธ์: พันธุศาสตร์การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการตัดเนื้อออกตรวจการตั้งครรภ์การนอนไม่หลับภาวะภูมิต้านตนเองมะเร็งเยื่อบุรกระบบประสาทซิมพาเทติกวิทยาเซรุ่มสารภูมิต้านทานสเตอรอยด์หัวใจเต้นเร็วฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ความดันโลหิตสูงความไวและความจำเพาะตาโปนต่อมไทรอยด์นิวโตรฟิลในเลือดต่ำแบคทีเรียแอนติเจนโพรพาโนลอลโรคไทรอยด์ไวรัสไอโอดีนเบาหวานเบตาบล็อกเกอร์เส้นประสาทตาCancer

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตราซาวด์ (ultrasonography) หมายถึง คลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounographyคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นม.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

รื่องตรวจ CT Scan แบบ 2 ชั้น ภาพจากการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ (X-ray computed tomography) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ภาพรังสีเอกซ์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อสร้างภาพตัดขวาง (เหมือนกับว่า'ถูกหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ') เฉพาะจุดของวัตถุที่ทำการสแกน, ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภายในโดยไม่ต้องผ่าตั.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การตัดเนื้อออกตรวจ

การตัดเนื้อสมองออกตรวจ การตัดเนื้อออกตรว.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและการตัดเนื้อออกตรวจ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะภูมิต้านตนเอง

วะภูมิต้านตนเอง (autoimmunity) เกิดจากความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายไม่สามารถรับรู้ได้ว่าส่วนหนึ่งๆ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อเซลล์และเนื้อเยื่อของตัวเอง โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันเช่นนี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและภาวะภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเยื่อบุ

มะเร็งเยื่อบุหรือคาร์ซิโนมา (cacinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เจริญขึ้นมาจากเซลล์เยื่อบุ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่บุพื้นผิวทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากชั้นเอนโดเดิร์มหรือเอคโตเดิร์ม หมวดหมู่:พยาธิกายวิภาคศาสตร์.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและมะเร็งเยื่อบุ · ดูเพิ่มเติม »

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและรก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทอัตโนมัติสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและระบบประสาทซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาเซรุ่ม

วิทยาเซรุ่ม หรือวิทยาน้ำเหลือง (serology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับน้ำเลือด โดยทางปฏิบัติแล้วคำนี้หมายถึงการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจแอนติบอดีในน้ำเลือด เนื่องจากร่างกายของมนุษย์จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาหลังจากการติดเชื้อเพื่อต่อต้านเชื้อจุลชีพ ต่อต้านโปรตีนที่มาจากภายนอกร่างกาย (เช่นจากการให้โลหิตผิดหมู่เลือด) หรือเป็นการต่อต้านโปรตีนจากร่างกายตัวเอง เช่นในโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง (autoimmune disease) แพทย์มักสั่งทำการทดสอบทางวิทยาเซรุ่มเพื่อวินิจฉัยหลังสงสัยการติดเชื้อ ในโรครูมาติก และในสถานการณ์อื่นๆ เช่นการตรวจหมู่เลือด การตรวจเลือดทางวิทยาเซรุ่มยังช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยในโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ร่างกายไม่สร้างแอนติบอดี อาทิ X-linked agammaglobulinemia ซึ่งจะแสดงผลการตรวจแอนติบอดีเป็นลบ วิธีการเลือกเทคนิคการทดสอบทางวิทยาเซรุ่มขึ้นกับชนิดของแอนติบอดีที่เราศึกษา วิธีต่างๆ ได้แก่ ELISA, การเกาะกลุ่ม (agglutination), การตกตะกอน (precipitation), การตรึงคอมพลีเมนท์ (complement-fixation), หรือการใช้เทคนิคเรืองแสง fluorescent antibodies การตรวจทางวิทยาเซรุ่มไม่จำกัดเฉพาะการตรวจน้ำเลือดเท่านั้น แต่สามารถทดสอบในสารน้ำในร่างกายอื่นๆ เช่น น้ำอสุจิและน้ำลาย ซึ่งมีคุณสมบัติค่อนข้างใกล้เคียงกับน้ำเหลือง การตรวจทางวิทยาเซรุ่มนอกจากใช้เพื่อวินิจฉัยแล้วยังใช้ในทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด เช่นการตรวจน้ำอสุจิในคดีข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและวิทยาเซรุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและหัวใจเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์

อร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating hormone ตัวย่อ TSH หรือรู้จักกันว่า thyrotropin, thyrotropic hormone, hTSH จาก human TSH) เป็นฮอร์โมนต่อมใต้สมองที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ผลิตไทรอกซิน (thyroxine, T4) และจากนั้น ไทรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine, T3) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นกระบวนการเมแทบอลิซึมในเนื้อเยื่อเกือบทุกอย่างในร่างกาย TSH เป็นฮอร์โมนไกลโคโปรตีนที่สังเคราะห์โดยและหลั่งออกจากเซลล์สร้างฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyrotrope) ในต่อมใต้สมองด้านหน้า (anterior pituitary gland) ซึ่งควบคุมหน้าที่การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ โดยมีนักวิชาการคู่หนึ่ง (Bennett M. Allen, Philip E. Smith) พบว่า ต่อมใต้สมองมีสารกระตุ้นต่อมไทรอยด์เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ความไวและความจำเพาะ

วามไวและความจำเพาะ เป็นค่าวัดทางสถิติที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการทดสอบที่ให้ผลเป็นสองส่วน (เช่นเป็นบวกและลบ).

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและความไวและความจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ตาโปน

ตาโปน (exophthalmos, exophthalmus, ophthalmocele, ophthalmoptosis, proptosis, protopsis) คือ ตาโป่งออกนอกเบ้าตาทางด้านหน้า อาจเป็นสองข้าง (มักพบในโรคเกรฟส์) หรือข้างเดียวก็ได้ (พบในเนื้องอกเบ้าตา) การพลัดที่จากเบ้าตาอย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนอาจเกิดขึ้นได้จากการบาดเจ็บหรือการบวมของเนื้อเยื่อโดยรอบอันเนื่องจากการบาดเจ็บ ในกรณีโรคเกรฟส์ การพลัดที่ของตาเกิดขึ้นจากการสะสมเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติในเบ้าตาและกล้ามเนื้อนอกตา ซึ่งเห็นได้ด้วย CT หรือ MRI หากไม่ได้รับการรักษา ตาโปนสามารถทำให้หนังตาไม่สามารถปิดระหว่างนอนหลับทำให้กระจกตาแห้งและเสียหาย อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้อีกอย่างหนึ่งอาจเป็นในรูปตาแดงหรือระคายเคือง เรียก "เยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบลิมบิกบน" (superior limbic keratoconjunctivitis) ซึ่งพื้นที่เหนือกระจกตาอักเสบเนื่องจากการเสียดสีเพิ่มขึ้นเมื่อกระพริบตา กระบวนการซึ่งก่อการพลัดที่ของตายังอาจกดเส้นประสาทตาหรือหลอดเลือดแดงตา ทำให้ตาบอดได้ หมวดหมู่:โรคของหนังตา ระบบน้ำตาและเบ้าตา.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและตาโปน · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อมกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid), สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวโตรฟิลในเลือดต่ำ

นิวโตรฟิลในเลือดต่ำ คือภาวะที่มีระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลในเลือดต่ำกว่าปกติ นิวโตรฟิลเป็นเม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่ที่พบในกระแสเลือด ทำหน้าที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันโดยเป็นส่วนหนึ่งของด่านแรกของการดักจับและทำลายแบคทีเรีย เศษของแบคทีเรีย และไวรัสที่ถูกจับโดยอิมมูโนกลอบูลิน ซึ่งล่องลอยในเลือด ผู้ป่วยที่มีนิวโตรฟิลในเลือดต่ำจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าปกติ และหากติดเชื้อแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่นที่พบในภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะนี้อาจเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง บางครั้งอาจใช้สลับกันกับคำว่า "เม็ดเลือดขาวต่ำ" ได้ หมวดหมู่:โรคของโมโนไซต์และแกรนูโลไซต์ หมวดหมู่:โรคทางโลหิตวิทยา หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและนิวโตรฟิลในเลือดต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอนติเจน

255px ในวิทยาภูมิคุ้มกัน แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ) ผู้เสนอให้ใช้คำว่าแอนติเจนคือ ลาสโล เดเทอร์ (László Detre) ซึ่งใช้ครั้งแรกในบทความวิชาการที่เขียนร่วมกับอีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) ในปี..

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและแอนติเจน · ดูเพิ่มเติม »

โพรพาโนลอล

Propranolol (อังกฤษ:Propranolol) (Inderal&reg) เป็นบีต้า-บล็อกเกอร์ คือมันจะยับยั้งฤทธิ์ อีพิเนพฟริน (epinephrine) บนทั้ง β1- และ β 2-อะดรีโนรีเซพเตอร์) ยาตัวนี้ใช้รักษาได้หลายโรคเช่น.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและโพรพาโนลอล · ดูเพิ่มเติม »

โรคไทรอยด์

ทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ส่งผลเสียอย่างร้ายกาจทีเดียวหากมันทำงานผิดปกติ ซึ่งต่อมไทรอยด์นี้มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้ทุกระบบปรวนแปร ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเฉพาะต่อประสาทการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ขนาดของต่อมไทรอยด์แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการด้วย ขนาดจะค่อนข้างโตในวัยรุ่น หนุ่มสาว และในคนที่ได้รับอาหารเพียงพอครบถ้วน ในผู้หญิงต่อมนี้จะโตขึ้นเล็กน้อยชั่วคราวขณะตั้งครรภ์และขณะมีประจำเดือน.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและโรคไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอดีน

อโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า ไอโอดีนสามารถระเหิดได้ โครงสร้างอะตอมของไอโอดีน (2-8-18-18-7).

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและไอโอดีน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เบตาบล็อกเกอร์

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers หรือบางครั้งเขียน β-blockers) เป็นยาลดความดันชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ผ่านทางระบบประสาท โดยยับยั้งผลของการกระตุ้นของ Adrenalin หรือ Norepinephrine เป็นผลให้หัวใจเต้นช้าลง และเบาลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ลดภาวะบางอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เช่น อาการตื่นเต้น รักษาโรคต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ไมเกรน กระวนกระวาย ตื่นเต้น ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น หมวดหมู่:ยาลดความดัน หมวดหมู่:บทความยาที่ต้องการภาพประกอบ.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและเบตาบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทตา

ักษุประสาท, ประสาทตา, ประสาทการเห็น หรือ ประสาทสมองเส้นที่ 2 เป็นเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับภาพจากจอตาที่ดวงตา เพื่อไปแปลผลที่สมอง.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและเส้นประสาทตา · ดูเพิ่มเติม »

Cancer

Cancer อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โรคคอพอกตาโปนและCancer · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Basedow’s diseaseGraves' diseaseGraves-Basedow diseaseคอพอกตาโปนโรคคอพอกเป็นพิษโรคเกรฟส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »