โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โมบูตู เซเซ เซโก้

ดัชนี โมบูตู เซเซ เซโก้

มบูตู เซเซ เซโก้ (Mobutu Sese Seko; เกิด Joseph-Desiré Mobutu; 14 ตุลาคม 1930 – 7 กันยายน 1997) เป็นเผด็จการทหารและประธานาธิบดีของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซึ่งโมบูตูเปลี่ยนชื่อเป็นซาอีร์ในปี ค.ศ.1971) ตั้งแต่ปี..1965 ถึง..1997 เขายังเป็นประธานองค์การเอกภาพแอฟริกาในปี..1967–1968 ขณะอยู่ในอำนาจ โมบูตูสร้างระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยม สะสมความมั่งคั่งส่วนตัวและพยายามกวาดล้างอิทธิพลจากอารยธรรมของเจ้าอาณานิคมในประเทศ ในขณะที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพราะท่าทีที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ระหว่างวิกฤตการณ์คองโก กองทัพเบลเยียมช่วยพันเอกโมบูตูทำรัฐประหารต่อรัฐบาลชาตินิยมของ Patrice Lumumba ในปี 1960 และได้ประหารชีวิต Lumumba โดยการยิงเป้า 00.36.57 โมบูตูได้เป็นเสนาธิการกองทัพก่อนที่จะได้รับอำนาจอย่างแท้จริงในรัฐประหารครั้งที่สองในปี 1965 โมบูตูเปลี่ยนชื่อประเทศคองโกเป็นซาอีร์ในปี 1971 และเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น โมบูตู เซเซ เซโก้ ในปี 1972 โมบูตูเปลี่ยนประเทศเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวซึ่งอำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือเขา เขายังเป็นบุคคลที่ถูกบูชาตามลัทธิบูชาบุคคลอีกด้วย ภายใต้การปกครองของเขา โมบูตูสร้างรัฐที่รวมอำนาจและรวมทรัพย์สมบัติไว้ส่วนตัวผ่านการแสวงหากำไรและคอร์รัปชั่น ทำให้บางคนเรียกการปกครองของเขาว่า "โจราธิปไตย" ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้ มีหนี้สินมาก และการลดลงของค่าสกุลเงิน ในปี 1991 ความถดถอยทางเศรษฐกิจและความไม่สงบทำให้เขาตกลงที่จะแบ่งอำนาจกับผู้นำฝ่ายค้านแต่เขาใช้กองทัพในการขัดขวางการเปลี่ยนแปลงนี้จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 1997 กองกำลังกบฏนำโดย Laurent-Désiré Kabila ขับไล่เขาออกนอกประเทศ ซาอีร์ถูกเปลี่ยนชื่อกลับเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เขาเจ็บป่วยจากมะเร็งต่อมลูกหมากและเสียชีวิตในอีกสามเดือนถัดมาที่โมร็อกโก โมบูตูมีชื่อด้านการคอร์รัปชั่นและการฉ้อฉลเงินระหว่าง 4 ล้าน ถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงที่เขาปกครองเช่นเดียวกับความฟุ่มเฟือยอย่างเช่นนั่งเครื่องบินคอนคอร์ดบินไปเที่ยวและซื้อของที่ปารีส โมบูตูปกครองประเทศกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โมบูตูยังถูกกล่าวว่าเป็น "ผู้เผด็จการในแอฟริกาตามแบบฉบับ".

12 ความสัมพันธ์: มะเร็งต่อมลูกหมากรัฐพรรคการเมืองเดียวราบัตลัทธิบูชาบุคคลลัทธิอำนาจนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกคองคอร์ดประเทศโมร็อกโกโรมันคาทอลิกโจราธิปไตยเผด็จการทหาร

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในต่อมลูกหมากซึ่งเป็นต่อมในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่โตช้า แต่ในบางรายก็มีความรุนแรงได้มาก เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะไปยังกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ในช่วงแรกเริ่มอาจไม่มีอาการ แต่ในช่วงหลังๆ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:จุลพยาธิวิทยา.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และมะเร็งต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพรรคการเมืองเดียว

รัฐพรรคการเมืองเดียว หรือ รัฐพรรคการเมืองเดี่ยว เป็นระบอบการปกครองของประเทศที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรดเดียว ส่วนใหญ่ประเทศที่มีพรรคการเมืองเดียวจะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ อาทิเช่น จีน,ลาว,คิวบา แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แต่ก็อนุญาตหรือมีพรรคการเมืองเดียว อาทิ เอริเทรีย,เวสเทิร์นสะฮารา ทั้งนี้การขึ้นอยู่กับกฎหมาย สถานการณ์ภายใน และรัฐธรรมนูญของแต่ละประเท.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และรัฐพรรคการเมืองเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ราบัต

ราบัต (Rabat), อัรเราะบาฏ (الرباط) หรือ เอร์บัต (เบอร์เบอร์: ⴻⵔⵔⴱⴰⵟ) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศโมร็อกโก มีประชากรประมาณ 650,000 คน ตั้งอยู่ติดมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นแหล่งอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมผ้.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และราบัต · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชาบุคคล

ลสักการะรูปปั้นคิม อิล-ซ็องในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ครุชชอฟ และสมาชิกโปลิตบูโรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เข้าร่วมพาเรดวันแรงงานสากล ในปี 1964 ลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) เกิดขึ้นเมื่อปัจเจกบุคคลใช้สื่อมวลชน โฆษณาชวนเชื่อ หรือวิธีการอื่นเพื่อสร้างภาพลักษณ์อุดมคติ วีรกรรม และบางครั้ง น่าเคารพบูชา มักผ่านการประจบและสรรเสริญโดยปราศจากข้อสงสัย มักซ์ เวแบร์ นักสังคมวิทยา พัฒนาการจำแนกอำนาจสามประการ โดยลัทธิบูชาบุคคล ถือขนานกับสิ่งที่เวแบร์นิยามเป็น "อำนาจบุญบารมี" ลัทธิบูชาบุคคลคล้ายกับการบูชาวีรบุรุษ ยกเว้นดำเนินโดยสื่อมวลชนและโฆษณาชวนเชื่อซึ่งปกติรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และลัทธิบูชาบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

คองคอร์ด

รื่องบินคองคอร์ด 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 เครื่องบินคองคอร์ด (Concorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 ชม.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และคองคอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโมร็อกโก

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และประเทศโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โจราธิปไตย

ราธิปไตย (cleptocracy, kleptarchy หรือ kleptocracy) หมายถึง รูปแบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่การปกครองเป็นไปเพื่อทวีทรัพย์สินส่วนตัวและอำนาจทางการเมืองของพนักงานในรัฐบาลและของชนชั้นปกครอง โดยแสร้งว่า ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริต และมักกระทำโดยยักยอกเงินหลวง โจราธิปไตยปรากฏมากในประเทศกำลังพัฒนา และมักสัมพันธ์กับการปกครองแบบนิยมอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปกครองของคณะทหารผู้ยึดอำนาจ เผด็จการ คนกลุ่มน้อยในสังคม คนคนเดียวมีอำนาจเบ็ดเสร็จ และผู้เล่นพรรคเล่นพวก การปกครองเหล่านี้มีลักษณะเหมือนกัน คือ บุคคลภายนอกไม่อาจตรวจสอบได้ เพราะผู้ปกครองควบคุมทั้งการใช้จ่ายและวิธีกำหนดการใช้จ่ายเงินหลวง ผู้ปกครองแบบโจราธิปไตยมักปฏิบัติต่อคลังหลวงเสมือนเป็นบัญชีธนาคารของตนเอง หลายคนยังลักโอนเงินหลวงเข้าบัญชีตนเองในต่างแดน เผื่อว่าเมื่อตนพ้นจากอำนาจหรือจำเป็นต้องออกจากประเทศไปแล้ว จะได้มีเงินทองใช้สอยต่อไป.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และโจราธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เผด็จการทหาร

ระบอบเผด็จการทหาร (military dictatorship) คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ ถือได้ว่าเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยลัทธิอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง เผด็จการทหารต่างจากเผด็จการพลเรือนด้วยหลายสาเหตุ คือ แรงจูงใจของการยึดอำนาจ สถาบันซึ่งใช้จัดระเบียบการปกครอง และหนทางสละอำนาจ เผด็จการทหารมักมองว่าตนกำลังช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากนักการเมืองพลเรือนที่ฉ้อฉลหรือวิสัยทัศน์คับแคบ และอ้างฐานะของตนเป็นผู้ชี้ขาด "คนกลาง" บนฐานสมาชิกภาพในกองทัพ ผู้นำทหารมักปกครองเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยเลือกหนึ่งในพวกตนเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: โมบูตู เซเซ เซโก้และเผด็จการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »