โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)

ดัชนี โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)

300px โป๊ยเซียน, ปาเซียน หรือ แปดเทพ (Eight Immortals หรือ Eight Genies) คือ เซียนแปดองค์ ตามความเชื่อในลัทธิเต๋าของจีน เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือมาช้านาน นับเป็นหนึ่งในบรรดาเซียนนับร้อย ๆ องค์ของจีน แต่เซียนทั้งแปดนี้ นับว่าเป็นที่รู้จักดีและได้นับการนับถืออย่างกว้างขวางมาก ในศาลเจ้าตามของหมู่บ้านชาวจีน มักจะมีแท่นบูชาที่ปูด้วยผ้ามีภาพวาดเซียนทั้งแปดรวมเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นภาพเซียนนั่งเรือกลับจากการไปงานประชุมท้อสวรรค์ (Conference of the Magical Peach) สมาชิกทั้ง 8 ในกลุ่มของโป๊ยเซียนนั้นแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ปัจจุบันนี้โป๊ยเซียนมีด้วยกันดังนี้ เซียนแต่ละองค์ในบรรดา 8 องค์นี้ มีประวัติที่มา และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แตกต่างกันไป ในปัจจุบันทั้งชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน ยังนิยมนับถือบูชาโป๊ยเซียนอย่างสม่ำเสมอ หมวดหมู่:แปดเทพ.

20 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1320พระเทวันเฉาพินอินกลุ่มภาษาจีนกวางตุ้งภาษาหมิ่นใต้ภาษาแต้จิ๋วยุควสันตสารทราชวงศ์ถังลหฺวี่ ต้งปินลัทธิเต๋าศาลเจ้าหลัน ไฉ่เหอหลี่ขาเหล็กประเทศจีนปราชญ์หัน เซียงนางฟ้าเหอเวด-ไจลส์เทวดาเซียน

พ.ศ. 1320

ทธศักราช 1320 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และพ.ศ. 1320 · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวันเฉา

ระเทวันเฉา (Royal Brother-in-law Cao) เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเทพของลัทธิเต๋าเกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีศักดิ์เป็นน้องชายของพระนางเฉา มเหสีพระเจ้าซ่งเหรินจง.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และพระเทวันเฉา · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กวางตุ้ง

กวางตุ้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้

ษาหมิ่นใต้, ภาษาหมิ่นหนาน เป็นสำเนียงของภาษาจีน ใช้พูดทางใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาไต้หวัน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และภาษาหมิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ยุควสันตสารท

แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และยุควสันตสารท · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลหฺวี่ ต้งปิน

right ลหฺวี่ ต้งปิน เป็นสมาชิกแปดเทพในลัทธิเต๋า และเป็นนักรสายนเวทซึ่งมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งตามความใน พงศาวดารซ่ง (Book of Song) ส่วนในศิลปกรรมนั้น ลหฺวี่มักได้รับการแสดงภาพเป็นบัณฑิตชายเหน็บกระบี่กายสิทธิ์ไว้ที่หลัง กระบี่นี้มีอำนาจขับไล่ภูตผีปิศาจ หมวดหมู่:แปดเทพ.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และลหฺวี่ ต้งปิน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้า

ักการสถานของโฮเดเกเทรีย มหาวิหารอัสสัมชัญในกรุงสโมเลงสค์ ประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1912 หีบสามกษัตริย์ของมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์ถือกันว่าเป็น “หีบสักการะ” ภาพเขียน “The Shrine” โดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1895 ศาลเจ้า ชาวคาทอลิกเรียกว่าสักการสถาน ตรงภาษาอังกฤษว่า “Shrine” มาจากภาษาละติน “Scrinium” ที่แปลว่า “หีบสำหรับหนังสือหรือเอกสาร” และภาษาฝรั่งเศสเก่า “escrin” ที่แปลว่า “กล่องหรือหีบ” คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่บุคคลสำคัญทางศาสนา บรรพบุรุษ วีรบุรุษ มรณสักขี นักบุญ หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือเป็นที่นับถือผู้เป็นที่สักการะ ในศาลมักจะประกอบด้วยรูปเคารพ วัตถุมงคล หรือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นที่สักการะ ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อรับสิ่งสักการะเรียกว่า “แท่นบูชา” ศาลเจ้าเป็นสิ่งที่พบในศาสนาแทบทุกศาสนาในโลกที่รวมทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ศาสนาพื้นบ้านจีน และศาสนาชินโต และการใช้ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเช่นรำลึกสถานเกี่ยวกับสงคราม ศาลเจ้ามีลักษณะต่างกันไปหลายอย่าง ปูชนียสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ภายในโบสถ์ วัด สุสาน หรือแม้แต่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งก็จะเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นในลักษณะของ “หีบวัตถุมงคล” ศาลเจ้าบางครั้งก็อาจจะกลายมาเป็นศูนย์กลางที่ประดิษฐานเทวรูปต่าง.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และศาลเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

หลัน ไฉ่เหอ

หลัน ไฉ่เหอ หลัน ไฉ่เหอ เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเซียนของลัทธิเต๋า เซียนองค์นี้ได้ชื่อว่า เซียนแห่งมวลบุปผาชาติ ความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยยุคแผ่นดินไซฮั่น มีชายขอทานคนหนึ่งชื่อ หลัน ไฉ่เหอ มีร่างสูงเพียงสี่ศอก ตามประวัติว่า เชียะคาไต้เซียนจุติลงมาเกิด เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่มนุษย์ แต่ตามประวัติในตำนาน มิได้กล่าวไว้ว่า เป็นลูกเต้าเหล่ากอตระกูลใด เพราะเหตุที่หลัน ไฉ่เหอได้ท่องเที่ยวขอทานเตร็ดเตร่มาหลายสิบหัวเมือง เครื่องแต่งกายที่สวมใส่เป็นเสื้อกางเกงสีน้ำเงิน แต่ก็เก่าขาดปะแทบไม่มีเนื้อดี สวมรองเท้าทำด้วยฟางหุ้มผ้าเพียงข้างเดียว เที่ยวร้องเพลงขอทานเขาเรื่อยมา ไม่ทำมาหากินอย่างอื่นใด เมื่อได้เงินทองพอสมควรแล้ว ก็เข้าร้านเหล้ากิน แล้วก็ขยับกรับในมือเสียงก้องกังวาล พลางขับเพลงประสานด้วยน้ำเสียงท่วงทำนองอันไพเราะ เพลงที่ร้องก็ล้วนแต่เป็นเพลงภาษิตแทรกธรรมะเตือนใจคน ทั้งเพราะทั้งน่าฟัง เป็นที่ชอบและเพลินใจแก่ผู้คนทั้งหลายทุกหัวเมืองที่ผ่านมา กรับประจำตัวหลัน ไฉ่เหอนั้นมีรูปลักษณะผิดกับกรับธรรมดา คือยาวถึงสี่คืบครึ่ง กว้างประมาณ หนึ่งฝ่ามือ หนาครึ่งองคุลี เนื้อกรับเป็นมันเงาวาววามคล้ายเนื้อหยก เวลาหลัน ไฉ่เหอขยับกรับ เสียงดังกังวาลน่าฟังยิ่งนัก ถ้าวันใดขอทานได้เงินมามาก ก็แจกจ่ายให้แก่คนแก่คนเฒ่าที่ยากจนทั้งหญิงชาย บางคราวนึกขลังขึ้นมา พอได้เงินอีแปะมามาก หลัน ไฉ่เหอก็เอาร้อยเชือกเป็นพวงยาวแล้ววิ่งลามไปตามถนน มิใยเชือกที่ร้อยพวงอีแปะจะขาดก็ไม่เอาใจใส่ คงวิ่งลากไปจนเงินหมดพวง พวกคนยากจนและเด็กตามถนนก็พากันวิ่งตามเก็บกันอย่างชุลมุนสนุกสนาน ความประพฤติของหลัน ไฉ่เหอที่ไม่เหมือนใครมีอยู่อย่างหนึ่ง คือเวลาหน้าร้อนก็สวมใส่เนื้อหนา ทำเป็นเสื้อชั้นใน ถึงจะเป็นเวลาหน้าร้อนแดดจัดปานใด ก็ไม่ปรากฏว่ามีเหงื่อไหลอย่างคนธรรมดาสามัญ เวลาหน้าหนาวจัดหิมะลงท่วมเข่าก็ใส่เสื้อชั้นในบาง ๆ ตัวเดียว ทั้งตามหูตาปากจมูกก็ปรากฏมีไอประดุจไอน้ำร้อนที่เดือดพลุ่งออกมา คราวหนึ่ง ขณะที่หลัน ไฉ่เหอเสพสุราพอตึงหน้าครึกครื้น ก็ออกเดินรัวกรับร้องรำทำเพลง ผู้คนพากันตามมุงดูเต็มท้องถนนอยู่นั้น มีชายชราผู้หนึ่งพูดว่า หลัน ไฉ่เหอผู้นี้เราเคยเห็นมา ตั้งแต่เราจำความได้ จนตัวเรามีอายุแก่ชราจนบัดนี้ ก็ไม่เห็นหลัน ไฉ่เหอมีรูปร่างผิดไปกว่าแต่ก่อนเลย อย่างไรก็อย่างนั้น ดูเหมือนกับคนอายุสี่สิบปีเท่านั้น เสื้อกางเกงที่สวมใส่ ทั้งเกือกฟางที่หุ้มผ้า ก็สำรับเก่านั้นเอง ช่างน่าประหลาดอัศจรรย์เสียเหลือเกิน คนทั้งหลายได้ฟังต่างก็เห็นด้วยดังที่ชายชราพูดนั้น ต่างก็มองแลดูหลัน ไฉ่เหอด้วยความอัศจรรย์ใจและเคารพ ครั้งหนึ่ง หลัน ไฉ่เหอได้เที่ยวไปตามแนวป่าตำบลหนึ่ง ได้พบกับทิก๋วยลี้ในระหว่างทางต่าง ก็กระทำคำนับสนทนาปราศัยเป็นที่ถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกันแล้ว ต่างก็ลาจากกันไป ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าทั้งสองได้สนทนาเรื่องอะไรกันบ้าง มาวันหนึ่ง เป็นเพลาตกเย็น อากาศแจ่มใน หลัน ไฉ่เหอกำลังนั่งเสพสุราอยู่ในร้านขายสุราบนสะพานคูเมือง พอได้ยินเสียงมโหรีดังไพเราะมาจากอากาศเบื้องบน บรรดาฝูงคนชาวเมืองตลอดจนเจ้าของร้านสุราต่างก็พากันออกไปแหงนดู เมื่อหลัน ไฉ่เหอเห็นผู้คนกำลังเพลิน มิได้เอาใจใส่แก่ตัวเช่นนั้นเห็นเป็นโอกาสอันดี ก็เดินออกจากร้านสุรา หลัน ไฉ่เหอโยนกรับขึ้นไป กรับก็กลายเป็นนกกระเรียนใหญ่ยืนอยู่ตรงหน้า หลัน ไฉ่เหอก็ขึ้นขี่หลังนกกระเรียน บินเข้ากลีบเมฆหายไป เสียงมโหรีก็พลอยหายไปด้วย เจ้าของร้านสุราและเหล่าประชาชนเห็นดังนั้น ต่างก็พากันเข้าไปดูในร้าน เห็นแต่เสื้อกางเกงสีเขียวและรองเท้าฟางกองอยู่ แต่พอเข้าไปใกล้ สิ่งของเหล่านั้นก็กลายเป็นหยก แล้วอันตรธานหายไป คนทั้งหลายจึงรู้ว่าหลัน ไฉ่เหอได้สำเร็จเป็นเซียนไปแล้ว จึงพากันคำนับกระทำความเคารพ หลัน ไฉ่เหอได้ไปกับทิก๋วยลี้เป็นเซียนในลำดับที่ห้าในคณะโป๊ยเซียน.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และหลัน ไฉ่เหอ · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ขาเหล็ก

หลี่ขาเหล็ก หลี่ขาเหล็ก (Iron-Crutch Li) เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเทพของลัทธิเต๋า เป็นเจ้าแห่งยาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในภาพวาดของจีน มักวาดหลี่ขาเหล็กเป็นชายชรา รูปร่างน่าเกลียด หน้าตามอมแมม มีหนวดเครารุงรัง ผมกระเซิง เดินถ่อไม้เท้าเหล็ก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขาว่า "หลี่ขาเหล็ก" หมวดหมู่:แปดเทพ.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และหลี่ขาเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปราชญ์หัน เซียง

thumb ปราชญ์หัน เซียง (Philosopher Han Xiang) เป็นเทพองค์หนึ่งในกลุ่มแปดเทพของลัทธิเต๋า เป็นเจ้าแห่งการพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และการดนตรี.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และปราชญ์หัน เซียง · ดูเพิ่มเติม »

นางฟ้าเหอ

หอ ฉฺยง เหอ ฉฺยง หรือมักเรียก นางฟ้าเหอ (Immortal Woman He) เป็นสมาชิกหญิงเพียงหนึ่งเดียวในกลุ่มแปดเทพ เพราะเพศของหลัน ไฉ่เหอ สมาชิกอีกองค์นั้น เคลือบคลุม.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และนางฟ้าเหอ · ดูเพิ่มเติม »

เวด-ไจลส์

วด-ไจลส์ (Wade-Giles) หรือ เวยถัวหม่าพินอิน บางครั้งก็เรียกโดยย่อว่า เวด เป็นระบบถอดอักษรแบบถ่ายเสียงภาษาจีนกลางด้วยตัวอักษรโรมันใช้กันในปักกิ่ง พัฒนาจากระบบที่สร้างขึ้นโดย ทอมัส เวด (Thomas Wade) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปรากฏอยู่ในพจนานุกรมจีน-อังกฤษของ เฮอร์เบิร์ต ไจลส์ (Herbert Giles) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และเวด-ไจลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เซียน

แปดเซียน ในลัทธิเต๋า เซียน (仙) หมายถึงนักสิทธิ์ ผู้บรรลุถึงอมตภาพทางร่างกายและวิญญาณจนกลายเป็นเทพเจ้าต่าง.

ใหม่!!: โป๊ยเซียน (เทพเจ้าจีน)และเซียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eight GeniesEight Immortalsปาเซียนแปดเทพแปดเซียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »